• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:d391562eeb725d29b1977f8f4e0e77a3' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p align=\"center\">\n<img border=\"0\" width=\"520\" src=\"/files/u19991/16_5_0.jpg\" height=\"66\" />\n</p>\n<p>\n          เรื่องสังข์ทองเดิมเป็นนิทานในปัญญาสชาดก  ซึ่งเป็นเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ในขณะที่เสวยชาติต่างๆ   ตัวเอกฝ่ายชายเป็นผู้มีบุญญาธิการมาเกิดเพื่อปราบยุคเข็ญ หรือทำคุณประโยชน์ให้แก่บ้านเมือง  แต่มักจะมีกำเนิดในรูปที่ผิดปรกติในตอนแรก  จึงต้องมีการกำจัดพระโอรสที่กำเนิดผิดคน  สามัญเพื่อความปลอดภัยของบ้านเมือง  เมื่อพระโอรสเจริญวัยขึ้น  และมีคุณสมบัติเพียบพร้อมที่จะปกครองประชาชน  และเป็นที่ยอมรับของประชาชนก็จะกลับมาครองบ้านเมืองและมีคู่ครองที่เหมาะสม<br />\n          ตัวละครที่สำคัญในเรื่องสังข์ทองมีอยู่ ๕ กลุ่ม  คือ ตัวเอก  ตัวโกง พระราชา พระมเหสี และตัวละครอมนุษย์ <br />\n<strong>ตัวเอก</strong> <br />\n          ตัวเอกฝ่ายชายมักเป็นกษัตริย์หรือบุคคลชั้นสูง  เพราะไทยเราได้เค้าเรื่องมาจากวรรณคดีฮินดูซึ่งนิยมเล่าเรื่องราวของชนชั้นสูง  และยังได้เค้าเรื่องมาจากชาดกซึ่งเชื่อว่าพระโพธิสัตว์เป็นผู้มีบุญญาธิการกว่ามนุษย์ธรรมดา  ตัวเอกในนิทานมักมีบุคลิกภาพเดียวกัน  คือเป็นผู้มีบุญมาเกิดเพื่อปราบยุคเข็ญ  และชดใช้หนี้เวรอันเป็นผลกรรมของชาติที่แล้ว  ดังนั้นตัวเอกจึงต้องรับผลวิบากกรรมในชาตินี้  คือถูกตัวละครฝ่ายอธรรมรังแก                                                                                                                                                                            <strong>พระสังข์</strong> <br />\n          พระสังข์เป็นตัวเอกที่มีรูปงามตามแบบการสร้างตัวเอกในวรรณคดีไทย ทั่วไป  แต่ในตอนเด็กปรากฏเป็น  ๒  รูป คือ รูปหอยสังข์กับรูปกุมาร ส่วนตอนเป็นหนุ่มก็มี  ๒  รูปเช่นเดียวกัน คือ รูปเงาะกับรูปทอง ทั้งรูปหอยสังข์และรูปเงาะเปรียบเสมือน  “ เกาะ”  คุ้มครองพระสังข์  ในตอนเด็กเมื่อนางจันท์เทวีต่อยหอยสังข์แตกแหลกไป  พระสังข์ร้องไห้คร่ำครวญ  ต่อว่าพระมารดาว่า  พระแม่ต่อยสังข์ดังชีวิต  จะชมชิดลูกนี้สักกี่วัน   ซึ่งเป็นการบอกเป็นนัยๆ  ถึงภัยที่จะมาถึงและต่อมาพระองค์ก็ถูกจับไปถ่วงน้ำ  เพราะเมื่อไม่ได้ซ่อนตัวอยู่ในหอยสังข์  ชาวบ้านก็เห็นและเล่าลือกันต่อๆไป  จนท้าวยศวิมลและนางจันทารู้  ส่วนรูปเงาะนั้นพระสังข์กราบทูลท้าวสามลว่า “ ซึ่งแปลงมาจะหาคู่ครอง ” ซึ่งแสดงว่ารูปเงาะนี้นอกจากจะเป็นของวิเศษ  เป็นเกราะกำบังแล้ว  ยังเป็นเครื่องมือในการหาคู่ครองที่เหมาะสมคือมีบุญบารมีเทียบเท่ากันด้วย                                             <br />\n          การวิเคราะห์ตัวเอก เป็นการเน้นในลักษณะเด่น  อุปนิสัย  และบทบาทดังนี้ <br />\n          ๑.  ความมีบุญญาธิการ  เรื่องชาดกมักจะเน้นความมีบุญของพระโพธิสัตว์  แต่ขณะเดียวกันผู้คนก็มีความเชื่อในไสยศาสตร์ด้วย  การกำจัดพระโอรสท่ามีกำเนิดผิดปรกติเพื่อความปลอดภัยของบ้านเมืองเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางไสยศาสตร์มาก  แต่พระโอรสสังข์ทองเป็นผู้มีบุญจะฆ่าอย่างไรๆ ก็ไม่ตาย  นอกจากนี้ยังมีของวิเศษที่ไม่มีใครทำลายล้างได้  คือ  รูปเงาะ  เกือกแก้ว  และไม้เท้า  ซึ่งช่วยให้พระสังข์กระทำการสำเร็จทุกอย่าง  รวมทั้งมากจินดามนตร์ที่นางพันธุรัต  “เตรียม” ไว้ให้พระสังข์ในตอนที่ถูกทดสอบ โดยมีชีวิตเป็นเดิมพัน การที่สร้างเรื่องไว้ว่าเทวดาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาจุติเป็นพระสังข์ เป็นการปูพื้นฐานให้ผู้อ่านรู้สึกว่า   ความมีบุญญาธิการของพระสังข์เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล ไม่มหัศจรรย์พ้นวิสัยจนเกินไปนัก <br />\n          ๒.  ความกตัญญู  พระสังข์มีความกตัญญูต่อพระมารดา ตั้งแต่เล็กก็ได้ออกมาจากหอยสังข์  ช่วยพระมารดาทำงานบ้าน  เนื่องจากพระมารดาไปก็ครุ่นคิดถึงนาง  เป็นห่วงนางอยู่ตลอดเวลา   พอมีโอกาสพบนางโดยไม่คาดฝัน  พระองค์ก็โศกศัลย์จนสิ้นสติไป   และเมื่อนางจันท์เทวีขอให้ยกโทษให้กับท้าวยศวิมลว่า “เจ้าอย่าปองจิตคิดร้าย พยาบาทมาดหมายแก่บิดา” พระสังข์ก็ไม่ได้ถือโทษโกรธเคือง <br />\nสำหรับนางพันธุรัตนั้น  นางเป็นแม่ที่อุ้มชูเลี้ยงดูพระสังข์มาแต่เล็กจนโต  ให้ความรักเสมอต้นเสมอปลาย  แต่การที่นางไม่ยอมเปิดเผยความจริงให้รู้ว่านางเป็นยักษ์  ทำให้พระสังข์ เกิดความไม่ไว้วางใจ ประกอบกับความต้องการที่จะไปตามหาแม่จริง  ที่จากกันไปถึงสิบปีมีมากกว่า  พระสังข์จึงต้องทิ้งนางไป หากจะกล่าวว่าพระสังข์อกตัญญูต่อนางพันธุรัต   ก็เป็นการกล่าวอย่างไม่ยุติธรรมนัก  เนื่องจากพระองค์หนีนางด้วยความกลัว และถ้าหากจะชั่งน้ำหนักระหว่าง “ แม่จริง ”  ซึ่งกำลังตกระกำลำบาก  ใช้ชีวิตอย่างสุดลำเค็ญ เสี่ยงต่อการถูกตามฆ่าจากพระสวามีที่ถูกเสน่ห์และเมียน้อยผู้เหี้ยมโหด กับ  “ แม่เลี้ยง ”  ผู้มีอิทธิฤทธิ์  อำนาจ  ข้าราชบริพารพร้อมสรรพแล้ว  ความรู้สึกของพระสังข์ย่อมเอนเอียงไปทางแม่จริงซึ่งอยู่ในฐานะด้อยกว่าอย่างแน่นอน <br />\n          ๓.  