กรุงรัตนโกสินทร์ตอนปลาย

รูปภาพของ sss27857

 
 
ยุคประชาธิปไตย
รัชกาลที่7  : การเปลี่ยนแปลง   •รัชกาลที่ 8   •รัชกาลที่ 9
•การเมืองการปกครอง, กฎหมาย  •สภาพสังคมและศาสนา  •การศึกษา  •เศรษฐกิจ
•ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม  •ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  •รัฐประหาร
•การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2  •วัดประจำรัชกาลที่ 7-9

รัชกาลที่ 7 : การเปลี่ยนแปลง


พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
http://www.thaigoodview.com/files/u19301/7.jpg ]

     หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้ว่าจะทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอีตันของอังกฤษ แต่ดูเหมือนรัชกาลที่ 7 จะโปรดการทหารมากกว่า พระองค์ทรงเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ รัชกาลที่ 7 ทรงมีความห่วงใยพสก นิกรอย่างมาก ในรัชสมัยของพระองค์ สยามได้นำระบบไปรษณีย์และโทรเลขมาใช้ เริ่มมีการสร้างสนามบินขึ้นที่ทุ่งดอนเมือง น่าเสียดายที่ช่วงเวลานั้นไม่เปิดโอกาสให้พระองค์ได้ทรงทำตามแนวคิดในการบริหารประเทศของพระองค์ เพราะทรงครองราชย์ในสมัยที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังตกต่ำภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ข้าวซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศราคาตกต่ำอย่างมาก ภาวะเงินเฟ้อที่ระบาทดไปทั่วโลกส่งผลกระทบต่อรัฐบาลของพระองค์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประกอบกับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเนื่องจากการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยในรัชกาลก่อนหน้า แม้จะมีการปรับลดคาเงินบาทลง และนำเงินบาทในผูกอัตราแลกเปลี่ยนกับเงินปอนด์ของอังกฤษ แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ วิกฤติการณ์เหล่านี้ส่งผลให้พระองค์ทรงเลือกที่จะตัดงบประมาณของราชสำนักลง ลดเงินเดือนข้าราชการ และมีการดุลข้าราชการจำนวนหนึ่ง เหตุการณ์นี้ส่งผลให้ข้าราชการจำนวนหนึ่งเกิดความไม่พอใจ โดยเฉพาะคนหนุ่มที่เพิ่งสำเร็จการศึกษามาจากประเทศตะวันตกโดยเฉพาะในยุโรป ในเวลานั้นกระแสการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบอำนาจใหม่ซึ่ง เรียกว่า ประชาธิปไตย ได้เริ่มขึ้น โดยเริ่มจากปัญญาชนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นสามัญชนที่ได้รับการศึกษามาจากยุโรป โดยเฉพาะจากอังกฤษ และฝรั่งเศส ในขณะที่พวกราชวงศ์มักนิยมไปศึกษาที่รัสเซียซึ่งยังปกครองในระบบสมบูรณษญาสิทธิราช คนหนุ่มเหล่านั้นได้เห็นระบอบการปกครองแบบใหม่ และชื่นชมในสิทธิความเท่าเทียมกันของประชาชน ขณะที่รัชกาลที่ 7 ทรงตระหนักดีว่าประชาธิปไตยควรเริ่มใช้เมื่อประชาชนมีความพร้อมก่อน และพระองค์ทรงเห็นว่าในเวลานั้นคนไทยยังไม่พร้อมสำหรับระบบใหม่ พระองค์เคยมีพระราชปรารภว่า คนไทยควรมีจิตสำนึกทางการเมืองเสียก่อน จึงค่อยนำระบบประชาธิปไตยมาใช้

 

แหล่งอ้างอิง

http://www.thainame.net/project/konnarak01/wad5.html#point1

 
 
ยุคประชาธิปไตย
•รัชกาลที่7  : การเปลี่ยนแปลง   •รัชกาลที่ 8   •รัชกาลที่ 9
•การเมืองการปกครอง, กฎหมาย  •สภาพสังคมและศาสนา  •การศึกษา  •เศรษฐกิจ
•ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม  •ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  •รัฐประหาร
•การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2  •วัดประจำรัชกาลที่ 7-9

รัชกาลที่ 8


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
http://psc.212cafe.com/user_blog/psc/picture/1185843684.jpg ]

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ครองราชย์ 13 ปี (พ.ศ.2477- 2489) พระชนมายุ 21 พรรษา เสด็จพระราชสมภพ เมื่อ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมัน ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม บรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

     เมื่อพระชนมายุได้ 3 เดือน ได้ตามเสด็จพระบรมชนกนาถและพระราชมารดา ไปประทับอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา จนพระชนมายุได้ 3 พรรษา จึงเสด็จกลับประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2471 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง สมเด็จพระราชชนนีได้นำเสด็จไปประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปี พ.ศ. 2476

     เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ เมื่อ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้10 พรรษา จึงต้องมีคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวรรตน์จาตุรงต์ เป็นประธาน ต่อมาพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาเป็นประธาน

     พระองค์มีน้ำพระราชหฤทัยเปี่ยมด้วยพระเมตตากรุณาในพสกนิกร โปรดการศึกษา การกีฬา การช่างและการดนตรี ได้เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบ ได้เสด็จนิวัติประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จึงได้ถวายราชกิจ เพื่อให้ทรงบริหารโดยพระราชอำนาจ

     เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489 ได้เกิดเหตุการณ์อันไม่คาดฝัน พระองค์ต้องอาวุธปืน เสด็จสวรรคต ณ ที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง ยังความเศร้าสลด และความอาลัยรักจากพสกนิกรเป็นที่ยิ่ง

แหล่งอ้างอิง

http://202.129.0.133/createweb/00000//00000-74.html

 
ยุคประชาธิปไตย
•รัชกาลที่7  : การเปลี่ยนแปลง   •รัชกาลที่ 8   •รัชกาลที่ 9
•การเมืองการปกครอง, กฎหมาย  •สภาพสังคมและศาสนา  •การศึกษา  •เศรษฐกิจ
•ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม  •ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  •รัฐประหาร
•การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2  •วัดประจำรัชกาลที่ 7-9

รัชกาลที่ 9


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
http://www.thaigoodview.com/files/u19301/9.jpg ]

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพที่โรงพยาบาลเมานท์ ออเบิร์น เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเสทท์ ประเทศสหรัฐ อเมริกา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 3 ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรมบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นพระอนุชาของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระองค์ทรงศึกษาวิชาสามัญชั้นต้นที่โรงเรียนมาแตร์เดอี แล้วเสด็จไปประทับและศึกษาต่อที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์ แลนด์ ในปี พ.ศ. 2481 พระองค์ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดลนิวัติประเทศไทย ประมาณ 2 เดือน ก็เสด็จกลับสวิสเซอร์แลนด์ จนภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2488 จึง ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล กลับประเทศไทย


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ
http://superteenasia.exteen.com/images/Eay/25313.jpg ]


     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อ จากนั้นทรงเสด็จกลับไปสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาต่อ และเสด็จกลับประเทศไทย พ.ศ. 2493 ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 และทรง ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 จากนั้นทรงเสด็จไปสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาต่อ และเสด็จกลับ พ.ศ. 2494 ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา 4 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยาม มกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬา ภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี


พระราชกรณียกิจที่สำคัญ

     แม้ว่าบทบาทของพระมหากษัตริย์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จะลดลงเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระองค์ยังคงพยายามปฏิบัติพระราชภารกิจเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ใน ด้านต่างๆ คือ ทางด้านเศรษฐกิจ ทรงพยายามช่วยเหลือ โดยการส่งเสริมอาชีพ เช่น การทำฟาร์มโคนม พระราช ทานความคิดในการประดิษฐ์เครื่องยนต์กลไก ส่งเสริมการเลี้ยงไหม การประมง ป่าไม้ โครงการ เกษตรหลวงที่ดอยอ่างขางจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อชักชวนให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่น มาปลูกพืชผลและดอกไม้ ที่จะเป็นประโยชน์กว่า โครงการเกษตรกรรมที่หุบกระพง ประจวบคีรีขันธ์

 

