คอมพิวเตอร์สารสนเทศ

เริ่มหน้า 8


บทที่ 8
เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

8.1 แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ซึ่งเป็นปีที่บริษัทไอบีเอ็มได้นำไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายไมโครคอมพิวเตอร์ในขณะนั้นใช้ซีพียู 8088 เพื่อไม่กี่ปีต่อมาก็ได้พัฒนาไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียู 80286 หากย้อนกลับไปในอดีตพบว่าไมโครคอมพิวเตอร์เปลี่ยนรุ่นใหม่ๆทุกๆปี ทำให้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีความเร็วในการคำนวณมากกว่าเดิม ซึ่งมีผลทำให้พัฒนาการทางซอฟต์แวร์ก้าวหน้าไปจากเดิมมาก
จากแนวโน้มทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่กล่าวมา พอจะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในเชิงประสิทธิภาพ และปริมาณความจุอย่างต่อเนื่องทุกปี ขีดความสามารถเหล่านี้ทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ดีขึ้นมโดยเฉพาะในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่
่มีขีดความสามารถประมวลผลรูปภาพได้ดี มีการใช้งานกับอุปกรณ์สื่อประสมที่ต้องการทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง และวีดิทัศน์มากขึ้น
หากพิจารณาแนวโน้มของขีดความสามารถในเรื่องความเร็วของการสื่อสารข้อมูล พบว่าความเร็วของการสื่อสารข้อมูลก็มีความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว การสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบอินเทอร์เน็ตเริ่มมีใช้เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2526 ส่วนโทเก็นริง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางด้านการสื่อสาร ก็ได้พัฒนาขึ้นในปี พ.ศ.2527 จึงทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เริ่มแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว หลังจากปี พ.ศ. 2530 ความเร็วที่ใช้ในเครือข่ายก็เพิ่มจาก 4 ล้านบิตต่อวินาที มาเป็น 10 ล้านบิตต่อวินาทีและเพิ่มเป็น 100 ล้านบิตต่อวินาที เรามีตัวกลางที่ใช้ในการนำสัญญาณที่เป็นเส้นใยนำแสง ทำให้การสื่อสารมีแนวโน้มที่จะเพิ่มความเร็วได้อีกมากในอนาคต

8.2 คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง
พัฒนาการคอมพิวเตอร์ที่กล่าวมาแล้วทำให้การผลิตชิพที่เป็นซีพียูมีจำนวนทรานซิสเตอร์ในชิพได้มากหลายล้านตัว ดังเช่น ชิพในปัจจุบัน ขนาดของทรานซิสเตอร์ภายในชิพมีขนาดเล็กลงเหลือเพียง 0.3 ไมโครเมตร(1ไมโครเมตร เท่ากับ หนึ่งในล้านเมตร)แนวโน้มในส่วนนี้ยังคงทำให้วงจรซีพียูมีความซับซ้อนขึ้นได้อีก
การที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น มิได้อยู่ที่การเพิ่มความเร็วของจังหวะการคำนวณภายในชิพอย่างเดียว ความเร็วและประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับการทำงานแบบขนาน หมายความว่า ซีพียูอ่านคำสั่งหลายคำสั่งเข้าไปทำงานได้พร้อมกัน ภายในซีพียูเองก็มีหน่วยคำนวณและตรรกะหลายชุด การทำงานแบบขนานนี้ทำให้การทำงานโดยรวมสูงขึ้น
