เกี่ยวกับ
   

 
 

หมายเหตุ คลิกที่เมนูด้านซ้ายเพื่อเข้าสู่เนื้อหาตามหัวข้อต่างๆ


ดาวเสาร์

     ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ออกมาเป็นอันดับที่ 5 ที่ระยะทางประมาณ 10 เท่าของระยะระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ หรือ 2 เท่าของขนาดวงโคจรของดาวพฤหัสบดี ที่ระยะนี้พลังงานจากดวงอาทิตย์แผ่มาถึงเพียง 1.1 % ของพลังงานที่แผ่มาถึงโลกเท่านั้น หากสังเกตดาวเสาร์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก เราจะได้เห็นวงแหวนของดาวเสาร์ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักดูดาวว่าเป็น วงแหวนที่สวยงามและโดดเด่นที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ที่มีวงแหวนทุกดวง
     ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ก๊าซที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองรองจากดาวพฤหัสบดี โดยมีขนาดเล็กกว่าดาวพฤหัสบดีประมาณ 1 ใน 5 แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีขนาดใหญ่กว่าโลกกว่า 9 เท่า ละมีปริมาตรที่สามารถบรรจุโลกไว้ได้ถึง 763 ดวง
     องค์ประกอบหลักของดาวเสาร์ คือ ไนโตรเจน 75% และฮีเลียม 25% และองค์ประกอบย่อยต่างๆในอัตราส่วนที่คล้ายกับดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์มีความหนาแน่นเฉลี่ยทั้งดวงต่ำสุดในระบบสุริยะ โดยมีความหนาแน่นเฉลี่ยประมาณ 0.7 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตรเท่านั้น นั่นคือดาวเสาร์จะลอยน้ำได้ ( หากเรามีอ่างน้ำที่ใหญ่พอสำหรับดาวเสาร์ )

     ดาวเสาร์หมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบในเวลา 10.7 ชั่วโมง ทำให้ดาวเสาร์ มีลักษณะกลมแป้น โดยมีขนาดที่เส้นศูนย์สูตรละที่ขั้วของดาว 120,536 และ 108,728 กิโลเมตร ตามลำดับ ( แป้นกว่าดาวพฤหัสบดีเล็กน้อย )
     ดาวเสาร์เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์รอบหนึ่ง 29.5 ปี ซึ่งแม้จะนานกว่าหนึ่งในสามของชั่วชีวิตผู้คนส่วนใหญ่ แต่นักดาราศาสตร์ตั้งแต่สมัยของชาวแอสซีเรียและบาบิโลน ( ประมาณ 800 ปีก่อนคริสตกาล ) ก็ยังสามารถติดตามการเคลื่อนที่ของดาวเสาร์สืบต่อกันมาเรื่อยๆ และทราบว่าดาวเสาร์ก็เป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง

 

วงแหวนดาวเสาร์

     วงแหวนของดาวเสาร์ค้นพบโดยกาลิเลโอ ในปีค.ศ. 1610 ในเวลาไล่เลี่ยกับการสังเกตดาวศุกร์เสี้ยวและดวงจันทร์ดาวพฤหัสบดีของเขา กล้องโทรทรรศน์ในสมัยของกาลิเลโอยังมีประสิทธิภาพไม่ดีนักกาลิเลโอจึงไม่สามารถมองเห็นวงแหวนแยกออกจากตัวดาวได้ และเห็นว่ามี หูจับ ต่อมาในปีค.ศ. 1659 คริสเตียน ฮอยเกนส์ ( Christian Huygens ) นักดาราศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์ ได้ศึกษาดาวเสาร์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่ากล้องของกาลิเลโอมาก และอธิบายว่าวงแหวนของดาวเสาร์เป็นวัตถุรูปแหวนแบนที่โคจรอยู่รอบดาวเสาร์ นับว่าเป็นข้อสรุปที่ดีที่สุดแล้วที่สามารถสรุปได้โดยการสังเกตจากโลก
     หลังจากยานไพโอเนียร์ 11 ไปเยือนดาวเสาร์เป็นครั้งแรกในปีค.ศ. 1979 เราได้ข้อมูลสรุปที่ชัดเจนว่าวงแหวนของดาวเสาร์มิใช่จานแบนขนาดใหญ่เพียงชิ้นเดียว แต่ประกอบด้วยเศษหินและน้ำแข็งขนาดจิ๋วมากมายที่เรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน ต่อมาในปีค.ศ. 1980 ยานวอยเอเจอร์ได้ค้นพบอีกว่าภายในวงแหวนหลักประกอบด้วยวงแหวนย่อยๆ เป็นชั้นๆมากมาย แม้แต่ช่องว่างต่างๆที่เข้าใจว่าเป็นที่ว่างระหว่างวงแหวนก็ยังมีวงแหวนจิ๋ว ( Ringlet ) อยู่หลายวง

