ประเพณีท้องถิ่นล้านนา

รูปภาพของ surapong2520

                                                      

ตำนานสงกรานต์        

         วันที่  13  เมษายน  ของทุกปีหรือที่เราเรียกกันว่า  วันสงกรานต์ เป็นเทศกาลสิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่แบบไทยๆ  ซึ่งยึดถือสืบทอดกันมาแต่โบราณ ซึ่งตามประเพณีดั้งเดิมนั้น  วันตรุษกับวันสงกรานต์จะแยกเป็น  2 วัน คือ  วันสิ้นปีทางจันทรคติ  ได้แก่ วันแรม  15  ค่ำ เดือน 4 เราถือเป็นวันตรุษ ส่วนวันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติคือวันที่ดวงอาทิตย์ก้าวขึ้นสู่ราศีเมษ มักตรงกับวันที่  13  เมษายน เราจะเรียกว่าวันสงกรานต์
         พอรู้เขาเรียกกันอย่างไร ก็มาดูความหมายของคำที่เรียกกันบ้าง   ตรุษ แปลว่า  ตัดปีหรือขาดปี  ซึ่งหมายถึงวันสิ้นปี เป็นการแสดงความยินดีที่ได้มีชีวิตผ่านพ้นมาด้วยความสวัสดีอีกรอบปีหนึ่ง ๆ ส่วนคำว่าสงกรานต์ มาจากภาษาสันสกฤต  สํ กรานตฺ แปลว่าก้าวขึ้นย่างขึ้น เปรียบได้กับการที่พระอาทิตย์ย่างขึ้นสู่ราศีใหม่ จะตกอยู่ระหว่างวันที่  13,14,15, เมษายน ของทุกปี แต่วันสงกรานต์จริง  ๆ จะเป็นวันที่ 13 เมษายน  ซึ่งเราจะเรียกวันนี้ว่า  วันมหาสงกรานต์  ส่วนวันที่ 14  เป็นวันเนา  และวันที่  15  เป็นวันเถลิงศก

      การที่เราเรียกชื่อแต่วันต่างกันนั้น เพราะแต่ละวันย่อมมีความหมายที่ไม่เหมือนกันดังที่กล่าวแล้วว่า สงกรานต์หมายถึงก้าวขึ้น  การที่ดวงอาทิตย์ขึ้นสู่ราศีใหม่ อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกเดือน  เราจึงเรียกว่าสงกรานต์เดือน บรรดาโหราศาสตร์ทั้งหลายรู้กันดี แต่เมื่อครบ  12  เดือนแล้วย่างขึ้นราศีเมษอีก ก็จะจัดเป็นสงกรานต์ปี หรือการก้าวขึ้นครั้งใหญ่ เพราะมีปีใหม่อย่างเดียวจึงกลายเป็นมหาสงกรานต์ หมายถึง สงกรานต์ปีเพียงอย่างเดียว ใหญ่กว่าสงกรานต์เดือน
สำหรับวันเนาหมายถึงวันอยู่เพราะเนาแปลว่าอยู่จะเป็นวันถัดจากวันมหาสงกรานต์มา   1 วันเพราะเป็นวันมหาสงกรานต์เป็นวันที่ดวงอาทิตย์อย่างเข้าสู่ราศีตั้งต้นปีใหม่ วันเนาจะเป็นวันที่ดวงอาทิตย์เข้าที่เข้าทางในวันราศีตั้งใหม่เรียบร้อยแล้ว หรือพูดง่าย ๆ ก็คือดวงอาทิตย์อยู่ประจำที่แล้วนั้นเอง ส่วนวันเถลิงศกเป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ การที่เลือกวันขึ้นศกใหม่มาเป็นวันที่ 3 นั้นก็เพื่อให้หมดปัญหาว่าการย่างขึ้นสู่จุดเดิมสำหรับเริ่มต้นปีนั้นเรียบร้อยดี ไม่ไม่มีปัญหาเพราะอาจมีปัญหาติดพันเกี่ยวกับชั่วโมง นาที หรือวินาที  ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่จะเปลี่ยนศก ดังนั้นถ้าเลื่อนวันเถลิงศกหรือวันขึ้นจุลศักราชใหม่มาเป็นวันที่ 3 แล้วก็หมายความว่าอย่างน้อยดวงอาทิตย์ได้ก้าว เข้าสู่ราศีใหม่ไม่น้อยกว่า 1 องศาแล้ว อาจจะย่างเข้าองศาที่ 2  หรือที่ 3  แล้วก็ได้
    ทีกล่าวมาล้วนเป็นความรู้ที่คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยจะใส่ใจกันนัก  ส่วนเรื่องประวัติความเป็นมาของวันสำคัญนี้มีตำนานที่ปรากฏในศิลาจารึก ที่วัดพระเชตุพน  กล่าวไว้ว่า