ความฉลาดรอบคอบ  พระสังข์เป็นคนที่ฉลาด  เอาตัวรอด บางครั้งก็ใช้ความลาดนี้มาทดสอบลองใจคนอื่น  ดังที่ผู้นิพนธ์บทละครมักเรียกว่า “ เจ้าเงาะแสนกล ”  พระองค์แกล้งสวมรูปเงาะทำเป็นบ้าใบ้  จึงได้รู้ซึ้งถึงจิตใจ ของคนรอบข้างว่าคิดกับพระองค์อย่างไร  พระสังข์ย่อมรู้ดีว่าท้าวสามนต์ เกลียดและรังเกียจเจ้าเงาะ  จึงกลั่นแกล้งให้ไปหาปลาหาเนื้อ  แม้หามาได้แล้วก็ไม่ยอมรับ  กลับพยายามหาทางแกล้งต่อไป เพื่อเอาผิดและประหารเจ้าเงาะให้ได้ ขณะเดียวกันก็ลำเอียงเข้าหาหกเขยซึ่งมีรูปงามและมีพวกมาก  พระองค์จึงสั่งสอนหกเขยด้วยการตัดจมูกตัดใบหูหกเขยเพื่อ  “ ประจาน ”  ในฐานะที่ชอบโอ้อวดตัวและเยาะเย้ยคนอื่น ผลที่ได้ก็คือ  หกเขยเปลี่ยนนิสัยไปเป็นทางตรงกันข้าม ไม่หาเรื่องดูถูกดูหมิ่นคนที่ด้อยกว่า  ผลนี้กระทบไปถึงหกนางผู้มักเหยียบย่ำนางรจนาด้วย  การสั่งสอนนี้อาจจะก้าวร้าวรุนแรงไปบ้างในสายตาของคนทั่วไป  แต่ถ้าหากพิจารณาให้ดีแล้ว  หกเขยผู้ทะนงหลงตัวเองว่ารูปงาม  มียศศักดิ์  เมื่อถูก “ ทำลาย ”  รูปงามนั้นเสียแล้ว  ก็คงหมดหนทางที่จะคงความหยิ่งยโสอีกต่อไป <br />\nตัวเอกฝ่ายหญิงคือนางรจนานั้นเป็นนางแก้วคู่บารมีของพระเอก มีบทบาทในทางส่งเสริมพระเอก<br />\n<strong>ตัวโกง</strong> <br />\n          ตัวโกง คือตัวละครฝ่ายตรงข้ามกับตัวเอก  มักมีบทบาทร้ายเพียงด้านเดียว  ไม่มีคุณธรรม  ไม่ปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรม  บทบาทของตัวโกงจะเป็นไปในทำนองเดียวกัน  คือทำให้คู่รักหรือสามีภรรยาต้องพลัดพรากจากกัน หรือมีพฤติการณ์ไม่ดี  คอยอิจฉาริษยาตัวเอกและคนทั่วไป<br />\n          ตัวโกงในวรรณคดีไทย  มักจะมีแต่ความร้ายกาจอย่างเดียว ความเลวร้ายนั้นมักเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล  และช่วยให้เรื่องดำเนินไปได้ตามความมุ่งหมาย ตัวละครที่มีบทบาทเด่นด้านนี้คือ  นางจันทาและหกเขย <br />\n<strong>นางจันทา</strong> <br />\n          บทบาทของนางจันทาเป็นบทบาทตัวโกงอย่างแท้จริง  เป็นคนใจบาปหยาบช้า  เหี้ยมโหด  ขี้อิจฉาริษยา  ทำเรื่องร้ายๆ ได้ทุกอย่างเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งย่อยับไป  นางจันทาเป็นเมียน้อย ซึ่งสำหรับสังคมไทยในสมัยโบราณนั้น ความหึงหวงและการชิงรักหักสวาทกันระหว่างเมียหลวงกับเมียน้อยเป็นเรื่องปกติธรรมดา และกล่าวไว้ในวรรณคดีหลายเรื่อง แต่พฤติการณ์เหล่านี้มักรุนแรงถึงขนาดพยายามทำลายล้างอีกฝ่ายหนึ่งให้มีอันเป็นไป นางจันทาพยายามทำเสน่ห์ท้าวยศวิมล ให้ขับมเหสีกับพระโอรสออกไปจากวัง ต่อมาก็ยุให้ท้าวยศวิมลสั่งให้ฆ่าพระสังข์ ให้ตั้งนางเป็นมเหสีเอก แต่ในที่สุดนางก็ได้รับผลแห่งการกระทำชั่วของตัวเอง<br />\n<strong>หกเขย</strong><br />\n          หกเขยเป็นโอรสกษัตริย์ที่ธิดาทั้งหกของท้าวสามนต์เลือกเป็นคู่ครองแม้หกเขยจะเป็นเจ้าชายที่มี “ รูปร่างงามหนักหนา ”  แต่ก็ด้อยสติปัญญาเสียจนมีลักษณะชื่อ เซ่อ จนน่าขันในสายตาผู้อ่าน แม้การบรรยายของผู้นิพนธ์ก็ยังแสดงให้เห็นว่าหกเขย  “  เคอะเซอะ ”  ไปหาพระสังข์ จำต้องยอมให้พระสังข์เชือดจมูกกับใบหูไปจนมีลักษณะ “ หูแหว่งจมูกวิ่น ” ประจานตัวเองไปตลอดชีวิตเพื่อความอยู่รอดของตัวเอง ด้วยกลัวว่าท้าวสามนต์จะประหารชีวิตเสีย ถ้าไม่ได้ปลาได้เนื้อไปตามต้องการ หกเขยต้องเสียจมูกกับหู และความเจ็บปวดทั้งกายและใจแลกกับปลาตายคนละตัวสองตัวและเนื้อทรายขาหักคนละตัว มิหนำซ้ำยังถูกเยาะเย้ยจากฝ่ายพระเอกอยู่ตลอดเวลา เวลาที่พระสังข์พูดถึงหกเขย ก็ใช้คำพูดว่า “ อ้ายหกเขยเซอะ ” เป็นการดูหมิ่นอยู่เสมอ <br />\n          สุนันทา โสรัจจ์ (ม.ป.ป.:๓๓) กล่าวไว้ในบทวิเคราะห์วิจารณ์พระเอกหรือผู้ร้ายในวรรณคดีไทยว่า หกเขยมีนิสัยชอบใส่ร้ายกัน ดังที่ใส่ร้ายเจ้าเงาะว่าเป็นปีศาจ และชอบโอ้อวด พูดปดเพื่อเอาตัวรอด จึงได้รับบทเรียนจากเจ้าเงาะเพื่อที่จะให้เลิกนิสัยชอบดูหมิ่นคนที่ต่ำต้อยกว่าตนและรู้ตัวหายลืมตนคือตัดปลายจมูกเมื่อไปขอปลา และตัดใบหูเมื่อคราวไปขอเนื้อ เป็นการลงโทษสถานเบาให้หลาบจำ <br />\n แต่หากจะพิจารณาด้วยใจเป็นธรรมแล้ว ความผิดควรจะตกอยู่ที่ท้าวสามนต์มากกว่า เพราะท้าวสามนต์มีความเกลียดชังเจ้าเงาะ จึงแกล้งให้เกิดการประลองฝีมือในการหาเนื้อหาปลา เพื่อจะหาเหตุฆ่าเจ้าเงาะเสีย การที่หกเขยปดท้าวสามนต์ว่าถูกปลาปักเป้ากัดจมูก หรือปีศาจกระทำให้หูขาดนั้นก็เป็นวิสัยของผู้ที่จะเอาตัวรอด เนื่องจากเกรงว่าจะถูกลงโทษทัณฑ์ และหกเขยก็ถูกเจ้าเงาะกลั่นแกล้งอยู่ตลอดเวลา เช่น “ฉุดหูออกไปเลือดไหลหยด แกล้งจูงพาเที่ยวเลี้ยวลด ถือไม้เท้าแทนตะพดเหมือนวิ่งวัว” ดังนั้นการที่หกเขยใส่ร้ายเจ้าเงาะว่าเป็นภูตผีปีศาจควรกำจัดเสีย จึงเป็นความคิดที่เป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์ เนื่องจากหกเขยรู้ดีว่าถ้าไม่มีเจ้าเงาะอยู่ในโลกนี้ตนเองก็ปลอดภัย และพ้นจากการถูกกลั่นแกล้งให้อับอายขายหน้าอย่างแน่นอน <br />\n<strong>พระราชา</strong> <br />\n          ธวัช ปุณโณทก (๒๕๓๓: ๒๒๒) อธิบายว่า พระราชาคือ พระราชบิดาของตัวเองฝ่ายชายและฝ่ายหญิง โดยทั่วไปมีมเหสีจำนวนมากตามจารีตของกษัตริย์ไทยโบราณ บุคลิกลักษณะของพระราชา คือ มีความตั้งใจดีที่จะทำให้บ้านเมืองสงบสุข ยอมสละลูกเมียตามคำทำนายของโหร หูเบา หลงเชื่อฝ่ายอธรรม มีความเด็ดเดี่ยว แต่ไม่รอบคอบ และยึดมั่นในคุณธรรม <br />\n          พระราชาในบทละครนอก คือ แบบฉบับของพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งสามารถสั่งประหารชีวิตใครก็ได้ที่ขัดพระทัยแต่บางครั้งบทบาทของพระราชาก็กลับกลายเป็นบทตลกไป เพราะแบบแผนการเล่นละครนอกนิยมเล่นตลก การแต่งบทละครนอกจึงไม่ต้องเคร่งครัดในเรื่องจารึกประเพณีมากนัก ตัวละครที่เป็นพระราชาหรือพระมเหสี ก็ลงมาเล่นตลกคลุกคลีกับพวกเสนาข้าราชบริพารได้ <br />\n          พระราชาในบทละครนอกเรื่องสังข์ทองมี ๒ องค์ ที่มีบทบาทสำคัญแต่มีลักษณะเด่นไปคนละอย่าง ดังนี้<br />\n<strong>ท้าวยศวิมล <br />\n</strong>          ท้าวยศวิมลมีบทบาทในตอนเปิดเรื่องและบทบาทสำคัญในตอนท้ายเรื่องพระองค์เป็นกษัตริย์ที่มีความตั้งใจดีต่อบ้านเมืองคือ ยอมเสียสละลูกเมีย ในบทละครยังย้ำในเรื่องการทำเสน่ห์ เพื่อให้รู้สึกว่าท้าวยศวิมลไม่ใช่คนที่หูเบาหลงเชื่อนางจันทาฝ่ายเดียว แท้ที่จริงพระองค์ก็รักพระมเหสี รักพระโอรส แต่ถูกเวทมนตร์มายาทำให้เป็นไป <br />\n          ตอนที่ท้าวยศวิมลจะออกตามพระสังข์ ก็คือพระสังข์ถอดรูปเงาะ ได้รับการยอมรับจากท้าวสามนต์แล้ว พระอินทร์ก็มาปรากฏให้เห็นและต่อว่าพระองค์ <br />\n          ท้าวยศวิมลเป็นคนที่ยอมรับความจริง เพราะเมื่อไปงอนง้อนางจันท์เทวีก็ตรัสว่า “เดี๋ยวนี้รู้สึกตัวว่าชั่วช้า จะออกมาลุแก่โทษที่ทำผิด” พอปรับความเข้าใจกันได้ ก็ชวนนางจันท์เทวีไปตามหาพระโอรสโดยปลอมเป็นสามัญชน พระองค์ได้รับความลำบากยากเข็ญกว่าจะได้พบพระสังข์ บทบาทของพระองค์น่าเศร้าสลดใจมากกว่าตลกขบขัน <br />\n<strong>ท้าวสามนต์ <br />\n</strong>          ท้าวสามนต์เป็นกษัตริย์ที่มีบทบาทตรงกันข้ามกับท้าวทศยศวิมลอย่างสิ้นเชิงเพราะหากตัดเรื่องพระราชอำนาจสูงสุดที่สั่งประหารชีวิตคนออกไปแล้ว <br />\n          ท้าวยศวิมลไม่มีลักษณะตลกขบขันเลยแม้แต่น้อย  แต่ท้าวสามนต์มีบทบาทที่น่าขัน  เช่น  ตอนที่พระสังข์ตีคลี  ลักษณะนิสัยโดยทั่วไปของท้าวสามนต์ก็คือ  เป็นคนเอาแต่ใจ  จิตใจโลเลไม่แน่นอน  ต้องการอะไรแล้วจะต้องได้  เช่นที่พยายามแกล้งเจ้าเงาะ  “แกล้งให้หาปลาจะฆ่าฟัน อ้ายเงาะมันกลับได้มามากมาย ยิ่งคิดยิ่งแค้นแน่นใจ แม้นมิฆ่ามันได้ก็ไม่หาย” แต่พอพระสังข์ถอดเงาะแล้ว ก็กลับเข้าข้างพระสังข์ ไม่นึกจิตใจของหกเขยและไม่สงสารธิดาทั้งหกด้วย <br />\n<strong>พระมเหสี <br />\n</strong>          พระมเหสีมีบทบาทไม่มากนัก  แต่ก็เป็นตัวละครที่ทำให้เรืองดำเนินไปได้ย่างสมเหตุสมผล  ตัวละครสำคัญในเรื่องสังข์ทองคือ  นางจันท์เทวี  และนางมณฑา นางจันท์เทวี<br />\n          นางจันท์เทวีมีบทบาทเช่นเดียวกับตัวละครหญิงในวรรณคดี  คือมักพบกับชะตากรรมที่ลำบากยากแค้น  ต้องพลัดพรากจากสามี  ต้องเดินทางระหกระเหินไปได้รับความทุกข์แสนสาหัส  ซึ่งไม่ใช่การยินยอมแต่ถูกความจำเป็นบังคับเมื่อผู้ที่ขับไล่ไปมางอนง้อขอโทษ  แม้จะมีทิฐิมานะอย่างไร  ในที่สุดก็จะต้องใจอ่อนยอมยกโทษให้  เพราะไม่ใช่ความผิดของผู้นั้นอย่างแท้จริง  แต่มีผู้ใช้เวทมนตร์คาถาหรือเล่ห์กลมารยาททำให้หลงผิดไป  ในที่สุดก็คืนดีกันอย่างเดิม  นางจันท์เทวีถูกขับไล่ออกจากเมืองตั้งแต่คลอดโอรสใหม่ๆ โดยไม่ได้รับความเห็นใจเลยแม้แต่น้อย  ครั้นเมื่อไม่ได้รับกานผ่อนผันเพราะนางจันทายุยง  นางจันท์เทวีก็แสดงความเด็ดเดี่ยวด้วยการ   “ร้องทูลพระองค์ทรงสกล น้องคนมีกรรมจะขอลาดูรูปจำร่างเสียยังแล้ว พระแก้วจะไม่ได้เห็นหน้า จะไม่คืนคงอย่าสงกา มิได้รองฝ่าพระบาทไป” นางแข็งแกร่งพอที่จะทำงานเลี้ยงตัว เลี้ยงลูกทั้งๆที่เคยใช้ชีวิตอย่างสุขสบายในวัง นางเข้มแข็งพอที่จะไม่ฆ่าตัวตาย แต่มีชีวิตอยู่ด้วยความหวังว่าสักวันหนึ่งคงจะได้พบพระโอรส<br />\n<strong>นางมณฑา <br />\n</strong>          นางมณฑาเป็นแบบฉบับของ  “แม่”  ทั่วๆไป  คือ  รักลูก  ห่วงใยลูกแม้ลูกจะทำผิดก็พร้อมจะให้อภัย  และมีความยุติธรรมเป็นคุณธรรมประจำใจ  เมื่อนางรจนาเลือกเจาเงาะเป็นคู่ครอง  นางผิดหวังมาก  จึงตัดพ้อต่อว่านางรจนา  “ ควรหรือมาเป็นได้เช่นนี้  เสียทีแม่รักเจ้านักหนา  ร่ำพลางนางทรงโศกา  กัลยาเพียงจะสิ้นสมประดี ”  แต่นางก็มีสติดีที่จะไตร่ตรองหาเหตุผลที่พระธิดากระทำเช่านั้น  ทั้งยังเตือนสติท้าวสามนต์ไม่ให้ลงโทษพระธิดาอย่างรุนแรงด้วย  นางมณฑาเป็นคนที่ทีเหตุผล  และพยายามนำเหตุผลมาอธิบายให้พระสวามีผู้มัวเมาในโทสะฟัง  เพื่อให้มองเห็นความสำคัญของเจ้าเงาะ  พยายามไกล่เกลี่ยให้ทุกฝ่ายประนีประนอมปรองดองกันเพื่อความสงบสุข  แต่การบรรยายถึงนางมณฑาในบางครั้งจะมีลักษณะตลกขบขัน  ตามแบบฉบับของการเล่นละครนอก  ทั้งๆที่นางเป็นนางกษัตริย์  น่าสังเกตว่าบทตลกขบขันนี้จะแสดงออกเฉพาะนางมณฑาเท่านั้น  ส่วนนางจันท์เทวีจะไม่มีบทบทน่าขบขันเลย <br />\n<strong>ตัวละครอมนุษย์ <br />\n</strong>          ตัวละครอมนุษย์  คือตัวละครที่ไม่ใช่มนุษย์ธรรมดา  แต่จะมีลักษณะเด่นและมีพลังอำนาจที่ไม่เหมือนมนุษย์ เช่น เทวดา  ยักษ์  ครุฑ  นาค  ฯลฯ  ตัวละครเหล่านี้มีบทบาทและการแสดงออกเช่นเดียวกับมนุษย์  แต่ไม่ใช่ตัวเอกของเรื่อง  ถ้าเป็นตัวละครฝ่ายดีก็มักจะเป็นผู้ช่วยตัวเอก  ถ้าเป็นละครฝ่ายร้ายก็จะมีบทบาทเป็นศัตรูกับตัวเอก <br />\n          ตัวละครอมนุษย์ที่ปรากฏบ่อยครั้งในวรรณคดีไทยคือ  พระอินทร์  ซึ่งเป็นผู้ช่วยตัวเอกในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง  โดยเฉพาะวรรณคดีที่มีที่มาจากชาดกตัวละครอมนุษย์นี้มักจะมีอำนาจพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง  เป็นได้ทั้งตัวละครฝ่ายดีและฝ่ายร้าย  ตัวละครฝ่ายดีจะช่วยแก้อุปสรรคให้กับตัวเอกช่วยเหลือ  แก้สถานการณ์ ฯลฯ  โดยมากจะปรากฏในรูปของพระอินทร์หรือเทวดา   ส่วนตัวละครฝ่ายร้าย  มักปรากฏในรูปยักษ์  ปีศาจ  หรือสัตว์ที่มีฤทธิ์ต่างๆ  แต่ถ้าเป็นตัวละครอมนุษย์ที่ไม่มีอำนาจพิเศษ  ก็มักมีบทบาทเป็นผู้ช่วยตัวละครเอกมากกว่าที่จะเป็นอย่างอื่น  ตัวละครอมนุษย์ในเรื่องสังข์ทองเป็นตัวละครฝ่ายดีทั้งสิ้น<br />\n<strong>พระอินทร์และเทวดา</strong> <br />\n          ในบทละครหลายเรื่องจะมีบทบาทของพระอินทร์ที่เหาะลงมาช่วยตัวละครเอกเวลาที่ตกอยู่ในความคับขัน  หรือต้องการความช่วยเหลือ  