คุณค่าของเรื่องสังข์ทอง

เรื่องสังข์ทอง
          บทละครนอก  มิใช่บทสำหรับแสดงละครเพียงอย่างเดียว  แต่ใช้เป็นวรรณคดีสำหรับอ่านด้วย  โดยมีความสำคัญควบคู่กันไป   เพราะในการอ่านบทละครนั้น  ผู้อ่านจะอ่านเนื้อเรื่องโดยตลอด  ส่วนในการแสดงก็คงจะนิยมนำมาแสดงเป็นตอนๆ  ไม่ได้แสดงที่เดียว     จบทั้งเรื่อง  เช่น  เรื่องสังข์ทองก็นิยมแสดงตอนนางมณฑาลงกระท่อมมากกว่าตอนอื่นๆ  เป็นต้น
          ผู้ดูละครต้องการความบันเทิงและการผ่อนคลายอารมณ์จากความตึงเครียด  ต้องการประสบการณ์ใหม่ๆ  ที่ได้จากการดูละคร ซึ่งก็เป็นความจริงของชีวิตที่แฝงอยู่ในบทละครนั้น  ละครจึงมีส่วนช่วยและมีบทบาทในการดำเนินชีวิตของมนุษย์อยู่มาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยก่อนที่คนไทยส่วนใหญ่อ่านหนังสือไม่ออก  และมีมหรสพให้ชมอยู่ไม่กี่ชนิด
          เนื้อหาของบทละครนอกนั้น  มีจุดประสงค์ที่จะสื่อสารคุณค่าทางศิลปะและให้ความจริงของชีวิตโดยเป็นวรรณกรรมที่ใช้ประกอบการแสดง  ซึ่งเป็นสิ่งที่สื่อสารโดยอาศัยบทบาทของตัวละครบนเวที  ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดความรู้สึกอิ่มเอิบและพอใจ
คุณค่าของบทละครนอกเรื่องสังข์ทอง  แยกได้เป็น  ๒  ด้าน  คือ
๑.คุณค่าด้านเนื้อหา
๒.คุณค่าด้านศิลปะ
คุณค่าด้านเนื้อหา
          เนื้อหาของบทละครนอกแสดงให้เห็นความคิดของผู้แต่งที่ต้องการสื่อให้ผู้อ่านผู้ฟังทราบ  ดังนี้
๑.ค่านิยมในสังคม  วัฒนธรรม  และแนวทางการดำเนินชีวิต  โดยต้องการปลูกฝังทัศนคติลงไปในจิตใจของคนไทย  เช่น  ทัศนคติเกี่ยวกับความซื่อสัตย์จงรักภักดีของผู้หญิงที่มีต่อสามี  ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ  บทบาทของนางจันท์เทวีและนางรจนา  เช่น  นางรจนาคร่ำครวญตอนท้าวสามนต์ให้หาปลาถวาย
๒.การรักพวกพ้อง  รักชาติบ้านเมือง  ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ  พฤติการณ์ของหกเขย  และการตีคลีพนันกับพระอินทร์  เช่น  ตอนนางมณฑาขอร้องให้เจ้าเงาะช่วย
๓.การทำความดี  มีตัวอย่างปรากฏตลอดทั้งเรื่อง  เช่น  การที่ท้าวภุชงค์และนางพันธุรัตรับเลี้ยงดูพระสังข์  ตายายช่วยเหลือนางจันท์เทวีนายประตูเมืองสามนต์ช่วยเหลือท้าวยศวิมล  เป็นต้น
          การปลูกฝังทัศนคติโดยใช้วรรณกรรมประเภทบทละครเป็นเครื่องมือนี้เป็นการกระทำที่แนบเนียนและค่อนข้างได้ผล  เพราะผู้ดูละครหรือผู้อ่านบทละครเกิดความรู้สึกอยากเอาอย่างตัวละครหรือนำตัวเองไปเทียบกับตัวละครบางตัว  แล้วปฏิบัติให้เหมือนตัวละครนั้นๆ  ดังนั้น  ผู้ดูละครหรือผู้อ่านบทละครก็จะได้รับความรู้เพิ่มขึ้น  ได้มีโอกาสใช้ความคิดเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ  ที่เกิดขึ้นในวิถีชีวิตของตัวละครซึ่งก็คือการเลียนแบบพฤติกรรมในชีวิตจริงนั่นเองทำให้มีทัศนะและความคิดที่กว้างขวางขึ้น  และนอกจากนี้ยังได้รับความบันเทิงจากการใช้วรรณกรรมประเภทบทละครเป็นเครื่องช่วยระบายอารมณ์ได้อีกด้วย
