ช่างบุ---Metal Beating

 

ภาพจาก : http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/425/2425/images/Budoon11.jpg

 

                 งานบุ   เป็นงานช่างที่ทำให้เป็นผลสำเร็จได้ด้วยการปฏิบัติงานตามขนบนิยมโบราณอย่างวิธีบุโลหะ  ในลักษณะตกแต่งผิวภายนอกของงานประเภทศิลปภัณฑ์ ครุภัณฑ์ และสถาปัตยกรรม ให้มีคุณค่าสวยงามและมั่งคงถาวร

                 คำว่า "บุ" เป็นคำกริยาอย่างหนึ่ง หมายถึง การเอาของบางๆทา หรืออีกนัยหนึ่งคือ การตีให้เข้ารูป เช่น บุขันทองลงหิน เป็นต้น  

                 วัสดุที่เหมาะกับงานบุ คือ ทองคำ ทองแดง ดีบุก

                 ช่างบุ ที่เป็นช่างหลวงอยู่ในจำพวกช่างสิบหมู่มาแต่โบราณกาล คือ ช่างประเภทที่ทำการบุโลหะให้แผ่ออก เป็นแผ่นบางๆ แล้วนำไปหุ้มคลุมปิดเข้ากับ "หุ่น" ชนิดต่างๆ เพื่อปิดประดับทำเป็นผิวภายนอกของ "หุ่น" ที่ทำขึ้นด้วยวัตถุต่างๆ เช่น ไม้ ปูน โลหะ หิน เป็นต้น ให้เกิดความงาม มีคุณค่า และมีความคงทนถาวรอยู่ได้นานปี งานบุโลหะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ด้วยกันคือ

                         - การบุหุ้มหุ่นอย่างผิวเรียบ เป็นการนำเอาโลหะชนิดใดชนิดหนึ่งมาทำการตีแผ่ออกให้เป็นแผ่นแบนบางๆ ตามขนาดที่ต้องการ จึงนำเข้าปิดบุทับบนหุ่นที่ต้องการบุทำผิวให้เป็นโลหะชนิดนั้น มักบุลงบนสิ่งก่อสร้างประเภท ก่ออิฐถือปูนเป็นปูชนียสถานต่างๆ เช่น พระสถูปเจดีย์ พระพุทธปรางค์ หรือพระมหาธาตุเจดีย์ พระเจดีย์ทรงปราสาท เป็นต้น งานบุโลหะด้วยโลหะแผ่นเช่นนี้ ส่วนมากยังนิยมลงรักและปิดทองคำเปลวทับลงบนแผ่นโลหะที่บุทับลงในที่นั้น อนึ่ง งานบุโลหะแผ่นผิวเรียบแล้วลงรักปิดทองคำเปลวนี้ สมัยโบราณเรียกว่า บุทองสุวรรณจังโก หรือ บุทองปะทาสี

                         - การบุหุ้มหุ่นอย่างผิวเป็นลวดลาย   เป็นการทำแผ่นโลหะผิวเรียบๆ ให้เกิดเป็นลวดลายนูนขึ้นบนผิวหน้าแผ่นโลหะนั้น โดยการใช้แผ่นโลหะทำให้เป็นลวดลายด้วยแม่พิมพ์หิน และตบด้วยถุงทรายก่อนจะนำไปบุทับลงบนหุ่นชนิดต่างๆ ที่สร้างขึ้น เพื่อรับการตกแต่งด้วยงานบุ งานบุลักษณะผิวเป็นลวดลายนี้ มักเป็นชิ้นงานในลักษณะราบ และการนำเข้าติดกับหุ่น ซึ่งมักทำด้วยไม้ จึงมักใช้หมุดตะบู่เข็มทำด้วยทองเหลืองตรึงให้แผ่นหรือชิ้นงานติดกับหุ่นนั้น

                ตัวอย่างผลงานของช่างบุในอดีต มีดังนี้

                         - งานบุประดับสถาปัตยกรรม ได้แก่ บุพระสถูปเจดีย์ บุพระพุทธปรางค์ บุเครื่องลำยองประกอบหน้าบัน บุหัวเสา
                         - งานบุประดับราชภัณฑ์ ได้แก่ ฐานพระเบญจา พระแท่นราชบัลลังก์ บุษบก พระลองประกอบพระโกศ ฝักพระแสง
                         - งานบุประดับประติมากรรม ได้แก่ บุพระพุทธรูป บุพระพิมพ์ บุปลาตะเพียนทองเงิน

               เครื่องมือและอุปกรณ์ของช่างบุ

                         1. ค้อนเหล็ก สำหรับตีแผ่โลหะ
                         2. ค้อนไม้
                         3. ค้อนเขาควาย
                         4. ทั่งเหล็ก
                         5. กะหล่อน อุปกรณ์ชนิดหนึ่งลักษณะ คล้ายทั่ง แต่หน้าเล็กและมน
                         6. เติ่งไม้ อุปกรณ์ชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ท่อน หน้าเว้าตื้นๆ
                         7. กรรไกร
                         8. สว่านโยน
                         9. ไม้เนียน ทำด้วยเขาควาย
                        10. แม่พิมพ์ ชนิดทำด้วยหิน หรือทำด้วยไม้
                        11. ถุงทราย
                        12. ชันเคี่ยว
                        13. สิ่วสลักหน้าต่างๆ
                        14. หมุด ทำด้วยโลหะผสม

                        

              

                          

                                  

 

 

สร้างโดย: 
นางสาวนีติรัฐ พึ่งเดช และคุณครูผกากรอง กันทะเขียว

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 465 คน กำลังออนไลน์