        มีเศรษฐีคนหนึ่งไม่มีบุตรบ้านอยู่ใกล้กับนักเลงสุราคนนี้มีบุตรสองคน มีผิวเนื้อเหมือทอง  วันหนึ่ง นักเลงสุรานั้นได้เข้าไปกล่าวคำหยาบคายต่อเศรษฐี  ทำความสงสัยให้แก่เศรษฐีมากจึงถามว่า  เหตุใดจึงมาหมิ่นประมาทต่อตนผู้มีสมบัติมากมาย  นักเลงสุราจึงตอบว่า  ถึงท่านมีสมบัติก็ไม่มีบุตร  ตายแล้วสมบัติก็สูญเปล่าแต่เรามีบุตร ย่อมเห็นว่าประเสริฐกว่า
ได้ฟังดังนั้น เศรษฐีก็มีความละอาย จึงบวงสรวงพระอาทิตย์พระจันทร์ ตั้งจิตอธิฐานขอบุตรถึง สามปีก็ยังไม่มีบุตร อยู่มาถึงวัน นขัตฤ
กษ์สงกรานต์ พระอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษ เศรษฐีจึงพาบริวารไปยังต้นไทรอันเป็นที่อยู่แห่งฝูงนกทั้งปวงริมฝั่งน้ำ  แล้วเอาข้าวสารลำน้ำเจ็ดครั้งแล้วหุงขึ้นบุชาพระไทร ประโคมพิณพาทย์และตั้งจิตอธิฐานขอบาตรพระไทรอีก พระไทรมีความกรุณา จึงเหมาะไปเผ้าพระอินทร์พระอินทร์จึงส่งธรรมบาลเทวบุตรลงมาปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี
เมื่อภรรยาเศรษฐีตั้งครรภ์และคลอดบุตรออกมา  จึงให้ชื่อว่า  ธรรมบาลกุมาร  เศรษฐีปลูกปราสาทเจ็ดชั้นให้อยู่ที่ใต้ต้นไทร ริมฝั่งน้ำนั้น  เมื่อธรรมบาลเติบโตขึ้นก็สามารถรู้ภาษานกและสามารถเรียนไตรเพทจบเมื่ออายุได้เจ็ดขวบเท่านั้น และได้เป็นอาจารย์บอกมงคลการต่าง ๆ แก่มนุษย์ทั้งปวง
         ในขณะนั้น โลกทั้งหลายยังนับถือท้าวมหาพรม และกบิลพรมองค์หนึ่ง ว่าเป็นผู้แสดงมงคลแก่มนุษย์ทั้งปวง  เมื่อกบิลพรหมทราบเรื่องจึงลงมาถามปัญหาธรรมบาลกุมาร  3  ข้อ และสัญญาว่า ถ้าแก้ปัญหาได้จะยอมตัดศีรษะของตนบูชา  แต่ถ้าธรรมบาลกุมารตอบไม่ได้ ก็จะตัดศีรษะธรรมบาลทิ้งเสียเช่นกันโดยถามว่า
         1. เช้าราศีอยู่แห่งใด 

         2 เที่ยงราศีอยู่แห่งใด  

         3. ค่ำราศีอยู่แห่งใด 

        ซึ่งธรรมบาลกุมารได้ขอผัดไปเจ็ดวัน  ครั้นล่วงไปได้ หกวัน ธรรมบาลกุมารก็ยังคิดไม่ออก จึงนึกว่าพรุ่งนี้จะตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหมแน่ จึงลงปราสาทไปนอนใต้ต้นไม้  ซึ่งมีนกอินทรีย์สองตัวผัวเมียทำรังอยู่เมื่อถึงเวลาค่ำนางนกอินทรีย์ได้ถามสามีว่าพรุ่งนี้จะไปหาอาหารแห่งใด  สามีบอกว่า จะได้กินศพธรรมบาลกุมารซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสียเพราะทายปัญหาไม่ออก นางนกจึงถามว่าปัญหาอะไร จะแก้อย่างไร  สามีก็บอกว่า ท้าวกบิลพรหมถามว่า เวลาเช้า เที่ยง และค่ำ ราศีอยู่แห่งใด  ซึ่งต้องตอบว่า เช้าราศีอยู่หน้ามนุษย์จึงเอาน้ำล้างหน้า  เวลาเที่ยงอยู่ที่อกมนุษย์จึงเอาเครื่องหอบประพรมที่อก ส่วนเวลาค่ำอยู่ที่เท้า มนุษย์ทั่งหลายจึงเอาน้ำล้างท้าว
ธรรมบาลกุมารได้ยินดังนั้น ก็กลับไปปราสาทและแก้ปัญหาของกบิลพรหมตามที่ได้ยินมา ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกเทพธิดาทั้งเจ็ดอันเป็นบริจาริกาพระอินทร์มาพร้อมกันและบอกว่าเราจะตัดศีรษะบูชาธรรมบาลกุมาร ศีรษะของเราถ้าตั้งไว้บนแผ่นดินจะเกิดไฟไหม้ทั่วโลก ถ้าทิ้งขึ้นบนอากาศฝนก็จะแล้ง และถ้าทิ้งในมหาสมุทรน้ำก็จะแห้ง  จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดเอาพานมารับศีรษะ นางจึงเอาพานมารับพระเศียรบิดาและแห่ทำประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุ 60  นาทีและเชิญประดิษฐานไว้ในมณฑลถ้ำคัธุลีเขาไกรลาศ และปีหนึ่ง ๆ วันสงกรานต์นางเทพธิดาทั้งเจ็ดก็จะสับเปลี่ยนกันเชิญพระเศียรออกแห่ประทักษิณเขาพระสุเมรุทุกปี  ดังนั้นคนสมัยก่อนจึงถือกันมากเรื่องนางสงกรานต์ ว่าปีใดเป็นใคร