หรือในเวลาที่เหมาะสม  สำหรับเรื่องนี้อธิบายได้ว่าเกิดจากอธิพลของนิทานชาดก  ซึ่งมีหลักอยู่ว่าพระอินทร์จะลงมาช่วยพระโพธิสัตว์อยู่เสมอ  และพระอินทร์จะช่วยตัวละครที่ตั้งอยู่ในคุณธรรมเท่านั้น  ทั้งยังช่วยจูงใจตัวละครบางตัวที่หลงผิดไปให้กลับไปยึดมั่นในคุณธรรมอีกด้วย  บทบาทของพระอินทร์  บทบาทของพระอินทร์นี้ช่วยทำให้มีความสมเหตุสมผลในการที่จะสร้างเรื่องให้มีความสุดวิสัยหรือความเป็นไปไม่ได้ต่างๆ  แต่พฤติกรรมของพระอินทร์ก็มีลักษณะเหมือนกับพฤติกรรมของคนธรรมดานี่เองคือ  มีอารมณ์  ความรู้สึกรัก  โกรธ  เกลียด  ฯลฯ  เพียงแต่มีพลังอำนาจบางอย่างที่จะนำมาใช้ในทางที่ถูกต้องเท่านั้น<br />\n          บทบาทของพระอินทร์ในวรรณคดีไทยก็คือ  เมื่อมนุษย์ผู้มีบุญ  ผู้ใดเดือดร้อน  หรือได้รับความทุกข์ยากสำบาก  พระอินทร์ก็จะเสด็จลงมาช่วยบำบัดทุกข์ให้เสมอ  โดยรู้ได้จากการที่ทิพยอาสน์หรือพระแท่นบัณฑุกัมพลที่ประทับแข็งกระด้างขึ้นมา พระองค์จะเล็งทิพยเนตรสอดส่องดูมนุษย์โลกแล้วลงมาช่วยเหลือ<br />\n          น่าสังเกตว่าพระอินทร์จะให้ความช่วยเหลือคนดีที่ตกทุกข์ได้ยากให้พ้นจากความทุกข์ทรมานและพบกับความสุข  โดยไม่จำเป็นต้องรอให้พระแท่นบัณฑุกัมพลแข็งกระด้างขึ้นมาก็ได้อย่างเช่นในเรื่องสังข์ทอง  เมื่อพระอินทร์ช่วยนางรจนาและเจ้าเงาะให้พ้นทุกข์แล้ว  ก็ประสงค์จะให้ท้าวยศวิมลไปรับนางจันท์เทวีคืนมาอยู่วังตามเดิม  จึงไปปรากฏองค์ให้ท้าวยศวิมลเห็น<br />\n          นอกจากนี้พระอินทร์ยังช่วยเสริมสร้างความสามารถและฤทธิ์อำนาจให้กับตัวเอก  เช่น  มาท้าตีคลีพนันแล้วยอมแพ้พระสังข์  เพื่อให้ท้าสามนต์และราษฎรเมืองสามนต์ยอมรับในบารมีของพระสังข์<br />\nสำหรับบทบาทของเทวดานั้นก็ปรากฏบ่อยครั้ง  ส่วนใหญ่จะเป็นการดลใจตัวละครให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง  และเหตุการณ์นั้นทำให้เนื้อเรื่องดำเนินไปอย่างสมเหตุสมผล  เช่น  เทวดาดลใจท้าวสามนต์<br />\n          เทวดาดลใจนางรจนาตอนที่เลือกคู่คือ  “เทพไทอุปถัมภ์นำชัก นงลักษณ์ดูเงาะเจาะจง” และเจ้าเงาะเองก็บอกนางว่า “พี่อยู่ถึงนอกฟ้าหิมพานต์เทวัญบันดาลให้เที่ยวมา” การดลใจนี้เป็นการช่วยให้ตัวละครสมประสงค์ในการเลือกคู่มากกว่าอย่างอื่น  นอกจากนี้ยังมีการช่วยเหลือตัวละครฝ่ายดีให้รอดพ้นอันตราย  เช่น  รุกขเทพที่รักษาพระไทรป้องกันพระสังข์ไม่ให้เป็นอันตราย  ตอนที่ถูกเสนาทุบด้วยท่อนจันทน์  อีกตอนหนึ่งคือช่วยย่นระยะทางให้นางจันท์เทวีมาตามพระสังข์ซึ่งถูกจับตัว<br />\nตอนที่พระสังข์ถูกถ่วงน้ำ  แม้จะไม่ได้ระบุไว้อย่างละเอียด  แต่การที่พระสังข์จะรอดชีวิตก็เท่ากับเทวดาได้ช่วยไว้นั่นเอง  แต่ไประบุไว้ว่าเทวดาดลใจท้าวภุชงค์ให้มาช่วยพระสังข์<br />\n<strong>นางพันธุรัต</strong><br />\n          นางพันธุรัตเป็นยักษ์ใจดี  เลี้ยงดูพระสังข์และรักเหมือนลูก  แต่ความรักของนางกลับทำลายตัวนางเอง  เพราะเท่ากับว่าเมื่อพระสังข์  “ปีกกล้าขาแข็ง” แล้วก็หนีจากนางไป<br />\n          ผู้นิพนธ์ได้ชี้ให้เห็นความขัดแย้งระหว่างนางพันธุรัดกับพระสังข์ตั้งแต่แรกที่ท้าวภุชงค์ส่งพระสังข์มาเป็นลูกคือ  โหรไม่เห็นด้วย  แต่นางไม่ฟังคำทักท้วงเพราะรักใคร่เอ็นดูพระสังข์เสียแล้ว  แต่วิตกว่าตนเป็นยักษ์  พระสังข์เป็นมนุษย์จะกลัวยักษ์  จึงสั่งให้พวกยักษ์จำแลงกายเป็นมนุษย์ทั้งหมด  ซึ่งสุนันทา  โสรัจจ์  วิจารณ์ไว้ว่า  “นางยักษ์เริ่มต้นด้วยการหนีความจริง เมื่อโหรทำนายว่าพระสังข์จะก่อความวิบัติให้นาง ก็ไม่ตัดไฟต้นลมเสียก่อน นอกจากนี้ยังไม่ยอมรับฟังเหตุผลโมโหร้ายที่ถูกขัดใจ ถือเอาความคิดของตนเองเป็นใหญ่”<br />\nนางพันธุรัตแปลงกายอำพรางไม่ให้พระสังข์รู้จนเวลาผ่านไปร่วมสิบปี  แต่นางก็กลัวว่าพระสังข์จะหนีไป  จึงคอยระวังอยู่ตลอดเวลา  แม้เวลาที่จะไปป่าก็ยังหลอกพระสังข์จนพระสังข์สงสัย  แต่เราจะสังเกตได้ว่า  ผู้นิพนธ์ได้กล่าวย้ำถึงความเป็นยักษ์ของนางอยู่ตลอดเวลา<br />\nถึงแม้จะเป็นยักษ์  นางพันธุรัตก็เป็นแม่ที่อุ้มชูพระสังข์มาเป็นเวลานานให้ความห่วงใยเสมอต้นเสมอปลาย  พระสังข์เองก็อดที่จะโศกเศร้าอาลัยอาวรณ์ไม่ได้  ครั้นพอเห็นพระสังข์ไม่ยอมลงมาหาแน่แล้ว  นางก็เขียนมหาจินดามนตร์ไว้ให้  เพื่อเป็นการเตรียมการให้พระสังข์ไปผจญกับอุปสรรคและแก้ไขอุปสรรคได้  การกระทำของนางคือการเสียสละเพื่อลูกอย่างแท้จริง\n</p>\n<p>\n<a href=\"/node/42965 \"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/HOME_resize.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47067 \"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_resize_10.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47068 \"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_resize_9.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47069 \"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_resize_1.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47073 \"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_1_resize.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47077 \"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_2_resize.jpg\" height=\"29\" /></a>\n</p>\n<p>\n<a href=\"/node/47079 \"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_3_resize.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47083 \"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_4_resize.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47087 \"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_5_resize.