คอมพิวเตอร์สารสนเทศ

เริ่มหน้า 6


 
บทที่ 6
บุคลากรคอมพิวเตอร์

6.1 บทบาทและความสำคัญของบุคลากรคอมพิวเตอร์
ในปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยกำลังอยู่ในระยะการเปลี่ยนแปลง เพื่อก้าวเข้าสู่ยุคสารสนเทศอย่างงเต็มรนูปแบบมากยิ่งงงขึ้น เรารับเอาระบบและอุปกรณ์ที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีด้เนอิเล็กโทรนิกส์และคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้กันอย่างมมากมาาย มีระบบสื่อสารด้วยดาวเทียม ทำให้สามารถรับรู้และเห็นภาพการรายงานข่าวสดในโทรทัศน์จากเหตุการณ์จริงทั่วทุกมุมโลก มีระบบการฝากถอนเงินจากธนาคารผ่านเครื่อง เอทีเอ็มที่ต่อกันเป็นเครือข่ายกระจายไปเกือบทั่วประเทศ สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลด้วยโทรศัพท์มือถือ สามารถสื่อสารด้วยรูปภาพและข้อความผ่านเครื่องโทรสาร มีระบบการซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่สามารถจัดการให้แล้วเสร็จอย่างรวดเร็วด้วยระบบคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้เรายังมีการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในงานออกแบบงาน ผลิตอุตสาหกรรม งานธุรกิจและงานการเรียนการสอน
อุตสาหกรรมคอมพวิเตอร์เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในสิบปีที่ผ่านมา ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลงเรื่อย ๆ ในขณะที่ขีดความสามารถกลับเพิ่มสูงขึ้น เรานำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในงานต่าง ๆ มากมายในสำนักงาน บริษัทห้างร้าน
เมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานกันอย่างมาก ความจำเป็นที่ต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ หรือมีประสบการณ์ด้านคอมพิวเตอร์ก็มีมมากตามไปด้วย ทำให้ขาดแคลดบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์ซึ่งมีไม่เพียงพอกับความต้องการ ดังเราจะได้พบเห็นโฆษณาที่ประกาศรับสมัครบุคลากรเข้าทำงานด้านการประมวลผลข้อมูลตามหน้าหนังสือพิมพ์ และการรับสมัครเข้าฝึกอบรมด้านคอมพิวเตอร์ของสถาบันต่าง ๆ ขณะนี้เรายังขาดแคลนนักเขียนโปรแกรมและนักวิเคราะห์ระบบอีกเป็นจำนวนมาก
หากจะมีการพิจารณาลักษณะงานของบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์อย่างจริงจังทั้งระบบ สามารถแบ่งอาชีพของบุคลากรในวงการคอมพิวเตอร์ได้เป็นสามกลุ่มคือ กลุ่มผู้ผลิตฮาร์แวร์ กลุ่มผู้ผลิตซอฟต์แวร์ และกลุ่มผู้ให้การสนับสนุนและบริการ

