ประเพณีท้องถิ่นล้านนา
ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
คำอธิบาย ::
รูปแบบการใช้งานสื่อดิจิตอลเพื่อการเรียนรู้ แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ
1. รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อธิบายเนื้อหาแบบสรุป สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย ประกอบด้วยเนื้อหาที่แบ่งเป็นหน่วยการเรียนรู้ รูปภาพที่ใช้เป็นสื่อ คำอธิบาย แบบทดสอบต่าง ๆ
2. รูปแบบเนื้อหารายละเอียด เป็นเนื้อหาทั้งหมดของสื่อที่มีข้อมูลอย่างละเอียด ประกอบด้วยข้อความที่ครอบคุมความรู้ทั้งหมดของบทเรียน ซึ่งแบ่งออกเป็นหัวข้อแบบเรียงลำดับเนื้อหาตั้งแต่แรกจนจบ เนื้อหาในสื่อสามารถใช้ศึกษาค้นคว้าและนำไปใช้อ้างอิงได้
รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน::
:: รูปแบบเนื้อหารายละเอียด
ความหมายของประเพณี
ประเพณี หมายรวมถึงความเชื่อ ความคิด การกระทำ ค่านิยม ทัศนคติ ศีลธรรม ระเบียบแบบแผน และวิธีการกระทำสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนถึงการประกอบพิธีกรรมในโอกาสต่าง ๆ ที่กระทำกันมาในอดีต ลักษณะสำคัญของประเพณี คือเป็นสิ่งที่เชื่อถือปฏิบัติกันมาจนกลายเป็นแบบอย่างความคิดหรือการกระทำที่ได้สืบต่อกันมาและมีอิทธิพลจนถึงปัจจุบัน
ความสำคัญของประเพณี
1. ประเพณีเป็นกฎเกณฑ์หรือแบบแผนที่สังคมกำหนดขึ้นใช้ร่วมกันในหมู่สมาชิกประเพณี จึงเป็นเครื่องหมายบอกความเป็นพวกเดียวกันของพวกที่ยึดถือในประเพณีเดียวกัน
2. ประเพณีจัดว่าเป็นวัฒนธรรมประจำชาติหรือเป็นเอกลักษณ์ของสังคม แสดงว่า สังคมนั้นมีความเจริญมาตั้งแต่อดีตหรือมีลักษณะเฉพาะของตนมาเป็นเวลานาน ดังนั้นการมีประเพณี เป็นของตนเองจึงนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง
3. ประเพณีมีส่วนสนับสนุนให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง
4. ประเพณีเป็นสิ่งเชื่อมโยงให้คนในสังคมมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
5. ประเพณีเป็นรากฐานของกฎหมายของประเทศ
ประเพณีท้องถิ่นล้านนา ประถอบด้วยประเพณีที่สำคัญต่าง ๆ ในแง่ของปรัชญา ความเชื่อ อุดมคติ ของชาวล้านนา ที่เป็นสิ่งที่มีมาแต่โบราณ สืบทอดต่อกันมาชั่วลูกชั่วหลาน ซึ่งมีประเพณีที่สำคัญ แบ่งเป็น 9 ประเภท ดังต่อไปนี้
::ดูหน้าต่อไป>>