เพื่อให้คอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น จึงมีผู้ออกแบบให้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งมีซีพียูหลายตัว ซีพียูแต่ละตัวช่วยกันทำงาน เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่มีหลายซีพียูว่า เครื่องคอมพิวเตอร์แบบมัลติโพรเซสเซอร์ (multiprocesser) ทางบริษัทได้ออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแบบมัลติโพรเซสเซอร์โดยให้ซีพียูแต่ละตัวมีรูปแบบการคำนวณหรือการแบ่งแยกงานและทำงานขนานกันไป เรียกคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ว่า เอ็มพีพี (Massively Parallel Processor : MPP)
คอมพิวเตอร์ ที่มีจำนวนซีพียูและอุปกรณ์อื่น ๆ จำนวนมาก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ดีขึ้นเรียกว่า เอชพีซี (High Performance Computer : HPC) คอมพิวเตอร์พวกนี้เหมาะกับงานคำนวณตัวเลขจำนวนมหาศาล เช่น งานพยากรณ์อากาศ น้ำท่วมหรือจราจร เป็นต้น

8.3 เทคโนโลยีแบบสื่อประสม
เทคโนโลยีแบบสื่อประสม (multimedia) หมายถึงการใช้สื่อหลายแบบผสมกัน ซึ่งมีทั้งที่เป็นข้อความ ตัวหนังสือ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงพูด ดนตรี วีดิทัศน์ การใช้สื่อหลายชนิดกำลัวเป็นที่นิยมกันมาก
คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในปัจจุบันมีขีดความสามารถในการใช้สื่อหลายชนิด แต่เดิมการแสดงผลบนจอแสดงเฉพาะตัวอักษรข้อความ ต่อมาก็แสดงผลด้วยภาพกราฟิกไดดี สามารถทำภาพให้เคลื่อนไหวได้ ครั้นขีดความสามารถประมวลผลได้เร็วขึ้น ก็มีการเพิมเติมการใช้งานให้มีการแสดงผลที่ความละเอียด จนในที่สุดได้เพิ่มเติมสื่อเสียง มีวงจรประมวลผลเสียง คอมพิวเตอร์จึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์รับเข้าคือไมโครโฟนเป็นตัวรับข้อมูลเสียง และอุปกรณ์ส่งออกคือลำโพงเพื่อแสดงเสียง มีการเพิ่มขีดความสามารถการจัดเก็บข้อมูลให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับการใช้งานวีดิโอ นอกจากนี้ยังเพ่มเติมเครื่องขับแผ่นซีดีเพื่อให้ใช้งานกับข้อมูลที่เก็บไว้ในแผ่นซีดีได้
การใช้งานสื่ประสมกำลังได้รับความนิยม มีการพัฒนาและประยุกต์อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะเมื่อมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันได้ทั่วโลก การส่งกระจายข้อมูลบนเครือข่ายจึงหันมานิยมแบบสื่อประสม ซึ่งพัฒนามาจากระบบข้อมูลที่เป็นตัวอักษรก่อน ต่อมาก็เป็นรูปภาพ เสียง จนถึงวีดิทัศน์
คอมพิวเตอร์ที่ใช้กับสื่อประสมจึงต้องการซีพียูที่ทำงานได้เร็ว สื่อประสมจึงเหมาะกับซีพียูรุ่นใหม่ๆและต้องการซอฟต์แวร์ที่ได้รับการพัฒนามาให้ใช้กับระบบนี้เท่านั้น
ในอนาคตสื่อประสมจะเข้ามามีบทบาทสูงมาก เพราะเป็นหนทางที่จะทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ง่าย ระบบสื่อประสมนี้จะเข้ามามีบทบาททำให้เกิดการใช้งานอย่างกว้างขวาง เช่น ทำเป็นหนังสือบนแผ่นซีดี ใช้สร้างเกมที่มีลักษณะเหมือนจริงมากขึ้น ใช้ในการสื่อสารที่นำสื่อทุกชนิดไปด้วยกัน เกิดระบบประชุมที่เรียกว่า การประชุมทางวีดิทัศน์(video conference) ที่ทำให้สามารถติดต่อประชุมกันเหมือนอยู่ใกล้ๆ กันการใช้งานในเรื่องต่างๆจะมีอีกมากมาย

8.4 การเปลี่ยนแปลงระบบอุปกรณ์
