ประเพณีท้องถิ่นล้านนา

รูปภาพของ surapong2520

งาน แห่ครัวทาน เป็นกิจกรรมเก่าแก่ของล้านนา เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของพิธีกรรมทางศาสนา คือการที่ศรัทธาชาวบ้านรวมตัวกันเป็นกลุ่มบุคคล เพื่อนำเอาเครื่องไทยทานที่จัดทำขึ้นไปถวายแก่พระสงฆ์ในงาน พอยหลวง ( อ่าน “ ปอยหลวง ” ) คืองานฉลองถาวรวัตถุในวัดนั้น เช่น งานประเพณีฉลองสมโภช โบสถ์ วิหาร กุฏิ หรือถาวรวัตถุที่สำคัญของพุทธศาสนา ถือว่าบุคคลที่ได้ร่วมการแห่ครัวทานนี้ จะได้รับอานิสงส์เป็นอันมาก   ครัวทานที่นำไปแห่เข้าวัดนั้นแยกเป็นสองประเภท คือ ครัวทานบ้านและครัวทานหัววัด ครัวทานบ้าน คือครัวทานที่ชาวบ้านซึ่งเป็นศรัทธาในสังกัดของวัดที่จัดงานอยู่นั้นเป็นผู้จัดไปถวายวัด ซึ่งครัวทานบ้านนี้มักจะประกอบด้วยวัตถุเครื่องใช้ในวัด เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ถ้วยชามหรือเสื่อ เป็นต้น ปกติชาวบ้านจะแห่ครัวทานบ้านไปถวายในวันแรก และวันที่สองจะมีงานฉลอง ส่วนครัวทานหัววัด คือครัวทานหรือองค์เครื่องไทยทานจากหัววัดหรือวัดที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันจะมาร่วมทำบุญในวันที่สองและที่สามหรือวันสุดท้ายของงานครัวทานหัววัดนี้อาจจัดมารอมทาน ( อ่าน “ ฮอมตาน ” ) คือมีทั้งชนิดที่มีแต่เครื่องไทยทานมากับพระหรือเณรพร้อมกับชางบ้านนั้นสองสามคนมาเพื่อสืบไมตรีกันเล็กน้อยโดยไม่มีขบวนแห่ และมีทั้งที่จัดขบวนแห่มาอย่างเต็มรูปแบบ   ต้นครัวทานหรือองค์เครื่องไทยทาน ไม่ว่าจะเป็นต้นถ้วยหรือองค์เครื่องไทยทานที่ใช้ถ้วยชามมาจัดแต่งเป็นหลัก ต้นผ้า คือองค์เครื่องไทยทานที่ใช้ผ้าของสงฆ์มาจัดขึ้น ต้นเก้าอี้คือองค์เครื่องไทยทานที่ใช้เก้าอี้มาประกอบขึ้น หรือชองอ้อยหรือกระบะมีขาสูงเสมอเอวและมีขาตั้งสี่ขา ซึ่งในกระบะนั้นบรรจุสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ และมีต้นดอกหรือพุ่มดอกไม้ประดิษฐ์ที่มียอดคือไม้ตับหนีบธนบัตรเสียบไว้ ชาวบ้านจะนำครัวทานของตนที่จัดขึ้นมาพร้อมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นหมวดแล้วจัดเครื่องประโคมฆ้องกลองแห่แหนนำเครื่องไทยทานตามกันไปสู่วัด ตามเส้นทางนั้นชาวบ้านมักจะฟ้อนรำทั้งด้วยความ ปิติหรือเพราะฤทธิ์สุรา ส่งเสียงโห่ร้องเกรียวกราวโกลาหลจนเข้าถึงวัด เมื่อครัวทานถึงวัดแล้วปู่อาจารย์จะนำชาวบ้านไหว้พระรับศีลและกล่าวคำสมมาครัวทานแล้วจึงประเคนเครื่องไทยทานถวายพระ ถ้าต้นครัวทานมีขนาดใหญ่มากก็อาจใช้พานดอกไม้ถวายแทนก็ได้ พระสงฆ์ที่เป็นเจ้าพอร ( อ่าน “ เจ้าปอน ” ) คือผู้มีโวหารก็จะกล่าวให้พรด้วยโวหารที่ไพเราะอลังการเพื่อฉลองศรัทธาของชาวบ้าน    ในกรณีที่ครัวทานนั้นเป็นครัวทานหัววัด คือองค์เครื่องไทยทานที่หัววัดหรือพระสงฆ์และศรัทธาจากวัดที่มีความสัมพันธ์กับวัดเจ้าภาพเคลื่อนขบวนแห่มานั้น มักจะเป็นขบวนที่ค่อนข้างวิจิตร อาจมีช่อช้างหรือธงสามเหลี่ยมขนาดใหญ่นำหน้า มีพระสงฆ์และปู่อาจารย์ ถือ ขันนำทาน ซึ่งเป็นพานข้าวตอกดอกไม้ สำหรับนำไปถวายแทนที่จะถวายเครื่องไทยทานทั้งชุดนำหัวขบวน มีช่างฟ้อนและเครื่องดนตรีแห่มามีคณะศรัทธาแห่เครื่องไทยทานเข้าสู่วัด ฝ่ายเจ้าภาพเมื่อเห็นครัวทานหัววัดเข้ามาแล้วก็จะไปต้อนรับ ทั้งที่เป็นแบบการรอมทานและการแห่ครัวทานเข้าวัด คือในส่วนที่หัววัดแห่ครัวทานมานั้น ฝ่ายเจ้าภาพก็จะจัดฟ้อนต้อนรับ มีคนนำช่อช้างคือธงสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ไปรับขบวนแห่ มีคนนำสัปทนไปกั้นให้แก่พระสงฆ์ที่นำขบวน มีคนไปช่วยหามฆ้องกลองและช่วยหามเครื่องไทยทาน และมีผู้นำพานดอกไม้ไปอาราธนาขบวนให้เข้าสู่วัดอย่างสมเกียรติ ในวันสุดท้ายที่มีการแห่ครัวทานเข้าวัดนั้นจะมีการนิมนต์พระสงฆ์จากหัววัดมาค้างคืนเพื่อร่าวมอบเทศน์มหามังคลสูตร ปฐมสมโพธิ ธัมมจักก์และพุทธาภิเษก ในตอนดึกเรื่อยไปจนถึงสว่าง จะมีพิธีสวดเบิกพระเนตรพระพุทธรูปอีกด้วย
เมื่อเสร็จงานพอยหลวงแล้ว เจ้าอาวาสจะพาศรัทธาชาวบ้านนำเครื่องไทยทานไปถวายแก่พระที่เป็นเจ้าพอยเป็นการขอบคุณที่ได้ช่วยงาน ซึ่งบางครั้งอาจแห่เครื่องไทยทานไปเป็นการเอิกเกริกก็มี

ปอยหลวง 
“ปอยหลวง” เป็นประเพณีหนึ่งในภาคเหนือโดยเฉพาะคนเมืองล้านนาเรา ประเพณีปอยหลวงจัดขึ้นเป็นการเฉลิมฉลองถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา   งานที่จัดเป็นงานใหญ่โต เช่นฉลองวิหาร ฉลองอุโบสถ  กุฏิ กำแพง  เจดีย์  ศาลาการเปรียญ ฯลฯ  เป็นต้น “ปอยหลวง” จะจัดงานหลังจากเก็บเกี่ยวข้างเสร็จแล้วคนว่างงานประกอบอาชีพในเดือนกุมภาพันธุ์ถึงเดือนมิถุนายนทางเหนือเราก็จะเป็นหน้าแล้งซึ่งเหมาะกับอากาศด้วย
