user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('บัญชีผู้ใช้', 'user/login', '', '3.149.238.159', 0, '16e387984b67b74e8c9cd94029ccce04', 122, 1715917264) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

รูปภาพของ sss27857

ยุคสมัยฟื้นฟูบ้านเมือง

รัชกาลที่1 : ช่วงสร้างเมือง  •รัชกาลที่2 : ยุคทองของศิลปรัตนโกสินทร์  •รัชกาลที่3 : ยุคพ่อค้าวานิช

การเมืองการปกครอง  สภาพสังคมและศาสนา  •เศรษฐกิจ  •กฎหมาย

ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม  •ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  •วัดประจำรัชกาลที่ 1-3

เศรษฐกิจ

     สภาพทางเศรษฐกิจสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงยึดแบบแผนที่ปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยอยุธยาและสมัยกรุงธนบุรีเป็นหลัก ซึ่งพอจะประมวลองค์ประกอบทางเศรษฐกิจที่สำคัญได้ 3 ประการคือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการค้า  ที่มาของรายได้แผ่นดิน และรายได้ประชาชาติ  ระบบเงินตรา

          1. หน่วยงานที่เกี่ยวกับการค้าและเศรษฐกิจ

          1.1 พระคลังสินค้า เป็นหน่วยงานที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวกับการค้าขาย ทำหน้าที่ควบคุมสินค้าขาเข้าและขาออก ตลอดจนการเลือกซื้อสินค้าที่ทางราชการต้องการ หรือสินค้าผูกขาด (สินค้าที่ทางราชการต้องการและคิดว่ามีอันตรายหากพ่อค้าจะทำการซื้อขายกันโดยตรง) ได้แก่ อาวุธ กระสุนปืน  และควบคุมกำหนดสินค้าต้องห้าม (คือสินค้าที่หายากและมีราคาแพง ราษฎรต้องนำมาขายให้แก่ทางราชการ) ได้แก่ งาช้าง รังนก ฝาง กฤษณา  พระคลังสินค้าเป็นหน่วยงานการค้าแบบผูกขาด จึงได้ผลกำไรมาก แต่เมื่อไทยมีการค้าขายกับต่างชาติ โดยเฉพาะชาวตะวันตก พ่อค้าเหล่านั้นไม่ได้รับความสะดวกภายหลังหน่วยงานนี้ถูกยกเลิกไปภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง

          1.2 กรมท่า เป็นกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับพ่อค้าต่างชาติ เพราะกรมนี้มีหน้าที่ปกครองหัวเมืองชายทะเล จึงเป็นกรมที่กว้างขวางและคุ้นเคยกับชาวต่างชาติ ปัจจุบันกรมนี้คือกระทรวงการต่างประเทศ

          1.3 เจ้าภาษีนายอากร ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการจัดเก็บภาษีใหม่ คือรัฐบาลจะเรียกเก็บภาษีอากรเฉพาะที่สำคัญๆ เท่านั้น ส่วนที่เหลือก็จะประมูลให้เอกชนรับเหมาผูกขาดในการดำเนินการเรียกเก็บจากราษฎร ผู้ที่ประมูลได้เรียกว่า "เจ้าภาษีหรือนายอากร" ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนเกือบทั้งหมดตามหัวเมือง ราษฎรจะเรียกว่า กรมการจีน

          ระบบเจ้าเจ้าภาษีนายอากรนี้มีทั้งผลดีและผลเสียต่อชาติดังนี้

          ผลดี  ช่วยประหยัดในการลงทุนดำเนินการ ทำให้ท้องพระคลังมีจำนวนภาษีที่แน่นอนไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการเรียกเก็บ

          ผลเสีย  เจ้าภาษีนายอากรบางคนคิดหากำไรในทางมิชอบ มีการรั่วไหลมักใช้อำนาจข่มขู่ราษฎรเรียกเก็บเงินตามพิกัด

          2. ที่มาของรายได้แผ่นดินและรายได้ประชาชาติ

          2.1 การเกษตร มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของชาวไทยตลอดเวลา มีกรมนารับผิดชอบ รายได้ของแผ่นดินส่วนใหญ่รับจากภาษีอากรด้านการเกษตร เช่น อากรค่านา อากรสมพัตสร (เก็บจากไม้ล้มลุกแต่ไม่ใช่ข้าว) และมีการเดินสวน เดินนา