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดการแข่งขันกันทางธุรกิจสูงมากแข่งขันกันคิดประดิษฐ์อุปกรณ์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ความเจริญก้าวหน้าทางด้านนี้เติบโตรุดหน้าจนเดกว่าที่คนทั่วๆไปจะติดตามได้ทัน ดังนั้นเมื่อนักเรียนมีโอกาสจึงควรศึกษาหาความรู้ และศึกษาถึงความก้าวหน้าในวิทยาการเหล่านี้เพื่อจะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันในที่นี้จะขอกล่าวถึงแนวทางเปลี่ยนแปลงในเรื่องอุปกรณ์ต่างๆ ที่คอมพิวเตอร์เข้าไปมีบทบาท
8.4.1 ระบบควบคุมอัตโนมัติ เนื่องจากชิพที่เป็นไมโครโพรเซสเซอร์เป็นชิ้นส่วนทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มี ขนาดเล็ก ปัจจุบันสามารถผลิตไมโครโพรเซสเซอร์ได้จำนวนมากและราคาถูก จึงมีผู้นำไปใช้เป็นอุปกรณืควบคุมให้ทำงานอัตโนมัติ เครื่องใช้ในบ้านจำนวนมากมีไมโครโพรเซสเซอร์เป็นส่วนประกอบ เช่น เครื่องปรับอากาศที่สามารถตั้งโปรแกรมควบคุมการทำงานแบบต่างๆเตาอบไมโครเวฟ เครื่องซักผ้าก็ล้วนแล้วแต่ทำงานแบบอัตโนมัติได้แม้แต่เครื่องอุปกรณ์เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเสียง ก็ใช้ระบบควบคุมระยะไกล มีการตั้งโปรแกรมทำงานแบบต่างๆ การใช้งานไมโครโพรเซสเซอร์ครอบคลุมไปทุกเรื่อง ทั้งในลิฟต์ ในรถยนต์ก็ใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติกันมากขึ้น จนในปัจจุบันมีการสร้างอาคารอัจฉริยะ กล่าวคือใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมอาคารเพื่อให้ประหยัดพลังงาน ควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยให้กับผู้อยู่ในอาคาร ทั้งการป้องกันการโจรกรรม และอัคคีภัย ระบบอัตโนมัติจะเข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิตของคนไทยมากขึ้น
8.4.2 ระบบบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ระบบที่มีการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่เรารู้จักกันดี คือระบบการฝากหรือถอนเงินอัตโนมัติหรือที่เรียกว่า บัตรเอทีเอ็ม นอกจากนี้ยังมีการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์เป็นบัตรเครดิต (Credit card) ผู้ใช้บัตรเครดิตสามารถรถซื้อสินค้าจากที่ต่างๆ โดยใช้บัตรเครดิต ซึ่งจะมีการเรียกเก็บเงินภายหลัง การเรียกเก็บเงินอาจใช้วิธีการโอนผ่านบัญชีธนาคาร ระบบนี้ให้ความสะดวกที่ไม่ต้องพกพาเงินสดติดตัว บัตรอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นบัตรพลาสติกมีแถบแม่เหล็กที่มีรหัสประจำตัวของผู้ใช้ เพื่อบอกรายละเอียดว่าผู้ถือบัตรเป็นใครอาจจะใช้ควบคู่กับรหัสประจำตัวของผู้ใช้ เพื่อบอกรายละเอียดว่าผู้บัตรเป็นใครอาจจะต้องใช้ควบคู่กับรหัสประจำตัวที่ผู้ใช้นั้นได้มาและเป็นรหัสเฉพาะ
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันกำลังมีผู้นำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ชนิดใหม่มาใช้ เรียกว่า บัตรเก่ง (Smart card) บัตรชนิดใหม่นี้บรรจุชิพที่เป็นหน่วยความจำและวงจรไมโครโพรเซสเซอร์ลงไปด้วย ทำให้บัตรมีขีดคามสามารถในการประมวลผล และจดจำข้อมูลไว้ในบัตร บัตรนี้อาจนำมาใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น ใช้เก็บประวัติคนไข้จะเข้ารักษาพยาบาล แพทย์สามารถดูข้อมูลในบัตรได้ นอกจากนี้ยังสามารถที่ใช้จาค่าบริการต่างๆ ซึ่งจะมีข้อมูลยอดบัญชีเงินคงเหลืออยู่ในบัตร ในอนาคตอันใกล้มีแนวโน้มที่จะมีการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์แทนบัตรประจำตัวประชาชนบัตรประจำตัวนักเรียน นักศึกษา ในอนาคตอันใกล้
