เกี่ยวกับ
   
 
 

หมายเหตุ คลิกที่เมนูด้านซ้ายเพื่อเข้าสู่เนื้อหาตามหัวข้อต่างๆ


ดาวศุกร์

     ดาวศุกร์ (Venus) เป็นดาวที่สุกสว่างที่สุดบนท้องฟ้า โดยมีความสว่างเป็นรองเพียงดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เท่านั้น ผู้คนในสมัยโบราณจึงเชื่อว่าดาวศุกร์เป็นเทพธิดาแห่งความรัก ชาวไทยสังเกตดาวศุกร์มาช้านานเช่นกัน สังเกตได้จากการเรียกดาวศุกร์ที่ปรากฏในเวลาเช้าว่า ดาวประกายพรึก และเรียกดาวศุกร์ที่ปรากฏในเวลาพลบค่ำว่า ดาวประจำเมือง ซึ่งคนส่วนใหญ่ใช้เรียกมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วทั้งสองคือดาวดวงเดียวกัน
     ดาวศุกร์โคจรอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ออกมาเป็นอันดับที่สองถัดจากดาวพุธ ที่ระยะห่างเฉลี่ย 110 ล้านกิโลเมตรจากดวงอาทิตย์ ระยะเวลา 1 ปีของดาวศุกร์เป็นเวลาประมาณ 224 วันของโลก
     มีคำกล่าวว่าดาวศุกร์เป็น “ดาวน้องสาวของโลก” เนื่องจากดาวศุกร์มีลักษณะทางกายภาพหลายประการคล้ายคลึงกับโลกของเรา กล่าวคือ ขนาดและมวลของดาวศุกร์น้อยกว่าโลกเพียงเล็กน้อย อีกทั้งดาวศุกร์ยังเป็นดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรอยู่ใกล้โลกมากที่สุด โดยที่จุดที่อยู่ใกล้ที่สุดจะอยู่ห่างไปเพียง 40 ล้านกิโลเมตร นอกจากนี้พื้นผิวของดาวศุกร์มีภูเขาไฟระเบิด และมีการเปลี่ยนแปลงของเปลือกดาวอยู่จนถึงปัจจุบันเช่นเดียวกับโลก ต่างจากดาวเคราะห์แข็งดวงอื่น ๆ ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาในระดับผิดดาวมาเป็นเวลานานแล้ว

บรรยากาศของดาวศุกร์  
     ดาวศุกร์ส่องสว่างมากเพราะมีชั้นบรรยากาศที่ประกอบด้วยเมฆหนาทึบ ทำให้สะท้อนแสงอาทิตย์ได้เป็นอย่างดี แต่เมฆหน้าทึบนี้ก็เป็นอุปสรรค์ในการสังเกตพื้นผิวดาวจากโลก ในช่วงก่อนทศวรรษ 1960 นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่าใต้ชั้นเมฆหนาทึบนั้นอาจจะเป็นผิวดาวที่มีน้ำและชีวิตในลักษณะเดียวกับโลกก็เป็นได้ ในเวลานั้นการสำรวจพื้นผิวดาวศุกร์ทำได้โดยใช้เรดาร์เท่านั้น เพราะมีเพียงเรดาร์ที่สามารถส่องทะลุชั้นเมฆหนาแน่นได้ แต่เรดาร์ก็มีความละเอียดต่ำมาก จึงใช้สำรวจภูมิประเทศได้แต่เพียงหยาบ ๆ ต่อมาในปี ค.ศ. 1962 ประเทศสหรัฐอเมริกาส่งนายอวกาศลำแรกไปสำรวจดาวศุกร์ คือ ยานมารีเนอร์ 2 (Mariner 2) และในปี ค.ศ.1975 ประเทศรัสเซียก็ส่งยานเวเนอรา 7 (Venera 2) ลงไปจอดบนผิวดาวได้เป็นครั้งแรก ข้อมูลจากยานเวเนอราทำให้นักดาราศาสตร์ทราบความจริงว่า พื้นผิวดาวศุกร์ที่เคยคาดว่าเหมาะสมกับการดำรงชีพเช่นเดียวกับโลกกับกลายเป็นพื้นผิวที่ไม่ต่างจากลักษณะของขุมนรกในจินตนาการ
     พื้นผิวของดาวศุกร์มีอุณหภูมิค่อนข้างคงที่ มีอุณหภูมิเฉลี่ย 464 องศาเซลเซียส (737 เคลวิน) ซึ่งร้อนพอที่จะหลอมตะกั่วได้ และมีความดันสูงถึง 92 เท่าของความดันบรรยากาศโลก ซึ่งเทียบได้กับความดันของน้ำได้ทะเลที่ความลึกถึง 900 เมตร บรรยากาศเกือบทั้งหมดประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (96.5%) และมีก๊าซไนโตรเจนปะปนอยู่เป็นส่วนน้อย (3.5%) ผิดดาวศุกร์มีภูเขาไฟระเบิดและธารลาวาไหลอยู่ทั่วไป