เมื่อใดที่วัดหนึ่งได้ก่อสร้างถาวรวัตถุ ดังกล่าว เสร็จเรียบร้อยพร้อมที่จะใช้การได้แล้ว  อาทิวิหารก็ดี โบสถ์  ก็ดี  ฯลฯ  คณะศรัทธามีกรรมการวัดพร้อมด้วยเจ้าอาวาส  ก็จะกำหนดวันทำบุญเฉลิมฉลองมอบถาวรวัตถุนั้นให้เป็น ศาสนสถานในพระพุทธศาสนา  โดยประชุมปรึกษาหารือกัน  กำหนดวัน  “ปอยหลวง”  กำหนด วันแห่ครัวทาน  วันรมหรสพจะมีมากน้อยสุดแล้วแต่กำลังทุนทรัพย์ของศรัทธาและของวัด  โดยประเพณีปอยหลวง  แล้วจะเป็น  3  วัน  หรือ  4  วัน  ดังนี้
วันที่ 1  เรียกว่า   วันห้างน้อย   วันฮอมครัวก็เรียก  วันนี้เป็นวันทานไม้ทานคา  ทานตุง
วันที่  2  เรียกว่า   วันห้างหลวง วันครัวทานเข้า  หากวันที่ทำการปอยหลวงมีศรัทธาหลายหลังคาเรือนหรือหลายครอบครัวและมีหัววัดที่ถึงกันก็มีมาก  ก็จะมีวันแห่ครัวทาน  2  วัน  วันแรกเป็นวันครัวทานหัววัด (ต่างวัด)  แห่เข้ามาถวาย  วันที 2  เป็นวันแห่ของศรัทธาชาวบ้านของวัดนั้น แห่ครัวทานเข้ามาถวาย
วันที่ 3  เรียกว่า วันทาน  เมื่อวันก่อนมีการแห่ครัวทานของศรัทธาก็ดีของหัววัดต่างๆ ที่แห่มาก็ดี  ครัวทานที่แห่มาเอาวางรายล้อมวิหารที่ทำการฉลองตอนกลางคืน  เจ้าของศรัทธามานอนเฝ้าเป็นการนอนวัดไปในตัว  พอรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันทาน  มรรคนายกก็จะเวนทานมอบสิ่งก่อสร้างนั้นและถวายครัวทานทั้งหมดให้แก่วัด พระสงฆ์ที่นิมนต์มาค้างวัดก็ดีเจ้าอาวาสก็ดี ก็จะให้พร   เป็นอันเสร็จพิธี  คณะกรรมการวัดช่วยจัดแจงกับครัวทานนับเงินนับทอง  เพื่อเป็นทุนทรัพย์ของวัดแถลงรายได้ทั้งหมดในการจัดปอยหลวงให้แก่ศรัทธาประชาชนทั่วไปได้ทราบ
ครัวทาน : เมื่อตกลงว่าจัดงานปลอยหลวงขึ้นศรัทธาประชาชนต้องทำครัวทานตกแต่งครัวทานของตนหลังคาเรือนละ  1  ต้น  หรือครอบครัวละ 1  ต้น ทำเล็กใหญ่ตามสภาพฐานะ  บ้างก็ทำเป็นรูปปราสาทไหว  บ้าง  ก็ทำเป็นรูปใบโพธิ์  ทำเป็นรูปช้าง  รูปม้า  ประดับประดาด้วยดอกไม้แห้งดอกกระดาษประณีตบรรจง  ทำคันสำหรับหาม คนแห่ บ้างก็ใช้เกวียนใช้ล้อใช้รถเป็นที่วางต้นครัวทานสูงใหญ่โต เล็กสุดแล้วแต่กำลังศรัทธา  และหัววัดต่าง ๆ ก็จะทำครัวทาน  เช่นเดียวกับศรัทธาหมู่บ้านของวัดนั้นทำและแห่มาร่วมงานด้วย