8.4.3 อุปกรณ์บอกชี้ตำแหน่งบนพื้นโลก พัฒนาการทางด้านอวกาศทำให้ประเทศที่มีเทคโนโลยีด้านนี้ส่งดาวเทียมขึ้นไปบนท้องฟ้าได้มากมาย มีหลายประเทศส่งดาวเทียมขึ้นไปบนท้องฟ้า 3 ดวง ให้โคจรนิ่งอยู่ในตำแหน่งบนท้องฟ้าเพื่อรับส่งสัญญาณกับเครื่องบอกตำแหน่งบนพื้นโลก เครื่องบอกตำแหน่งนี้มีขนาดเล็กเท่าวิทยุมือถือ เมื่อส่งสัญญาณรับส่งกับดาวเทียมทั้งสามดวงนี้ ก็จะบอกตำแหน่งพิกัดเส้นรุ้ง เส้นแวงบนพื้นโลกได้อย่างละเอียดตามตำแหน่งที่อยู่ เครื่องบอกตำแหน่งนี้ได้รับการนำมาใช้งานต่างๆ ได้มาก เช่นใช้ติดรถยนต์เพื่อบอกตำแหน่งรถยนต์ในแผนที่ และคอมพิวเตอร์เลือกเส้นทางการเดินทางที่ดีให้ ใช้สำหรับงานสร้างแผนที่ทางภูมิศาสตร์ ใช้ในการคำนวณหาระยะทางของสองจุดในพื้นที่โลกที่อยู่ห่างไกลกันได้อย่างเม่นยำ ใช้ในระบบการติดตามโจรผู้ร้ายของกรมตำรวจ เพื่อส่งรถสายตรวจไปยังบริเวณที่เกิดเหตุให้รวดเร็วที่สุด
8.4.4 อุปกรณ์พิเศษสำหรับรับข้อมูลและแสดงผล เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ดียิ่งขึ้น จึงมีผู้พัฒนาระบบแสดงผลข้อมูลสมัยใหม่ เพื่อให้ใช้งานได้สะดวก ระบบรับข้อมูลสมัยใหม่มีข้อเด่นในเรื่องการรับข้อมูลได้สะดวก แม่นยำ และใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง เช่น อุปกรณ์อ่านข้อมูลจากรหัสแท่ง อุปกรณ์อ่านข้อมูลด้วยแสง อุปกรณ์บันทึกข้อมูลระยะไกล และอุปกรณ์แสดงผลข้อมูลด้วยเสียง

8.5 ปัญญาประดิษฐ์
ความเจริญก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์เป็นไปในทุกด้าน ทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์การที่มีการพัฒนาการเจริญก้าวหน้า จึงทำให้นักคอมพิวเตอร์ตั้งความหวังที่จะทำให้คอมพิวเตอร์มีความฉลาด และช่วยทำงานให้มนุษย์ได้มากขึ้น โดยเฉพาะวิทยาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นวิทยาการที่จะช่วยให้มนุษย์ใช้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหาต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่นการให้คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ รู้จักการใช้เหตุผล การเรียนรู้ ตลอดจนการสร้างหุ่นยนต์
ปัญญาประดิษฐ์ มีความหมายถึงการสร้างเครื่องจักรให้สามารถทำงาน ได้เหมือนคนที่ใช้ปัญญา หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการประดิษฐ์ปัญญาให้คอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถจำลองการทำงานต่าง ๆ เลียนแบบพฤติกรรมของคน โดยเน้นแนวคิดตามแบบสมองมนุษย์ที่มีการวางแผนการเรียนรู้ การให้เหตุผล การตัดสินใจ การแก้ปัญหา ตลอดจนการเลือกแนวทางดำเนินการในลักษณะคล้ายมนุษย์
ความรู้ทางด้านปัญญาประดิษฐ์จึงรวมไปถึงการสร้างระบบที่ทำห้ำคอมพิวเตอร์สามารถมองเห็น และจำแนกรูปภาพหรือสิ่งต่าง ๆ ออกจากกัน ในด้านการฟังเสียงก็รับรู้และแยกแยะเสียง และจดจำคำพูดและเสียงต่าง ๆ ได้ การสัมผัสและรับรู้ข้อมูลข่าวสารจะต้องมีกระบวนการเก็บความรวบรู้ การถ่ายทอด การแปลความ และการนำเอาความรู้มาใช้ประโยชน์