แหล่งอ้างอิง

http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=4&post_id=6721#r8

 
ยุคประชาธิปไตย
•รัชกาลที่7  : การเปลี่ยนแปลง   •รัชกาลที่ 8   •รัชกาลที่ 9
การเมืองการปกครอง, กฎหมาย  •สภาพสังคมและศาสนา  •การศึกษา  •เศรษฐกิจ
•ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม  •ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  •รัฐประหาร
•การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2  •วัดประจำรัชกาลที่ 7-9

การเมืองการปกครอง, กฎหมาย

สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

     ทรงตั้งที่ปรึกษาราชการแผ่นดินขึ้น 5 สภา คือ
                            1) อภิรัฐมนตรีสภา เป็นสภาที่ปรึกษาราชกากรแผ่นดิน ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งทรงพระปรีชาสามารถและมีความชำนาญในงานราชการมาแต่ก่อน 5 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จฯเจ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมาพระนครสวรรค์วรพินิต สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำราราชานุภาพ สมเด็จฯ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
                            2) องคมนตรีสภา ช่วยทำหน้าที่บริหารประเทศ คล้ายกับรัฐสภาในปัจจุบัน สมาชิกประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ มีความสามารถเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ทำหน้าที่เสนอความคิดเห็นในเรื่องราชการแผ่นดิน วินิจฉัยเรื่องต่างๆ ที่ทรงปรึกษา
                            3) เสนาบดีสภา ประกอบด้วยเสนาบดีประจำกระทรวง ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาหารือเกี่ยวกับราชการกระทรวงต่างๆ
                            4) สภาป้องกันพระราชอาณาจักร ทำหน้าที่ในการติดต่อประสารงานกับกระทรวงต่างๆ คือ กระทรวงกลาโหม ทหารเรือ ต่างประเทศ มหาดไทย และพาณิชย์ เพื่อป้องกันประเทศ
                            5) สภาการคลัง มีหน้าตรวจตรางบประมาณแผ่นดิน และรักษาผลประโยชน์การเงินของประเทศ


การจัดการปกครอง มีการจัดการปกครอง ดังนี้

     1) การปกครองส่วนกลาง เนื่องจากในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ฐานะทางการเงินภายในประเทศตกต่ำอันเป็นผลมาจากเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก รัชกาลที่ 7 จึงทรงแก้ปัญหานี้โดยใช้นโยบายดุลยภาพ คือ การตัดทอนรายจ่ายที่ไม่จำเป็น จัดงานและคนให้สมดุลกันแบะยุบตำแหน่งราชการที่ซ้ำซ้อนกัน ในการบริหารราชการส่วนกลาง เดิมสมัยรัชกาลที่ 6 มีกระทรวง 12 กระทรวง (โดยเพิ่ม 2 กระทรวง จาก 10 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5 คือ กระทรวงทหารเรือ และกระทรวงพาณิชย์) คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงทหารเรือ กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงวัง กระทรวงเมือง(นครบาล) กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงธรรมการ กระทรวงโยธาธิการ กระทรวงพาณิชย์
               รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้มีการแก้ไขปรับปรุงโดยยุบกระทรวงทหารเรือไปรวมกับกระทรวงกลาโหม และรวมกระทรวงโยธาธิการกับกระทรวงพาณิชย์เข้าด้วยกัน จึงเหลือเพียง 10 กระทรวง

     2) การปกครองส่วนภูมิภาค ด้วยเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจเช่นเดียวกับการปกครองส่วนกลาง รัชกาลที่ 7 ทรงใช้นโยบายดุลยภาพโดยยุบเลิกตำแหน่งปลัดมณฑล ตำแหน่งอุปราชประจำภาค ยุบเลิกมณฑลบางมณฑล บางจังหวัดให้ลดฐานะเป็นอำเภอตามความเหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น เช่น ยุบจังหวัดพระประแดง หลังสวน มีนบุรี สายบุรี ธัญบุรี ตะกั่วป่า หล่มสัก และรวมสุโขทัยเข้ากับสวรรคโลก
               ในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้ทรงเริ่มทดลองการปกครองแบบเทศบาล เพื่อให้ราษฎรได้เรียนรู้การปกครองตนเอง ทรงตราพระราชบัญญัติการจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตก เมื่อ พ.ศ.2469 โดยจัดตั้งสภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลตะวันตก มีอาณาเขตตั้งแต่ตำบลชะอำไปถึงหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การปกครองแบบเทศบาลนี้มีผลดี คือ เป็นการฝึกหัดให้ประชาชนเกิดความชำนาญในการปกครองตนเอง อันเป็นการปูพื้นฐานไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยในอนาคต


การเตรียมพระราชทานรัฐธรรมนูญ

     พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริที่จะให้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ดังจะเห็นได้จากการพระราชทานสัมภาษณ์แก่นักหนังสือพิมพ์ใน พ.ศ.2474 เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินไปประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อพระองค์เสด็จนิวัติพระนคร ก็ทรงมอบหมายให้พระยาศรีวิศาลวาจา และนายเรมอนด์ สตีเวนส์ ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แต่ที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภาและพระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์ได้กราบทูลคัดค้านว่า ยังไม่ถึงเวลาอันควรที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพราะราษฎรยังไม่มีความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยดีพอ รัชกาลที่ 7 จึงทรงต้องเลื่อนการพระราชทานรัฐธรรมนูญออกไป จนกระทั่งเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475


การเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย

     สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
          1) คนรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตก ได้รับอิทธิพลของลัทธิเสรีนิยม และแบบแผนประชาธิปไตยของตะวันตก จึงต้องการนำมาปรับปรุงประเทศชาติ
          2) เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขได้
          3) ประเทศญี่ปุ่นและจีนได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ทำให้ประชาชนต้องการเห็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยภายในบ้านเมืองเร็วขึ้น
          4) เกิดความขัดแย้งระหว่างพระราชวงศ์กับกลุ่มที่จะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองซึ่งไม่พอใจที่พระราชวงศ์ชั้นสูงมีอำนาจและดำรงตำแหน่งเหนือกว่าทั้งในราชการฝ่ายทหารและพลเรือน ทำให้กลุ่มผู้จะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่มีโอกาสมีส่วนร่วมในการแก้ไขปรับปรุงบ้านเมือง
          5) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่อาจทรงใช้อำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครอง ทำให้ผู้ที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองรู้สึกว่าพระองค์ตกอยู่ใต้อำนาจอิทธิพลขอพระราชวงศ์ชั้นสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพระบรมวงศานุวงศ์ได้ยับยั้งพระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ก็ทำให้เกิดความไม่พอใจพระบรมวงศานุวงศ์และการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เพิ่มขึ้น

คณะราษฎรผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง

     “คณะราษฎร” เป็นชื่อที่คณะผู้ก่อการปฏิวัติเรียกตนเอง ประกอบด้วย
          1) ฝ่ายทหาร
มีบุคคลสำคัญ คือ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นหัวห้าคณะปฏิวัติซึ่งรับผิดชอบในด้านการวางแผน อำนายการและดำเนินการใช้กำลังเข้ายึดอำนาจการปกครอง พ.อ.พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุเสน) พ.อ.พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ) พ.ท.พระประศาสน์พิทยายุทธ(วัน ชูถิ่น) พ.ต.หลวงพิบูลยสงคราม (แปลก ขีตะสังคะ) ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการรวมพรรคพวก น.ต.หลวงสินุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) น.ต.หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย)


พระยาพหลพลพยุหเสนา
http://www.sahavicha.com/UserFiles/Image/pahon1(1).jpg ]


          2) ฝ่ายพลเรือน มีบุคคลสำคัญ คือ อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) เป็นมันสมอง ของคณะราษฎร ซึ่งหน้าที่จัดร่างรัฐธรรมนูญและกำหนดลักษณะการบริหารต่างๆ ภายหลังการปฏิวัติ รองอำมาตย์เอก ประยูร ภมรมนตรี รองอำมาตย์เอก หลวงโกวิทอภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์)


นายปรีดี พนมยงค์
http://www.bloggang.com/data/moonfleet/picture/1206233096.jpg ]