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47089 \"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_6_resize.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47091 \"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_7_resize.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47094 \"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_8_resize.jpg\" height=\"29\" /></a>\n</p>\n<p>\n<a href=\"/node/47097 \"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_9_resize.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47113 \"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_10_resize.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47116 \"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_11_resize.jpg\" height=\"29\" /></a>  <img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_resize_11.jpg\" height=\"29\" />  <a href=\"/node/47810 \"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_resize_4.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47816 \"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_resize_7.jpg\" height=\"29\" /></a>\n</p>\n<p>\n<a href=\"/node/47818 \"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_resize_5.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/47819 \"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_resize_6.jpg\" height=\"29\" /></a>  <a href=\"/node/50117 \"><img border=\"0\" width=\"100\" src=\"/files/u19991/_resize_8.jpg\" height=\"29\" /></a><br />\n \n</p>\n', created = 1715294197, expire = 1715380597, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:d391562eeb725d29b1977f8f4e0e77a3' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

วิเคราะห์ตัวละคร

          เรื่องสังข์ทองเดิมเป็นนิทานในปัญญาสชาดก  ซึ่งเป็นเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ในขณะที่เสวยชาติต่างๆ   ตัวเอกฝ่ายชายเป็นผู้มีบุญญาธิการมาเกิดเพื่อปราบยุคเข็ญ หรือทำคุณประโยชน์ให้แก่บ้านเมือง  แต่มักจะมีกำเนิดในรูปที่ผิดปรกติในตอนแรก  จึงต้องมีการกำจัดพระโอรสที่กำเนิดผิดคน  สามัญเพื่อความปลอดภัยของบ้านเมือง  เมื่อพระโอรสเจริญวัยขึ้น  และมีคุณสมบัติเพียบพร้อมที่จะปกครองประชาชน  และเป็นที่ยอมรับของประชาชนก็จะกลับมาครองบ้านเมืองและมีคู่ครองที่เหมาะสม
          ตัวละครที่สำคัญในเรื่องสังข์ทองมีอยู่ ๕ กลุ่ม  คือ ตัวเอก  ตัวโกง พระราชา พระมเหสี และตัวละครอมนุษย์
ตัวเอก
          ตัวเอกฝ่ายชายมักเป็นกษัตริย์หรือบุคคลชั้นสูง  เพราะไทยเราได้เค้าเรื่องมาจากวรรณคดีฮินดูซึ่งนิยมเล่าเรื่องราวของชนชั้นสูง  และยังได้เค้าเรื่องมาจากชาดกซึ่งเชื่อว่าพระโพธิสัตว์เป็นผู้มีบุญญาธิการกว่ามนุษย์ธรรมดา  ตัวเอกในนิทานมักมีบุคลิกภาพเดียวกัน  คือเป็นผู้มีบุญมาเกิดเพื่อปราบยุคเข็ญ  และชดใช้หนี้เวรอันเป็นผลกรรมของชาติที่แล้ว  ดังนั้นตัวเอกจึงต้องรับผลวิบากกรรมในชาตินี้  คือถูกตัวละครฝ่ายอธรรมรังแก                                                                                                                                                                            พระสังข์
          พระสังข์เป็นตัวเอกที่มีรูปงามตามแบบการสร้างตัวเอกในวรรณคดีไทย ทั่วไป  แต่ในตอนเด็กปรากฏเป็น  ๒  รูป คือ รูปหอยสังข์กับรูปกุมาร ส่วนตอนเป็นหนุ่มก็มี  ๒  รูปเช่นเดียวกัน คือ รูปเงาะกับรูปทอง ทั้งรูปหอยสังข์และรูปเงาะเปรียบเสมือน  “ เกาะ”  คุ้มครองพระสังข์  ในตอนเด็กเมื่อนางจันท์เทวีต่อยหอยสังข์แตกแหลกไป  พระสังข์ร้องไห้คร่ำครวญ  ต่อว่าพระมารดาว่า  พระแม่ต่อยสังข์ดังชีวิต  จะชมชิดลูกนี้สักกี่วัน   ซึ่งเป็นการบอกเป็นนัยๆ  ถึงภัยที่จะมาถึงและต่อมาพระองค์ก็ถูกจับไปถ่วงน้ำ  เพราะเมื่อไม่ได้ซ่อนตัวอยู่ในหอยสังข์  ชาวบ้านก็เห็นและเล่าลือกันต่อๆไป  จนท้าวยศวิมลและนางจันทารู้  ส่วนรูปเงาะนั้นพระสังข์กราบทูลท้าวสามลว่า “ ซึ่งแปลงมาจะหาคู่ครอง ” ซึ่งแสดงว่ารูปเงาะนี้นอกจากจะเป็นของวิเศษ  เป็นเกราะกำบังแล้ว  ยังเป็นเครื่องมือในการหาคู่ครองที่เหมาะสมคือมีบุญบารมีเทียบเท่ากันด้วย                                            
          การวิเคราะห์ตัวเอก เป็นการเน้นในลักษณะเด่น  อุปนิสัย  และบทบาทดังนี้
          ๑.  ความมีบุญญาธิการ  เรื่องชาดกมักจะเน้นความมีบุญของพระโพธิสัตว์  แต่ขณะเดียวกันผู้คนก็มีความเชื่อในไสยศาสตร์ด้วย  การกำจัดพระโอรสท่ามีกำเนิดผิดปรกติเพื่อความปลอดภัยของบ้านเมืองเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางไสยศาสตร์มาก  แต่พระโอรสสังข์ทองเป็นผู้มีบุญจะฆ่าอย่างไรๆ ก็ไม่ตาย  นอกจากนี้ยังมีของวิเศษที่ไม่มีใครทำลายล้างได้  คือ  รูปเงาะ  เกือกแก้ว  และไม้เท้า  ซึ่งช่วยให้พระสังข์กระทำการสำเร็จทุกอย่าง  รวมทั้งมากจินดามนตร์ที่นางพันธุรัต  “เตรียม” ไว้ให้พระสังข์ในตอนที่ถูกทดสอบ โดยมีชีวิตเป็นเดิมพัน การที่สร้างเรื่องไว้ว่าเทวดาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาจุติเป็นพระสังข์ เป็นการปูพื้นฐานให้ผู้อ่านรู้สึกว่า   ความมีบุญญาธิการของพระสังข์เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล ไม่มหัศจรรย์พ้นวิสัยจนเกินไปนัก