          สำหรับนางสงกรานต์ทั้งเจ็ดนั้น เป็นธิดาของท้าวกบิลพรหม  หรือท้าวมหาสงกรานต์ และเป็นนางฟ้าอยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นจตุมหาราช (สวรรค์ชั้นที่ 1 ในทั้งหมด 6 ชั้น) ซึ่งมีหน้าที่ในการรับศีรษะของท้าวกบิลพรหมแห่รอบเขาพระสุเมรุในแต่ละรอบปี หรือในวันสงกรานต์นั้นเอง โดยมีเกณฑ์กำหนดที่ว่าวันสงกรานต์คือวันที่ 13 เมษายน ตรงกับวันใดก็ให้นางสงกรานต์ประจำวันนั้นเป็นผู้แห่ นางสงกรานต์ทั้ง 7 องค์ได้แก่

 1.  นางสงกรานต์ทุงษเทวี 
     ทุงษเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันอาทิตย์ ทัดดอกทับทิม มีปัทมราค(แก้วทับทิม)เป็นเครื่องประดับ ภักษาหารคือ  อุทุมพร (มะเดื่อ) อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือจักร  พระหัตซ้ายถือสังข์ เสด็จไสยาสน์เหนือปฤษฏางค์ครุฑ
2.  นางสงกรานต์โคราคะเทวี
     โคราคะเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันจันทร์ ทัดดอกปีบ มีมุกดาหาร(ไข่มุก) เป็นเครื่องประดับภักษาหาร คือ เตละ (น้ำมัน) อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือไม้ท้าว เสด็จประทับเหนือพยัคฆ์(เสือ)
3.  นางสงกรานต์รากษสเทวี
     รากษสเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันอังคาร ทัดดอกบัวหลวง มีโมรา(หิน) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ โลหิต(เลือด) อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายถือธนู เสด็จประทับเหนือวราหะ(หมู)
4. นางสงกรานต์มัณฑาเทวี
    มัณฑาเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันพุธ ทัดดอกจำปา  มีไพฑูรย์(พลอยสีเหลืองแกมสีเขียว) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ นมและเนย อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ ขวาถือเหล็กแหลม พระหัตถ์ซ้ายถือไม้ท้าว เสด็จไสยาสน์เหนือปฤษฎางค์คัสพะ (ลา)
5.  นางสงกรานต์กิริณีเทวี
กิริณีเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดี ทัดดอกมณฑา (ยี่หุบ)  มีมรกตเป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ  ถั่วงา  อาวุธคู่กาย  พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือปืน  เสด็จไสยาสน์เหนือปฤษฎางค์คชสาร(ช้าง)
6.  นางสงกรานต์กิมิทาเทวี
กิมิทาเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันศุกร์ ทัดดอกจงกลนี มีบุษราคัมเป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ กล้วยและน้ำ  อาวุธคู่กาย  พระหัตถ์ขวาคือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือพิณ เสด็จประทับยืนเหนือมหิงสา (ควาย)
7. นางสงกรานต์มโหทรเทวี
    มโหทรเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันเสาร์ ทัดดอกสามหาว (ผักตบชวา) มานิลรัตน์เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ  เนื้อทราย อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือจักร พระหัตถ์ซ้ายถือตรีศูล เสด็จประทับเหนือมยุราปักษา(นกยูง)
    ที่เล่ามาก็เป็นเพียงตำนานปรัมปรา อย่างไรก็ตาม ประเพณีสงกรานต์ก็เป็นของดี เปรียบได้กับเทศกาลคริสต์มาสของต่างประเทศ พอถึงเทศกาลทีหนึ่ง  ไม่ว่า  จะห่างกันแค่ไหนเขาก็จะกลับมารวมญาติพบปะญาติพี่น้องกันสักครั้งซึ่งเจตนาสงกรานต์ก็คงไม่ต่างกันเท่าใดนัก ไม่เช่นนั้นคงไม่เกิดพิธีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่เกิดขึ้นเป็นแน่น  เมื่อรู้อย่างนี้แล้วบรรดา หนุ่ม ๆ สาวๆ ก็อย่ามัวไปเล่นสาดน้ำ เต้นโชว์ยั่วทางเพศกันอย่างเดียวเท่านั้น จนสงกรานต์กลายเป็นสงคราม เพราะทุกปีมีคนตายกันมากเหมือนสงคราม    ยังมีอะไรอีกเยอะที่คนรุ่นใหม่มักจะลืมๆ กันไปไม่สำนึกเวลานี้แล้วจะเป็นเมื่อไร ถ้ามัวแต่สนุกสนานนอกเรื่องนอกราวอย่างนี้   ฝรั่งต่างชาติมาเห็นเขาก็จะหัวเราะเยาะเอาทีเรามีประเพณีดี ๆ แต่ไม่มีคนเห็นคุณค่า ถ้าเป็นเช่นนั้นก็คงอายฝรั่งเขาแย่เลย