6.2กลุ่มบุคลากรทางด้านผู้ผลิตฮาร์แวร์
เมื่อมมีควยามต้องการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานมากขึ้น บริษัทผู้ผลิตฮาร์แวร์จึงทำการผลิตเครื่องและอุปกรณ์ประกอบมากขึ้นด้วย โดยมีการวิจัยและพัฒนาให้เกิดเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการทำให้คอมพิวเตอร์หลายเครื่องเชื่อมต่อเป็นเครือข่าย บริษัทผู้ผลิตฮาราแวร์จำต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์สูงในทุกขั้นตอนของการผลิต นับจากการเริ่มต้นออกแบบจนถึงขั้นการประกอบการ จำหน่าย จนถึงขั้นการให้บริการด้านการขาย
นักออกแบบคอมพิวเตอร์จะศึกษาและวางแนวทางการผลิตคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ประกอบ โดยคำนึงถึงลักษณะและประสิทธิภาพของการใช้งานเป็นสำคัญ โดยให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ใช้มากที่สุด วิศวกรคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่แปลงแนวการออกแบบเป็นข้อกำหนดของเครื่อง วิศวกรจะออกแบบแผงวงจร การใช้ไอซี การใช้หน่วยความจำ และการทำงานร่วมกันกับอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่นำชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ มาประกอบกันเป็นเครื่องตามข้อดำหนดของวิศวกร และการทำการตรวจสอบการทำงานว่าถูกต้องหรือไม่
นอกจากผู้ผลิตฮาร์แวร์จะต้องอาศัยบุคลกรทางด้านเทคนิคแล้ว ยังจำต้องอาศัยบุคลากรด้านสนับสนุนอีกเพื่อดูแลในด้านการขาย การบริการ การทำเอกสาร และการตลาด บุคลากรเหล่านี้ ได้แก่ ตัวแทนจำหน่ายที่ติดต่อขายผลิตภัณฑ์ ซึ่งจำเป็นต้องรู้ข้อมูลเครื่องของคู่แข่งขัน ตลอดจนความต้องการของตลาดเป็นอย่างดี วิศวกร และช่างเทคนิคระบบ ทำหน้าที่บริการติดตั้งดูแลซ่องแซมเครื่องให้กับลูกค้าเพื่อให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี นักเขียนข้อมูลทางเทคนิค ทำหน้าที่ผลิตเอกสารประกอบเครื่อง นักอบรมทำหน้าที่สอนและอบรมความรู้เกี่ยวกับการใช้และบำรุงรักษาเครื่องให้กับลูกค้า ขณะเดียวกันอาจช่วยในการอบรมตัวแทนจำหน่ายและช่างเทคนิคของบริษัทผู้ผลิตเองด้วย และสุดท้ายนักการตลาดจะทำหน้าที่ช่วยวิเคราะห์ และวางแผนการตลาดของการจำหน่ายเครื่อง
เนื่องจากเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ของประเทศไทย ยังตามหลังประเทศอื่น ๆ ที่เจริญทางด้านเศรษฐกิจ เรายังไม่ค่อยมีบริษัทออกแบบและผลิตฮาร์แวร์แอง ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ มีส่วนน้อยที่นำชิ้นเข้าส่วนเพื่อมาประกอบภายในประเทศ ดังนั้นบุคลากรในส่วนฮาร์แวร์ของบ้านเราส่วนใหญ่จึงเป็นกลุ่มคนด้านสนับสนุนการขายเครื่อง ทำหน้าที่เป็นพนักงานขายและช่างเทคนิคเพื่อติดตั้ง ซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่อง
ในการศึกษาเพื่อที่จะเป็นบุคลากรทางด้านฮาร์แวร์ จำเป็นต้องศึกษาเล่าเรียนในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า มีความรู้ความสามารถในด้านวิทยาศาสตร์และคณิตสาสตร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในเรื่องโครงสร้างทางฮาร์แวร์
การศึกษาทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่มีเปิดสอนในมหาวิทยาลัยนั้น มีการเรียนการสอนและปฏิบัติในเรื่องอิเล็กทรอนิกส์ ศึกษาออกแบบการคำนวณวงจรอิเล็กทรอนิกส์ วงจรคอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรมระบบ การเขียนโปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์ การวางเครือข่าย การคำนวณที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ และการทำงห้คอมพิวเตอร์มีความสามารถเฉพาะในการใช้งานด้านต่าง ๆ
การเป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องศึกษาทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ศึกษาการออกแบบวงจรคอมพิวเตอร์ ซึ่งนับว่าจะมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ซึ่งต้องศึกษาในระบบสูงต่อไป
สำหรับช่างเทคนิคก็ต้องมีพื้นความรู้ทางด้านวงจรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ การใช้เครื่องมือวัดและตรวจซ่อมต่าง ๆ การแก้เปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีสารสนเทศยังรวมระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามาด้วย ซึ่งก็รวมถึงการออกแบบวางระบบเครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคมต่าง ๆ ซึ่งต้องการพื้นฐานทางด้านอุตสาหกรรมไฟฟ้าและสื่อสาร
บุคคลทางด้านนี้ยังมีความสำคัญและยังขาดแคลนอยู่มาก เพราะประเทศไทายกำลังขยายนการลงทุนด้านสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อรองรับการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตขึ้น

