ประเพณีท้องถิ่นล้านนา

รูปภาพของ surapong2520

 

ในอดีต คนล้านนามีอาชีพหลักคือทำนา ทำไร่ ดังนั้นจึงต้องมีการใช้น้ำเพื่อทำการเกษตรอยู่ตลอดทั้งปี แต่ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่เป็นหุบเขา ไม่มีที่ราบลุ่มแม่น้ำ จึงทำให้บรรพบุรุษคนเมืองคิดค้นวิธีเก็บกักน้ำ และส่งน้ำไปยังที่นาหรือพื้นที่เกษตรกรรมการทำระบบเหมืองฝายขึ้น 
การสร้างฝายเป็นผะหญา๑ อันชาญฉลาดของ คนล้านนา ที่ใช้การสังเกตระดับน้ำที่ขึ้นลงในฤดูต่าง ๆ เช่นฤดูฝนน้ำมักจะไหลหลากน้ำในแม่น้ำลำคลองต่างๆ จึงมีระดับน้ำสูง หรือบางครั้งก็จะท่วมล้นตลิ่งก่อให้พืชผลทางการเกษตรหรือบ้านเรือนอาศัยของผู้คนได้รับความเสียหาย หรือเมื่อยามหน้าแล้งระดับน้ำ ในแม่น้ำลำคลองต่างๆ ต่างลดระดับหรือแห้งเหือดหายไปหมด ไม่มีน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร อุปโภคหรือบริโภค
คนโบราณจึงแก้ไขโดยนำไม้ไผ่จำนวนมากเสี้ยมโคนให้แหลมแล้วตอกเรียงกันเป็นแนวขวางลำน้ำเป็นตับ ซ้อนสลับเหลื่อมกันไปมาขวางลำน้ำ ไม้ที่ใช้ตอกนี้เรียกว่า ” หลักฝาย” มีความกว้างประมาณ 1.5 เมตร อุปกรณ์ที่ใช้ตอกหลักฝายจะใช้ค้อนขนาดใหญ่ มีน้ำหนักค่อนข้างมาก มีด้ามยาวคล้ายด้ามขวาน ค้อนชนิดนี้เรียกว่า “ค้อนหน้าแหว้น๑” เพราะหน้าแหว้นนี้เองทำให้ตีหัวหลักได้แม่นยำกระแทกหลักฝายตอกลงพื้นดินใต้น้ำได้ง่ายและลงลึก ทำให้มั่นคงและแข็งแรง หลังจากนั้นก็จะนำก้อนหินมาทำทำนบกันตลิ่งที่หัวฝายเชื่อมกับตลิ่งบนฝั่งน้ำกันน้ำเซาะตลิ่งพังเมื่อสร้างฝายเสร็จ จากนั้นจะช่วยกันสร้างหอฝีฝายข้างๆลำน้ำ  
อุปกรณ์ในการสร้างฝาย
       การเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นอยู่กับขนาดของต๊างนาของผู้ใช้น้ำแต่ละราย คือถ้าเจ้าใดมีนาขนาดใหญ่ก็จะต้องเตรียมอุปกรณ์มามากขึ้นตามสัดส่วนของพื้นที่นาและผลผลิต” ที่ขาดไม่ได้ คือ “ ค้อนหน้าแหว้น๑ ”
ค้อนหน้าแหว้น แปลว่า ค้อนไม้หน้ากลม

ตีฝายหัวเมือง เมืองคอง เชียงดาว
ฝายหัวเมือง เมืองคอง (มีนาคม ๒๕๔๗)
      ฝายหัวเมือง” เมืองคอง อำเภอเชียงดาว เป็นฝายสำคัญที่กั้นลำน้ำแม่แตง ผันน้ำเข้าสู่ชุมชนเมืองคอง ซึ่งมีพื้นที่รับน้ำจากฝายหัวเมืองราว ๕๐๐ ไร่ ฝายหัวเมืองเดิมเป็นฝายไม้ จะผุพังเนื่องจากความรุนแรงของลำน้ำแม่แตงทุกปี จึงต้องใช้แรงงานชาวเมืองคองผู้ใช้น้ำจากฝายนี้ (ประมาณ ๕๐ คน) มาตอกหลักและซ่อมแซมฝายเป็นประจำทุกปี และต้องใช้เวลาถึง ๗ วันเลยทีเดียว แก่ฝายหัวเมือง อธิบายถึงขั้นตอนการตอกหลักตีฝายว่า   “การตอกหลักตีฝายต้องกระทำเป็นประจำทุกปี เนื่องจากฝายหัวเมืองเป็นฝายไม้ และผุพังเนื่องจากความรุนแรงของลำน้ำแม่แตงทุกปี การตีฝายหัวเมืองแต่ละครั้ง แม้จะมีผู้ใช้น้ำมาช่วยกันตีฝาย แต่ต้องใช้เวลาถึง ๗ วันเลยทีเดียว โดยการตีฝายมีหลายขั้นตอนคือ