          ๒.  ความกตัญญู  พระสังข์มีความกตัญญูต่อพระมารดา ตั้งแต่เล็กก็ได้ออกมาจากหอยสังข์  ช่วยพระมารดาทำงานบ้าน  เนื่องจากพระมารดาไปก็ครุ่นคิดถึงนาง  เป็นห่วงนางอยู่ตลอดเวลา   พอมีโอกาสพบนางโดยไม่คาดฝัน  พระองค์ก็โศกศัลย์จนสิ้นสติไป   และเมื่อนางจันท์เทวีขอให้ยกโทษให้กับท้าวยศวิมลว่า “เจ้าอย่าปองจิตคิดร้าย พยาบาทมาดหมายแก่บิดา” พระสังข์ก็ไม่ได้ถือโทษโกรธเคือง
สำหรับนางพันธุรัตนั้น  นางเป็นแม่ที่อุ้มชูเลี้ยงดูพระสังข์มาแต่เล็กจนโต  ให้ความรักเสมอต้นเสมอปลาย  แต่การที่นางไม่ยอมเปิดเผยความจริงให้รู้ว่านางเป็นยักษ์  ทำให้พระสังข์ เกิดความไม่ไว้วางใจ ประกอบกับความต้องการที่จะไปตามหาแม่จริง  ที่จากกันไปถึงสิบปีมีมากกว่า  พระสังข์จึงต้องทิ้งนางไป หากจะกล่าวว่าพระสังข์อกตัญญูต่อนางพันธุรัต   ก็เป็นการกล่าวอย่างไม่ยุติธรรมนัก  เนื่องจากพระองค์หนีนางด้วยความกลัว และถ้าหากจะชั่งน้ำหนักระหว่าง “ แม่จริง ”  ซึ่งกำลังตกระกำลำบาก  ใช้ชีวิตอย่างสุดลำเค็ญ เสี่ยงต่อการถูกตามฆ่าจากพระสวามีที่ถูกเสน่ห์และเมียน้อยผู้เหี้ยมโหด กับ  “ แม่เลี้ยง ”  ผู้มีอิทธิฤทธิ์  อำนาจ  ข้าราชบริพารพร้อมสรรพแล้ว  ความรู้สึกของพระสังข์ย่อมเอนเอียงไปทางแม่จริงซึ่งอยู่ในฐานะด้อยกว่าอย่างแน่นอน
          ๓.  ความฉลาดรอบคอบ  พระสังข์เป็นคนที่ฉลาด  เอาตัวรอด บางครั้งก็ใช้ความลาดนี้มาทดสอบลองใจคนอื่น  ดังที่ผู้นิพนธ์บทละครมักเรียกว่า “ เจ้าเงาะแสนกล ”  พระองค์แกล้งสวมรูปเงาะทำเป็นบ้าใบ้  จึงได้รู้ซึ้งถึงจิตใจ ของคนรอบข้างว่าคิดกับพระองค์อย่างไร  พระสังข์ย่อมรู้ดีว่าท้าวสามนต์ เกลียดและรังเกียจเจ้าเงาะ  จึงกลั่นแกล้งให้ไปหาปลาหาเนื้อ  แม้หามาได้แล้วก็ไม่ยอมรับ  กลับพยายามหาทางแกล้งต่อไป เพื่อเอาผิดและประหารเจ้าเงาะให้ได้ ขณะเดียวกันก็ลำเอียงเข้าหาหกเขยซึ่งมีรูปงามและมีพวกมาก  พระองค์จึงสั่งสอนหกเขยด้วยการตัดจมูกตัดใบหูหกเขยเพื่อ  “ ประจาน ”  ในฐานะที่ชอบโอ้อวดตัวและเยาะเย้ยคนอื่น ผลที่ได้ก็คือ  หกเขยเปลี่ยนนิสัยไปเป็นทางตรงกันข้าม ไม่หาเรื่องดูถูกดูหมิ่นคนที่ด้อยกว่า  ผลนี้กระทบไปถึงหกนางผู้มักเหยียบย่ำนางรจนาด้วย  การสั่งสอนนี้อาจจะก้าวร้าวรุนแรงไปบ้างในสายตาของคนทั่วไป  แต่ถ้าหากพิจารณาให้ดีแล้ว  หกเขยผู้ทะนงหลงตัวเองว่ารูปงาม  มียศศักดิ์  เมื่อถูก “ ทำลาย ”  รูปงามนั้นเสียแล้ว  ก็คงหมดหนทางที่จะคงความหยิ่งยโสอีกต่อไป
ตัวเอกฝ่ายหญิงคือนางรจนานั้นเป็นนางแก้วคู่บารมีของพระเอก มีบทบาทในทางส่งเสริมพระเอก
ตัวโกง
          ตัวโกง คือตัวละครฝ่ายตรงข้ามกับตัวเอก  มักมีบทบาทร้ายเพียงด้านเดียว  ไม่มีคุณธรรม  ไม่ปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรม  บทบาทของตัวโกงจะเป็นไปในทำนองเดียวกัน  คือทำให้คู่รักหรือสามีภรรยาต้องพลัดพรากจากกัน หรือมีพฤติการณ์ไม่ดี  คอยอิจฉาริษยาตัวเอกและคนทั่วไป
          ตัวโกงในวรรณคดีไทย  มักจะมีแต่ความร้ายกาจอย่างเดียว ความเลวร้ายนั้นมักเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล  และช่วยให้เรื่องดำเนินไปได้ตามความมุ่งหมาย ตัวละครที่มีบทบาทเด่นด้านนี้คือ  นางจันทาและหกเขย
นางจันทา
          บทบาทของนางจันทาเป็นบทบาทตัวโกงอย่างแท้จริง  เป็นคนใจบาปหยาบช้า  เหี้ยมโหด  ขี้อิจฉาริษยา  ทำเรื่องร้ายๆ ได้ทุกอย่างเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งย่อยับไป  นางจันทาเป็นเมียน้อย ซึ่งสำหรับสังคมไทยในสมัยโบราณนั้น ความหึงหวงและการชิงรักหักสวาทกันระหว่างเมียหลวงกับเมียน้อยเป็นเรื่องปกติธรรมดา และกล่าวไว้ในวรรณคดีหลายเรื่อง แต่พฤติการณ์เหล่านี้มักรุนแรงถึงขนาดพยายามทำลายล้างอีกฝ่ายหนึ่งให้มีอันเป็นไป นางจันทาพยายามทำเสน่ห์ท้าวยศวิมล ให้ขับมเหสีกับพระโอรสออกไปจากวัง ต่อมาก็ยุให้ท้าวยศวิมลสั่งให้ฆ่าพระสังข์ ให้ตั้งนางเป็นมเหสีเอก แต่ในที่สุดนางก็ได้รับผลแห่งการกระทำชั่วของตัวเอง
หกเขย
          หกเขยเป็นโอรสกษัตริย์ที่ธิดาทั้งหกของท้าวสามนต์เลือกเป็นคู่ครองแม้หกเขยจะเป็นเจ้าชายที่มี “ รูปร่างงามหนักหนา ”  แต่ก็ด้อยสติปัญญาเสียจนมีลักษณะชื่อ เซ่อ จนน่าขันในสายตาผู้อ่าน แม้การบรรยายของผู้นิพนธ์ก็ยังแสดงให้เห็นว่าหกเขย  “  เคอะเซอะ ”  ไปหาพระสังข์ จำต้องยอมให้พระสังข์เชือดจมูกกับใบหูไปจนมีลักษณะ “ หูแหว่งจมูกวิ่น ” ประจานตัวเองไปตลอดชีวิตเพื่อความอยู่รอดของตัวเอง ด้วยกลัวว่าท้าวสามนต์จะประหารชีวิตเสีย ถ้าไม่ได้ปลาได้เนื้อไปตามต้องการ หกเขยต้องเสียจมูกกับหู และความเจ็บปวดทั้งกายและใจแลกกับปลาตายคนละตัวสองตัวและเนื้อทรายขาหักคนละตัว มิหนำซ้ำยังถูกเยาะเย้ยจากฝ่ายพระเอกอยู่ตลอดเวลา เวลาที่พระสังข์พูดถึงหกเขย ก็ใช้คำพูดว่า “ อ้ายหกเขยเซอะ ” เป็นการดูหมิ่นอยู่เสมอ
          สุนันทา โสรัจจ์ (ม.ป.ป.:๓๓) กล่าวไว้ในบทวิเคราะห์วิจารณ์พระเอกหรือผู้ร้ายในวรรณคดีไทยว่า หกเขยมีนิสัยชอบใส่ร้ายกัน ดังที่ใส่ร้ายเจ้าเงาะว่าเป็นปีศาจ และชอบโอ้อวด พูดปดเพื่อเอาตัวรอด จึงได้รับบทเรียนจากเจ้าเงาะเพื่อที่จะให้เลิกนิสัยชอบดูหมิ่นคนที่ต่ำต้อยกว่าตนและรู้ตัวหายลืมตนคือตัดปลายจมูกเมื่อไปขอปลา และตัดใบหูเมื่อคราวไปขอเนื้อ เป็นการลงโทษสถานเบาให้หลาบจำ
