มารู้จักกับเรื่องราวของวรรณคดี

รูปภาพของ bcskrumai

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


ความหมายโดยทั่วไปของวรรณคดี


วรรณคดีหรือวรรณกรรมเป็นงาน ศิลปะ รูปแบบหนึ่งซึ่งมนุษย์์สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อบำรุงจิตใจให้ร่าเริงแช่มชื่น และเพื่อแสดง
ความรู้สึกนึกคิดเมื่อมีอะไรมากระทบใจ

วรรณคดี เป็นศัพท์ที่หมายถึง “ งานหนังสือ ” แต่มักใช้กันอย่างมีนัยของการประเมินค่าว่า “ แต่งดี ” อยู่ด้วย วรรณคดีมีคำแปลตามศัพท์ว่า “ เรื่องราว ” ( คดี) ที่สื่อด้วยตัวหนังสือ เสียง และถ้อยคำ (วรรณ)

คำว่า วรรณคดี ปรากฏในหนังสือไทยเป็นครั้งแรกในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสร ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2457 แต่มิได้กำหนดว่าวรรณคดีคืออะไร เพียงแต่กำหนดหนังสือ 5 ประเภท คือ กวีนิพนธ์ ละครไทย นิทาน ละครพูด และอธิบาย ( essay) เป็นหนังสือที่ควรพิจารณาได้รับการยกย่อง

หนังสือใดจะเป็นหนังสือดีต้องมีคุณลักษณ์ ดังนี้

- เป็นเรื่องที่ดี สาธารณชนอ่านได้โดยไม่เสียประโยชน์

- ใช้วิธีเรียบเรียงอย่างใดก็ตาม แต่ต้องให้เป็นภาษาไทยอันดี

พระยาอนุมานราชธน อธิบายเพิ่มเติมว่า “ หนังสือที่แต่งขึ้นและเขียนตีพิมพ์เป็นเรื่องแล้ว ย่อมเรียกได้ว่าเป็นวรรณคดี แต่หนังสือที่วรรณคดีสโมสรยกย่องสมควรได้รับประโยชน์ คือหนังสือที่มีลักษณะตามที่กำหนดเงื่อนไขไว้ในพระราชกฤษฎีกานั้น ส่วนหนังสืออื่นๆ ซึ่งไม่เข้าอยู่ในข่ายแห่งข้อความในพระราชกฤษฎีกา ก็ต้องถือว่าเป็นวรรณคดีด้วยเหมือนกัน ” ( การศึกษาวรรณคดีแง่วรรณศิลป์)

วรรณคดีในประวัติวรรณคดี เมื่อจำกัดความวรรณคดีว่าเป็นหนังสือที่แต่งดี แล้วพิจารณางานประพันธ์เรื่องต่างๆ ในประวัติวรรณคดีไทยจะพบว่า มิใช่ทุกเรื่องจะมีวรรณศิลป์ถึงขั้นเป็นวรรณคดีได้ บางเรื่องเป็นเพียงงานประพันธ์ที่แต่งขึ้นในอดีต และมีเอกสารเป็นหลักฐานตกทอดมาให้เราได้ศึกษาได้ในปัจจุบัน ประวัติวรรณคดีจึงน่าจะเป็นเพียงการรวมเอาหนังสือที่แต่งไว้ในอดีตเข้าไว้ด้วยกัน โดยไม่ได้มีการประเมินคุณค่าทางวรรณศิลป์ว่า มีคุณสมบัติพร้อมที่จะเป็นหนังสือที่แต่งดีหรือไม่

วรรณกรรม มีความหมายกว้างๆ ว่า “ งานหนังสือ ” เป็นศัพท์ที่สร้างขึ้นมาจากคำสันสกฤตว่า “ วรรณ ” หมายถึง ตัวหนังสือ ( letter) เสียง (sound) และถ้อยคำ ( word) ซึ่งตรงกับความหมายโดยรวมของคำว่า “ หนังสือ ” คือ งานประพันธ์ที่ใช้ถ้อยคำภาษา “ กรรม ” หมายถึง ผลงานความหมายของวรรณกรรมจึงแปลตามตัวได้ว่างานหนังสือ และศิลปะในการประพันธ์งานหนังสือ เรียกว่า วรรณศิลป์

 

สร้างโดย: 
Krumai

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 434 คน กำลังออนไลน์