ขั้นตอนแรก ก่อนตีฝายต้องทำพิธีเลี้ยงผีฝายเพื่อบอกกล่าวแม่ธรณี 
พิธีเลี้ยงผีฝายถูกจัดขึ้นริมฝายหัวเมือง
พิธีเลี้ยงผีขุนน้ำ - ผีฝาย (สำหรับผู้ใช้น้ำ)
 ผีขุนน้ำ เป็นอารักษ์ประจำต้นน้ำแต่ละสาย สิงสถิตอยู่บริเวณต้นน้ำบนดอยสูง ผีขุนน้ำที่อยู่ต้นน้ำแม่ใดจะได้ชื่อตามนั้น เช่น ขุนคอง ขุนงัด ขุนดำ ขุนลาว ขุนออน เป็นต้น ส่วนผีฝาย เป็นผีหรืออารักษ์ที่ทำหน้าที่ดูแลฝายที่ชาวบ้านสร้างขึ้น เพื่อผันน้ำจากลำน้ำใหญ่ขึ้นไปเลี้ยงที่นา เมื่อสร้างฝายเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะอัญเชิญหัวหน้าของผีในละแวกนั้นไปประจำอยู่ที่หอผีซึ่งส่วนมากมักตั้งอยู่บริเวณปากเหมืองหรือคลองส่งน้ำจากฝายนั้น เมื่อถึงเดือน ๘ เดือน ๙ เหนือ ชาวบ้านจะทำพิธีเลี้ยงผีขุนน้ำเป็นประจำทุกปี โดยมี “แก่ฝาย” เป็นผู้นำ การเลี้ยงผี จะเลี้ยงในวันใดก็ได้ที่ไม่ตรงกับวันศีลหรือวันพระ ของเซ่นไหว้จะเป็นสัตว์ใหญ่หรือเล็กก็แล้วแต่จะตกลงกัน ประเพณีการเลี้ยงผีฝายต้องกระทำเป็นประจำทุกปี เพื่อไหว้ขอพรต่อผีขุนน้ำ ให้ช่วยดลบันดาลให้มีน้ำเพียงพอต่อการบริโภคและการเกษตรตลอดทั้งปี

หอผีฝาย
เจ้าที่ จากนั้นจึงกั้นลำน้ำแม่แตงครึ่งหนึ่งและปล่อยออกเพียงด้านเดียว เพื่อความสะดวกในการตอกหลัก จากนั้นนำ “หลักตี” (หลักไม้) ขนาด ๒ ศอก ตีให้จมมิดทั่วทั้งฝาย ยกเว้นบริเวณที่เป็นหลุม และต้องตอกหลักให้ได้ขนาดลาดเอียงตามระดับของฝาย
“ขั้นตอนที่สอง ขนหินแม่น้ำนำมาถบระหว่างหลักฝาย โดยแบ่งออกเป็นชั้น ชั้นแรกให้ถมหินก้อนเล็กและทรายลงไป ชั้นต่อมาให้ถมหินขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับ
“ขั้นตอนที่สาม นำ “ค่าวฝาย” (ไม้ไผ่ยาว) มาเรียงตามแนวของฝายทั่วทั้งฝาย แล้วตอกหลักตีขนาดเล็ก (ขนาด ๑ ศอก) บริเวณหัวและท้ายของค่าวฝาย ส่วนกลางของค่าวฝายใช้ “หลักแป้บ๑” ตอกเป็นระยะตามลำค่าวฝาย จากนั้นตอก “หลักหล๋อ๒” ตรงปลายฝาย เพื่อป้องกันฝายยุบตัว ๑ หลักแป้บ แปลว่า หลักไม้ไผ่แบน ขนาด ๑ ศอก
๒ หลักหล๋อ แปลว่า หลักไม้ขนาด ๕ – ๖ ศอก
ขั้นตอนสุดท้าย นำหินขนาดใหญ่กั้นเป็นแนวเหนือฝายตามระดับน้ำเพื่อให้ระดับน้ำสูงจากฝายพอสมควร

