การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนและ ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

รูปภาพของ ssspoonsak

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนและ
ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา นางสุธาสินี ประจาเมืองครู วิทยฐานะครูชานาญการพิเศษ
ปีที่พิมพ์ 2564

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนและทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน รหัสวิชา อ23102 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนและทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน รหัสวิชา อ23102 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 3)เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนและทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน รหัสวิชา อ23102 3.1)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3.2)เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนและ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนและทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน รหัสวิชา อ23102โดยนาไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3จานวน 9คน โรงเรียนบ้านหนองมะเขือหนองตานาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะเวลาในการทดลอง 16 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษ PDRPE Model แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ แบบประเมินทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนและทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ ค่า t-test แบบ dependent ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนรายวิชา ภาษาอังกฤษ ในปีการศึกษา 2563พบว่า ประการแรก นักเรียนไม่สามารถเขียนคาศัพท์ ประโยคหรือข้อความในการเขียนบรรยายเพื่อให้หรือขอข้อมูลที่สาคัญได้ ส่งผลให้ทักษะทั้ง 4 ต่ากว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากาหนดประการที่สอง ครูยังใช้วิธีการสอนให้นักเรียนจาแต่ไม่ได้ฝึกทักษะให้เพียงพอ นักเรียนจึงไม่ได้ฝึกทักษะอื่นๆควบคู่ไปด้วย สอดคล้องกับผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน รหัสวิชา อ23102อยู่ในระดับปานกลาง อีกทั้งผลการสอบถามความต้องการของนักเรียนพบว่า นักเรียนต้องการทางานเป็นทีมในกิจกรรมความร่วมมือที่หลากหลายได้ฝึกกลยุทธ์การอ่านเพื่อความเข้าใจและการเขียนไปพร้อมๆกันเน้นการเรียนการสอนเพื่อปรับปรุงความสามารถของนักเรียนในการอ่านเรียบเรียงและการเขียนบรรยายเพื่อทาให้สถานการณ์ในห้องเรียนน่าสนใจยิ่งขึ้นนอกจากนี้ผลการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ พบว่า การจัดการเรียนการสอนรายวิชา ภาษาอังกฤษ ควรพัฒนาทั้ง4 ทักษะให้ครอบคลุมควบคู่กับการคิดโดยเฉพาะทักษะการเขียนซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้สอนต้องคานึงถึงให้มากที่สุด คือ ต้องให้ผู้เรียนมีข้อมูลเกี่ยวกับคาศัพท์ (Vocabulary) รูปแบบไวยากรณ์ (Grammar Pattern) และเนื้อหา (Content) อย่างเพียงพอที่จะเป็นแนวทางให้ผู้เรียนสามารถคิดและเขียนได้
เน้นการฝึกทักษะการเขียนอย่างเป็นระบบที่ถูกต้อง ผู้เรียนจึงจะมีทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อให้นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและมีความสามารถในการคิดเชิงสร้างสรรค์ได้
2.ผลการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนและทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน รหัสวิชา อ23102 มีชื่อรูปแบบการสอนว่า “PDRPE Model” ประกอบด้วย ทฤษฎีหลักการแนวคิด วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การวางแผนการเขียน (Planning) ขั้นที่ 2 การร่างงานเขียน (Drafting) ขั้นที่ 3 การอ่านทบทวนและแก้ไขงานเขียน(Revising and Editing)ขั้นที่ 4 การนาเสนอผลงาน (Publishing) และขั้นที่ 5 การประเมินงานเขียน (Evaluating) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการสอนด้านความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ เท่ากับ 81.89/81.33และค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการสอนด้านทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ 81.45/81.16เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กาหนดไว้
3. ผลการใช้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษด้านความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05และผลการใช้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษด้านทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนและทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษโดยรวมอยู่ในระดับมาก

PDRPE Model
รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนและทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีชื่อรูปแบบการสอนว่า “PDRPE Model”

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 562 คน กำลังออนไลน์