 แต่หากจะพิจารณาด้วยใจเป็นธรรมแล้ว ความผิดควรจะตกอยู่ที่ท้าวสามนต์มากกว่า เพราะท้าวสามนต์มีความเกลียดชังเจ้าเงาะ จึงแกล้งให้เกิดการประลองฝีมือในการหาเนื้อหาปลา เพื่อจะหาเหตุฆ่าเจ้าเงาะเสีย การที่หกเขยปดท้าวสามนต์ว่าถูกปลาปักเป้ากัดจมูก หรือปีศาจกระทำให้หูขาดนั้นก็เป็นวิสัยของผู้ที่จะเอาตัวรอด เนื่องจากเกรงว่าจะถูกลงโทษทัณฑ์ และหกเขยก็ถูกเจ้าเงาะกลั่นแกล้งอยู่ตลอดเวลา เช่น “ฉุดหูออกไปเลือดไหลหยด แกล้งจูงพาเที่ยวเลี้ยวลด ถือไม้เท้าแทนตะพดเหมือนวิ่งวัว” ดังนั้นการที่หกเขยใส่ร้ายเจ้าเงาะว่าเป็นภูตผีปีศาจควรกำจัดเสีย จึงเป็นความคิดที่เป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์ เนื่องจากหกเขยรู้ดีว่าถ้าไม่มีเจ้าเงาะอยู่ในโลกนี้ตนเองก็ปลอดภัย และพ้นจากการถูกกลั่นแกล้งให้อับอายขายหน้าอย่างแน่นอน
พระราชา
          ธวัช ปุณโณทก (๒๕๓๓: ๒๒๒) อธิบายว่า พระราชาคือ พระราชบิดาของตัวเองฝ่ายชายและฝ่ายหญิง โดยทั่วไปมีมเหสีจำนวนมากตามจารีตของกษัตริย์ไทยโบราณ บุคลิกลักษณะของพระราชา คือ มีความตั้งใจดีที่จะทำให้บ้านเมืองสงบสุข ยอมสละลูกเมียตามคำทำนายของโหร หูเบา หลงเชื่อฝ่ายอธรรม มีความเด็ดเดี่ยว แต่ไม่รอบคอบ และยึดมั่นในคุณธรรม
          พระราชาในบทละครนอก คือ แบบฉบับของพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งสามารถสั่งประหารชีวิตใครก็ได้ที่ขัดพระทัยแต่บางครั้งบทบาทของพระราชาก็กลับกลายเป็นบทตลกไป เพราะแบบแผนการเล่นละครนอกนิยมเล่นตลก การแต่งบทละครนอกจึงไม่ต้องเคร่งครัดในเรื่องจารึกประเพณีมากนัก ตัวละครที่เป็นพระราชาหรือพระมเหสี ก็ลงมาเล่นตลกคลุกคลีกับพวกเสนาข้าราชบริพารได้
          พระราชาในบทละครนอกเรื่องสังข์ทองมี ๒ องค์ ที่มีบทบาทสำคัญแต่มีลักษณะเด่นไปคนละอย่าง ดังนี้
ท้าวยศวิมล
          ท้าวยศวิมลมีบทบาทในตอนเปิดเรื่องและบทบาทสำคัญในตอนท้ายเรื่องพระองค์เป็นกษัตริย์ที่มีความตั้งใจดีต่อบ้านเมืองคือ ยอมเสียสละลูกเมีย ในบทละครยังย้ำในเรื่องการทำเสน่ห์ เพื่อให้รู้สึกว่าท้าวยศวิมลไม่ใช่คนที่หูเบาหลงเชื่อนางจันทาฝ่ายเดียว แท้ที่จริงพระองค์ก็รักพระมเหสี รักพระโอรส แต่ถูกเวทมนตร์มายาทำให้เป็นไป
          ตอนที่ท้าวยศวิมลจะออกตามพระสังข์ ก็คือพระสังข์ถอดรูปเงาะ ได้รับการยอมรับจากท้าวสามนต์แล้ว พระอินทร์ก็มาปรากฏให้เห็นและต่อว่าพระองค์
          ท้าวยศวิมลเป็นคนที่ยอมรับความจริง เพราะเมื่อไปงอนง้อนางจันท์เทวีก็ตรัสว่า “เดี๋ยวนี้รู้สึกตัวว่าชั่วช้า จะออกมาลุแก่โทษที่ทำผิด” พอปรับความเข้าใจกันได้ ก็ชวนนางจันท์เทวีไปตามหาพระโอรสโดยปลอมเป็นสามัญชน พระองค์ได้รับความลำบากยากเข็ญกว่าจะได้พบพระสังข์ บทบาทของพระองค์น่าเศร้าสลดใจมากกว่าตลกขบขัน
ท้าวสามนต์
          ท้าวสามนต์เป็นกษัตริย์ที่มีบทบาทตรงกันข้ามกับท้าวทศยศวิมลอย่างสิ้นเชิงเพราะหากตัดเรื่องพระราชอำนาจสูงสุดที่สั่งประหารชีวิตคนออกไปแล้ว
          ท้าวยศวิมลไม่มีลักษณะตลกขบขันเลยแม้แต่น้อย  แต่ท้าวสามนต์มีบทบาทที่น่าขัน  เช่น  ตอนที่พระสังข์ตีคลี  ลักษณะนิสัยโดยทั่วไปของท้าวสามนต์ก็คือ  เป็นคนเอาแต่ใจ  จิตใจโลเลไม่แน่นอน  ต้องการอะไรแล้วจะต้องได้  เช่นที่พยายามแกล้งเจ้าเงาะ  “แกล้งให้หาปลาจะฆ่าฟัน อ้ายเงาะมันกลับได้มามากมาย ยิ่งคิดยิ่งแค้นแน่นใจ แม้นมิฆ่ามันได้ก็ไม่หาย” แต่พอพระสังข์ถอดเงาะแล้ว ก็กลับเข้าข้างพระสังข์ ไม่นึกจิตใจของหกเขยและไม่สงสารธิดาทั้งหกด้วย
พระมเหสี
          พระมเหสีมีบทบาทไม่มากนัก  แต่ก็เป็นตัวละครที่ทำให้เรืองดำเนินไปได้ย่างสมเหตุสมผล  ตัวละครสำคัญในเรื่องสังข์ทองคือ  นางจันท์เทวี  และนางมณฑา นางจันท์เทวี
          นางจันท์เทวีมีบทบาทเช่นเดียวกับตัวละครหญิงในวรรณคดี  คือมักพบกับชะตากรรมที่ลำบากยากแค้น  ต้องพลัดพรากจากสามี  ต้องเดินทางระหกระเหินไปได้รับความทุกข์แสนสาหัส  ซึ่งไม่ใช่การยินยอมแต่ถูกความจำเป็นบังคับเมื่อผู้ที่ขับไล่ไปมางอนง้อขอโทษ  แม้จะมีทิฐิมานะอย่างไร  ในที่สุดก็จะต้องใจอ่อนยอมยกโทษให้  เพราะไม่ใช่ความผิดของผู้นั้นอย่างแท้จริง  แต่มีผู้ใช้เวทมนตร์คาถาหรือเล่ห์กลมารยาททำให้หลงผิดไป  ในที่สุดก็คืนดีกันอย่างเดิม  นางจันท์เทวีถูกขับไล่ออกจากเมืองตั้งแต่คลอดโอรสใหม่ๆ โดยไม่ได้รับความเห็นใจเลยแม้แต่น้อย  ครั้นเมื่อไม่ได้รับกานผ่อนผันเพราะนางจันทายุยง  นางจันท์เทวีก็แสดงความเด็ดเดี่ยวด้วยการ   “ร้องทูลพระองค์ทรงสกล น้องคนมีกรรมจะขอลาดูรูปจำร่างเสียยังแล้ว พระแก้วจะไม่ได้เห็นหน้า จะไม่คืนคงอย่าสงกา มิได้รองฝ่าพระบาทไป” นางแข็งแกร่งพอที่จะทำงานเลี้ยงตัว เลี้ยงลูกทั้งๆที่เคยใช้ชีวิตอย่างสุขสบายในวัง นางเข้มแข็งพอที่จะไม่ฆ่าตัวตาย แต่มีชีวิตอยู่ด้วยความหวังว่าสักวันหนึ่งคงจะได้พบพระโอรส
นางมณฑา 
          นางมณฑาเป็นแบบฉบับของ  “แม่”  ทั่วๆไป  คือ  รักลูก  ห่วงใยลูกแม้ลูกจะทำผิดก็พร้อมจะให้อภัย  และมีความยุติธรรมเป็นคุณธรรมประจำใจ  เมื่อนางรจนาเลือกเจาเงาะเป็นคู่ครอง  นางผิดหวังมาก  จึงตัดพ้อต่อว่านางรจนา  “ ควรหรือมาเป็นได้เช่นนี้  เสียทีแม่รักเจ้านักหนา  ร่ำพลางนางทรงโศกา  กัลยาเพียงจะสิ้นสมประดี ”  แต่นางก็มีสติดีที่จะไตร่ตรองหาเหตุผลที่พระธิดากระทำเช่านั้น  ทั้งยังเตือนสติท้าวสามนต์ไม่ให้ลงโทษพระธิดาอย่างรุนแรงด้วย  นางมณฑาเป็นคนที่ทีเหตุผล  และพยายามนำเหตุผลมาอธิบายให้พระสวามีผู้มัวเมาในโทสะฟัง  เพื่อให้มองเห็นความสำคัญของเจ้าเงาะ  พยายามไกล่เกลี่ยให้ทุกฝ่ายประนีประนอมปรองดองกันเพื่อความสงบสุข  แต่การบรรยายถึงนางมณฑาในบางครั้งจะมีลักษณะตลกขบขัน  ตามแบบฉบับของการเล่นละครนอก  ทั้งๆที่นางเป็นนางกษัตริย์  น่าสังเกตว่าบทตลกขบขันนี้จะแสดงออกเฉพาะนางมณฑาเท่านั้น  ส่วนนางจันท์เทวีจะไม่มีบทบทน่าขบขันเลย
ตัวละครอมนุษย์