6.3กลุ่มบุคลากรทางด้านผู้ผลิตซอฟต์แวร์
สำหรับองค์การที่มีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ก็จำเป็นที่จะต้องมีผู้รู้ในฐานะผู้ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ทั้งที่เป็นซอฟต์แวร์สำเร็จ ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะให้กับผู้ที่จะนำไปใช้ตามต้องการ การพัฒนาซอฟต์แวร์จึงเป็นงานที่สำคัญงานหนึ่งที่จะทำให้ให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่าง ๆ ได้ ดังนั้นผู้สร้างซอฟต์แวร์จึงเป็นที่ต้องการของหน่วยงานเพราะเป็นผู้ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ประยุกต์เข้ากับงานต่าง ๆ
บุคลากรทางด้านผู้ผลิตซอฟต์แวร์ได้แก่ผู้ทำหน้าที่วิเคราะห์ระบบ ผู้เขียนโปรแกรม และผู้ที่สนับสนุนคล้ายคลึงกับบุคลากรทางด้านผู้ผลิตซอฟต์แวร์ นักวิเคราะห์ระบบจะศึกษาวางแผนและแยกแยะงานประมวลผลเป็นส่วน ๆ โดยให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ เพื่อมอบให้นักเขียนโปรแกรมไปทำการออกแบบ เข้ารหัสด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ และตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมให้ถูกต้องตามที่ต้องการ โปรแกรมที่เขียนนี้อาจเป็นโปรแกรมประยุกต์ใหม่ หรือเป็นการดูแลเพิ่มเติมแก้ไขซอฟต์แวร์ที่พัฒนามาก่อนแล้ว ส่วนนักโปรแกรมระบบจะทำหน้าที่ช่วยดูแลการทำงานของระบบฮาร์แวร์ และซอฟต์แวร์ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์จะต้องมีบุคลากรอีกกลุ่มหนึ่ง คือ กลุ่มสนับสนุน ซึ่งอาจประกอบด้วยผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์ นักเขียนข้อมูลทางเทคนิคเพื่อทำหน้าที่เขียนคู่มือการใช้ซอฟต์แวร์ ผู้ให้การฝึกอบรมแนะนำการใช้ซอฟต์แวร์ ขณะเดียวกันจะคอยให้คำปรึกษาในเรื่องของซอฟต์แวร์ที่ผลิต และนักวิเคราะห์ตลาดเพื่อทำหน้าที่วางแผนการขายต่อไป
ในประทศไทย อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ยังเกิดขึ้นได้ยาก เพราะเรายังขาดบุคลากรที่เชี่ยวชายทางด้านซอฟต์แวร์ ระยะนี้ยังพอมีซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นเองบ้าง เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ และซอฟต์แวร์ที่ใช้งานบางโปรแกรม นอกจากนี้ยังมีการนำซอฟต์แวร์จากต่างประเทศมาดัดแปลงแก้ไขเพื่อให้สามารถรับและแสดงผลข้อมูลภาษาไทย เช่น ซอฟต์แวร์การจัดการฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เป็นต้น
ในระดับการผลิตซอฟต์แวร์ทั่วไปจะมีการวิเคราะห์ระบบเพื่อศึกษาความต้องการของผู้ใช้ การวิเคราะห์ความต้องการนี้จำเป็นที่ผู้วิเคราะห์จะต้องรู้และเข้าใจระบบงานที่จะไปประยุกต์ด้วย เช่น ถ้าต้องการประยุกต์ซอฟต์แวร์เข้ากับงานทางด้านบัญชีของบริษัท ก็จำเป็นจะต้องเข้าใจระบบบัญชีของบริษัทด้วย ดังนั้นนักวิเคราะห์ระบบจึงจำเป็นต้องเป็นผู้ที่รู้ทั้งสองด้าน คือ ด้านคอมพิวเตอร์และตัวระบบงานด้วย การให้การศึกษาเพื่อเตรียมบุคลากรทางด้านนี้นอกจากจะต้องเปิดสอนรายวิชาคอมพิวเตอร์แล้วยังจะต้องให้ความรู้ในสาขาต่าง ๆ ด้วย เช่น สาขาบัญชี บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์
เมื่อวิเคราะห์ระบบแล้วขั้นตอนต่อมาคือออกแบบระบบ ซึ่งนักออกแบบระบบจะต้องมีความรู้ในเรื่องการจัดวางโครงสร้างฐานข้อมูล รู้ระบบการไหลเวียนและการส่งต่อข้อมูล เมื่อออกแบบระบบแล้วผู้เขียนโปรแกรมจะรับไปทำการเขียนโปรแกรม เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามระบบที่ออกแบบ นอกจากนี้ยังมีการทดสอบโปรแกรม การดูแลบำรุงรักษาโปรแกรม ตลอดจนการแก้ไขโปรแกรมให้มีขีดความสามารถสูงขึ้น
งานพัฒนาระบบซอฟต์แวร์จำเป็นต้องเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาตร์คอมพิวเตอร์ (Computer science) และการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์(Computer application) ซึ่งสาขาเหล่านี้มีเปิดสอนในมหาวิทยาลัยเกือบทุกแห่งในประเทศไทย
การศึกษาทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์และการคำนวณที่ดี วิชาที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเรื่องศาสตร์ของการคิดคำนวณ การคำนวณทางคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีขั้นตอนและกระบวนการโดยเฉพาะ เพื่อจะทำให้เกิดการคำนวณได้ดีและรวดเร็ว การวางโครงสร้างข้อมูล การเขียนโปรแกรมประยุกต์ การทำให้คอมพิวเตอร์มีความรอบรู้และมีความสามารถพิเศษที่เรียกว่าปัญญาประดิษฐ์ การให้คอมพิวเตอร์เขียนภาพหรือคอมพิวเตอร์กราฟิก การใช้คอมพิวเตอร์ในระบบงานสื่อสารข้อมูล และการวิเคราะห์โครงข่ายคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังต้องการเรียนรู้เทคนิควิธีการต่าง ๆ ในการออกแบบซอฟต์แวร์ รวมถึงการบริหารโครงการซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ ซึ่งนับวันจะมีบทบาทและความสำคัญมากขึ้น

