เสียง >> เสียงหนักเบา ::

รูปภาพของ sss27867






เสียงหนักเบา      

  การเน้นเสียงหนักเบาในภาษาไทย มักเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ เช่น 
                ๑. ลักษณะส่วนประกอบของพยางค์
                ๒. ตำแหน่งของพยางค์ในคำ
                ๓. หน้าที่และความหมายของคำ
        ๑. ลักษณะส่วนประกอบของพยางค์ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาว และพยางค์ที่มีพยัญชนะสะกด จะออกเสียงเน้น (หนัก) เรียกว่า คำครุ
                ครุ หมายถึง คำที่ออกเสียงหนัก มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
                        ๑. ประสมด้วยสระเสียงยาว
                        ๒. ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา
                        ๓. มีตัวสะกดในมาตราต่าง ๆ
                ครุ มีเครื่องหมายที่ใช้แทน คือ 
                ลหุ คือ คำที่ออกเสียงเบา มีลักษณะดังนี้
                        ๑. ประสมด้วยสระเสียงสั้น
                        ๒. ไม่มีตัวสะกด
                ลหุ มีเครื่องหมายที่ใช้แทน คือ
       

ตัวอย่างแผนภูมิแสดงเสียงหนักเบา

                             มะกอกมะกก                                                      มะค่ามะเขือ

                        ุ        ั        ุ      ั                                                      ุ      ั      ุ      ั

                        มะกล่ำมะเกลือ                                                        มะเฟืองมะไฟ

                      ุ        ั        ุ      ั                                                          ุ        ั         ุ      ั

                        พินิศพนัศ                                                                  ระบัดละใบ

                        ุ      ั     ุ      ั                                                               ุ      ั      ุ      ั

                        เสลาไศล                                                                 ละลิ่วละลาน

                        ุ     ั     ุ      ั                                                           ุ      ั      ุ      ั

        ๒. ตำแหน่งของพยางค์ในคำ ในภาษาไทยคำที่มักออกเสียงหนัก คือ พยางค์สุดท้ายของคำ เช่น พูดบ้าบ้า พูดช้าช้า ถ้าเป็นคำ ๓ พยางค์มักเน้นพยางค์ที่ ๑ กับ หรือถ้าพยางค์ที่ ๒ เป็นสระเสียงยาวหรือพยัญชนะท้ายก็จะออกเสียงหนักด้วย เช่น ปัจจุบันเขาเลิกกิจการไปแล้ว
        ๓. หน้าที่และความหมายของคำ  คำที่ทำหน้าที่เป็นประธาน กริยา กรรม หรือขยายประธาน กริยา กรรม เรามักออกเสียงเน้นหนัก แต่คำที่ทำหน้าที่เชื่อมเราไม่เน้นหนัก
        นอกจากนี้ เราอาจจะเน้นคำบางคำที่ต้องการความสนใจเป็นพิเศษ  เช่น
                น้อยชอบนันท์   ไม่ชอบนุช   น้อยชอบนันท์   ไม่ใช่ฉันชอบ


มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 605 คน กำลังออนไลน์