เกี่ยวกับ
   
 
 

หมายเหตุ คลิกที่เมนูด้านซ้ายเพื่อเข้าสู่เนื้อหาตามหัวข้อต่างๆ


วงแหวนบนดาวเสาร์

คลิกเพื่อดูภาพใหญ่

วงแหวนดี ( D Ring )  

เป็นวงแหวนที่อยู่ใกล้กับดาวเสาร์มากที่สุด ขอบในของวงแหวนเห็นไม่ชัดเจนนัก นักดาราศาสตร์เชื่อว่าบริเวณของวงแหวนดีแผ่ลงไปจนถึงระดับยอดเมฆของดาวเสาร์ ( ประมาณ 60,000 กิโลเมตร จากศูนย์กลางของดาว ) วงแหวนดีจางกว่าที่จะสังเกตเห็นในกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กได้


 

วงแหวนซี ( C Ring )

เป็นวงแหวนจางๆ ที่อยู่ไกลออกไปจากวงแหวนดี มีความกว้าง 17,500 กิโลเมตร เละความหนา 80-150 เมตร แม้ว่าจะมีความสว่างน้อยกว่าวงแหวนบีมาก แต่ วงแหวนซีสามารถสังเกตได้ในกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กหากสภาพอากาศเอื้ออำนวย

วงแหวนบี ( B Ring )  

เป็นวงแหวนที่สว่างที่สุดของดาวเสาร์ มีความกว้าง 25,500 กิโลเมตร และหนา 1.21-1.76 กิโลเมตร เศษวัตถุที่อยู่ในวงแหวนบีมีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับวงแหวนอื่นๆคือ มีขนาดประมาณ 1-10 เมตร และมีลักษณะทางกายภาพต่างจากเศษวัตถุในวงแหวนซีและดีอย่างมากแน่นอน เนื่องจากความสามารถในการสะท้อนแสงแตกต่างกัน


 

ช่องแคสสินี ( Cassini Division )

เป็นช่องระหว่างวงแหวนบีและวงแหวนเอ ขนาด 4,200 กิโลเมตร เมื่อสังเกตด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กจะเห็นช่องนี้เป็นเส้นจางบนแถบวงแหวน นักดาราศาสตร์เชื่อว่าช่องแคสสินีอาจเกิดจากแรงรบกวนของดวงจันทร์ไมมาส ( Mimas ) ของดาวเสาร์ที่กระทำต่อเศษชิ้นส่วนของวงแหวน


วงแหวนเอ ( A Ring )  

  วงแหวนชั้นนี้เป็นวงแหวนที่มีความสว่างมากอีกชั้นหนึ่ง แต่ก็ยังสว่างน้อยกว่าชั้นบี การศึกษาภาพถ่ายจากยานอวกาศระบุว่า วงแหวนเอมีวงแหวนจิ๋วและช่องว่างอยู่ภายในจำนวนมาก วงแหวนเอสามารถสังเกตได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กโดยสังเกตช่องแคสสินีซึ่งเป็นเส้นแบ่งระหว่างวงแหวนเอและบี


 

ช่องเองเก้ ( Encke Division )

  ที่บริเวณขอบนอกของวงแหวนเอ มีช่องว่างความกว้าง 325 กิโลเมตร เรียกว่า ช่องเองเก้ ค้นพบโดยเจมส์ คีลเลอร์ ( James Keeler ) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน ช่องเองเก้สามารถสังเกตได้จากโลกด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดค่อนข้างใหญ่ในสภาพอากาศที่ดีมากเท่านั้น ( กล้องขนาดประมาณ 15 นิ้ว ขึ้นไป ) จะเห็นเป็นเส้นบางอยู่บริเวณริมนอกของวงแหวนเอ


วงแหวนเอฟ ( F Ring ) วงแหวนจี ( G Ring ) และวงแหวนอี ( E Ring )

แหวนชั้นนอกที่จางจนแทบไม่สามารถสังเกตได้จากโลกเลย วงแหวนทั้งสามมีความกว้างรวมกว่า 308,000 กิโลเมตร และมีความหนา 100-1000 กิโลเมตร แต่ประกอบด้วยฝุ่นอนุภาคเล็กที่เบาบางและสะท้อนแสงน้อยมาก ดวงจันทร์หลายดวงโคจรอยู่ในเขตวงแหวนเหล่านี้ เช่น ไมมาส ( Mimas ) เอนเซเลดุล ( Enceladus ) ทีดิส ( Tethys ) เทเลสโซ ( Telesto ) คาลิปโซ ( Calypso ) ไดโอนี ( Dione ) เฮเลน ( Helene ) ฯลฯ

 
กลับขึ้นด้านบน


จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 08 พฤศจิกายน 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com
Copyright(c) 2006 www.thaigoodview.com. All rights reserved.