6.4กลุ่มบุคลากรสนับสนุนและบริการ
บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์อีกกลุ่มหนึ่งที่นับเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด คือ กลุ่มที่ให้การสนับสนุนและบริการ ได้แก่ผู้ที่ทำงานในแผนกประมวลผลข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ ผู้ที่ทำงานในบริษัทที่ให้บริการซ่อมบำรุงรักษา และผู้ทำงานในบริษัทที่ปรึกษาจะช่วยวางระบบและสร้างโปรแกรมให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ตำแหน่งของงานที่มักจะปรากฎในประกาศรับสมัครงาน เช่น ผู้จัดการแผนกประมวลผลข้อมูล นักวิเคราะห์ระบบ นักโปรแกรมระบบ นักโปรแกรมประยุกต์ด้านธุรกิจ นักโปรแกรมประยุกต์วิทยาศาตร์ นักออกแบบและบริหารฐานข้อมูล วิศวกรระบบ วิศวกรด้านสื่อสารข้อมูล และช่างเทคนิค เป็นต้น
เนื่องจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้เราต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านนี้มาก ถึงแม้ว่าจะมีการเร่งผลิตและเสริมความรู้กันอย่างเต็มที่ เราก็ยังมีปัญหาด้านบุคลากรอยู่อีก โดยผู้ผลิตฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มักจะไม่ได้บุคลากรที่มีความรู้ตรงตามที่ต้องการจริง ที่น่าเป็นห่วงคือบุคลากรแผนกประมวลผลข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ ยังมีความรู้และประสบการณ์ไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถรองรับงานข้อมูลของหน่วยงานได้ มีอยู่บ่อยครั้งที่งานของหน่วยงานได้มีการวางแผนและลงแรงสร้างพัฒนาเป็นซอฟต์แวร์ใช้งานได้แล้ว แต่ขาดผู้ที่ดูแลและขยายงานต่อไป
ความต้องการบุคลากรที่ให้การสนับสนุนและบริการยังมีอีกมาก เพราะการกระจายของคอมพิวเตอร์และระบบประมวลผลมีแนวโน้มที่จะเข้าไปในกิจการทุกประเภท และจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้น เช่น ในห้างสรรพสินค้าก็ต้องใช้เทคโนโลยีทางด้านสารสนเทศเข้ามามีบทบาท ผู้ที่ทำงานด้านสนับสนุนและให้บริการจำเป็นต้องมีบุคลิกและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เพราะเกี่ยวข้องหรือต้องติดต่อกับบุคคลจำนวนมาก การติดต่อประสานงานจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้งานต่าง ๆ ดำเนินไปด้วยดี บุคลากรทางด้านนี้ ควรเป็นบุคลากรที่ศึกษาหรือมีพื้นฐานความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจจะจบการศึกษามาจากทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้

หมดหน้า 6

สร้างโดย: 
นายพนมยงค์ นวลพรหม

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 268 คน กำลังออนไลน์