ขบวนแห่ :  มีกลองเอว กลองสะปาย  กลองสะบัดชัย  เป็น่าตัวหลัก มรการตกแต่งรุปโขน(ผีโก๋น)หุ่น รูปต่าง ๆเหล่านี้จะนำขบวนอย่างครึกครื้น นำขบวนครัวทานเข้าไปวัด ประชาชนลูกเด็กเล็กแดงก็จะติดตามครัวทาน ของคนที่หมาแห่เข้าไปในวัดอย่างสนุกสนาน บางหมู่บ้าน บางหัววัดจะมีฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง  ฟ้อนม่าน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนบ่าผาบ นำขบวน  หากเจ้าของต้นครัวทานร่ำรวยก็จะมีการผุยมะนาว(โปยเงิน ซึ่งยัดอยู่ในก้อนข้าวเหนียวหรือใช้ใบมะพร้าวห่อ) ให้แก่คนที่มาร่วมทำบุญในงาน  บรรดาเด็กๆ จะเข้าแย่งกันโปรยไปทางไหน ผู้คนก็แตกฮึอกันเป็นที่สนุกสนาน  อิทธิพลนี้เนื่องมาจากเวสสันดรชาดก
ก่อนปอยหลวง 1 วัน เป็นธรรมเนียมประเพณีต้องมีการแห่พระอุปคุตจากท่าน้ำ  ซึ่งอยู่แห่งใด แห่งหนึ่งที่ใกล้ที่สุด “พระอุปคุต” นี้ก็คือก้อนหินซึ่งเลือกเอาก้อนใดก้อนหนึ่งจากท่าน้ำ   อาจเป็นแม่น้ำ หนองน้ำ ลำเหมือง ลำห้วย เมื่อได้ก้อนหินแล้วก็ยกขึ้นนำขบวนแห่มาวางไว้บนร้าน ซึ่งสร้างไว้ข้างเจดีย์ วิหาร หรือที่อันควรในวัดที่ จะทำการปอยหลวง  ถือเป็นความศักดิ์สิทธิ์  เป็นเจ้าที่เจ้าทางปกป้องรักษาเภทภัยต่างๆ ตลอดงานปอยหลวง  เมื่อเสร็จปอยหลวงแล้วจึงตั้งขบวนแห่นำ “พระอุปคุต” (ก้อนหิน) นั้นกลับไปไว้ยังที่เดิม
ตำนานพระอุปคุต

พระอุปคุตเถระ มหาสมุทรเป็นที่อยู่ของท่าน  มิอิทธิฤทธิ์มาก  อดีตกาลสมัยพระบรมกษัตริย์ธรรมาโศกราชฉลองพระมหาสถูปจำนวน  48,00 0   หลัง ทำมหาสักการบูชา  กำหนด  7  ปี 7  เดือน  7  วัน กลัวเกิดอันตรายจากหมู่มารทั้งหลายก่อกวน  พระองค์ได้พระอุปคุตเถระมาคุ้มครองภัยพิบัติต่าง ๆ ไม่มีตลอด 7 ปี  7 เดือน  7  วัน  พระอุปคุตจะมีฤทธ์มาก กษัตริย์ธรรมโศกราชทดลองปล่อยช้างชับมันแล่นไล่   พระอุปคุตขณะบินฑบาตร  โดนพระอุปคุตเถรอธิฐานบันดาลให้ช้างดุจช้างศิลายืนอยู่กับที่แล่นไม่ได้  เพราะฤทธิ์สืบแต่นั้นมา เป็นตำนานเล่าขาน  เวลามีงานฉลองใหญ่โตมโหฬารต้องมีการแห่พระอุปกคุต
:: ดูหน้าต่อไป

สร้างโดย: 
นายสุรพงษ์ จ๋าก๋าง

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 358 คน กำลังออนไลน์