มารู้จักกับเรื่องราวของวรรณคดี

รูปภาพของ bcskrumai

๖. ความอดทนอดกลั้น

โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงจะมีเพศที่อดทนได้มากกว่าผู้ชาย และถือว่าเป็นเพศที่มีความอดทนเป็นเลิศ คุณสมบัตินี้เป็นลักษณะที่ทำให้สามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆไปได้อย่างราบรื่น นางในวรรณคดีไทยก็เช่นกัน ทุกคนจะมีความอดทนอดกลั้นในด้านต่างๆที่แตกต่างกันไป ซึ่งส่งผลให้ได้รับความสำเร็จในที่สุด

        นางสีดาเป็นนางในวรรณคดีที่มีความอดทนเป็นเลิศ โดยดูได้จากการที่นางออกติดตามพระรามไปอยู่ในป่าและนางต้องอดทนต่อการใช้ชีวิตอย่างลำบากและแร้นแค้น ดังคำกลอนที่ว่า

"ข้าขอพิสูจน์เพลิงถวาย    เบื้องบาทพระนารายณ์

ต่อหน้าฝูงเทพเทวัญ             กับพวกพลขันธ์วานรรังสรรค์"

อีกทั้งตอนที่นางสีดาถูกขับไล่ออกจากเมืองในขณะที่ตั้งครรภ์ นางต้องอดทนต่อความทุกข์ยากลำบากมากมาย

       ความอดทนของนางวันทอง เห็นได้จากการที่นางยอมไปทนทุกข์ยากลำบากกับขุนแผนในป่า นางก็ยอมทิ้งความสะดวกสบายในการอยู่กับขุนช้าง เพราะคิดว่า ขุนแผนพามาด้วยความรัก ถึงแม้ว่านางวันทองจะอาลัยอาวรณ์ในความสุขสำราญซึ่งความสุขอันนี้ย่อมมีอยู่ในปุถุชนทุกผู้ทุกนามแต่ก็สามารถเอาอำนาจความรักมาข่มความอาลัยในความสุขอันนี้เสีย เพื่อความสุขทางใจอันเป็นสิ่งที่นางปรารถนามากกว่า
นางวาสิฏฐี มีความพยายามอย่างไม่ลดละที่จะตามเสด็จพระพุทธองค์ไป โดยไม่ย่อท้อต่อความลำบาก และไม่แยแสต่ออาการเจ็บป่วยของตน เป็นที่น่าสรรเสริญยิ่ง
๗. คติสอนใจในด้านอื่นๆ

นางในวรรณคดีไทยบางคน มีลักษณะนิสัยและการดำเนินชีวิตที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น ซึ่งผู้อ่านสามารถนำมาดัดแปลงเป็นแง่คิดและแบบอย่าง เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันต่อไปได้ เช่น

๗.๑ คติที่ได้จากความมีทิฐิมานะและใจแข็งของนางละเวง

จะเห็นได้ว่า นางละเวงเป็นผู้มีทิฐิมานะและใจแข็ง ซึ่งลักษณะนี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งภายในจิตใจของนาง คือนางหลงรักพระอภัยมณี ซึ่งถือเป็นศัตรูของนาง จนเกือบที่จะทำให้นางต้องทุกข์ใจและสูญเสียคนรักไป เพราะความมีทิฐิของนาง แต่ในที่สุดนางก็ผ่ายแพ้ต่อความรัก ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจทำตามความปรารถนาของตนที่ถูกต้อง หากนางไม่ทำเช่นนี้แล้ว นางละเวงก็จะสูญเสียคนรักและไม่มีความสุขในชีวิต ดังนั้น จะเห็นว่าการมีทิฐิมานะไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้นและไม่ใช่หนทางในการแก้ปัญหา หากแต่การแก้ปัญหาที่ดี ต้องตัดสินใจโดยใช้ความคิดที่รอบคอบ

แต่ใช่ว่า ความใจแข็งของนาง จะก่อให้เกิดผลเสียเพียงอย่างเดียว ความใจแข็งก็มีส่วนให้นางสามารถควบคุมความรู้สึกตนเองได้ โดยจะเห็นได้ว่านางละเวงเป็นตัวละครหญิงเพียงคนเดียวในวรรณคดีไทยที่ร่วมหลับนอนกับตัวละครชาย โดยที่ไม่สูญเสียพรหมจรรย์ “…นับว่านางเป็นผู้หญิงที่รู้จักธรรมชาติวิสัยของมนุษย์เป็นอย่างดีและสามารถควบคุมธรรมชาติวิสัยได้ทั้งของตนเองและผู้อื่น” (รื่นฤทัย สัจจพัจน์) ซึ่งเป็นข้อคิดและบทเรียนให้ผู้หญิงได้ว่า หากเรารู้จักระงับและควบคุมอารมณ์ รวมทั้งใจแข็งในเรื่องนี้แล้วนั้น ปัญหาการชิงสุกก่อนห่ามก็จะลดลง