     แท้จริงวงแหวนของดาวเสาร์บางมาก คือ มีความหนาแน่นเฉลี่ยประมาณ 500 เมตร แต่เพราะเศษวัตถุที่ประกอบเป็นวงแหวนของดาวเสาร์สามารถสะท้อนแสงได้ดีและวงแหวนมีความกว้างรวมกว่า 80,000 กิโลเมตร จึงสามารถสังเกตได้จากโลกแม้จะห่างออกไปกว่า 1,100 ล้านกิโลเมตร เศษวัตถุในวงแหวนของดาวเสาร์มีขนาดต่างๆกัน โดยส่วนใหญ่มีขนาด 1-10 เซนติเมตร แต่บางส่วนก็มีขนาดเทียบได้กับรถยนต์หรือใหญ่กว่านั้น นักดาราศาสตร์ประมาณว่าหากรวบรวมเศษวัตถุในวงแหวนทั้งหมดของดาวเสาร์มารวมเป็นดวงจันทร์ของดาวเสาร์ดวงเดียว ดวงจันทร์ดังกล่าวจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 100 กิโลเมตร เท่านั้น อ่านเพิ่ม

ดวงจันทร์ดาวเสาร์  
      ดาวเสาร์มีดวงจันทร์ที่นักดาราศาสตร์รู้จักแล้ว 31 ดวง ( สิงหาคม ค.ศ. 2003 ) ในจำนวนนี้ตั้งชื่อแล้ว 18 ดวง และเพิ่งค้นพบ 13 ดวง ดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดและถูกค้นพบเป็นดวงแรกคือ ไททัน ซึ่งค้นพบโดย คริสเตียน ฮอยเกนส์ ในปีค.ศ. 1655

คลิกเพื่อดูภาพใหญ่

     ดวงจันทร์ของดาวเสาร์ส่วนใหญ่เป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกดูดจับมา สังเกตได้จากลักษณะที่บูดเบี้ยวไม่เป็นทรงกลม ดาวเคราะห์และดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่กว่า 1,000 กิโลเมตร มักจะมีรูปร่างกลมเนื่องจากมีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะดึงให้เนื้อสารของดาวเข้ามาอยู่ใกล้กันได้ รูปทรงที่เปิดโอกาสให้เนื้อสารของดาวเข้ามาอยู่ใกล้กันได้มากที่สุดก็คือทรงกลม ในขณะที่ดาวเคราะห์หรือดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดเล็กกว่า 1,000 กิโลเมตร มักมีแรงโน้มถ่วงน้อยเกินจึงไม่สามารถเอาชนะความแข็งของวัสดุของเนื้อสารดาวเพื่อดึงเข้ามาอยู่ใกล้ชิดกันได้ ทำให้ดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่บูดเบี้ยวและไม่มีรูปทรงที่ชัดเจน ในที่นี้ได้กล่าวถึงรายละเอียดที่ย่าสนใจของดวงจันทร์ขนาดใหญ่ที่สุด 5 ดวงของดาวเสาร์เรียงลำดับตามขนาดจากใหญ่ไปเล็ก

 

การสังเกตดาวเสาร์

     ดาวเสาร์ปรากฏเป็นดาวสว่างสีออกเหลืองที่สามารถสังเกตได้ง่ายด้วยตาเปล่า หากท่านไม่แน่ใจว่าดาวที่เห็นใช่ดาวเสาร์หรือไม่ควรตรวจสอบตำแหน่งกับแผนที่ดาว หรือโปรแกรมแผนที่ดาวในคอมพิวเตอร์และหากสังเกตในช่วงปีค.ศ. 2003-2010 ท่านสามารถใช้แผนที่ด้านล่างเพื่อตรวจสอบตำแหน่งดาวเสาร์ได้
 

:: ข้อมูลจำเพาะ ::

ระยะห่างจากดวงอาทิตย์
1,426,725,400 ก.ม.
9.53707032 A.U.
หมุนรอบตัวเอง
0.44401 วัน (10.2 ชั่วโมง)
หมุนรอบดวงอาทิตย์
29.42351935 ปี
เส้นผ่านศูนย์กลาง
120,536 ก.ม.
(9.449 เท่าของโลก)
ปริมาตร
755 เท่าของโลก
มวล
5.6851 × 1026 ก.ก.
ความหนาแน่น
690 ก.ก./ม.3
ความเร่งที่พื้นผิว
896 cm/s2
ความเร็วเฉลี่ย
9.6724 km/s
ความเร็วการผละหนี
35.49 km/s
ความรีของวงโคจร
0.05415060
ความเอียงระนาบวงโคจร
2.48446 องศา
ความเอียงของแกนหมุน
26.73 องศา
อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศ
134 เคลวิน
ก๊าซในชั้นบรรยากาศ
Hydrogen (H2) 97%
Helium (He) 3%
Methane 0.05%
ดาวบริวาร
1. Pan
2. Atlas
3. Prometheus
4. Pandora
5. Epimetheus
6. Janus
7. Mimas
8. Enceladus
9. Tethys
10. Telesto
11. Calypso
12. Dione
13. Helene
14. Rhea
15. Titan
16. Hyperion
17. Iapetus
18. Phoebe
19. S/2000 S1
20. S/2000 S2
21. S/2000 S3
22. S/2000 S4
23. S/2000 S5
24. S/2000 S6
25. S/2000 S7
26. S/2000 S8
27. S/2000 S9
28. S/2000 S10
29. S/2000 S11
30. S/2000 S12
 
 
 
กลับขึ้นด้านบน

 



จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 08 พฤศจิกายน 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com
Copyright(c) 2006 www.thaigoodview.com. All rights reserved.