นโยบายของคณะราษฎร

     ได้แก่ หลัก 6 ประการ ซึ่งประกอบด้วย
          1) จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางการศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
          2) จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มากและสร้างความสามัคคี
          3) จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรให้ทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดยาก
          4) จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน หมายถึง สิทธิเสมอกันทางกฎหมาย จึงได้มีการยกเลิกบรรดาศักดิ์แต่นั้นมา
          5) จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น
          6) จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร เพราะการปกครองระบอบประชาธิปไตยจะดำเนินไปอย่างราบรื่นก็ต่อเมื่อราษฎรได้รับการศึกษาในระดับดี

การพระราชทานรัฐธรรมนูญ

     ขณะที่คณะราษฎรได้ทำการปฏิบัติ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คณะราษฎรได้ทำหนังสือไปกราบบังคมทูลเชิญพระองค์เสด็จกลับกรุงเทพมหานคร เป็นพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระองค์ทรงยอมรับข้อเสนอของคณะราษฎร เพราะทรงเห็นแก่ความสงบสุขของประชาราษฎร์ ไม่ต้องการเสียเลือดเนื้อกัน ถ้าเกิดจลาจลจะทำให้บ้านเมืองเสียหาย
     นอกจากนี้นพระองค์ก็ทรงมีพระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ราษฎรอยู่แล้ว ซึ่งเป็นผลทำให้การเปลี่ยนแปลงการปกครองประสบผลสำเร็จ โดยไม่มีการใช้กำลังรุนแรงแต่อย่างใด พระองค์เสด็จกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้นำพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ซึ่งอำมาตย์ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม และคณะราษฎรบางคนได้ร่างขึ้น ทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อให้พระองค์ลงพระปรมาภิไธย พระองค์จึงได้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2475 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย

รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 

     สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2475  มีดังต่อไปนี้
          1) พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ เป็นประธานของฝ่ายบริหาร ทรงมีพระราชอำนาจตามขอบเขตแห่งกฎหมาย
          2) อำนาจอธิปไตย แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ซึ่งเดิมอยู่ภายใต้อำนาจของพระมหากษัตริย์ทั้งหมด โดยกระจายอำนาจไปยังสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐบาลและศาล
          3) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระยะเริ่มแรก สมัยที่ 1 คณะราษฎรเป็นผู้จัดตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราวจำนวน 70 คน เป็นสมาชิกของสภา เมื่อถึงสมัยที่ 2 ภายใน 6 เดือน หรือเมื่อประเทศเป็นปกติเรียบร้อยให้มีสมาชิก 2 ประเภทคือ
                    ประเภทที่ 1 ราษฎรเลือกตั้งจังหวัด 1 คนเป็นอย่างน้อย ถือเกณฑ์ผู้แทนราษฎร 1 คน ต่อราษฎร 100,000 คน
                    ประเภทที่ 2 ได้แก่ ผู้เป็นสมาชิกในสมัยที่ 1 และผู้ได้รับเลือกเพิ่มเติม สมัยที่ 3 เมื่อราษฎรสอบไล่ได้ประถมศึกษาเกิดครึ่ง หรืออย่างช้าไม่เกิน 10 ปี สมาชิกประเภทที่ 2 เป็นอันยุติไม่มีอีกต่อไป

เหตุการณ์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่สำคัญคือ

     1) คณะราษฎรดำเนินการตามนโยบายที่กำหนดไว้ แต่ไม่บรรลุผลสำเร็จเท่าที่ควร ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้ คือ
               - คณะราษฎรเกิดความขัดแย้ง แย่งชิงอำนาจกันเอง ทำให้เกิดการปฏิวัติรัฐประหาร รวมทั้งกบฏค่อยครั้ง
               - คณะราษฎรเกิดความคิดเห็นแตกแยกกันในเรื่องโครงการพัฒนาเศรษฐกิจที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเสนอขึ้นมา พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้โจมตีว่าโครงการดังกล่าวดำเนินตามหลักการของลัทธิคอมมิวนิสต์และปฏิเสธที่จะนำมาปฏิบัติ
               - ผู้แทนราษฎรมิได้มีบทบาทในฐานะเป็นตัวแทนของฝ่ายนิติบัญญัติที่เข้มแข็ง หากแต่เป็นเพียงส่วนประกอบของรัฐสภาให้ครบรูปตามระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น ทั้งนี้เพราะฝ่ายรัฐบาลไม่เห็นความสำคัญของสถาบันนิติบัญญัติ
               - ประชาชนได้รับการศึกษาน้อย ยังไม่เข้าใจรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย และการเข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมืองการปกครอง

     ภายหลังจากที่ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้ว รัฐบาลคณะราษฎรก็ทำการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร และในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ มีดังต่อไปนี้
               1. พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้
               2. อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นพระประมุข ทรงใช้อำนาจนี้แต่โดยบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ อำนาจอธิปไตยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ
               3. พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี มีสมาชิก 2 ประเภท จำนวนเท่ากันเป็นระยะเวลา 20 ปี โดยมีสมาชิก ประเภทที่ 1 ได้แก่ สมาชิกราษฎรเลือกตั้งเข้ามา ประเภทที่ 2 ได้แก่ สมาชิกที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
               4. พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอย่างน้อย 14 นาย (จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) อย่างมาก 24 นาย (ส่วนที่เกินจากขั้นต่ำจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญพิเศษ แม้มิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้)
               5. พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล ซึ่งจัดตั้งตามกฎหมาย พิจารณาพิพากษาอรรถคดี

     2) วิกฤตการณ์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในช่วงระยะเวลาไม่ถึง 1 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้เกิดความยุ่งยากทางการเมือง อันสืบเนื่องมาจากความคิดเห็นขัดแย้งในคณะรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องเค้าโครงการเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีเห็นว่าเค้าโครงการเศรษฐกิจนี้ ดำเนินการตามหลักการของประเทศสังคมนิยม นอกจากนี้รัชกาลที่ 7 ยังได้มีพระบรมราชวินิจฉัยสอดคล้องกับพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ในขณะเดียวกันพระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้ออกคำสั่งห้ามข้าราชการและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าเป็นสมาชิกสมาคมเกี่ยงข้องกับการเมือง ซึ่งเท่ากับจะเป็นการล้มคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ต่อมาในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้ประกาศพระราชกฤษฎีกา ยุบสภาผู้แทนราษฎร งดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา และออกพระราชบัญญัติการกระทำเป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นผลให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมต้องเดินทางออกนอกประเทศเป็นการชั่วคราว ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับคณะราษฎรจึงปรากฏเด่นชัดขึ้น ในที่สุด พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา จึงก่อการรัฐประหาร ยึดอำนาจรัฐบาล เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2476 และขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อำนาจของคณะราษฎรก็ได้คืนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกันนั้นหลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้เดินทางกลับประเทศเข้าร่วมกับรัฐบาลชุดใหม่

          ความขัดแย้งระหว่างคณะราษฎรและกลุ่มผู้นิยมระบอบเก่า ทำให้พระองค์เจ้าบวรและพวกก่อการกบฏในเดือนตุลาคม พ.ศ.2476 เพื่อตั้งรัฐบาลใหม่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แต่ถูกฝ่ายรัฐบาลปรามได้ การกบฏครั้งนี้มีผลกระทบกระเทือนต่อพระราชฐานะของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งๆ ที่ทรงวางพระองค์เป็นกลาง เพราะคณะราษฎรเข้าใจว่าพระองค์ทรงสนับสนุนการกบฏ ความสัมพันธ์ระหว่างรัชกาลที่ 7 และคณะราษฎรจึงร้าวฉานยิ่งขึ้น ในต้น พ.ศ.2477 รัชกาลที่ 7 ได้เสด็จไปรักษาพระเนตรที่ประเทศอังกฤษ และทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2477 ต่อจากนั้นคณะรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเห็นชอบกราบทูลเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระโอรสในสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 จนกระทั่งสวรรคตเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 สมเด็จพระอนุชา คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 สืบมาจนถึงปัจจุบัน
 