      เทศกาลสงกรานต์ถือเป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณ  เป็นประเพณีที่งดงาม อ่อนโยน เอื้ออาทร และเต็มไปด้วยบรรยากาศของความกตัญญู ความสนุกสนาน ความอบอุ่น และการให้เกียรติเคารพซึ่งกันและกัน สะท้อนให้เห็น ถึงลักษณะของความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน โดยใช้น้ำเป็นสื่อในการเชื่อมสัมพันธไมตรี ปัจจุบันสงกรานต์ตรงกับวันที่ ๑๓,๑๔,และ๑๕ เมษายนของทุกปี ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศให้เป็นวันหยุดราชการต่อเนื่องกัน เพื่อให้ประชาชนที่ทำงานในต่างท้องที่ได้กลับไปยังถิ่นฐานของตน เพื่อร่วมทำบุญ เยี่ยมเยียนบุพการีและสนุกสนานกับครอบครัว เพื่อนฝูง 

ความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลงวันขึ้นปีใหม่ของไทย
          ในสมัยโบราณ ไทยเราถือเอา วันแรม ๑ ค่ำ เดือนอ้าย เป็น วันขึ้นปีใหม่ ซึ่งคนสมัยก่อนจะถือว่าฤดูเหมันต์ (ฤดูหนาว) เป็นการเริ่มต้นปี ซึ่งจะตกอยู่ราวปลายเดือนพฤศจิกายน หรือธันวาคม ต่อมาก็ได้เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการสังเกตธรรมชาติและฤดูการผลิต วันปีใหม่จึงเปลี่ยนเป็น วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ หรือประมาณเดือนเมษายน อันเป็นการนับปีใหม่ตามเกณฑ์จุลศักราชโดยถือเอาวันมหาสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ ครั้นในปี พ.ศ.๒๔๓๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้กำหนดให้วันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่งเป็นการนับทางสุริยคติแทน จวบจนกระทั่งปี พ.ศ.๒๔๘๓ รัฐบาลไทยสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามก็ได้ประกาศให้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ อันเป็นการนับปีใหม่แบบสากลนิยม ดังนั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๔ เป็นต้นมาเราจึงมีวันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันที่ ๑ มกราคม และใช้กันมาจนปัจจุบัน 
สงกรานต์ปีใหม่แบบไทย
     แม้เราจะนับวันที่ ๑ มกราคมของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่แบบสากลนิยมตามที่กล่าวมาแต่ด้วยลักษณะพิเศษและกิจกรรมที่คนในชุมชนได้ถือปฏิบัติสืบเนื่องมาแต่โบราณไม่ว่าจะเป็นการทำบุญทำทาน การอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ การสรงน้ำพระ การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ การเล่นสาดน้ำ และการละเล่นรื่นเริงต่างๆ ล้วนทำให้ชาวไทยส่วนใหญ่ยังถือประเพณีสงกรานต์เป็นปีใหม่แบบไทยๆ ที่เป็นเทศกาลแห่งความเอื้ออาทร เกื้อกูลผูกพันซึ่งกันและกัน 
 ::ดูหน้าต่อไป>>

สร้างโดย: 
นายสุรพงษ์ จ๋าก๋าง

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 320 คน กำลังออนไลน์