คลิกเพื่อดูภาพใหญ่

      ดาวศุกร์มีลีกษณะการหมุนรอบตัวเองที่แปลกกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ คือ หมุนรอบตัวเองช้ามาก วันหนึ่งของดาวศุกร์มีความยาว 243 วันของโลก ดาวศุกร์จึงเป็นดาวที่เวลา 1 วัน นานกว่า 1 ปี นอกจากนี้ดาวศุกร์ยังหมุนรอบตัวเองตามเข็มนาฬิกา ซึ่งกลับข้างกับดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ที่หมุนทวนเข็มนาฬิกา
      ดาวศุกร์แทบไม่มีสนามแม่เหล็กอยู่เลย คาดว่าน่าจะมาจากสาเหตุที่ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองช้ามาก ผลอีกประการหนึ่งของการที่ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองช้า คือพื้นผิวดาวศุกร์มีลมพัดเพียงเอื่อย ๆ เท่านั้น ทำให้พื้นผิวดาวยิ่งร้อนระอุขึ้นไปอีก

 

การสังเกตดาวศุกร์

     ดาวศุกร์สังเกตได้ง่ายเพราะสว่างมาก โดยจะปรากฏอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์เช่นเดียวกับดาวพุธ เนื่องจากทั้งสองเป็นดาวเคราะห์วงในเหมือนกัน ดาวศุกร์มีวงโคจรที่ใหญ่กว่าดาวพุธ จึงปรากฏอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุดได้ถึง 46 องศา เราจึงสามารถสังเกตดาวศุกร์ได้ในช่วงเวลาประมาณ 3 ชั่วโมงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น หรือ 3 ชั่วโมงหลังดวงอาทิตย์ตกเท่านั้น ขึ้นอยู่กับว่าดาวศุกร์ปรากฏอยู่ทางด้านตะวันออกหรือตะวันตกของดวงอาทิตย์ สังเกตว่าดาวศุกร์จะไม่เคยปรากฏให้เห็นอยู่กลางท้องฟ้า หรือปรากฏให้เห็นในเวลาดึก ๆ เลย

:: ข้อมูลจำเพาะ ::

ระยะห่างจากดวงอาทิตย์
108,208,930 ก.ม.
0.72333199 A.U.
หมุนรอบตัวเอง
243.0187 วัน (หมุนกลับหลัง)
หมุนรอบดวงอาทิตย์
225 วัน
เส้นผ่านศูนย์กลาง
12,103.6 ก.ม.
(0.9488 เท่าของโลก)
ปริมาตร
0.88 เท่าของโลก
มวล
4.8690 × 1024 ก.ก.
ความหนาแน่น
5250 ก.ก./ม.3
ความเร่งที่พื้นผิว
887 ซ.ม./วินาที2
ความเร็วเฉลี่ย
35.0214 ก.ม./วินาที
ความเร็วการผละหนี
10.36 ก.ม./วินาที
ความรีของวงโคจร
0.00677323
ความเอียงระนาบวงโคจร
3.39471 องศา
ความเอียงของแกนหมุน
177.3 องศา
อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ย
730 เคลวิน
ก๊าซในชั้นบรรยากาศ
Carbondioxide (CO2) 96%
Nitrogen (N2) 3%
water vapor 0.003%
กลับขึ้นด้านบน


จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 08 พฤศจิกายน 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com
Copyright(c) 2006 www.thaigoodview.com. All rights reserved.