เกี่ยวกับ
   
 
 

หมายเหตุ คลิกที่เมนูด้านซ้ายเพื่อเข้าสู่เนื้อหาตามหัวข้อต่างๆ


ดาวพลูโต

     ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1930 ทอมโบได้ค้นพบดาวริบหรี่ที่เคลื่อนที่ไประหว่างภาพที่ถ่ายในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ จึงได้ติดตามคำนวณวงโคจรและค้นพบว่าวัตถุใหม่นี้โคจรอยู่ไกลออกไปจากวงโคจรของดาวเนปจูน หอดูดาวโลเวลล์ได้ประกาศการค้นพบนี้ในวันที่ 13 มีนาคม อันเป็นวันคล้ายวันเกิดปีที่ 75 ของเพอร์ชิวัล โลเวลล์ ซึ่งพักผ่อนชั่วนิรันดร์อยู่ข้างหอดูดาวยองเขานั่นเอง

     ดาวเคราะห์ดวงใหม่ได้รับการตั้งชื่อว่า พลูโต (Pluto) ซึ่งเป็นเทพผู้ครองนครบาดาลในตำนานโรมัน (ในตำนานกรีกเรียกว่า Hades) เนื่องจากดาวพลูโตอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ไปมาก จึงมีสภาพหนาวเย็นและมืดมิดคล้ายกับเมืองบาดาลในจินตนาการ นอกจากนี้ตัวอักษรสองตัวแรกของชื่อดาวพลูโต (Pluto) ยังพ้องกับชื่อย่อของ เพอร์ชิวัล โลเวลล์ (Percival Lowell PL) อีกด้วย

คลิกเพื่อดูภาพใหญ่

     ดาวพลูโตโคจรอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ยเกือบ 6,000 ล้านกิโลเมตร หรือ 40 เท่าของระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ โดยใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบ 248 ปี ที่ระยะห่างดังกล่าว แม้แต่แสงจากดวงอาทิตย์ใช้เวลาถึง 5 ชั่วโมง 25 นาที จึงจะเดินทางไปถึง
      มนุษย์ไม่เคยส่งยานอวกาศลำใดไปสำรวจดาวพลูโต เราจึงแทบมีมีข้อมูลของดาวอยู่เลย แม้จะใช้กล้องโทรทรรศน์ที่ใหญ่ที่สุดบนโลกสังเกต ดาวพลูโตก็ยังเป็นเพียงจุดสว่าง หรือเม็ดกลมเล็กแทบไม่เห็นรายละเอียดใด ๆ อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาลักษณะวงโคจรและการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เข้าช่วย นักดาราศาสตร์ได้พบว่าดาวพลูโตครองตำแหน่งชนะเลิศของความเป็น “ที่สุด” หลายประการในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งปวง กล่าวคือ
     ดาวพลูโตจะมีบรรยากาศบ้างเมื่อดาวอยู่ในช่วงที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด (ครั้งล่าสุดในปี ค.ศ. 1989 และครั้งต่อไปในปี ค.ศ. 2237) เพราะอุณหภูมิจะอุ่นพอที่จะทำให้ก๊าซแข็งบนผิวดาวระเหิดขึ้นมาได้บ้าง แต่ก็เป็นเพียงบรรยากาศที่เบาบางมากเท่านั้น (ประมาณ 1 ใน 300,000 เท่าของความดันบรรยากาศที่ผิวโลก) และเมื่อดาวพลูโตเคลื่อนที่ออกห่างจากดวงอาทิตย์ บรรยากาศที่ยังไม่หลุดลอยออกไปจากตัวดาวก็จะแข็งตัวตกกลับลงมาอีกครั้ง

 

ดวงจันทร์ของดาวพลูโต

     ดาวพลูโตมีดวงจันทร์หนึ่งดวง คือ แครอน (Charon) ซึ่งค้นพบในปี ค.ศ. 1978 โดย เจมส์ คริสตี (James Christy) แห่งหอดูดาวกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา (The United States Naval Observatory) ด้วยวิธีเดียวกับที่ทอมโบค้นพบดาวพลูโต คือ การถ่ายภาพบริเวณเดียวกันโดยเว้นระยะห่างช่วงเวลาหนึ่งและนำภาพมาแสดงสลับไปมา คริสตีได้พบว่าดาวภาพของดาวพลูโตไม่กลม แต่ปรากฏคล้ายมี “ติ่ง” ยื่นออกมา แสดงให้เห็นว่าดาวพลูโตมีดวงจันทร์บริวาร กล้องโทรทรรศน์ในขณะนั้นยังไม่มีกำลังแยกภาพ สูงพอที่จะสามารถแยกดาวพลูโตและดวงจันทร์ออกจากกันได้
     แครอนเป็นดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับดาวพลูโตซึ่งเป็นดาวเคราะห์แม่ โดยมีขนาดถึงครึ่งหนึ่ง (49%) ของดาวพลูโต (ในขณะที่ดวงจันทร์ของเรามีขนาดเพียง 27% หรือประมาณ 1 ใน 3 ของขนาดโลกเท่านั้น) เมื่อมองจากโลก ดาวพลูโตและแครอนจึงปรากฏเป็นดาวคู่แฝดที่อยู่ห่างกันประมาณ 0.9 อาร์ควินาที (0.0025 องศา)เทียบได้กับขนาดของเหรียญบาทที่อยู่ห่างออกไปถึง 4.8 กิโลเมตร
     นักดาราศาสตร์ทราบแต่เพียงว่าแครอนมีความหนาแน่นเฉลี่ยประมาณ 2 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร เช่นเดียวกับดาวพลูโต จึงคาดการณ์ได้ว่าน่าจะมีลักษณะภายในคล้ายกัน

การสังเกตดาวพลูโต  
     ดาวพลูโตสังเกตได้ยากมาก เพราะดาวพลูโตมีความสว่างสูงที่สุดเพียงแมกนิจูด +13.6 หรือจางกว่าดาวชิริอุสถึงหนึ่งล้านเท่า แต่อย่างไรก็ตาม การสังเกตดาวพลูโตก็ยังอยู่ในวิสัยที่เป็นไปได้สำหรับนักดาราศาสตร์สมัครเล่นที่มีความมุ่งมั่น(และมีอุปกรณ์ที่เหมาะสม)

:: ข้อมูลจำเพาะ ::

ระยะห่างจากดวงอาทิตย์
5,906,376,200 ก.ม.
39.48168677 A.U.
หมุนรอบตัวเอง
6.38718 วัน (หมุนกลับหลัง)
หมุนรอบดวงอาทิตย์
248.0208 ปี
เส้นผ่านศูนย์กลาง
2,300 ก.ม.
(0.180 เท่าของโลก)
ปริมาตร
0.005 เท่าของโลก
มวล
13 × 1022 ก.ก.
ความหนาแน่น
2030 ก.ก./ม3
ความเร่งที่พื้นผิว
81 ซ.ม./วินาที2
ความเร็วเฉลี่ย
4.7490 ก.ม./วินาที
ความเร็วการผละหนี
1.27 ก.ม./วินาที
ความรีของวงโคจร
0.24880766
ความเอียงระนาบวงโคจร
17.14175 องศา
ความเอียงของแกนหมุน
119.61 องศา
อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ย
57.8 เคลวิน
ดาวบริวาร
1. Charon
กลับขึ้นด้านบน


จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 08 พฤศจิกายน 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com
Copyright(c) 2006 www.thaigoodview.com. All rights reserved.