          ตัวละครอมนุษย์  คือตัวละครที่ไม่ใช่มนุษย์ธรรมดา  แต่จะมีลักษณะเด่นและมีพลังอำนาจที่ไม่เหมือนมนุษย์ เช่น เทวดา  ยักษ์  ครุฑ  นาค  ฯลฯ  ตัวละครเหล่านี้มีบทบาทและการแสดงออกเช่นเดียวกับมนุษย์  แต่ไม่ใช่ตัวเอกของเรื่อง  ถ้าเป็นตัวละครฝ่ายดีก็มักจะเป็นผู้ช่วยตัวเอก  ถ้าเป็นละครฝ่ายร้ายก็จะมีบทบาทเป็นศัตรูกับตัวเอก
          ตัวละครอมนุษย์ที่ปรากฏบ่อยครั้งในวรรณคดีไทยคือ  พระอินทร์  ซึ่งเป็นผู้ช่วยตัวเอกในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง  โดยเฉพาะวรรณคดีที่มีที่มาจากชาดกตัวละครอมนุษย์นี้มักจะมีอำนาจพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง  เป็นได้ทั้งตัวละครฝ่ายดีและฝ่ายร้าย  ตัวละครฝ่ายดีจะช่วยแก้อุปสรรคให้กับตัวเอกช่วยเหลือ  แก้สถานการณ์ ฯลฯ  โดยมากจะปรากฏในรูปของพระอินทร์หรือเทวดา   ส่วนตัวละครฝ่ายร้าย  มักปรากฏในรูปยักษ์  ปีศาจ  หรือสัตว์ที่มีฤทธิ์ต่างๆ  แต่ถ้าเป็นตัวละครอมนุษย์ที่ไม่มีอำนาจพิเศษ  ก็มักมีบทบาทเป็นผู้ช่วยตัวละครเอกมากกว่าที่จะเป็นอย่างอื่น  ตัวละครอมนุษย์ในเรื่องสังข์ทองเป็นตัวละครฝ่ายดีทั้งสิ้น
พระอินทร์และเทวดา
          ในบทละครหลายเรื่องจะมีบทบาทของพระอินทร์ที่เหาะลงมาช่วยตัวละครเอกเวลาที่ตกอยู่ในความคับขัน  หรือต้องการความช่วยเหลือ  หรือในเวลาที่เหมาะสม  สำหรับเรื่องนี้อธิบายได้ว่าเกิดจากอธิพลของนิทานชาดก  ซึ่งมีหลักอยู่ว่าพระอินทร์จะลงมาช่วยพระโพธิสัตว์อยู่เสมอ  และพระอินทร์จะช่วยตัวละครที่ตั้งอยู่ในคุณธรรมเท่านั้น  ทั้งยังช่วยจูงใจตัวละครบางตัวที่หลงผิดไปให้กลับไปยึดมั่นในคุณธรรมอีกด้วย  บทบาทของพระอินทร์  บทบาทของพระอินทร์นี้ช่วยทำให้มีความสมเหตุสมผลในการที่จะสร้างเรื่องให้มีความสุดวิสัยหรือความเป็นไปไม่ได้ต่างๆ  แต่พฤติกรรมของพระอินทร์ก็มีลักษณะเหมือนกับพฤติกรรมของคนธรรมดานี่เองคือ  มีอารมณ์  ความรู้สึกรัก  โกรธ  เกลียด  ฯลฯ  เพียงแต่มีพลังอำนาจบางอย่างที่จะนำมาใช้ในทางที่ถูกต้องเท่านั้น
          บทบาทของพระอินทร์ในวรรณคดีไทยก็คือ  เมื่อมนุษย์ผู้มีบุญ  ผู้ใดเดือดร้อน  หรือได้รับความทุกข์ยากสำบาก  พระอินทร์ก็จะเสด็จลงมาช่วยบำบัดทุกข์ให้เสมอ  โดยรู้ได้จากการที่ทิพยอาสน์หรือพระแท่นบัณฑุกัมพลที่ประทับแข็งกระด้างขึ้นมา พระองค์จะเล็งทิพยเนตรสอดส่องดูมนุษย์โลกแล้วลงมาช่วยเหลือ
          น่าสังเกตว่าพระอินทร์จะให้ความช่วยเหลือคนดีที่ตกทุกข์ได้ยากให้พ้นจากความทุกข์ทรมานและพบกับความสุข  โดยไม่จำเป็นต้องรอให้พระแท่นบัณฑุกัมพลแข็งกระด้างขึ้นมาก็ได้อย่างเช่นในเรื่องสังข์ทอง  เมื่อพระอินทร์ช่วยนางรจนาและเจ้าเงาะให้พ้นทุกข์แล้ว  ก็ประสงค์จะให้ท้าวยศวิมลไปรับนางจันท์เทวีคืนมาอยู่วังตามเดิม  จึงไปปรากฏองค์ให้ท้าวยศวิมลเห็น
          นอกจากนี้พระอินทร์ยังช่วยเสริมสร้างความสามารถและฤทธิ์อำนาจให้กับตัวเอก  เช่น  มาท้าตีคลีพนันแล้วยอมแพ้พระสังข์  เพื่อให้ท้าสามนต์และราษฎรเมืองสามนต์ยอมรับในบารมีของพระสังข์
สำหรับบทบาทของเทวดานั้นก็ปรากฏบ่อยครั้ง  ส่วนใหญ่จะเป็นการดลใจตัวละครให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง  และเหตุการณ์นั้นทำให้เนื้อเรื่องดำเนินไปอย่างสมเหตุสมผล  เช่น  เทวดาดลใจท้าวสามนต์
          เทวดาดลใจนางรจนาตอนที่เลือกคู่คือ  “เทพไทอุปถัมภ์นำชัก นงลักษณ์ดูเงาะเจาะจง” และเจ้าเงาะเองก็บอกนางว่า “พี่อยู่ถึงนอกฟ้าหิมพานต์เทวัญบันดาลให้เที่ยวมา” การดลใจนี้เป็นการช่วยให้ตัวละครสมประสงค์ในการเลือกคู่มากกว่าอย่างอื่น  นอกจากนี้ยังมีการช่วยเหลือตัวละครฝ่ายดีให้รอดพ้นอันตราย  เช่น  รุกขเทพที่รักษาพระไทรป้องกันพระสังข์ไม่ให้เป็นอันตราย  ตอนที่ถูกเสนาทุบด้วยท่อนจันทน์  อีกตอนหนึ่งคือช่วยย่นระยะทางให้นางจันท์เทวีมาตามพระสังข์ซึ่งถูกจับตัว
ตอนที่พระสังข์ถูกถ่วงน้ำ  แม้จะไม่ได้ระบุไว้อย่างละเอียด  แต่การที่พระสังข์จะรอดชีวิตก็เท่ากับเทวดาได้ช่วยไว้นั่นเอง  แต่ไประบุไว้ว่าเทวดาดลใจท้าวภุชงค์ให้มาช่วยพระสังข์
นางพันธุรัต
          นางพันธุรัตเป็นยักษ์ใจดี  เลี้ยงดูพระสังข์และรักเหมือนลูก  แต่ความรักของนางกลับทำลายตัวนางเอง  เพราะเท่ากับว่าเมื่อพระสังข์  “ปีกกล้าขาแข็ง” แล้วก็หนีจากนางไป
          ผู้นิพนธ์ได้ชี้ให้เห็นความขัดแย้งระหว่างนางพันธุรัดกับพระสังข์ตั้งแต่แรกที่ท้าวภุชงค์ส่งพระสังข์มาเป็นลูกคือ  โหรไม่เห็นด้วย  แต่นางไม่ฟังคำทักท้วงเพราะรักใคร่เอ็นดูพระสังข์เสียแล้ว  แต่วิตกว่าตนเป็นยักษ์  พระสังข์เป็นมนุษย์จะกลัวยักษ์  จึงสั่งให้พวกยักษ์จำแลงกายเป็นมนุษย์ทั้งหมด  ซึ่งสุนันทา  โสรัจจ์  วิจารณ์ไว้ว่า  “นางยักษ์เริ่มต้นด้วยการหนีความจริง เมื่อโหรทำนายว่าพระสังข์จะก่อความวิบัติให้นาง ก็ไม่ตัดไฟต้นลมเสียก่อน นอกจากนี้ยังไม่ยอมรับฟังเหตุผลโมโหร้ายที่ถูกขัดใจ ถือเอาความคิดของตนเองเป็นใหญ่”
นางพันธุรัตแปลงกายอำพรางไม่ให้พระสังข์รู้จนเวลาผ่านไปร่วมสิบปี  แต่นางก็กลัวว่าพระสังข์จะหนีไป  จึงคอยระวังอยู่ตลอดเวลา  แม้เวลาที่จะไปป่าก็ยังหลอกพระสังข์จนพระสังข์สงสัย  แต่เราจะสังเกตได้ว่า  ผู้นิพนธ์ได้กล่าวย้ำถึงความเป็นยักษ์ของนางอยู่ตลอดเวลา
ถึงแม้จะเป็นยักษ์  นางพันธุรัตก็เป็นแม่ที่อุ้มชูพระสังข์มาเป็นเวลานานให้ความห่วงใยเสมอต้นเสมอปลาย  พระสังข์เองก็อดที่จะโศกเศร้าอาลัยอาวรณ์ไม่ได้  ครั้นพอเห็นพระสังข์ไม่ยอมลงมาหาแน่แล้ว  นางก็เขียนมหาจินดามนตร์ไว้ให้  เพื่อเป็นการเตรียมการให้พระสังข์ไปผจญกับอุปสรรคและแก้ไขอุปสรรคได้  การกระทำของนางคือการเสียสละเพื่อลูกอย่างแท้จริง

         

         

         

   
 

สร้างโดย: 
นางสาวกิตติยา วิทยานารถไพศาล

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 217 คน กำลังออนไลน์