๗.๒ การมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และความพากเพียรพยายามของนางละเวง

ผู้อ่านจะเห็นได้ว่า แม้นางละเวงจะเป็นเพียงผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่ง ที่เมื่อแรกนั้น ไม่มีความรู้ในด้านการปกครองประเทศและการศึกสงครามเลย นางต้องทำหน้าที่เป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ ซึ่งเป็นภาระอันใหญ่หลวง แต่นางก็ทำหน้าที่นี้ได้อย่างเต็มภาคภูมิ โดยนางต้องมีความเพียรพยายามเริ่มต้นศึกษากลศึกตั้งแต่เริ่มต้น นางต้องเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความผาสุกของประชาราษฎร์ แต่ทั้งนี้นั้น นางก็ไม่เคยย่อท้อที่จะละทิง้ตำแหน่งและหันกลับไปใช้ชีวิตสุขสบายเยี่ยงหญิงสาวทั่วไป นางตระหนักอยู่เสมอว่า นางมีหน้าที่ต้องปกป้องชาติและศาสนาของตน ดังนั้น เราควรดูนางเป็นแบบอย่างในการรับผิดชอบต่อหน้าที่และมีความพยายาม เพื่อจะได้ประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ

๗.๓ การยึดมั่นในศาสนาของนางวาสิฐีและเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรมของนางวันทอง

         นางวาสิฏฐี โดยเนื้อแท้แล้วนั้นเป็นคนที่มีจิตใจดีงาม แม้บางครั้งจะมีปัจจัยภายนอกทำให้จิตใจไขว้เขวไปในทางชั่วบ้าง นางก็ยังรู้สึกได้ว่าสิ่งที่นางกำลังจะทำนั้นเป็นความชั่ว นางก็มักจะละอายใจที่จะกระทำการนั้นหรือขยะแขยงเกินกว่าที่จะฝืนใจทำลงได้ เช่น ตอนที่องคุลิมาลบอกให้นางใช้มายายั่วยวนล้วงเอาความลับจากสาตาเคียรนางก็ทำไม่ลง หรือตอนที่นางเป็นพระภิกษุณีแล้ว แต่กลับมีจิตใจหมกมุ่นอยู่กับชายหนุ่ม(กามนิต) นางก็รู้สึกอับอายมาก และไม่อยากให้ใครเห็นนางในสภาพนั้น
จากเรื่องขุนช้างขุนแผน จะเห็นได้ว่า นางวันทองยอมรับความทุกข์ยากที่ตนได้รับโดยไม่ปริปาก และไม่โทษว่า เป็นความผิดของผู้อื่น เพราะนางเชื่อว่า ความทุกข์ทั้งหมดเป็นผลมาจากกรรมที่นางเคยทำไว้ เมื่อขุนแผนพานางหนีเข้าป่า และต้องตกระกำลำบาก นางก็ไม่โทษขุนแผนแต่อย่างใด แต่นางคิดว่า ขุนแผนพามาด้วยความรัก ในเรื่องนี้นั้น ผู้อ่านสามารถนำมาใช้ในเวลาที่มีความทุกข์ โดยอาจคิดว่าเป็นผลมาจากกรรมที่เคยทำไว้ จะได้ไม่ยึดมั่นถือมั่นจนเกินไป รู้จักปลง แต่ก็ไม่ใช่งอมืองอเท้ารอรับผลกรรม โดยไม่คิดที่จะทำความดีเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ผู้อ่านจะพบว่า ยังมีคติสอนใจในเรื่องอื่นๆอีกมากมายที่เราสามารภนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง เช่น การใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ โดยไม่พิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน อาจนำมาซึ่งความผิดพลาดในชีวิตได้ เช่น การที่นางวันทองโกรธขุนแผน จึงประชด โดยยอมเป็นเมียขุนช้าง

ดังนั้น ผู้อ่านจึงสามารถนำคติสอนใจ ข้อคิด และอุทาหรณ์มาประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยทำตามเยี่ยงอย่างความดีของนางในวรรณคดีไทย ในขณะเดียวกันก็อย่าเอาอย่างความผิดพลาดของนางเหล่านี้ โดยเอาความผิดพลาดดังกล่าวมาเป็นบทเรียนในการดำเนินชีวิตต่อไป

แหล่งข้อมูล

http://www.geocities.com/thai_lit/thought.htm

http://www.skn.ac.th

สร้างโดย: 
Krumai

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 211 คน กำลังออนไลน์