• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:3ed7644b0c23b4e7848abeb874d1d5f0' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p align=\"center\">\n<img border=\"0\" width=\"520\" src=\"/files/u19991/1_0.jpg\" height=\"66\" /> \n</p>\n<p>\n          หลังจากที่กรุงศรอยุธยาเสียแก่พม่าในปี พ.ศ. แล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงกอบกู้เอกราชกลับคืนมาและทรงพยายามฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมต่างๆ เพื่อที่จะให้เกิดความเจริญเช่นเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น การฟื้นฟูปรับปรุงวรรณกรรมและการละครโดยยึดเอาวรรณกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ยังเหลืออยู่บางส่วนเป็นหลัก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกก็ทรงกระทำงานนี้ต่อด้วยความมุงหมายเช่นเดียวกัน พระองค์ทรงย้ายพระนครหลวงมาอยู่ที่กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน ปรับปรุงการปกครอง วรรณกรรม การละคร ศาสนาและศิลปะ<br />\n          เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงขึ้นครองราชย์ ก็ได้ส่งเสริมการฟื้นฟูและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมต่อจากสมเด็จพระบิดาจนกระทั่งได้รับยกย่องว่า ในรัชสมัยของพระองค์นั้นเป็นยุคทองของวรรณคดีและยุคทองของการละครด้วย ประกอบกับการทำสงครามกับพม่าก็มีน้อยลง พระองค์จึงมีโอกาสที่จะสร้างสรรค์ความเจริญให้ชาติบ้านเมืองอย่างเต็มที่ พระองค์ทรงฟื้นฟูและปรับปรุงศิลปกรรม สถาปัตยกรรม การดนตรี วรรณคดีและการละคร สำหรับด้านวรรณคดีและการละครนั้นนับว่ามีความรุ่งเรืองมาก<br />\n          พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเป็นกวีผู้มีความสามารถและเชี่ยวชาญในการแต่งกาพย์กลอนและทรงเป็นองค์อุปถัมภ์การกวี พระองค์ทรงทำนุบำรุงวรรณคดีและการละครอย่างเต็มที่ ดังที่ปรากฏในพระราชกรณียกิจว่า &quot;เวลาบ่ายห้าโมงเสด็จออกฟังรายงานบ้าง ทรงพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์บ้าง อิเหนาบ้าง... พอย่ำยามก็เสด็จทอดพระเนตรละคร&quot; (เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ๒๕๐๔ : ๒๐๓)<br />\n          ในการพระราชนิพนธ์วรรณคดีนั้น พระองค์ทรงเลือกเจ้านายข้าราชการที่เป็นกวีชำนาญกลอนไว้เป็นที่ปรึกษา ประมาณ ๖-๗ ท่าน อาจทรงพระราชนิพนธ์เองหรือระราชทานให้กวีที่ปรึกษารับตัดตอนไปแต่ง จากนั้นนำมาอ่านในที่ประชุมและช่วยกันแก้ไขอีกชั้นหนึ่ง พระองค์คงจะทรงพระราชนิพนธ์บทละครใน ๒ เรื่อง คือเรื่องรามเกียรติ์และอิเหนาไปในเวลาเดียวกัน เนื่องจากอิเหนาเป็นเรื่องยาวซึ่งกินเวลามาก ส่วนรามเกียรติ์นั้นเป็นการตัดตอนมาแต่งเพื่อใช้เล่นละคร เข้าใจว่าทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์และอิเหนาประมาณ พ.ศ. ๒๓๕๗ - พ.ศ. ๒๓๖๑ หรืออาจจะถึง พ.ศ. ๒๓๖๓ แล้วจึงทรงพระราชนิพนธ์บทละครนอก ๕ เรื่อง เป็นลำดับต่อมา (เสาวลักษณ์ อนันตศานต์ ๒๕๓๘ : ๓๙)<br />\n          พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น ไม่ว่าจะเป็นเสภาหรือบทละคร มีข้อสังเกตได้อย่างหนึ่งว่า เวลาที่ทรงเรื่องใดถ้ามีบทเดิมอยู่จะทรงเอาบทเดิมมาตรวจตราก่อน ถ้าความในบทเดิมดีอยู่แล้วเป็นไม่ทรงทิ้งเสียเลยหรือถ้าทรงปรับปรุงให้ไพเราะขึ้นได้ก็จะอาศัยความในบทเดิมนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงรวบรวมวรรณคดีเก่าและทรงนำวรรณคดีสำคัญๆ มาชำระ ปรับปรุงหรือแต่งใหม่ ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงทรงมีโอกาสที่จะนำต้นฉบับวรรณคดีเหล่านั้นมาพิจารณาปรับปรุงให้มีคุณค่าทางวรรณศิลป์ยิ่งขึ้น ประกอบกับบ้านเมืองมีความสงบเรียบร้อยจึงมีการฟื้นฟูและทำนุบำรุงการละเล่นหลายอย่าง<br />\n          การละเล่นที่นับว่าสำคัญและเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้แก่ การขับเสภาและการละครอันมีส่วนช่วยให้เกิดวรรณคดีที่ยิ่งใหญ่และมีคุณค่าล้นเหลือสุดที่จะประมาณได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการละครซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ตกทอดสืบมาจนถึงสมัยปัจจุบัน\n</p>\n<p>\n<a href=\"/node/42965\"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/HOME_resize.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47067\"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_resize_10.jpg\" height=\"29\" /></a>  <img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/2_resize_0.jpg\" height=\"29\" />  <a href=\"/node/47069\"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_resize_1.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47073\"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_1_resize.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47077\"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_2_resize.jpg\" height=\"29\" /></a>\n</p>\n<p>\n<a href=\"/node/47079\"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_3_resize.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47083\"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_4_resize.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47087\"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_5_resize.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47089\"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_6_resize.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47091\"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_7_resize.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47094\"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_8_resize.jpg\" height=\"29\" /></a>\n</p>\n<p>\n<a href=\"/node/47097\"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_9_resize.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47113\"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_10_resize.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47116\"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_11_resize.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47807\"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_resize_3.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47810\"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_resize_4.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47816\"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_resize_7.jpg\" height=\"29\" /></a>\n</p>\n<p>\n<a href=\"/node/47818\"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_resize_5.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47819\"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_resize_6.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/50117\"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_resize_8.jpg\" height=\"29\" /></a>\n</p>\n', created = 1715322274, expire = 1715408674, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:3ed7644b0c23b4e7848abeb874d1d5f0' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