หากให้คอมพิวเตอร์รับรู้ข่าวสารและเหตุการณ์ต่าง ๆ แล้ว ก็สามารถนำเอาความรู้ต่าง ๆ เหล่านั้นมาประมวลผลได้ก็จะมีประโยชน์ได้มาก เช่น ถ้าให้คอมพิวเตอร์มีข้อมูลเกี่ยวกับคำศัพท์ มีความเข้าใจในเรื่องประโยคและความหมายแล้ว สามารถประมวลผลเข้าใจประโยคที่รับเข้าไป การประมวลผลภาษาในลักษณะนี้จึงเรียกว้า การประมวลผลภาษาธรรมชาติ โดยจุดมุ่งหมายที่จะทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการใช้ภาษา เข้าใจภาษา และนำไปประยุกต์งานด้านต่าง ๆ เช่น การตรวจสอบตัวสะกดในโปรแกรมประมวลคำ ตรวจสอบการใช้ประโยคที่กำกวม ตรวจสอบไวยากรณ์ที่อาจผิดพลาด และหากมีความสามารถดีก็จะนำไปใช้ในเรื่องการแปลภาษาได้
ปัญญาประดิษฐ์จึงเป็นเรื่องที่นักวิจัยได้พะยายามดำเนินการและสร้างรากฐานไว้สำหรับอนาคต มีการคิดค้นหลักการ ทฤษฎี และวิธีการต่าง ๆ เพ่อทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานอย่างมีเหตุผล มีการพัฒนาโครงสร้างฐานความรอบรู้
ปัญญาประดิษฐ์เป็นวิชาที่มีหลักการต่าง ๆ มากมาย และมีการนำออกปำใช้บ้างแล้ว เช่น การแทนความรอบรู้ด้วยโครงสร้างข้อมูลลักษณะพิเศษ การคิดหาเหตุผลเพื่อนำข้อมูลสรุปไปใช้งาน การค้นหาเปรียบเทียบรูปแบบ ตลอดจนกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างมีขั้นตอน เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สะสมความรู้ได้เอง
งานประยุกต์ทางด้านปัญญาประดิษฐ์ที่กำลังได้รับความสนใจมากในขณะนี้ เช่น งานประมวลผลภาษาธรรมชาติ ที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ได้มากขึ้น งานระบบผู้ชำนาญการ เป็นการประยุกต์หลักการปัญญาประดิษฐ์ที่เก็บสะสมความรู้ของผู้เชี่ยวชาญเพื่อเรียกมาใช้ประโยชน์ได้ งานหุ่นยนต์เป็นวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ที่ต้องการสร้างเครื่องจักรที่ทำงานแทนมนุษย์ การมองเห็นและการรับรู้ความรู้สึก เป็นระบบที่จะสร้างให้เครื่องจักรรับรู้กับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เหมือนมนุษย์
งานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์เป็นงานที่น่าสนใจมาก เพราะมีบางเรื่องที่แปลกใหม่ท้าทายความสามารถของมนุษย์ และเป็นงานที่รอนักวิทยาศาสตร์และนักคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่จะเข้ามาช่วยกันคิด ช่วยกันพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อไป


8.6 ทางด่านข้อมูลสารสนเทศ
ทางด่วนสารสนเทศ (information superhighway) เป็นชื่อรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา อัลกอร์ (Al Gore) ใช้ในการประชาสัมพันธ์หาเสียงเลือกตั้ง โดยเน้นว่าสหรัฐอเมริกาจะต้องสร้างทางด่วนข้อมูลสารสนเทศให้ครอบคลุมทั่วประเทศโดยเร็ว สามารถรองรับการส่งสัญญาณข้อมูลข่าวสารทั้งสัญญาณโทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรืองานประยุกต์อื่น ๆ ได้มาก โดยมีความต้องการให้สถานีโทรทัศน์มากกว่า 500 แห่งและสถานีวิทยุมากกว่า 1,000 แห่งส่งกระจายสัญญาณไปในทางด่วนสารสนเทศ ระบบข้อมูลข่าวสารที่ส่งนี้เป็นแบบปฏิสัมพันธ์ (interactive) กล่าวคือสามารถโต้ตอบซึ่งกันและกันหรือมีส่วนร่วม
