เกี่ยวกับ
   
 

หมายเหตุ คลิกที่เมนูด้านซ้ายเพื่อเข้าสู่เนื้อหาตามหัวข้อต่างๆ


 

ดาวพุธ

     ชาวโรมันโบราณเชื่อว่าดาวพุธ คือผู้นำสาสน์ของเทพเจ้าและเทพแห่งการเดินทาง เพราะดาวพุธปรากฎให้เห็นสลับกันระหว่างช่วงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นและช่วงหลังดวงอาทิตย์ตกในเวลาอันสั้น นักสังเกตท้องฟ้าในสมัยโบราณจึงจินตนาการถึงดาวพุธในรูปของเทพที่มีการเดินทางอย่างฉับไวตลอดเวลา แม้แต่คำว่า เมอคิวรี
( Mercury ) ซึ่งเป็นชื่อของดาวพุธในภาษาอังกฤษก็แผลว่า ปรอท เป็นโลหะของเหลวที่ไหลไปได้อย่างอิสระ

     ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้เคียงดวงอาทิตย์ที่สุด อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ยเพียง 1 ใน 3 ของระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์ หรือประมาณ 60 ล้านกิโลเมตร และโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบหึ่งรอบในเวลาเพียง 88 วัน เมื่อสังเกตจากโลก เราจะเห็นดาวพุธอยู่ทางด้านตะวันออกของดวงอาทิตย์ ครึ่งรอบวงโคจรและอยู่ทางตะวันตกอีกครึ่งรอบ แต่ละช่วงก็คือเวลาประมาณเดือนเศษเท่านั้น

บรรยากาศของดาวพุธ  

คลิกเพื่อดูภาพใหญ่

     บรรยากาศที่ห่อหุ้มดาวพุธเบาบางมากจนเรียกได้ว่าเป็นสุญญากาศ เนื่องจากดาวพุธมีมวลน้อยเกินกว่าจะมีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะดึงดูดบรรยากาศไว้ได้ “บรรยากาศ” ของดาวพุธจึงมีความหนาแน่นเพียง 1 ในหนึ่งพันล้านล้านเท่าของบรรยากาศโลกที่ระดับน้ำทะเล
     ธาตุที่พบในบรรยากาศของกาวพุธส่วนใหญ่ คือ ออกซิเจน โซเดียม ไฮโดรเจน และอีเลียม (เรียงตามสัดส่วนจากมากไปน้อย) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าเป็นธาตุที่ถูกพักขึ้นจากผิวของดาวพุธโดยสมสุริยะ ธาตุเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะลอยหลุดออกไปจากผิดของดาวพุธเรื่อย ๆ แต่ลมสุริยะที่เข้ามาปะทะผิวดาวอย่างต่อเนื่องก็พัดเป่าธาตุจากผิวขึ้นมาเรื่อย ๆ เช่นกัน

     การที่ดาวพุธไม่มีบรรยากาศช่วยรักษาระดับอุณหภูมิให้คงที่ ทำให้ด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ (ด้านกลางวันของดาวพุธ) มีอุณหภูมิสูงสุดถึง 467 องศาเซลเซียส (740 เคลวิน) ในขณะที่ด้านกลางคืนมีอุณหภูมิลดต่ำลงเหลือเพียง – 183 องศาเซลเซียส (90 เคลวิน)

 

การสังเกตดาวพุธ

     ดาวพุธโคจรออกห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุดเพียง 70 ล้านกิโลเมตร ทำให้ดาวพุธจะปรากฏห่างจากดวงอาทิตย์เป็นมุมไม่เกิน 28 องศา เมื่อมองจากโลก ดาวพุธจึงโผล่พ้นจากขอบฟ้าก่อนดวงอาทิตย์เป็นเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง หรือตกหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้วอย่างมากที่สุด 2 ชั่วโมงเท่านั้น ขึ้นอยู่กับว่าดาวพุธกำลังอยู่ในวงโคจรด้านตะวันออก หรือตะวันตกของดวงอาทิตย์
     หากสังเกตด้วยตาเปล่า ดาวพุธจะปรากฏให้เห็นเป็นจุดเล็ก ๆ สีออกชมพูท่ามกลางแสงอรุณรุ่งหรือแสงโพล้เพล้ หากสังเกตด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กจะเห็นดาวพุธมีเฟส (Phase) เปลี่ยนไปคล้ายกับดวงจันทร์ของเรา เพราะดาวพุธโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปเรื่อย ๆ

:: ข้อมูลจำเพาะ ::

ระยะห่างจากดวงอาทิตย์
57,909,175 ก.ม.
0.38709893 A.U.
หมุนรอบตัวเอง
58.646225 วัน
หมุนรอบดวงอาทิตย์
87.969 วัน
เส้นผ่านศูนย์กลาง
4,879.4 ก.ม.
(0.3825 เท่าของโลก)
ปริมาตร
0.054 เท่าของโลก
มวล
0.3302 × 1024 ก.ก.
ความหนาแน่น
5430 ก.ก./ม.3
ความเร่งที่พื้นผิว
370 ซ.ม./วินาที2
ความเร็วเฉลี่ย
47.8725 ก.ม./วินาที
ความเร็วการผละหนี
4.25 ก.ม./วินาที
ความรีของวงโคจร
0.20563069
ความเอียงระนาบวงโคจร
7.00487 องศา
ความเอียงของแกนหมุน
0.0 องศา
อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ย
440 เคลวิน
ก๊าซในชั้นบรรยากาศ
Hydrogen (H), Helium (He)
กลับขึ้นด้านบน


จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 08 พฤศจิกายน 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com
Copyright(c) 2006 www.thaigoodview.com. All rights reserved.