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

     เรียกว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 มีสาระสำคัญที่ควรนำมากล่าวคือ
               1. รูปแบบของรัฐ
  กำหนดว่าประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยวไม่อาจแบ่งแยกเป็นหลายๆ รัฐได้
               2. ระบอบการปกครอง   ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข   การปกครองแบบประชาธิปไตย หมายความว่า อำนาจอธิปไตย หรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศมาจากปวงชนชาวไทย   พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตย ดังนี้
                              1) อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจในการออกกฎหมาย พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา กล่าวคือ การตรากฎหมายออกมาใช้บังคับกับประชาชนต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน
                              2) อำนาจบริหาร คือ อำนาจในการบริหารประเทศให้เป็นไปตามนโยบายและกฎหมายพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนี้ทางคณะมนตรี กล่าวคือ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอีกไม่เกิน 35 คน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน
                              3) อำนาจตุลากร คือ อำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี หรือติดสินข้อพิพากษาหรือตัดสินลงโทษผู้กระทำความผิด พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจนี้ทางศาล กล่าวคือ การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นหน้าที่ของศาลอันประกอบด้วยผู้พิพากษา ซึ่งมีอิสระในการใช้ดุลพินิจในการตัดสินคดี และเป็นการดำเนินการในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์

 ระบบกฎหมายและการศาล

     กฎหมาย สมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีการร่างกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกาศใช้ พ.ศ.2478 การปฏิรูปกฎหมายได้ดำเนินการมาเรื่อยๆ จนกระทั่งเป็นที่ยอมรับของต่างชาติ ใน พ.ศ.2481 ไทยสามารถยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตได้อย่างเด็ดขาดและได้เอกสิทธิ์ทางการศาลอย่างสมบูรณ์ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล


การศาล

     ใน พ.ศ.2478 สมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีการประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม แบ่งศาลออกเป็น 3 ชั้น คือ 
               1. ศาลชั้นต้น มีศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลจังหวัด ศาลแขวง ศาลคดีและเยาวชน
               2. ศาลอุทธรณ์ พิจารณาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งมาจากศาลชั้นต้น
               3. ศาลฎีกา พิจารณาคดีที่ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งมาจากศาลอุทธรณ์ ในชั้นนี้คำพิพากษาหรือคำสั่งถือเป็นที่สุด 

 

แหล่งอ้างอิง

http://blog.eduzones.com/winny/3647

 
ยุคประชาธิปไตย
•รัชกาลที่7  : การเปลี่ยนแปลง   •รัชกาลที่ 8   •รัชกาลที่ 9
•การเมืองการปกครอง, กฎหมาย  •สภาพสังคมและศาสนา  •การศึกษา  •เศรษฐกิจ
•ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม  •ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  •รัฐประหาร
•การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2  •วัดประจำรัชกาลที่ 7-9

สภาพสังคมและศาสนา

•รัชกาลที่ 7

     ด้านสังคม

     สภาพสังคมหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  พ.ศ. 2475  ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตย  ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญ  คือ
          1. ประชาชนขึ้นมาเป็นเจ้าของประเทศและมีบทบาทในการปกครองประเทศด้วยกระบวนการกฎหมายรัฐธรรมนูญ
          2. ชนชั้นกลาง  พวกพ่อค้า  ปัญญาชน  ขึ้นมามีบทบาทในสังคมแต่ผู้กุมอำนาจยังคงได้แก่ทหารและข้าราชการ
          3. นายทุนเติบโตจากการค้าและอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วพร้อมทั้งมีอิทธิพลและบทบาทจนได้เปรียบในสังคม
          4. เกิดช่องว่างในสังคมทำให้ชาวไร่  ชาวนา  และกรรมกรมีฐานะและชีวิตอยู่กับความยากจนและถูกเอารัดเอาเปรียบจากสังคม

     ด้านศาสนา

     การบูรณะปฏิสังขรณ์ ในสมัยรัชกาลที่ 7 ไม่มีการสร้างวัดเพิ่มเติม อันเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามเนื่องในโอกาสกรุงเทพมหานครครบรอบ 150 ปี อาทิ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม วัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

     การพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ นับเป็นครั้งแรกที่มีการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับอักษรไทยจนจบบริบูรณ์ จนได้ขนานนามว่า “พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ” มีตราช้างเป็นเครื่องหมาย ซึ่งหมายถึงเป็นของชาวไทยทุกคน เมื่อจัดพิมพ์เสร็จแล้วได้แจกจ่ายไปตามมหาวิทยาลัยและหอสมุดนานาชาติทั่วโลก

     การประกวดแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก หนังสือที่ได้รับพระราชทานรางวัลจะจัดพิมพ์เพื่อเผยแผ่และแจกจ่าย ในพระราชพิธีวันวิสาขบูชา เป็นประจำทุกปี

 

• รัชกาลที่ 8

     ด้านสังคม 

     พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 และเปิดประชุมสภาผู้แทนในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2489 นอกจากนี้ ยังเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่าง ๆ และทรงเยี่ยมชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นครั้งแรก ณ สำเพ็ง พระนคร พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดความขัดแย้งกันระหว่างชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีนจนเกือบเกิดสงครามกลางเมือง เมื่อพระองค์ทรงทราบเรื่อง ทรงมีพระราชดำริว่า หากปล่อยความขุ่นข้องบาดหมางไว้เช่นนี้ จะเป็นผลร้ายตลอดไป จึงทรงตัดสินพระทัยเสด็จพระราชดำเนินสำเพ็ง ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง และพระองค์ทรงพระราชดำเนินด้วยพระบาทเป็นระยะประมาณ 3 กิโลเมตร การเสด็จพระราชดำเนินสำเพ็งในครั้งนี้จึงเป็นการประสานรอยร้าวที่เกิดขึ้นให้หมดไป

     ด้านศาสนา

     ในการเสด็จนิวัติพระนครครั้งแรกนั้น พระองค์ได้ประกอบพิธีทรงปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ท่ามกลางมณฑลสงฆ์ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 นอกจากนี้ ยังเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการพระพุทธรูปในพระอารามที่สำคัญ เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร และวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร โดยเฉพาะที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารนั้น พระองค์เคยมีพระราชดำรัสกล่าวว่า "ที่นี่สงบเงียบน่าอยู่จริง" ดังนั้น เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต จึงได้นำพระบรมราชสรีรางคารของพระองค์มาประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้


วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_5_168.jpg ]

     พระองค์ยังทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าจะทรงผนวชในพระพุทธศาสนา โดยได้มีพระราชหัตเลขาถึงสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2489 ทรงขอสังฆราชานุเคราะห์ในการศึกษาตำราทางพระพุทธศาสนาเพื่อใช้ในการเตรียมพระองค์ในการที่จะอุปสมบท แต่ก็มิได้ทรงผนวชตามที่ตั้งพระราชหฤทัยไว้ นอกจากนี้ยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์บำรุงวัดวาอาราม กับพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่ศาสนาอื่นตามสมควร

 

• รัชกาลที่ 9

     ด้านสังคม

     เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรจังหวัดต่างๆ อย่างทั่วถึง ทรงก่อตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย มูลนิธิราชประชาสมาสัย เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเรื้อน ทรง ตั้งหน่วยแพทย์พระราชทาน มูลนิธิพัฒนาอนามัย มูลนิธิวิจัยประสาทวิทยา ฯลฯ

     ด้านศาสนา

     ทรงออกผนวชตามพระราชประเพณี เมื่อ พ.ศ. 2495 ทรงอุปถัมภ์การทำนุบำรุง ศาสนาทุกด้าน เช่น การสร้างวัด สร้างพระพุทธรูป ประกอบพิธีทางศาสนา เช่น การทอดกฐิน ผ้าป่า และการบำเพ็ญกุศลต่างๆ นอกจากนี้ยังทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ทุกๆ ศาสนาที่ประชาชนนับถือ ด้านการเมืองการปกครอง เนื่องจากฐานะของพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ภายใตัรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีบทบาทโดยตรงทางการเมือง แต่ในทางปฏิบัติทรงเป็นประมุข ทรงเป็นผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นแบบอย่างในการปกครอง ทรงเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของประชาชน เวลาที่เกิดวิกฤตการณ์หรือ ความไม่มั่นใจในชาติ ดังเมื่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ยามที่เดือดร้อนที่สุด ประชาชนก็ไปขอ รับพระราชทานความร่มเย็นจากพระองค์ พระองค์ยังทรงเป็นที่พึ่งทางใจของประชาชนชาวไทยเสมอมา