ลักษณะทางด่วนสารสนเทศเหมือนกับระบบถนน ที่มีถนนสายหลัก สายรอง ซอย เชื่อมเข้าสู่บ้านเรือน โดยใช้เส้นใยนำแสงเป็นสายหลัก และใช้สื่ออื่นประกอบ เช่น คลื่นไมโครเวฟ ช่องสัญญาณสื่อสารผ่านดาวเทียม เส้นลวดทองแดง สายสัญญาณที่ต่อเชื่อมเข้าบ้านเรือน ร้านค้า หรือสำนักงานจะเป็นสายสัญญาณที่รองรับข้อมูลจำนวนมากได้
หากทางด่วนสารสนเทศเป็นไปอย่างสมบูรณ์ จะมีการประยุกต์ใช้งานบนเส้นทางด่วนต่าง ๆ มากมาย การพัฒนางานประยุกต์เป็นไปได้มากและมีรูปธรรมที่เด่นชัด ดังนี้
8.6.1 ระบบโทรทัศน์ มีการส่งกระจายสัญญาณโทรทัศน์ไปในเครือข่ายเพื่อให้บริการแก่ผู้ชมที่บ้าน ระบบทีวีสามารถเพิ่มขีดความสามารถให้ผู้ชมเลือกชมรายการตามต้องการได้ทุกขณะเวลา บางรายการเป็นการให้ผู้ชมทางบ้านโต้ตอบหรือมีส่วนร่วมด้วย เช่น รายการเกมโชว์ รายการตอบคำถาม
8.6.2 ระบบวิทยุ มีการส่งกระจายข่าวสารทางเสียงไปยังทางด่วนสารสนเทศที่ผู้ฟังทางบ้านเลือกฟังได้ สัญญาณที่ส่งเป็นสัญญาณดิจิทัลจึงมีคุณภาพดี และยังเสริมบริการต่าง ๆ เข้าไปได้มาก เช่น ให้ผู้ฟังฝึกร้องเพลง หรือที่เรียกว่า คาราโอเกะ ให้ผู้ฟังโต้ตอบในรายหการตอบปัญหา ตลอดจนมีรายการสดที่รับการปรึกษาปัญหาต่าง ๆ
8.6.3 กระประชุมทางวีดิทัศน์ เป็นพัฒนาการจากระบบโทรศัพท์ที่มีแต่เสียง แต่เมื่อช่วงสัญญาณขยายใหญ่ขึ้นมาก ก็มีระบบพูดคุยผ่านทางด่วนสารสนเทศที่เห็นภาพ และมองเห็นสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รอบตัวคู่สนทนาทำให้เสมือนอยู่ใกล้กัน สามารถนำมาประยุกต์ในเรื่องการประชุมจากที่ห่างไกลได้
8.6.4 โทรศึกษาและโทรเวช เมื่อทางด่วนข้อมูลข่าวสารดีขึ้น ระบบการทำงานระยะไกลก็ทำได้ดี ในสถาบันการศึกษาอาจให้บริการการเรียนการสอนในที่ห่างไกลที่เรียกว่า โทรศึกษา (tele-education) ผู้เรียนอยู่ที่ใดก็สามารถเลือกเรียนวิชาได้ตามต้องการ นอกจากนั้นในทางการแพทย์ ผู้ป่วยในที่ห่างไกลก็สามารถปรึกษานายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือส่งข้อมูลเพื่อให้การรักษาพยาบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่เรียกว่าโทรเวช (telemedicine)
8.6.5 การเลือกซื้อทางไกล การเลือกซื้อทางไกลเป็นหนทางหนึ่งที่ร้านค้าสามารถให้บริการโดยนำรายการสินค้า รูปภาพ หรือถ่ายทำเป็นภาพยนตร์ เพื่อให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลได้เห็นสินค้า ที่เรียกว่า การเลือกซื้อทางไกล (teteshopping) เลือกชนสินค้าที่พอใจ สามารถเปรียบเทียบคุณภาพและราคาจากหลายร้านจนพอใจจึงซื้อสินค้า
8.6.6 การค้นหาข้อมูลหรือหนังสือ รูปแบบนี้เรียกว่าห้องสมุดเสมือน(virtual library) ผู้ใช้บริการห้องสมุดสามารถค้นหาเอกสารสิ่งพิมพ์ที่ตนต้องการ โดยเรียกค้นผ่านเครือข่ายที่มีทางด่วนสารสนเทศเป็นตัวเชื่อม ระบบการเรียกค้นข้อมูลนี้ทำให้เกิดความสะดวก ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง และได้รับข้อมูลข่าวสารที่ตรงกับความต้องการในเวลาอันรวดเร็ว
8.6.7 ระบบการพิมพ์หรือการบริการหนังสือพิมพ์บนเครือข่าย สำนักพิมพ์หรือสำนักข่าวต่าง ๆ เป็นผู้รวบรวมข่าว มีนักข่าวอยู่ทั่วทุกมุมโลก เมื่อได้ข่าวสารก็ส่งข่าวสารมาที่สำนักพิมพ์ สำนักพิมพ์จัดการข่าวสารโดยพิมพ์ไว้ในรูปข้อมูลที่ให้ผู้เป็นสมาชิกเรียกดูได้ เสมือนการบอกรับหนังสือพิมพ์ ขณะเดียวกันเทคโนโลยีการพิมพ์ดีขึ้นมาก จนเครื่องถ่ายเอกสารสมัยใหม่สามารถรับข้อมูลมาพิมพ์ได้โดยตรง ดังนั้น สำนักพิมพ์อาจมีจุดขายหนังสือที่เชื่อมต่อกับสำนักพิมพ์ เมื่อผู้ซื้อต้องการหนังสือพิมพ์ก็เพียงแต่หยอดเหรียญตามต้องการ เครื่องจะดึงข้อมูลจากหนังสือพิมพ์มาพิมพ์ให้โดยทันที ข้อมูลข่าวสารจะใหม่เสมอ