ที่มาของเรื่องสังข์ทอง

 

          หลังจากที่กรุงศรอยุธยาเสียแก่พม่าในปี พ.ศ. แล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงกอบกู้เอกราชกลับคืนมาและทรงพยายามฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมต่างๆ เพื่อที่จะให้เกิดความเจริญเช่นเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น การฟื้นฟูปรับปรุงวรรณกรรมและการละครโดยยึดเอาวรรณกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ยังเหลืออยู่บางส่วนเป็นหลัก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกก็ทรงกระทำงานนี้ต่อด้วยความมุงหมายเช่นเดียวกัน พระองค์ทรงย้ายพระนครหลวงมาอยู่ที่กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน ปรับปรุงการปกครอง วรรณกรรม การละคร ศาสนาและศิลปะ
          เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงขึ้นครองราชย์ ก็ได้ส่งเสริมการฟื้นฟูและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมต่อจากสมเด็จพระบิดาจนกระทั่งได้รับยกย่องว่า ในรัชสมัยของพระองค์นั้นเป็นยุคทองของวรรณคดีและยุคทองของการละครด้วย ประกอบกับการทำสงครามกับพม่าก็มีน้อยลง พระองค์จึงมีโอกาสที่จะสร้างสรรค์ความเจริญให้ชาติบ้านเมืองอย่างเต็มที่ พระองค์ทรงฟื้นฟูและปรับปรุงศิลปกรรม สถาปัตยกรรม การดนตรี วรรณคดีและการละคร สำหรับด้านวรรณคดีและการละครนั้นนับว่ามีความรุ่งเรืองมาก
          พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเป็นกวีผู้มีความสามารถและเชี่ยวชาญในการแต่งกาพย์กลอนและทรงเป็นองค์อุปถัมภ์การกวี พระองค์ทรงทำนุบำรุงวรรณคดีและการละครอย่างเต็มที่ ดังที่ปรากฏในพระราชกรณียกิจว่า "เวลาบ่ายห้าโมงเสด็จออกฟังรายงานบ้าง ทรงพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์บ้าง อิเหนาบ้าง... พอย่ำยามก็เสด็จทอดพระเนตรละคร" (เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ๒๕๐๔ : ๒๐๓)
          ในการพระราชนิพนธ์วรรณคดีนั้น พระองค์ทรงเลือกเจ้านายข้าราชการที่เป็นกวีชำนาญกลอนไว้เป็นที่ปรึกษา ประมาณ ๖-๗ ท่าน อาจทรงพระราชนิพนธ์เองหรือระราชทานให้กวีที่ปรึกษารับตัดตอนไปแต่ง จากนั้นนำมาอ่านในที่ประชุมและช่วยกันแก้ไขอีกชั้นหนึ่ง พระองค์คงจะทรงพระราชนิพนธ์บทละครใน ๒ เรื่อง คือเรื่องรามเกียรติ์และอิเหนาไปในเวลาเดียวกัน เนื่องจากอิเหนาเป็นเรื่องยาวซึ่งกินเวลามาก ส่วนรามเกียรติ์นั้นเป็นการตัดตอนมาแต่งเพื่อใช้เล่นละคร เข้าใจว่าทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์และอิเหนาประมาณ พ.ศ. ๒๓๕๗ - พ.ศ. ๒๓๖๑ หรืออาจจะถึง พ.ศ. ๒๓๖๓ แล้วจึงทรงพระราชนิพนธ์บทละครนอก ๕ เรื่อง เป็นลำดับต่อมา (เสาวลักษณ์ อนันตศานต์ ๒๕๓๘ : ๓๙)
          พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น ไม่ว่าจะเป็นเสภาหรือบทละคร มีข้อสังเกตได้อย่างหนึ่งว่า เวลาที่ทรงเรื่องใดถ้ามีบทเดิมอยู่จะทรงเอาบทเดิมมาตรวจตราก่อน ถ้าความในบทเดิมดีอยู่แล้วเป็นไม่ทรงทิ้งเสียเลยหรือถ้าทรงปรับปรุงให้ไพเราะขึ้นได้ก็จะอาศัยความในบทเดิมนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงรวบรวมวรรณคดีเก่าและทรงนำวรรณคดีสำคัญๆ มาชำระ ปรับปรุงหรือแต่งใหม่ ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงทรงมีโอกาสที่จะนำต้นฉบับวรรณคดีเหล่านั้นมาพิจารณาปรับปรุงให้มีคุณค่าทางวรรณศิลป์ยิ่งขึ้น ประกอบกับบ้านเมืองมีความสงบเรียบร้อยจึงมีการฟื้นฟูและทำนุบำรุงการละเล่นหลายอย่าง
          การละเล่นที่นับว่าสำคัญและเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้แก่ การขับเสภาและการละครอันมีส่วนช่วยให้เกิดวรรณคดีที่ยิ่งใหญ่และมีคุณค่าล้นเหลือสุดที่จะประมาณได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการละครซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ตกทอดสืบมาจนถึงสมัยปัจจุบัน

         

         

         

    

สร้างโดย: 
นางสาวกิตติยา วิทยานารถไพศาล

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 204 คน กำลังออนไลน์