 

แหล่งอ้างอิง

http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=4&post_id=6721#r8

http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/6-6/2475tonow.htm

http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/units/unit4/chapter4/chapter4_7/Ram7_4_History.htm

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_8#.E0.B8.81.E0.B8.B2.E0.B8.A3.E0.B8.9B.E0.B8.81.E0.B8.84.E0.B8.A3.E0.B8.AD.E0.B8.87

 
ยุคประชาธิปไตย
•รัชกาลที่7  : การเปลี่ยนแปลง   •รัชกาลที่ 8   •รัชกาลที่ 9
•การเมืองการปกครอง, กฎหมาย  •สภาพสังคมและศาสนา  •การศึกษา  •เศรษฐกิจ
•ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม  •ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  •รัฐประหาร
•การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2  •วัดประจำรัชกาลที่ 7-9

การศึกษา

     ในต้นรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษาของประชาชน โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกการเก็บเงินศึกษาพลี โดยให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจ่ายแทน เนื่องจากระยะนั้นเศรษฐกิจตกต่ำ ประชาชนจำนวนมากไม่อาจเสียเงินศึกษาพลีได้

     ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย คณะราษฎรได้กำหนดให้การศึกษาเป็น 1 ในหลัก 6 ประการ ที่จะบริหารบ้านเมืองต่อไป โดยระบุความมุ่งหมายแห่งการศึกษาของชาติไว้ว่า ให้พลเมืองทุกคน ไม่เลือกเพศ ชาติ ศาสนา ได้รับการศึกษาพอเหมาะแก่อัตภาพของตน การศึกษาในระยะต่อมาจึงขยายไปสู่ประชาชนได้มากขึ้นในทุกระดับ เมื่อ พ.ศ.2475,2479 รัฐบาลเริ่มวางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2494,2503, 2520 ตามลำดับ

     แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.ศ.2494 มีสาระสำคัญ คือ เพื่อความสมบูรณ์ของการจัดการศึกษา ให้จัดการศึกษาเป็น 4 ส่วน ให้พอเหมาะกัน คือ จริยศึกษา พลศึกษา พุทธิศึกษา และหัตถศึกษา ทั้งนี้เพราะกรรมการร่างแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ มีความเห็นว่า หัตถศึกษามีความสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาบ้านเมือง โดยได้รับแนวคิดหรือวิธีการจัดการศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ ตามแผนการศึกษานี้ การศึกษาภาคบังคับมีเพียง 4 ปี และให้รัฐบาลถือว่าการศึกษามีความสำคัญเป็นอันดับแรกในกิจการของรัฐ

     แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.ศ.2503 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาของชาติไปจากเดิมมาก ระดับประถมศึกษาได้เพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 7 ชั้น แบ่งเป็นประโยคประถมศึกษาตอนต้น 4 ชั้น และตอนปลาย 3 ชั้น ระดับมัธยมศึกษาแบ่งเป็น 2 ตอน คือ ประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 สาย ได้แก่ สายสามัญ 3 ชั้น และสายอาชีพมี 1-3 ชั้น แผนการศึกษาฉบับนี้ไดเน้นถึงองค์แห่งการศึกษา คือ จริยศึกษา พลศึกษา พุทธิศึกษาและหัตถศึกษา ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการวางแผนเพื่อให้ผู้ได้รับการศึกษาจนสำเร็จในแต่ละประโยคนั้น สามารถปฏิบัติและดำรงชีวิตอยู่ได้พอสมควรแก่อัตภาพ

     แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.ศ.2520 มีสาระสำคัญดังนี้ คือ เน้นให้จัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองดีมากที่สุด ส่วนความรู้ความสามารถต่างๆ ให้ความสำคัญรองลงมา การเรียนการสอนทั้งสามัญศึกษาและอาชีวศึกษา ได้รับการจัดให้ประสมประสานกันทุกระดับ โดยให้เรียนวิชาชีพที่เหมาะสมแก่วัยทุกชั้นเรียน การจัดการศึกษาประถมและมัธยมจัดเป็นระบบ 6:3:3 คือประถมศึกษา 6 ชั้น มัธยมศึกษา 6 ชั้น แบ่งเป็นมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ชั้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ชั้น

 

แหล่งอ้างอิง

http://blog.eduzones.com/winny/3647

 
ยุคประชาธิปไตย
•รัชกาลที่7  : การเปลี่ยนแปลง   •รัชกาลที่ 8   •รัชกาลที่ 9
•การเมืองการปกครอง, กฎหมาย  •สภาพสังคมและศาสนา  •การศึกษา  •เศรษฐกิจ
•ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม  •ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  •รัฐประหาร
•การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2  •วัดประจำรัชกาลที่ 7-9

เศรษฐกิจ

     ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย คณะราษฎรกำหนดให้การปรับปรุงเศรษฐกิจเป็น 1 ในหลัก 6 ประการ ที่จะบริหารบ้านเมืองต่อไป และได้มอบให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็นผู้รางเค้าโครงการเศรษฐกิจของประเทศเสนอต่อรัฐบาล

     ใจความสำคัญของเค้าโครงการเศรษฐกิจ คือ รัฐบาลจะบังคับซื้อที่ดินทางกสิกรรมมาเป็นของรัฐทั้งหมด โดยจ่ายเงินเป็นพันธบัตรรัฐบาลแก่เจ้าของ รัฐจะจัดการเศรษฐกิจทั้งหมดในรูปของระบบ สหกรณ์ บุคคลที่มีอายุระหว่าง 18-55 ปี จะเป็นข้าราชการทำงานให้กับรัฐตามความสามารถและคุณวุฒิของตน โดยได้รับเงินเดือนจากรัฐบาล หรือสหกรณ์ตามแต่จะกำหนดไว้

     สรุปแล้ว เค้าโครงการเศรษฐกิจฉบับนี้ เน้นให้ราษฎรใช้แรงงานเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่บ้านเมือง มีการดึงปัจจัยการผลิต 3 ประการ ที่ดิน ทุน และแรงงาน มาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ แต่เค้าโครงเศรษฐกิจดังกล่าวที่เรียกว่า “สมุดปกเหลือง” ได้รับการวิพากวิจารณ์ว่ามีแนวโน้มเป็นสังคมนิยม แม้แต่รัชกาลที่ 7 ก็ไม่ทรงเห็นชอบด้วย ในที่สุดรัฐบาลไทยสมัยนั้นก็มิได้นำเค้าโครงเศรษฐกิจฉบับดังกล่าวมาใช้

 
จอมพลแปลก พิบูลสงคราม
http://hilight.kapook.com/img_cms/politic/p1.jpg ]

     ในสมัยที่จอมพลแปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายสร้างชาติในทางเศรษฐกิจ คือ กระตุ้นให้ประชาชนช่วยตัวเองในทางเศรษฐกิจ เช่น ทำสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ทำอุตสาหกรรมในครัวเรือน สนับสนุนให้ประชาชนใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศ ส่งเสริมให้คนไทยหันมาค้าขาย ใน พ.ศ.2485 ได้ออกพระราชบัญญัติสงวนอาชีพบางอย่างไว้สำหรับคนไทย และต่อมาในปีเดียวกันได้จัดตั้งกระทรวงอุตสาหกรรมขึ้นเป็นครั้งแรก รวมทั้งออกพระราชบัญญัติคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศอีกด้วย

 

แหล่งอ้างอิง

http://blog.eduzones.com/winny/3647http://blog.eduzones.com/winny/3647

 
ยุคประชาธิปไตย
•รัชกาลที่7  : การเปลี่ยนแปลง   •รัชกาลที่ 8   •รัชกาลที่ 9
•การเมืองการปกครอง, กฎหมาย  •สภาพสังคมและศาสนา  •การศึกษา  •เศรษฐกิจ
ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม  •ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  •รัฐประหาร
•การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2  •วัดประจำรัชกาลที่ 7-9

ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม

วรรณกรรมและศิลปกรรม

1. วรรณกรรม

     ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เป็นมา กิจการพิมพ์และหนังสือพิมพ์เจริญขึ้นตามลำดับ เพราะมีผู้รู้หนังสือเพิ่มมากขึ้น หนังสือพิมพ์มีบทบาทสำคัญยิ่งในการเป็นสื่อสารกลางการติดต่อระหว่างรัฐบาลกับประชาชน หนังสือพิมพ์จึงเป็นสถาบันที่มีอิทธิพลสถาบันหนึ่งจนได้สมญาว่า “ฐานันดรที่สี่” 

     ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ 7 ถึงรัชกาลปัจจุบัน นอกจากจะมีลักษณะเป็นแบบศิลปะไทยแล้ว ยังได้ผสมผสานกับศิลปะตะวันตกอีกด้วย ซึ่งจะเห็นได้อย่างเด่นชัดในงานด้านสถาปัตยกรรม
                                1) ด้านสถาปัตยกรรม เป็นศิลปะไทยอย่างหยาบๆ นิยมสร้างตัวอาคารแบบตะวันตกแต่หลังคาทรงไทย เช่น หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัดพระศรีมหาธาตุ (บางเขต) หอประชุมคุรุสภา โรงละครแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติ (ท่าสุกรี) ศาลาว่าการกระทรวง และศาลาว่าการจังหวัดต่างๆ เป็นต้น


โรงละครแห่งชาติ
http://www.tripsthailand.com/images/bangkok/national-theatre.jpg ]


                                ส่วนที่สร้างแบบตะวันตก เช่น อาคารถนนราชดำเนิน ที่ทำการไปรษณีย์กลาง กรีฑาสถานแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม เป็นต้น
                                2) ด้านประติมากรรม เช่น อนุสาวรีย์รัชกาลที่ 1 อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อนุสาวรีย์ที่สร้างแบบสากลสมัยใหม่ เช่น อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ พระพุทธรูปต่างๆ เช่น พระพุทธปาวลีลา พระพุทธรูป ภ.ป.ร.
                                3) จิตรกรรม สมัยรัชกาลที่ 7 มีการประชุมช่างเขียนภาพรามเกียรติ์ ที่ระเบียงรอบพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภาพเขียนพระราชพงศาวดารสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

2. ขนบธรรมเนียมประเพณี

     หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมบางอย่างให้สอดคล้องกับการปกครองระบอบใหม่ และให้เหมาะสมกับกาลเวลาได้แก่ การยกเลิกพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เมื่อ พ.ศ.2475 ตราพระราชบัญญัติกำหนดเครื่องแบบการแต่งกายข้าราชการให้เป็นไปตามแบบสากล เมื่อ พ.ศ.2478 เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามมาเป็นไทย ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 และให้ใช้คำว่า “ไทย” แก่ประชาชนและสัญชาติด้วย เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน มาเป็นวันที่ 1 มกราคม ตั้งแต่ พ.ศ.2484 เพื่อให้เป็นไปตามแบบสากลและในปีเดียวกันนี้จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ได้ชักชวนให้บุคคลสำคัญๆ ถวายบังคับลาออกจากบรรดาศักดิ์จนกระทั่งได้มีพระบรมราชโองการยกเลิกบรรดาศักดิ์เป็นโมฆะใน พ.ศ.2488

     สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายรัฐมนตรี พ.ศ.2501-2506 ได้มีการฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติหลายอย่าง เช่น พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พ.ศ.2503 พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค พ.ศ.2504 พระราชพิธีพืชมงคล และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญใน พ.ศ.2503

     สมัยจอมถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี พ.ศ.2506-2516 ได้มีการฟื้นฟูพระราชพิธีรัชดาภิเษก พ.ศ.2514 พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พ.ศ.2515

 

แหล่งอ้างอิง

http://blog.eduzones.com/winny/3647

 
ยุคประชาธิปไตย
•รัชกาลที่7  : การเปลี่ยนแปลง   •รัชกาลที่ 8   •รัชกาลที่ 9
•การเมืองการปกครอง, กฎหมาย  •สภาพสังคมและศาสนา  •การศึกษา  •เศรษฐกิจ
•ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม  •ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  •รัฐประหาร
•การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่   •วัดประจำรัชกาลที่ 7-9

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

ความสัมพันธ์ของประเทศไทยกับนานประเทศ
                        2.1 ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน
ประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับประเทศใกล้เคียงอย่างแน่นแฟ้นโดยเฉพาะประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย และมีระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ทั้ง 5 ประเทศนี้ ได้ร่วมมือกันจัดตั้งสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือสมาคมอาเซียน( Association of Southeast Asian Nation : ASEAN) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ คือ ร่วมมือกันพัฒนาเศรษฐกิจและสนับสนุนนโยบายเป็นกลาง ไม่ผูกพันกับค่ายหรือฝ่ายใด สำหรับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นสังคมนิยม ประเทศไทยก็ได้พยายามรักษาความสัมพันธ์อันดี ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆ ระหว่างประเทศ และ พ.ศ.2527 บรูไนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มอาเซียนอีกประเทศหนึ่ง

 
Association of Southeast Asian Nation : ASEAN
[
http://www.ipthailand.go.th/ipthailand/images/stories/logo-asean.gif ]


                        2.2 ความสัมพันธกับกลุ่มประเทศตะวันตก ประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศตะวันตกหลายด้าน เช่น โครงการร่วมมือทางด้านวิชาการ เพื่อการพัฒนาประเทศ และเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรม ให้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้นในต่างประเทศ ส่วนด้านเศรษฐกิจ ประเทศไทยมีบทบาททางเศรษฐกิจกับกลุ่มประเทศเหล่านี้เป็นเวลานาน ไทยส่งสินค้าหลายชนิดไปขายในประเทศยุโรปตะวันตก และประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง ดีบุก น้ำตาล ยางพารา สำหรับสินค้าส่วนใหญ่ ที่ไทยสั่งซื้อจากประเทศตะวันตกและสหรัฐอเมริกา ได้แก่ สินค้าประเภทเครื่องจักร และสินค้าประเภทกึ่งสำเร็จรูปเพื่อนำมาป้อนโรงงานในประเทศ นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีบทบาทผูกพันกับองค์การค้าระหว่างประเทศบางแห่ง ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มประเทศตะวันตก เช่น คณะมนตรีดีบุกระหว่างประเทศ (Interntional Tin Council) และองค์การน้ำตาลระหว่างประเทศ (International Agreement)
                        2.3 ความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศสังคมนิยม ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศสังคมนิยมไม่มากนักที่มาติดต่อค้าขายกันในระยะหลังเท่านั้น แต่ปัจจุบันประเทศไทยสนใจที่จะให้มีความร่วมมือในด้านวิทยาการต่างๆ กับประเทศสังคมนิยมมากขึ้น เช่น ได้มีข้อตกลงร่วมกับประเทศโรมาเนีย ในอันที่จะร่วมมือกันในด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาการและวิชาการ นอกจากนี้ยังได้มีการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีการแลกเปลี่ยนทางด้านวิชาการและวัฒนธรรม เช่น ได้ส่งนาฏศิลป์มาแสดงในประเทศไทยหลายครั้งตั้งแต่ พ.ศ.2515 และนำเอาโบราณวัตถุที่มีค่ามาแสดงให้คนไทยได้ชม และใน พ.ศ. 2518 ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีไทยสมัยนั้นได้ไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอีกด้วย สำหรับประเทศสหภาพโซเวียตก็ได้มีความร่วมมือกับไทยทางด้านวัฒนธรรมเช่นกัน เช่น การส่งคณะบัลเลย์มาแสดงในประเทศไทย เป็นต้น

 

 
 ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
[ http://www.thaifilm.com/imgUpload/reply1302361_.0005.4.jpg ]

 

แหล่งอ้างอิง

http://blog.eduzones.com/winny/3647

 
ยุคประชาธิปไตย
•รัชกาลที่7  : การเปลี่ยนแปลง   •รัชกาลที่ 8   •รัชกาลที่ 9
•การเมืองการปกครอง, กฎหมาย  •สภาพสังคมและศาสนา  •การศึกษา  •เศรษฐกิจ
•ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม  •ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  •รัฐประหาร
•การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2  •วัดประจำรัชกาลที่ 7-9