ลักษณะการแบ่งงานด้านบนและด้านล่างฝาย
       การตีฝายหรือซ่อมแซมฝายหัวเมือง เมืองคอง มีการทำงาน ๒ ระบบ ได้แก่
ระบบการควบคุมดูแล โดยแก่ฝาย  เป็นผู้ที่ดู รักษากฎกติกาการใช้น้ำรวมกัน ของผู้ใช้น้ำจากเหมืองฝาย  ตั้งไว้เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งในการทำกิจกรรมเหมืองแต่ละเส้น  เวลาที่เกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบเหมืองฝาย แก่ฝายก็จะเป็นประธานในการประชุม  หากมีกรณีพิพาทเกี่ยวกับเหมืองฝายก็จะเป็นบุคคลที่คอยไกล่เกลี่ย  โดยจะยึดถือกติกาการใช้น้ำที่บันทึกถ่ายทอดจากคนรุ่นก่อน เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติ  คุณสมบัติของแก่ฝายมีได้กำหนดอื่นใด  เพียงแต่เลือกมาจากแก่เหมืองของแต่ละเหมืองที่มีการใช้น้ำจากฝายหลัก  โดยเรียกตามความเหมาะสม และเห็นชอบของที่ประชุมชาวนา 
ระบบการแบ่งงานกันทำในขณะซ่อมแซมฝาย แบ่งเป็นการทำงานด้านบนฝายและด้านล่างฝาย ด้านบนฝายจะต้องเป็นผู้อาวุโสและชำนาญการตอกหลักฝาย ส่วนด้านล่างฝาย มักเป็นคนหนุ่มที่มีพละกำลังมาก เป็นแรงงานเก็บหินและลำเลียงก้อนหินถมฝายให้เต็มหลักไม้ 
ในปัจจุบันการสร้างฝายด้วยไม้ที่กั้นแม่น้ำขนาดใหญ่เริ่มจะ     สูญหายไปจากล้านนา  เนื่องจากต้องใช้ไม้จำนวนมากและผู้คนจำนวนมากในการสร้างแต่ละฝาย  จึงได้หันมาสร้างฝายตามแนวพระราชดำริคือ  ฝายแม้ว และแบบต่าง ๆ