          2.2 การค้าขาย การค้าจะทำโดยพระคลังสินค้าและขุนนางชั้นผู้ใหญ่ สินค้าที่มีการซื้อขายระหว่างพระคลังกับพ่อค้ามี 2 ประเภทคือ สินค้าผูกขาดกับสินค้าต้องห้าม และได้มีการส่งเรือสำเภาไปค้าขายกับต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นของทางราชการ เช่นค้าขายกับจีน อินเดียและพวกอาหรับ ในสมัยรัชกาลที่ 2 การค้ากับต่างประเทศขยายตัวมากขึ้น เพราะพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3 ต่อมา) ทรงเป็นหัวแรงสำคัญจนได้รับสมญาว่า "เจ้าสัว" และมีการค้าขายกับทางตะวันตก เช่น โปรตุเกส อังกฤษ อเมริกา ฮอลันดา สมัยรัชกาลที่ 3 การค้าขายสะดวกรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลจากการทำสนธิสัญญาเบอร์นีกับอังกฤษ

          2.3 ภาษีอากร ภาษีอากรที่เรียกเก็บ มี 4 ประเภทคือ

          - จังกอบ คือ ค่าผ่านด่านที่เก็บจากเรือ เกวียน หรือเครื่องบรรทุกอื่นที่ผ่านด่าน

          - อากร คือ ภาษีที่เก็บจากราษฎรซึ่งประกอบอาชีพที่มิใช่การค้า ซึ่งปกติจะเรียกอากรตามอาชีพที่ทำ เช่น อากรค่านา อากรสุรา

          - ฤชา คือ ค่าธรรมเนียมที่เก็บจากค่าบริการที่ทางราชการทำให้แก่ราษฎร เช่น ออกโฉนด ค่าธรรมเนียมศาล

          - ส่วย คือ เงินหรือสิ่งของที่ไพร่หลวงผู้ที่ไม่ต้องเข้าเวรส่งมอบแทนการเข้าประจำการ

          3. ระบบเงินตรา

          - เงินพดด้วง (รูปสัณฐานกลมเป็นก้อนแต่ตีปลาย 2 ข้างงอเข้าหากัน)

เงินพดด้วง

         

    - เงินปลีกย่อย ใช้เบี้ยและหอยเหมือนสุโขทัยและอยุธยา

เงินปลีกย่อย

การศึกษา

          ระบบการศึกษาในสมัยนี้ยังคงคล้ายสมัยกรุงศรีอยุธยา คือมีวัดและวังเป็นสถาบันทางการศึกษา  ที่วัดผู้ที่จะเข้าศึกษาจะต้องบวชเป็นพระ ซึ่งเราเรียกว่า บวชเรียน การสอนใช้พระและราชบัณฑิตสอนวิชาสามัญ ส่วนวิชาอื่นๆ เช่นช่างต่างๆ จะมีเรียนกันแต่ในครัวเรือนและวงศ์ตระกูล เช่น ช่างทอง ช่างหล่อ

          สำหรับหญิงมีการศึกษาจากบุคคลในครัวเรือน วิชาที่เรียนจะเป็นพวกเย็บปักถักร้อย การบ้าน การเรือน การเรียนหนังสือจะมีบ้างถ้ารักที่จะเรียนแต่ก็ไม่เป็นที่นิยมมากนัก เด็กหญิงชาวพระนครบิดามารดามักส่งเข้ามาอยู่ในวัง โดยอยู่ในตำหนักเจ้านายหรือญาติ เพื่อเรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี มารยาท การครองตน ต่อมาได้เริ่มพัฒนาระบบการศึกษาแบบใหม่มากขึ้น เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อเจ้าฟ้ามงกุฏ (รัชกาลที่ 4) ผนวชที่วัดบวรนิเวศ โปรดให้คณะสอนศาสนาคริสต์   มิชชันรี มาถวายความรู้  เช่นบาดหลวงปัลเลอร์กัว สอนภาษาละติน แหม่มเฮาส์ หมอบรัดเลย์สอนภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะหมอบรัดเลย์ได้เข้ามาสอนหนังสือให้เด็กไทย จีน  แจกยาและรักษาผู้ป่วยไข้ ได้ยำวิธีการปลูกฝีเพื่อป้องกันไข้ทรพิษมาเมืองไทย และต่อมาได้ทำเครื่องพิมพ์มาพิมพ์หนังสือ ได้จัดพิมพ์หนังสือประถม ก. กา ออกจำหน่าย และในสมัยรัชกาลที่ 3 นี้ได้มีการรวบรวมความรู้ต่างๆ ทั้งวรรณคดี โบราณคดี และตำรายา จารึกไว้ตามผนังวัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) จนมีผู้กล่าวว่าวัดโพธิ์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งรัชกาลที่ 3

แหล่งอ้างอิง

http://gotoknow.org/blog/salid/305251

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 235 คน กำลังออนไลน์