รัฐประหาร

ข่าวลือเรื่องการรัฐประหารแพร่สะพัดไปทั่ว ในวันฉลองครบรอบ 150 ปีแห่งราชวงศ์จักรีในปี พ.ศ. 2475 อีกสอง เดือนต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน ก็มีการรัฐประหารเกิดขึ้น และเป็น การสิ้นสุการปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช การรัฐประหารเกิดขึ้นโดยกลุ่มบุคคลซึ่งใช้ชื่อว่า คณะ ราษฎร์ อันประกอบด้วยทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน แกนนำของกลุ่ม คณะราษฎร์ล้วนเป็นคนหนุ่มที่สำเร็จการศึกษามาจากยุโรป โดย เฉพาะกลุ่มที่เคยไปศึกษาอยู่ในประเทศฝรั่งเศส แกนนำฝ่ายพลเรือน คือ นายปรีดี พนมยงค์ นักกฎหมายหนุ่มจากฝรั่งเศส ส่วนฝ่ายทหารมี พันเอกหลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตสังคะ) นายทหารปืนใหญ่จาก ฝรั่งเศสเช่นกันเป็นผู้นำ คณะผู้ก่อการได้เชิญ พลเอกพระยา พหลพล พยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) นายทหารปืนใหญ่ผู้สำเร็จการศึกษามา จากปรัสเซียมาเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร เนื่องจากเป็นนายทหาร ชั้นผู้ใหญ่ในกองทัพขณะนั้น เช้าวันที่ 24 มิถุนายน ทหารในฝ่ายคณะราษฎร์ได้นำรถถัง และกำลังทหารจำนวนหนึ่งบุกยึดสถานที่สำคัญๆ ในกรุงเทพฯ ไว้ได้ หมด รวมทั้งทำการควบคุมตัวเจ้านายราชวงศ์ชั้นสูงเอาไว้เป็นตัว ประกันด้วย ขณะนั้นพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 กำลังเสด็จแปรพระราช ฐานอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล แม้ฝ่ายคณะราษฎร์จะมีกำลังน้อยกว่าฝ่ายรัฐบาลมาก แต่ เพื่อหลีกเลี่ยงการนองเลือด รัชกาลที่ 7 ทรงยินดีสละพระราชอำนาจ ของพระองค์ ยอมรับการเป็นกษัตริย์ซึ่งอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญใน ระบอบประชาธิปไตย

 

แหล่งอ้างอิง

 
ยุคประชาธิปไตย
•รัชกาลที่7  : การเปลี่ยนแปลง   •รัชกาลที่ 8   •รัชกาลที่ 9 :
•การเมืองการปกครอง, กฎหมาย  •สภาพสังคมและศาสนา  •การศึกษา  •เศรษฐกิจ
•ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม  •ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  •รัฐประหาร
•การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2  •วัดประจำรัชกาลที่ 7-9

การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2

การต่างประเทศสมัยรัตนโกสินทร์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่สำคัญคือ
                    1. ประเทศไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 2
                        สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ.2482-2488 ทำให้เกิดความเสียหายแก่มนุษยชาติอย่างมากมาย ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม สาเหตุของสงครามครั้งนี้ต่อเนื่องมาจากสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1 เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ไม่สามารถแก้ปัญหาที่เคยมีมาแต่เดิมให้หมดไปได้ และการทำงานของสันนิบาตชาติขาดประสิทธิภาพ ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งการพิพากกันได้ สำหรับสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้ ประเทศไทยเข้าไปมีบทบาทมากกว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 ความเสียหายที่ไทยได้รับเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้ว ประเทศไทยยังนับว่าน้อยมาก
                            1.1 สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ดังนี้
                                    1) สนธิสัญญาแวร์ซายส์ เป็นผลสืบเนื่องมาจากผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้เยอรมนีไม่พอใจในเงื่อนไขของสนธิสัญญานี้ เยอรมนีต้องเสียดินแดนในยุโรปไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้งค่าปฏิมาสงครามอื่นๆ อีก ทำให้ภาระในประเทศยุ่งยากทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สนธิสัญญาฉบับนี้ลงโทษเยอรมนีอย่างไม่เป็นธรรม เป็นเหตุให้เยอรมนีคิดแก้แค้นโดยการก่อนสงครามขึ้น
                                    2) ปัญหาเศรษฐกิจ หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และระหว่าง พ.ศ.2472-2475 ได้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเริ่มในสหรัฐอเมริกาก่อน และได้ขยายตัวกว้างขวางขึ้น ผลจากสงครามครั้งนี้ทำให้คนว่างงานเพิ่มมากขึ้น มีการตั้งกำแพงภาษี เพื่อกันสินค้าต่างประเทศและทำให้ลัทธิเผด็จการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว เพราะสามารถแก้ปัญหาได้รวดเร็ว โดยอาศัยความรุนแรงและเฉียบขาด
                                    3) ความไม่ร่วมมือกันของประเทศมหาอำนาจ ประเทศสหรัฐอเมริกามีนโยบายอยู่โดดเดี่ยว โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับประเทศใดๆ ในยุโรป (ตามวาทะมอนโร) อังกฤษและฝรั่งเศสต่างก็แก้ไขปัญหาภายในประเทศของตน ซึ่งขณะนี้เยอรมนีไม่พอใจฝรั่งเศสอยู่และท่าที่ของอังกฤษที่ผ่อนปรนให้เยอรมนี แต่ก็ไม่อาจทำให้เยอรมนีลดความก้าวร้าวลงได้ ฝรั่งเศสเองก็หวาดระแวงจากเยอรมนีอยู่มาก แต่จะทำการขัดขวางก็ยังไม่พร้อมเพราะขาดการสนับสนุนจากอังกฤษ
                                    4) ความแตกต่างของลัทธิการปกครอง ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่เนื่องจากความไม่มั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้หลายประเทศหันไปใช้ระบบการปกครองแบบเผด็จการและคอมมิวนิสต์ เช่น ประเทศเยอรมนีและประเทศอิตาลี หันไปใช้การปกครองแบบเผด็จการจึงเป็นพันธมิตรกัน และมีแนวคิดต่อต้านสหภาพโซเวียต ซึ่งมีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์
                                    5) ความล้มเหลวของสันนิบาตชาติ องค์การสันนิบาตชาติได้เกิดขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ องค์การนี้ตั้งขึ้นมาเพื่อรักษาสันติภาพของโลก แต่ในทางปฏิบัติจริงๆ แล้ว สันนิบาตชาติทำงานไม่ได้ผลหลายประการ เช่น กรณีญี่ปุ่นรุกรานจีน อิตาลีโจมตีบิสซิเนีย ครั้นสงครามกลางเมืองเกิดขึ้นในสเปน ประเทศมหาอำนาจก็เข้าไปยุ่งเกี่ยวและท้ายที่สุดฮิตเลอร์ได้ส่งกำลังเข้ายึดครองดินแดนต่างๆ คือ ออสเตรีย และเชโกสะโลวะเกีย โดยไม่มีประเทศใดต่อต้านอย่างจริงจัง ในที่สุดเยอรมนีจึงใช้กำลังโปแลนด์ ทำให้ฝ่ายตะวันตกไม่ยอมอีกต่อไป สงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเกิดขึ้นใน พ.ศ.2482
                            1.2 ประเทศที่ร่วมสงคราม ประเทศที่เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ
                                    1) ฝ่ายอักษะ มีประเทศที่สำคัญ คือ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น
                                    2) ฝ่ายสัมพันธมิตร มีประเทศที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน เป็นต้น
                            1.3 การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ของไทย ขณะที่สงครามกำลังดำเนินอยู่ในยุโรป ประเทศไทยได้พยายามไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยรักษาความเป็นกลาง แต่เมื่อสงครามได้ขยายตัวเข้ามาในอินโดจีน หลังจากฝรั่งเศสยอมแพ้เยอรมนี ไทยมีความเห็นว่า ฝรั่งเศสน่าจะคืนดินแดนที่แบ่งจากไทยไปและเสนอให้มีการปักเขตแดนกันใหม่ แต่ก็ไม่สามารถตกลงกันได้และยังละเมิดพรมแดนไทยเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดสงครามระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.2483 ไทยสามารถยึดดินแดนค้นได้หลายแห่ง และก่อนที่สงครามครั้งนี้จะยุติญี่ปุ่นได้เข้ามาไกล่เกลี่ย โดยฝรั่งเศสยอมคืนดินแดนที่ไทยเสียไปตามสนธิสัญญา พ.ศ.2449 (ปัจจุบันคือ ลาวและกัมพูชา)ให้แก่ไทย
                            แต่แล้วในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นได้บุกโจมตีประเทศไทยตามจุดต่างๆ ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่ตามชายฝั่งทะเล ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี สงขลา และบางปู จังหวัดสมุทรปราการ ฝ่ายประเทศไทยได้พยายามต่อต้านแต่ก็สู้กำลังทัพของญี่ปุ่นไม่ได้ ไทยจึงต้องยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นผ่านประเทศไทย ซึ่งขณะนั้น จอมพลแปลก พิบูลสงคราม และสหรัฐอเมริกา การประกาศสงครามของประเทศไทยในครั้งนี้ คือ ประเทศไทยประกาศสงครามกับอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา การประกาศสงครามของประเทศไทยครั้งนี้ มีคนไทยหลายกลุ่มทั้งภายในและภายนอกประเทศไม่เห็นด้วย ภายในประเทศมีนายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า ส่วนในต่างประเทศต่างมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา เป็นหัวหน้า กลุ่มบุคคลดังกล่าวได้จัดตั้งขบวนการต่อต้านใต้ดินซึ่งมีชื่อเรียกว่า “ขบวนการเสรีไทย” ทำการต่อต้านญี่ปุ่นและให้ความร่วมมือกับสัมพันธมิตร เพื่อปลดปล่อยประเทศให้พ้นจากการยึดครองของญี่ปุ่น
                        1.4 ผลของสงครามที่ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ไทยต้องคืนดินแดนที่ได้มาในระหว่างสงคราม ซึ่งไทยได้ทำสนธิสัญญากับญี่ปุ่น คือ คืน  ดินแดนกลันตัน ตรังการู ไทรบุรี ปะลิส เชียงตุง และเมืองพานให้กับอังกฤษ คือดินแดนล้านช้าง เสียมราฐ พระตะบอง และจำปาศักดิ์ให้แก่ฝรั่งเศส หลังจากสงครามสงบแล้ว อังกฤษและฝรั่งเศส ได้รวมประเทศไทยอยู่ในฐานะประเทศแพ้สงคราม ส่วนสหรัฐอเมริกายอมรับการประกาศสงครามของไทยเมื่อ พ.ศ.2485 ว่าเป็นโมฆะ และไม่ได้เรียกร้องให้ไทยชดใช้ค่าเสียหายอย่างใด เพราะถือว่ารัฐบาลที่ประกาศสงครามตกอยู่ใต้อำนาจบังคับญี่ปุ่น
                        ต่อจากนั้นประเทศไทยได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ โดยจะต้องได้รับการสนับสนุนจากคณะมนตรีความมั่นคงทั้ง 5 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต และจีน ในตอนแรกประเทศฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต และจีน มีทีท่าว่าจะคัดค้านการสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติของไทย รัฐบาลไทยจึงต้องทำความตกลงกับประเทศทั้ง 3 นี้ หลังจากนั้นประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2489 นับเป็นสมาชิกอันดับที่ 55 และรัฐบาลไทยทุกคณะได้สนับสนุนการดำเนินงานขององค์การสหประชาชาติ ตลอดจนให้ความร่วมมือช่วยเหลือและเข้าร่วมโครงการต่างๆ ของสหประชาชาติเสมอมา เช่น การประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยลิทธิมนุษยชน การส่งเสริมฐานะขอคนงานเด็กและสตรี การร่วมมือในการก่อสร้างเขื่อนน้ำงึมในประเทศลาว การประกาศยกเลิกการจำหน่ายฝิ่นในประเทศไทย ฯลฯ ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีสำนักงานใหญ่หลายสำนักงานขององค์การสหประชาชาติตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร เช่น สำนักงานคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก สำนักงานภูมิภาคของโครงการพัฒนาสหประชาชาติ กองทุนสงเคราะห์เด็กและองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม
                        1.5 ผลประโยชน์ที่ไทยได้รับจากองค์การสหประชาชาติ ประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากองค์การสหประชาชาติและองค์การชำนัญพิเศษต่างๆ ส่วนใหญ่จะเน้นหนักในด้านเศรษฐกิจและวิชาการ ซึ่งจะเป็นไปในรูปการให้ทุนแก่คนไทยไปรับการศึกษาอบรม การส่งผู้เชี่ยวชาญมาปฏิบัติงานตามโครงการต่างๆ และการให้วัสดุอุปกรณ์ตามโครงการต่างๆ ในด้านการพัฒนาประเทศจำนวนมาก เช่น โครงการในการปรับปรุงการศึกษาระดับต่างๆ โครงการข้าว การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดย่อม การปรับปรุงสวนยาง โครงการสงเคราะห์แม่และเด็ก การควบคุมปราบปรามโรคมาลาเรีย คุดทะราด ฯลฯ นอกจากนี้องค์การสหประชาชาติยังเป็นศูนย์กลางร่วมมือระหว่างชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อร่วมมือกันแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น โครงการเขื่อนอเนกประสงค์ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งด้านการชลประทาน พลังงานไฟฟ้า การควบคุมอุทกภัย เป็นต้น