ฝายแม้ว 
เป็นการสร้างเขื่อนกั้นน้ำแบบง่ายๆ โดยวัสดุธรรมชาติคือ จะใช้ต้นไม้หรือลำไม้ไผ่ก็ได้     ทำเป็นโครงสร้างแล้วกั้นด้วยก้อนหินหรือสำหรับท้องถิ่นบ้านเราก็ใช้กระสอบบรรจุดินกั้นทางน้ำวางทับถมเรียงกันลงไปเป็นชั้นๆตามขนาดและระดับที่ต้องการกักเก็บน้ำก็เป็นอันแล้วเสร็จ    ส่วนจะเล็กหรือจะใหญ่ก็แล้วแต่ขนาดของทางน้ำหรือความสามารถของชุมชนหรือกลุ่มเกษตรกรนั้นๆ ไม่ได้จำกัดขนาด และไม่ต้องใช้นักวิชาการมาคำนวณความสูงและขนาดของฝาย  ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และ ภูมิปัญญาของชุมชนนั้นๆ
หลังจากที่ลำห้วยและแหล่งน้ำต่างๆพอที่จะมีน้ำกักเก็บไว้แล้ว  ก็จะช่วยให้เกษตรกรบางส่วนได้มีอาชีพทำการเพาะปลูกพืชสวนพืชผักไว้ขายและเลี้ยงชีพภายในครอบครัว ช่วยลดการอพยพของแรงงานเข้าไปทำงานในต่างจังหวัด  และกรุงเทพมหานครได้ในระดับหนึ่ง
ฝายหินทิ้ง จึงเป็นการนำหินมาทิ้งเพื่อกั้นลำน้ำและชะลอกระแสน้ำให้ช้าลง ทั้งยังช่วยดันน้ำให้สูงขึ้นอีกด้วย ไม่ปิดเส้นทางน้ำเหมือนกับฝายน้ำล้น แต่ฝายหินทิ้งน้ำจะไหลผ่านซอกหินได้ทุกความลึก จุดที่สร้างต้องมีเสาตอม่อประมาณ 30 ต้นช่วยเสริมแรงดันน้ำเหมือนเสาแรงไม่ให้หินเคลื่อนออกไป ความยาวของฝายประมาณ 10 เมตร กว้างตามลำน้ำ เมื่อสร้างเสร็จหน้าฝายหินทิ้งจะลึกเป็นวังปลามีกระแสน้ำวน ปลาจะใช้ตรงนี้ในการขยายพันธุ์ จัดเป็นสถานอนุบาลสัตว์น้ำที่ดีมาก นอกจากนี้ฝายหินทิ้งทำให้ระบบนิเวศริมฝั่งเกิดการฟื้นตัว เช่น พันธุ์ไม้ต่างๆ เพราะถ้าปล่อยให้น้ำขาดช่วง   แห้งแล้งยาวนานดินจะแห้ง เวลาน้ำหลากมากระทบกับดินแห้งทำให้เกิดการพังทลายและทรุดตัว แต่ถ้ามีความชุ่มชื้นหล่อเลี้ยงอยู่ ทำให้ดินอุ้มน้ำและพันธุ์ไม้อุดมสมบูรณ์ น้ำไม่กัดเซาะตลิ่งให้พังเร็ว ป่าไม้ริมฝั่งฟื้นตัว สัตว์น้ำมีที่อยู่อาศัยและขยายพันธุ์ได้
แต การสร้างแต คนจะรวมกันเป็นกลุ่มขนาดเล็ก เฉพาะเจ้าของไร่ หรือเจ้าของนาที่จะใช้น้ำบริเวณนั้น เช่น แตปู่หมื่นแสดงว่านายหมื่นเป็นหัวหน้า เพราะน้ำจาก ลำเหมืองจะเข้าสู่นานายหมื่นก่อน และจะไหลต่อไปยังนาของอีก 4-5 คน แล้วแต่กรณีไป ดังนั้นผู้คนในกลุ่มนี้ต้องให้นายหมื่นเป็นหัวหน้า คนกลุ่มนี้จะรักษาแตของพวกตนให้มั่นคงดังนั้น แต แต่ละแห่งจะมีชื่อให้เป็นที่จดจำไม่เหมือนกัน