ทางด่วนสารสนเทศจึงเป็นเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มของการใช้งานได้มาก หลายประเทศมีโครงการหลักและจัดให้โครงการนี้เป็นแผนงานระดับชาติ ที่จะต้องรีบเร่งดำเนินการและทำให้เป็นรูปร่างโดยเร็วที่สุด


8.7 เทคโนโลยีโทรคมนาคมสมัยใหม่
เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมกำลังได้รับความสนใจอย่างยิ่ง การสื่อสารถือได้ว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัย ขณะเดียวกันพัฒนาการทางเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมก็ได้ก้าวหน้าขึ้นไปอีกมาก มีการให้บริการระบบสื่อสารสมัยใหม่อยู่มากมาย เทคโนโลยีเหล่านี้จึงได้รับความสนใจและคนไทยควรได้รับรู้
8.7.1 การสื่อสารผ่านดาวเทียม เนื่องจากท้องที่ทางภูมิศาสตร์เต็มไปด้วยภูเขา หุบเขาหรือเป็นเกาะอยู่ในทะเล การสื่อสารที่ดีวิธีหนึ่งคือการใช้ดาวเทียม ดาวเทียมได้รับการส่งให้โคจรรอบโลก โดยมีการเคลื่อนที่ไปพร้อมกับการหมุนของโลก ทำให้ดาวเทียมอยู่ในตำแหน่งคงที่เมื่อมองจากพื้นโลก บนดาวเทียมจะมีการนำเอาเครื่องถ่ายทอดสัญญาณติดไปด้วย การสื่อสารโดยผ่านดาวเทียมจะทำโดยการส่งสัญญาณสื่อสารจากสถานีภาคพื้นดินอีกแห่งหนึ่งขึ้นไปยังดาวเทียม เมื่อดาวเทียมรับก็จะส่งกลับมายังสถานีภาคพื้นดินอีกแห่งหนึ่งหรือหลายแห่ง เราจึงใช้ดาวเทียมเพื่อแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ได้ การรับจะครอบคลุมพื้นที่ที่ดาวเทียมลอยอยู่ ซึ่งจะมีบริเวณกว้างมากและทำได้โดยไม่มีอุปสรรคจากภูเขาบัง ดาวเทียมจึงเป็นสถานีกลางที่ถ่ายทอดสัญญาณจากที่หนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งได้
ปัจจุบันประเทศไทยมีดาวเทียมไทยคมลอยอยู่เหนือประเทศ ดาวเทียมไทยคนนี้ใช้ประโยชน์ทางด้านการสื่อสารของประเทศได้มาก เพราะเป็นการให้บริการสื่อสารของประเทศในรูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่การรับรู้ส่งสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณจากวิทยุ สัญญาณข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ
8.7.2 การสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสง เส้นใยนำแสงมีลักษณะเป็นท่อแก้วที่อ่อนตัวอยู่ในสายที่หุ้มด้วยพลาสติก ลักษณะของท่อแก้วหุ้มด้วยสารพิเศษที่ทำให้เกิดการหักเหของแสงกลับเข้าไปในท่อแก้ว ดังนั้นเราสามารถส่งแสงจากปลายด้านหนึ่งให้ไปปรากฏที่ปลายอีกข้างหนึ่งได้ แม้ว่าเส้นใยนำแสงนั้นจะคดงอไปอย่างไรก็ตามก็จะส่งสงเข้าไปในท่อแก้วได้ เมื่อมีการนำเอาข้อมูลเข้าไปผสมกับแสง เพื่อให้แสงกระพริบตามการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล ทำให้เรารับส่งสัญญาณข้อมูลไปกับแสงได้ การรับส่งข้อมูลเข้าไปในแสงทำได้มากและรวดเร็ว
ปัจจุบันในประเทศไทยมีการวางเครือข่ายเส้นใยนำแสงไปตามถนนหนทางต่าง ๆ ทั้งใต้ดิน และที่แขวนไปตามเสาไฟฟ้า มีการวางเชื่อมโยงกันระหว่างจังหวัด เพื่อให้ระบบสื่อสารเป็นเสมือนเส้นทางด่วนที่รองรับการสื่อสารของประเทศ