 

แหล่งอ้างอิง

http://blog.eduzones.com/winny/3647

 

 
ยุคประชาธิปไตย
•รัชกาลที่7  : การเปลี่ยนแปลง   •รัชกาลที่ 8   •รัชกาลที่ 9 :
•การเมืองการปกครอง, กฎหมาย  •สภาพสังคมและศาสนา  •การศึกษา  •เศรษฐกิจ
•ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม  •ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  •รัฐประหาร
•การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่   •วัดประจำรัชกาลที่ 7-9

วัดประจำรัชกาลที่ 7-9

 • รัชกาลที่ 7

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดประจำรัชกาลที่ 7 คือ ในสมัยรัชกาลที่ ๗ เป็นต้นมา เงินแผ่นดินลดลงมาก จึงไม่โปรดให้สร้างวัดประจำรัชกาลด้วยทรงเห็นว่าสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ แต่ทรงทำนุบำรุงวัดเก่าแทน

• รัชกาลที่ 8

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล วัดประจำรัชกาลที่ 8 คือ รัชกาลที่ ๘ ช่วงรัชกาลสั้นมากไม่ทันได้ทรงสร้างหรือประกาศให้วัดใดเป็นวัดประจำรัชกาล แต่มีครั้งหนึ่งเสด็จฯวัดสุทัศน์เทพวรารามแล้วรับสั่งว่า วัดนี้ร่มรื่นน่าอยู่ เมื่อสวรรคตจึงเชิญพระบรมราชสรีรางคารมาบรรจุในผ้าทิพย์ที่ฐานของพระศรีศากยมุนี และมีการสร้างพระบรมราชานุสาวรียื แต่ไม่ถือเป้นวัดประจำรัชกาล

• รัชกาลที่ 9 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช วัดประจำรัชกาลที่ 9 คือ รัชกาลปัจจุบันก็ไม่ได้ทรงประกาศให้วัดใดเป็นวัดประจำรัชกาล เพียงแต่ทรงสร้างวัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษกขึ้นเพื่อเป็นวัดตัวอย่างในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

 

แหล่งอ้างอิง

 

 
ยุคประชาธิปไตย
•รัชกาลที่7  : การเปลี่ยนแปลง   •รัชกาลที่ 8   •รัชกาลที่ 9 :
•การเมืองการปกครอง, กฎหมาย  •สภาพสังคมและศาสนา  •การศึกษา  •เศรษฐกิจ
•ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม  •ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  •รัฐประหาร
•การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่   •วัดประจำรัชกาลที่ 7-9

 

แหล่งอ้างอิง

 

 
ยุคประชาธิปไตย
•รัชกาลที่7  : การเปลี่ยนแปลง   •รัชกาลที่ 8   •รัชกาลที่ 9 :
•การเมืองการปกครอง, กฎหมาย  •สภาพสังคมและศาสนา  •การศึกษา  •เศรษฐกิจ
•ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม  •ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  •รัฐประหาร
•การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่   •วัดประจำรัชกาลที่ 7-9

 

แหล่งอ้างอิง

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 673 คน กำลังออนไลน์