ประเพณีท้องถิ่นล้านนา

รูปภาพของ surapong2520

สู่ขวัน หรือ “ สู่ขวัญ ” หมายถึงพิธีเลี้ยงอาหารแก่ขวัญ ซึ่งการสู่ขวันของชาวล้านนา คือพิธีกรรมที่ตรงกับการเรียกขวัญของคนในไทยภาคกลาง และมีข้อปลีกย่อยที่ต่างกันไม่มากนัก 
การสู่ขวันนี้อาจเรียกว่า “ สู่เข้าเอาขวัน เรียกขวัน ( อ่าน “ เฮียกขวัน ”) หรือ ร้องขวัน ( อ่าน “ ฮ้อง ขวัน ” คือ ป้อนอาหารเพื่อเชิญขวัญให้คืนสู่ตนตัวของบุคคลซึ่งป่วยเรื้อรังมีเหตุเสียใจหรือหมดกำลังใจอย่างรุนแรง หรือเปลี่ยนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ใหม่ โดยกล่าวกันว่าขวัญของบุคคลดังกล่าวได้เตลิดไปจากตัวตน จึงต้องทำพิธีเรียกและปลอบประโลมขวัญนั้นให้กลับคืนสู่บุคคลตามเดิม
เรื่องการสู่ขวัน เป็นประเพณีที่นิยมปฏิบัติกันในล้านนาซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติที่ลงตัว ในที่นี้ใคร่จะเชิญบทนิพนธ์ของพลตรีเจ้าราชบุตร ( วงษ์ตวัน ณ เชียงใหม่ ) ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ เจ้าหลวงเชียงใหม่ โดยเจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่และคณะมาลงไว้ เพื่อให้เห็นขั้นตอนต่างๆ เต็มตามต้นฉบับดังนี้ 
          การสู่ขวัญหรือสู่พระขวันหรือสู่พระขวัญเป็นประเพณีของชาวล้านนาไทยมาแต่โบราณกาล ทางภาคกลางนิยมเรียกว่า การรับขวัญคนที่เดินทางไกลไปต่างถิ่นเป็นเวลานาน บางทีก็ประสบความเหนื่อยยากในการเดินทาง มีความคิดถึงบ้าน หรือต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ทำให้ตกใจและเสียขวัญ เมื่อกลับมาถึงบ้านเรืองของตนแล้ว ก็นิยมเอาธูปเทียน ดอกไม้ไปบูชากราบไหว้พระสงฆ์และผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ มีบิดามารดา เป็นต้น เพื่อขอให้ท่านซึ่งมีวัยวุฒิเหล่านั้น เรียกขวัญและปลอบอกปลอบใจให้ขวัญกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัวต่อไป อย่าได้ไถลไปที่อื่น คนที่เจ็บไข้ได้ป่วยเป็นเวลานานหรือป่วยหนักจนกำลังลดถอยลง มักจะขอให้พระหรือคนเฒ่าคนแก่ทำพิธีผูกมือเรียกขวัญ ในการนี้ท่านจะกล่าวถ้ยคำอันเป็นสิริมงคลเรียกขวัญแล้วอำนวยพรให้พ้นภัยพิบัติอยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป การกล่าวคำเรียกขวัญนี้ บางทีท่านก็กล่าวเป็นคำประพันธ์และอาจเป็นทำนองที่มีไพเราะด้วย การเรียกขวัญหรือสู่ขวัญเช่นนี้ได้ทำกันแพร่หลาย ภายหลังได้ขยายการทำดอกไม้บูชาเป็นพุ่มงดงามเรียกว่าบายศรีประกอบด้วยเครื่องเซ่นไหว้เพิ่มเติมขึ้นอีก โดยเฉพาะในการต้องรับคนต่างถิ่นหรือผู้มีเกียรติที่มาเยี่ยมเยือน ถ้าเป็นงานต้อนรับขนาดใหญ่มากนักจะมีขบวนแห่ด้วย
ประวัติการทำบายศรีทูลพระขวัญและสู่ขวัญของจังหวัดเชียงใหม่นั้นได้ทำกันมานานแล้ว เท่าที่พอจะหาหลักฐานได้นั้น มีมาแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ข้าราชการผู้ใหญ่ที่เดินทางมาราชการที่จังหวัดเชียงใหม่ในสมัยนั้น ตามพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังเคยได้บันทึกไว้ว่า “ เฉพาะแต่การต้อนรับสู่ขวัญและพาชมเมืองก็หมดวันเสียแล้ว ” ในระยะต่อมาพิธีทูลพระขวัญที่ควรจะได้กล่าวถึง และเป็นประวัติการของจังหวัดเชียงใหม่ คือพิธีทูลพระขวัญถวายพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในพระราชวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๙

:: ดูหน้าต่อไป

สร้างโดย: 
นายสุรพงษ์ จ๋าก๋าง

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 279 คน กำลังออนไลน์