          นอกจากนี้เรื่องสังข์ทองยังเสนอแนวคิดที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้คือ  “ การพิจารณาบุคคล ”  ซึ่งแสดงให้เห็นว่า  ในการพิจารณาบุคคลนั้น  เราไม่ควรมองจากรูปลักษณ์ภายนอกแล้วตัดสินว่าบุคคลนั้นเป็นอย่างไร  แต่ต้องมองลึกลงไป  และคนที่มองดูแต่ภายนอกว่ามีลักษณะที่ดีหรือสวยงาม  ก็อาจจะไม่ใช่คนดีก็ได้  สำหรับเรื่องสังข์ทองนี้  พระสังข์  มีสภาพที่ปรากฏแก่สายตาบุคคลทั่วไปว่า  คนที่รูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์เช่นเจ้าเงาะก็อาจจะมีความสามรถอย่างมาก  เป็นด้นว่า  การใช้เวทมนตร์ในการหาปลาหาเนื้อ  โดยที่เขยอีกหกคนหาไม่ได้  ถึงแม้เจ้าเงาะจะใช้เวทมนต์และเล่ห์เหลี่ยมในการหาสิ่งของเหล่านี้ก็ตาม  ก็คงจะเป็นการสื่อสารให้ผู้ดูละครหรือผู้อ่านบทละครได้ข้อคิดว่า  ในการพิจารณาบุคคลนั้น  ไม่ควรพิจารณาจากรูปร่างหน้าตา  ชาติตระกูล  หรือยศศักดิ์  แต่ควรดูที่สติปัญญา  ความรู้  ความสามารถ  และความดีงาม  และลึกลงไปกว่านั้นก็คือ  คุณสมบัติเหล่านี้เป็นสิ่งที่น่าจะแฝงอยู่ในตัวบุคคลเช่นเดียวกับรูปทองของพระสังข์  ที่แฝงอยู่ในรูปเงาะนั่นเอง
          เนื่องจากบทละครนอกเป็นวรรณคดีที่แต่งขึ้นมาเพื่อความบันเทิง  และมีความมุ่งหมายในการแสดงเนื้อเรื่องมากกว่าที่จะแสดงศิลปะอย่างอื่น  เนื้อเรื่องที่ผูกขึ้นมานั้นถึงแม้ว่าจะเป็นทำนองเดียวกับเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ  ก็ตาม  แต่ก็ได้พยายามเสนอความแปลกใหม่บางอย่างให้ผู้ดูละครหรือผู้อ่านบทละครได้เกดความสนุกสนานเพลิดเพลินกับความแปลกใหม่นั้น  ความแปลกใหม่ประการหนึ่งก็คือ  การสร้างตัวละครพิเศษพิสดารไปจากความเป็นธรรมดาแต่ตัวละครเหล่านี้มีกำเนิดที่แปลกประหลาดหรือมีคุณสมบัติพิสดารก็จริง  ทว่าพวกเขาก็ยังมีลักษณะของมนุษย์ธรรมดาที่มีแนวทางการดำเนินชีวิต  มีอุดมคติ  มีหลักยึดมั่นประจำใจ  และความต้องการต่างๆ  เช่นเดียวกับมนุษย์ธรรมดาเราจึงสามารถอธิบายพฤติกรรมและความรู้สึกนึกคิดของตัวละครเหล่านั้นได้เช่นเดียวกับการอธิบายพฤติกรรมของบุคคลจริงๆ
คุณค่าด้านศิลปะ
          คุณค่าด้านศิลปะละครนอกส่วนใหญ่จะได้จากการแสดง  ผู้แสดงจะเสนอศิลปะในรูปของทำนองเพลง  การร่ายรำ  และถ้อยคำในบทร้อง  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ทรงพระราชนิพนธ์บทละครด้วยความพิถีพิถันในเรื่องท่ารำ  และการแสดงเป็นอย่างมาก  การทรงพระราชนิพนธ์บทละครในนั้น  ทรงระวังให้ถ้อยคำในบทละครทุกตอนเหมาะกับท่ารำตอนไหนที่จะรำไม่ได้หรือแสดงได้ไม่ดี  ก็ดัดแปลงหรือตัดทิ้งจนแสดงได้เรียบร้อยดีเล่ากันว่าบทที่แต่งแล้วนั้นพระราชทานให้เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีนำไปซ้อมกระบวนรำ  เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีทรงเอาพระฉาย (กระจก)  บานใหญ่มาตั้งแล้วทรงรำตามบทนั้น  ทอดพระเนตรท่ารำที่ทรงประดิษฐ์ขึ้นในพระฉายแล้วแก้ไขดัดแปลงโดยมีนาฏศิลปินสองคนเป็นที่ปรึกษา  บางครั้งกระบวนรำขัดข้องก็อาจกราบทูลขอให้แก้บท  เมื่อกระบวนรำงามดีแล้วก็ให้นากศิลปินที่ปรึกษาไปหัดละครหลวง  แล้วให้ละครหลวงมาซ้อมถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ให้ทรงติและแก้ไขกระบวนรำอีกชั้นหนึ่ง  จึงได้ยุติเป็นแบบแผน  (สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ๒๕๐๖ : ๑๐๓) 
          วิธีที่ทรงพระราชนิพนธ์บทละครนอกก็คงจะพิถีพิถันเช่นเดียวกับบทละครใน  แต่อาจจะไม่ประณีตบรรจงเท่ากับละครใน  เพราะแบบแผนในการแสดงต่างกัน  อย่างไรก็ตาม  บทกลอนบางตอนในเรื่องสังข์ทอง  ทำให้มองเห็นความงดงามของตัวละครได้จากการใช้ภาษา  เช่น  บทอาบน้ำแต่งตัวของพระสังข์  ตอนที่ถอดรูปเงาะเพื่อออกไปตีคลีกับพระอินทร์  ใช้เพลง  “ลงสรงมอญ” 

          

         

          

     

สร้างโดย: 
นางสาวกิตติยา วิทยานารถไพศาล

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 457 คน กำลังออนไลน์