8.7.3 โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (Integrated Service Digital Network : ISDN) ลักษณะเครือข่ายนี้เป็นการขยายการบริการจากระบบโทรศัพท์เดิมให้เป็นระบบดิจิทัล คือส่งสัญญาณที่เป็นข้อมูลตัวเลขแทนเสียง แทนภาพ แทนข้อมูล การสื่อสารโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลจึงเน้นการประยุกต์ใช้งานหลายอย่างบนเครือข่ายเดียวกัน โดยวางฐานขยายจากโทรศัพท์ เช่นในสายโทรศัพท์เส้นเดียวที่เชื่อมต่อไปยังบ้านเรือนผู้ใช้ สามารถประยุกต์ให้เป็นระบบโทรศัพท์ที่เห็นภาพ ใช้ส่งโทรสาร ใช้เป็นระบบการประชุมทางวีดิทัศน์ใช้ในการส่งข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ เพื่อเชื่อมโยงกับระบบคอมพิวเตอร์อื่น ๆ การดำเนินการเหล่านี้สามารถทำได้พร้อมกันบนสายสื่อสารเดียวกัน
โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลควรได้รับการพัฒนา โดยวางโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมโยงต่าง ๆ ไว้ให้พร้อม เพื่อรองรับความรับความเร็วของการรับส่งข้อมูลได้สูงขึ้น
8.7.4 ระบบเครือข่ายสวิตชิง ด้วยเทคโนโลยีเอ็มสวิตชิงที่มีความเร็วสูงทำให้การสื่อสารผ่านเส้นใยนำแสงส่งผ่านข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางได้ด้วยความเร็วหลายร้อยเมกะบิตต่อวินาที เอทีเอ็มสวิตชิงจึงเป็นเทคโนโลยีของการสร้างเครือข่ายข้อมูลข่าวสารที่จะรองรับการใช้งานแบบสื่อประสมได้ดี ปัจจุบันหลายหน่วยงานได้เริ่มใช้เครือข่ายด้วยเทคโนโลยีเอทีเอ็มสวิตชิงภายในองค์การของตนเอง และมีแนวโน้มการขยายตัวรองรับระบบนี้ สำหรับหน่วยงานไปอยู่เครือข่ายระยะไกลในอนาคตต่อไป
8.7.5 ระบบสื่อสารเคลื่อนที่ หรือที่เรียกว่าระบบเซลลูลาร์โฟน (cellula phone system) ที่ใช้กับโทรศัพท์ ทำให้มีโทรศัพท์ติดรถยนต์ โทรศัพท์มือถือ ปัจจุบันการสื่อสารระบบนี้เป็นที่แพร่หลายและนิยมใช้กันมาก ลักษณะการทำงานของระบบสื่อสารแบบนี้คือ มีการกำหนดพื้นที่เป็นเซลเหมือนรวงผึ้ง แต่ละเซลจะครอบคลุมพื้นที่จำนวนหนึ่ง มีระบบสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างเซลเข้าด้วยกัน ครอบคลุมพื้นที่บริการไว้ทั้งหมด ดังนั้นเมื่อเราอยู่ที่บริเวณพื้นที่บริการใด และมีการใช้โทรศัพท์มือถือ สัญญาณจากโทรศัพท์มือถือจะเชื่อมโยงกับสถานีรับส่งประจำเซลขึ้น ทำให้ติดต่อไปยังข่ายสื่อสารที่ใดก็ได้ ครั้นเมื่อเราเคลื่อนที่ออกนอกพื้นที่ก็จะโอนการรับส่งไปยังเซลที่อยู่ข้างเคียง โดยที่สัญญาณการสื่อสารไม่ขาดหาย
ในอนาคตมีโครงการที่จะใช้ดาวเทียมเป็นตัวควบคุมการสื่อสารประจำเซล โดยพื้นที่ทั่วโลกจะสื่อสารถึงกันได้หมด โครงการสื่อสารได้นี้จะใช้ดาวเทียมที่โคจรในวิถีวงโคจรที่อยู่ห่างจากพื้นโลกไม่เกิน 10,000 กิโลเมตร และใช้ดาวเทียมประมาณ 66 ดวง ที่ลอยอยู่บนท้องฟ้าตลอดเวลา ดาวเทียมเหล่านี้จะไม่อยู่ในตำแหน่งคงที่ แต่โคจรไปรอบโลกตลอกเวลา ทุกขณะบนพื้นโลกจะมองเห็นดาวเทียมหลาย ๆ ดวง ดาวเทียมเหล่านี้จะเป็นตัวเชื่อมโยงสัญญาณสื่อสารบนพื้นโลกที่มีการแบ่งเป็นเซลไว้ให้ติดต่อสื่อสารถึงกันได้หมด

หมดหน้า 8

สร้างโดย: 
นายพนมยงค์ นวลพรหม

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 227 คน กำลังออนไลน์