เกี่ยวกับ
   
 
 

หมายเหตุ คลิกที่เมนูด้านซ้ายเพื่อเข้าสู่เนื้อหาตามหัวข้อต่างๆ


 

ดาวพฤหัสบดี

     ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) เป็นที่รู้จักกันในตำนานกรีกและโรมันในฐานะราชาแห่งเทพเจ้าทั้งปวง ซึ่งพ้องกับการที่ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ
     ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ก๊าซ ( Jovian Planet ) ขนาดยักษ์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ออกไปเป็นระยะทางประมาณ 5.2 หน่วยดาราศาสตร์ ซึ่งห่างไกลกว่าวงโคจรของดาวอังคารกว่า 3 เท่า ที่ระยะห่างนี้ พลังงานจากดวงอาทิตย์แผ่มาถึงน้อยลง ก๊าซและสสารที่ระเหยง่ายจึงเริ่มรวมตัวขึ้นได้ ดาวพฤหัสบดีมีปริมาตรที่สามารถบรรจุโลกไว้ได้กว่า 1,300 ดวง และมีมวลมากกว่าสองเท่าของดาวเคราะห์อื่นๆ ในระบบสุริยะรวมกัน


ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี  
     นอกจากดาวพฤหัสบดีจะมีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะแล้ว ดาวพฤหัสบดียังเป็นดาวที่มีดวงจันทร์จำนวนมากที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งปวงอีกด้วย โดยมีดวงจันทร์ที่นักดาราศาสตร์รู้จักแล้ว 61 ดวง ( สิงหาคม ค.ศ. 2003 ) มีขนาดตั้งแต่ 2,631 กิโลเมตร ลงไปจนถึงขนาดเล็กกว่า 1 กิโลเมตร ในจำนวนนี้ตั้งชื่อแล้ว 27 ดวง และที่เหลือยังไม่มีการตั้งชื่อ เพราะในปัจจุบันมีการค้นพบดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การค้นพบดวงจันทร์ดวงใหม่จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าตื่นเต้นอีกต่อไป
     ดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 4 ดวงแรกของดาวพฤหัสบดี คือ ไอโอ ยุโรปา แกนีมีด และ คัลลิสโต ซึ่งค้พบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี ( Galileo Galilei ) ในปีค.ศ. 1610 ที่เขาได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องศึกษาดวงดาวเป็นปีแรก กาลิเลโอเฝ้าศึกษาการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ 4 ดวงนี้อย่างต่อเนื่อง และได้เห็นว่าดวงจันทร์ทั้ง 4 เคลื่อนที่อยู่รอบดาวพฤหัสบดี เป็นหลักฐานที่ยืนยันได้ชัดเจนวาโลกไม่ใช่ศูนย์กลางของระบบสุริยะ เพราะอย่างน้อยที่สุดก็มีดวงจันทร์ 4 ดวงที่เคลื่อนที่อยู่รอบๆดาวพฤหัสบดี ( ในเวลาต่อมา การเผยแพร่ผลการค้นพบและทฤษฎีซึ่งขัดต่อความเชื่อของศาสนจักรนี้ ได้นำคามเดือดร้อนมาสู่กาลิเลโอไปชั่วชีวิตของเขา ) ดวงจันทร์ทั้ง 4 นี้จึงเรียกรวมๆว่า ดวงจันทร์กาลิเลียน ( Galilean Satellite ) เพื่อเป็นการให้เกียรติกาลิเลโอในเวลาต่อมา

 

บรรยากาศของดาวพฤหัสบดี

     องค์ประกอบหลักของดาวพฤหัสบดีคือ ก๊าซไนโตรเจนและก๊าซฮีเลียม ซึ่งเป็นองค์ประกอบประมาณ 75% และ 25% โดยมวลตามลำดับ นอกจากก๊าซสองชนิดหลักแล้วยังมีสารอื่นๆปะปนอยู่บ้างแต่มีปริมาณน้อยมาก การศึกษาธาตุองค์ประกอบของดาวพฤหัสบดีอย่างละเอียดชี้ให้เห็นว่า ดาวพฤหัสบดีมีปริมาณธาตุองค์ประกอบคล้ายกับดวงอาทิตย์มาก แสดงให้เห็นว่าดาวเคราะห์ก๊าซดวงนี้แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบเลยตั้งแต่รวมตังขึ้นเมื่อหลายพันปีมาแล้ว
     เนื่องจากดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ก๊าซ จึงไม่มีพื้นผิวแข็งที่ชัดเจนดังเช่นโลกหรือดาวเคราะห์แข็งอื่นๆ แต่เนื้อสารชั้นบนบริเวณผิวของดาวค่อยๆ เบาบางลงและหายไปในอวกาศ ในการศึกษาดาวพฤหัสบดี นักดาราศาสตร์จึงใช้ระดับที่มีความดัน 1 บาร์ ( เท่ากับความดันที่ผิวโลก ) ของบรรยากาศของดาวพฤหัสบดีเป็นรัศมีของดาว หากใช้นิยามนี้ ดาวพฤหัสบดีจะมีรัศมีประมาณ 70,000 กิโลเมตร ที่ระดับผิวดาวเป็นแนวยอดเมฆ ( Cloud Top ) ของดาวพฤหัสบดีซึ่งมีอุณหภูมิ -148 องศาเซลเซียล ( 125 เคลวิน ) และความหนาแน่นประมาณ 0.0002 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร

     นอกจากไฮโดรเจนและฮีเลียมซึ่งเป็นองค์ประกอบเกือบทั้งหมดแล้ว บรรยากาศดาวพฤหัสบดียังมี มีเท แอมโมเนีย แอมโมเนียม ไฮโดรซัลไฟด์ และน้ำเป็นองค์ประกอบย่อย องค์ประกอบเหล่านี้ทำให้ดาวพฤหัสบดีปรากฏมีสีแดงเรื่อๆ ในบริเวณต่างๆอย่างที่เป็น เพราะหากดาวพฤหัสบดีมีเพียงไฮโดรเจนและฮีเลียม ดาวทั้งสองจะเป็นเพียงก้อนก๊าซยักษ์ไร้สีสัน บรรยากาศของดาวพฤหัสบดีมีลมพัดแรงทั้งดวง หลายบริเวณมีความเร็วสูงถึง 650 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งเกิดจากการที่ดาวพฤหัสบดีหมุนรอบตัวเองในเวลาเพียง 10 ชั่วโมงเท่านั้น ( เมื่อเทียบกับขนาดมหึมาของดาวพฤหัสบดีแล้ว นับว่าเป็นความเร็วที่คล้ายกับการหมุนของลูกข่าง ) นอกจากนี้การหมุนที่รวดเร็วยังทำให้ดาวพฤหัสบดีมีลักษณะกลมแป้นคล้ายผลส้มคือ มีเส้นผ่าศูนย์กลางบริเวณศูนย์สูตรยาวกว่าบริเวณขั้วอย่างเห็นได้ชัด (เส้นผ่านศูนย์กลางที่ขั้วและที่เส้นศูนย์สูตร คือ 133,708 และ 142,984 กิโลเมตร ตามลำดับ)

:: ข้อมูลจำเพาะ ::

ระยะห่างจากดวงอาทิตย์
778,412,010 ก.ม.
5.20336301 A.U.
หมุนรอบตัวเอง
0.41354 วัน(9.8 ชั่วโมง)
หมุนรอบดวงอาทิตย์
11.85652502 ปี
เส้นผ่านศูนย์กลาง
142,984 ก.ม.
(11.209 เท่าของโลก)
ปริมาตร
1316 เท่าของโลก
มวล
1.8987 × 1027 ก.ก.
ความหนาแน่น
1330 ก.ก./ม.3
ความเร่งที่พื้นผิว
2312 ซ.ม./วินาที2
ความเร็วเฉลี่ย
13.0697 ก.ม./วินาที
ความเร็วการผละหนี
59.54 ก.ม./วินาที
ความรีของวงโคจร
0.04839266
ความเอียงระนาบวงโคจร
1.30530 องศา
ความเอียงของแกนหมุน
3.12 องศา
อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ย
288 - 293 เคลวิน
อุณหภูมิชั้นบรรยากาศ
165 เคลวิน
ก๊าซในชั้นบรรยากาศ
Hydrogen (H2) 90%
Helium (He) 10%
Methane 0.07%
ดาวบริวาร
1. Metis
2. Adrastea
3. Amalthea
4. Thebe
5. Io
6. Europa
7. Ganymede
8. Callisto
9. Leda
10. Himalia
11. Lysithea
12. Elara
13. Ananke
14. Carme
15. Pasiphae
16. Sinope
17. S/1999 J1
18. S/2000 J1
19. S/2000 J2
20. S/2000 J3
21. S/2000 J4
22. S/2000 J5
23. S/2000 J6
24. S/2000 J7
25. S/2000 J8
26. S/2000 J9
27. S/2000 J10
28. S/2000 J11
กลับขึ้นด้านบน


จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 08 พฤศจิกายน 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com
Copyright(c) 2006 www.thaigoodview.com. All rights reserved.