การสร้างฝายหินทิ้ง
การเลี้ยงผีฝาย
การเลี้ยงผีฝายเป็นอุบายที่แยบยล ที่ทำให้ชาวบ้านมาร่วมกันรักษาฝาย เพราะคำว่าผีในที่นี้คือคุณความดี หรือประโยชน์ของฝายนั่นเอง การที่ทุกคนมาร่วมกันเลี้ยงผีฝาย คือ   การเข้ามาร่วมพบปะสังสรรค์ พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ช่วยกันดูแลซ่อมแซมรักษาฝาย เช่นฝายที่เสียหายในปีที่ผ่านมาก็จะช่วยกันซ่อมแซม ขุดลอกเหมืองฝายที่ตื้นเขิน และช่วยกันแผ้วถางวัชพืชต่างๆ
เพื่อให้ลำคลองหรือเหมือง  คงสภาพดีอยู่เสมอ การเลี้ยงผีฝายมักจะทำเมื่อสิ้นสุดฤดูการทำนา ผู้คนในชุมชนนัดแนะวันและจะห่อข้าว และนำข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียนใส่สวยมารวมกันที่หอผีฝาย พร้อมกับเก็บเงินชื้อวัวแถ่ว๑ 1 ตัวมาฆ่าเช่นสังเวยผีฝายถึงเวลาเลี้ยงผี แก่ฝายจะลงขัน (กล่าวเชิญ) ผีฝายมารับเครื่องเซ่นสังเวยแล้วจุดธูปเทียน หลังจากนั้นจะรอจนธูปเทียนดับถือว่าผีฝายกินเครื่องเซ่นสังเวยเสร็จแล้ว ผู้คนจะนำ ห่อข้าวมาร่วมกันกิน พร้อมกับนำวัวไปทำลาบหรืออาหารต่างๆกินร่วมกัน เหลือจากนั้นก็จะแบ่งเนื้อให้ทุกคนที่มาร่วมงานนำกลับไปทำอาหารที่บ้าน ในขณะที่อยู่รวมกันนั้นก็จะพากันพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ ร่วมกันคิดซ่อมแซมเหมืองฝายให้คงสภาพ ใช้งานได้ดีตลอดไป ผีฝายจึงถือว่าเป็นเครื่องมือหรือกลไกที่สำคัญเป็นจุดให้คนมารวมกลุ่มพัฒนาฝาย  จากนั้นในแต่ละหมู่บ้านจึงจะนำข่าวสารไปบอกแก่สมาชิกในหมู่บ้านของตนอีกต่อหนึ่งเช่นนัดหมายวันเวลาการซ่อมแซมเหมืองฝาย นัดหมายเลี้ยงผีฝายเป็นต้น เหมืองฝายแต่และแห่งบางครั้งครอบคลุมพื้นที่จำนวนหลายๆหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านจะเลือกตัวแทนหรือหัวหน้าขึ้นมาเป็นผู้ประสานงานกับแก่ฝาย หากมีกรณีพิพาทในเรื่องน้ำ หัวหน้าแต่ละหมู่บ้านจะเป็นผู้ตัดสิน หากตกลงกันไม่ได้ก็จะนำเรื่องให้แก่ฝายดำเนินการ
แก่ฝาย
แก่ฝายเป็นผู้กำกับดูแลรักษาและเป็นผู้นำในการรักษาฝาย แก่ฝายมีหน้าที่กำหนดเกณฑ์ให้ชาวบ้านนำหลักฝาย เครื่องเซ่นสังเวย ตลอดจนนัดหมายวันเวลาในการบำรุงซ่อมแซมเหมืองฝายในแต่ละปี แก่ฝายต้องเป็นคนที่เข้มแข็งไม่กลัวคน เพราะขณะที่ตีฝายอาจมีคนเอาเปรียบคนอื่น แอบนอนหลับตามร่มไม้ แก่ฝายบางคนต้องส่งข่าวให้แก่ชาวไร่ ชาวนาจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีผู้ช่วยแบ่งเบาภาระที่ หนักอึ้ง ผู้ช่วยแก่ฝายมักจะเรียกว่า “ล่ามฝาย” ล่ามฝายมีหน้าที่นำข่าวสารจากแก่ฝายไปบอกกล่าวหัวหน้าชาวบ้านในแต่ละหมู่บ้าน
จากนั้นในแต่ละหมู่บ้านจึงจะนำข่าวสารไปบอกแก่สมาชิกในหมู่บ้านของตนอีกต่อหนึ่ง เช่นนัดหมายวันเวลาการซ่อมแซมเหมืองฝาย นัดหมายเลี้ยงผีฝายเป็นต้น เหมืองฝายแต่และแห่งบางครั้งครอบคลุมพื้นที่จำนวนหลายๆ หมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านจะเลือกตัวแทนหรือหัวหน้าขึ้นมาเป็นผู้ประสานงานกับแก่ฝาย หากมีกรณีพิพาทในเรื่องน้ำ หัวหน้าแต่ละหมู่บ้านจะเป็นผู้ตัดสิน หากตกลงกันไม่ได้ก็จะนำเรื่องให้แก่ฝายดำเนินการ
เส้นทางน้ำที่แบ่งออกมาจากฝาย เพื่อนำน้ำเข้านาของชาวนาที่อยู่ในบริเวณ ลำเหมืองไหลผ่าน ถือว่าเป็นลูกเหมืองของลำเหมืองนั้น  ขนาดความกว้างของปากเหมืองขึ้นอยู่กับจำนวนแต ของ เหมืองแต่ละเส้นโดยมีการกำหนดความลึกของปากเหมืองอยู่ที่ประมาณ 1 นิ้ว การแบ่งน้ำจะกำหนดเป็นต๊าง๑  การจ่ายน้ำจะเท่ากับจำนวนต๊างที่มีการทำช่องต๊างจะทำบริเวณที่จะเอาน้ำเข้านา
แต  ทำนบกั้นน้ำในลำเหมืองใหญ่ เป็นการแบ่งส่วนน้ำเข้าเหมืองเล็ก อีกส่วนหนึ่งจะล้นท่วมแตไหลต่อไปในลำเหมืองใหญ่ เมื่อถึงสถานที่ใหม่จะแบ่งน้ำอีกคนก็จะทำแตขึ้นอีกจุดหนึ่ง ทำดังนี้เป็นช่วงๆ ดังนั้นในลำเหมืองใหญ่ๆ จะมีแตหลายแต คั่นเป็นแห่งๆ ตลอดสายน้ำ

:: ดูหน้าต่อไป

สร้างโดย: 
นายสุรพงษ์ จ๋าก๋าง

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 301 คน กำลังออนไลน์