การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการเขียน กึ่งควบคุม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

รูปภาพของ ssspoonsak

ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการเขียน
กึ่งควบคุม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา นางสุธาสินี ประจำเมือง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีที่พิมพ์ 2563

บทคัดย่อ

การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการเขียนกึ่งควบคุม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการเขียนกึ่งควบคุม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษร่วมกับเทคนิคการเขียนกึ่งควบคุม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการเขียนกึ่งควบคุม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยได้แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการเขียนกึ่งควบคุม โดยให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ตรวจสอบความเหมาะสมของแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการเขียนกึ่งควบคุม จากนั้นนำไปหาประสิทธิภาพกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ทั้งแบบรายบุคคล จำนวน 3 คน จากโรงเรียนบ้านเซียมป่าหม้อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 แบบกลุ่มเล็ก จำนวน 9 คน จากโรงเรียนบ้านเก่า-วิทยานุกุล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 และแบบภาคสนาม จำนวน 30 คน โรงเรียนชุมชนบ้านแก้งคร้อหนองไผ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการเขียนกึ่งควบคุม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 เล่ม 2) แบบประเมินคุณภาพของแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการเขียนกึ่งควบคุม จำนวน 1 ฉบับ และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่า E1/E2 ขั้นตอนที่ 2 การใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการเขียนกึ่งควบคุม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 13 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้คือ t-test for dependent Samples และขั้นตอนที่ 3 การศึกษาความคิดเห็นต่อการใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการเขียนกึ่งควบคุม เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการเขียนกึ่งควบคุม ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการเขียนกึ่งควบคุม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.67/81.54 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6949 คิดเป็นร้อยละ 69.49
2. ผลการใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการเขียนกึ่งควบคุม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า คะแนนความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการศึกษาความคิดเห็นต่อการใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการเขียนกึ่งควบคุม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 163 คน กำลังออนไลน์