user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('บัญชีผู้ใช้', 'user/login', '', '3.14.253.209', 0, 'c07f4153c6e00c4e73feffdd9f72d676', 130, 1717298432) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

ปีนักบุญเปาโล

รูปภาพของ damien2503

    

เปาโลเป็นชาวยิวได้รับการศึกษาพื้นฐานจากวัฒนธรรมกรีก ซึ่งคงจะได้รับในวัยเด็กที่เมืองทาร์ซัส อิทธิพลนี้เห็นได้ชัดเจนทั้งในวิธีการคิด และในวิธีการเขียนของท่านอีกด้วย บางครั้งท่านยกข้อความจากนักเขียนกรีก และคุ้นเคยกับปรัชญาลัทธิสโตอิกแบบชาวบ้าน ซึ่งท่านขอยืมความคิดบางอย่างมาใช้ เช่นเรื่องวิญญาณที่แยกจากร่างกายและถูกกำหนดไว้สำหรับอีกโลกหนึ่งใน 2 คร 5:6-8 หรือเรื่องบูรณภาพของจักรวาลใน คส และสูตรตายตัวต่างๆ เปาโลขอยืมวิธีการถามตอบสั้นๆ รวมคำเข้าด้วยกันจากพวกไซนิกและสโตอิก ตลอดจนการใช้วลียาวๆ มารวมเรียงกันเป็นคลื่นลูกแล้วลูกเล่า ก็เคยมีใช้อยู่แล้วในวรรณกรรมทางศาสนาของกรีก ภาษากรีกเป็นภาษาที่สองของเปาโล ท่านใช้ได้คล่องแคล่ว แม้จะมีสำนวนเซมิติกแทรกเข้ามาบ้างบางครั้ง ภาษากรีกของเปาโลเป็นภาษากรีกสามัญที่ใช้กันทั่วไปในสมัยนั้น แต่อยู่ในระดับของผู้ไม่ได้รับการศึกษา เปาโลไม่เคยคิดพยายามที่จะใช้ภาษาสละสลวยแบบอัตติก และท่านจงใจไม่ใช้วาทศิลป์เพื่อผู้ฟังจะได้มีความเชื่อไม่ใช่เพราะรูปแบบของภาษาที่ใช้ แต่เพราะเนื้อหาของข่าวดีที่ต้องเชื่อและเพราะเครื่องหมายซึ่งพระจิตเจ้าทรงสัญญา จะประทานให้เพื่อรับรองข่าวดีนั้น การไม่สนใจในความสละสลวยของภาษาเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่บางครั้งเปาโลเขียนผิดไวยากรณ์ หรือเขียนไม่จบประโยค เหตุผลอีกประการหนึ่งคือ บางครั้งท่านคิดเร็วและใช้อารมณ์มากเกินไป เหตุผลประการที่สามคือ ตามปกติ เปาโลมักให้คนอื่นเป็นคนเขียนตามคำบอก ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติของสมัยนั้น จะมีข้อยกเว้นก็น้อยมาก ท่านเพียงแต่เขียนคำทักทาย ลงท้ายแทนการลงนามกำกับเท่านั้น มีข้อความบางตอนในจดหมายของเปาโลที่เขียนขึ้นโดยคิดและตริตรองเป็นเวลานาน แต่ส่วนใหญ่แล้ว จดหมายของท่านชวนให้คิดว่าเขียนขึ้นโดยฉับพลัน และไม่มีการทบทวนแก้ไขทั้งๆ ที่มีข้อบกพร่อง หรืออาจเป็นเพราะความบกพร่องทางวรรณกรรมที่ทำให้ประโยคของเปาโลมีชีวิตชีวาและมีความหมายหนักแน่น จดหมายของเปาโลอ่านเข้าใจยาก ความคิดลึกซึ้งที่รีบเขียนก็เข้าใจยากเสมอ แต่ข้อความบางตอนของเปาโลสื่อความหมายทางศาสนาและวรรณกรรมได้อย่างดีน่าพิศวง

 

Foot in mouth ... สรุป ... Surprised

Φ  นักบุญเปาโล เกิดปีที่ 8 ก่อนคริสตกาลในประเทศซึ่งปัจจุบันมีชื่อว่า ตุรกี


Φเป็นชาวฟาริสี และเป็นบุตรของชาวฟาริสี


Φเซาโล เป็นชื่อภาษายิวของท่าน  ส่วนเปาโลนั้นเป็นชื่อใน๓ษาโรมัน


Φ  เปาโล มีอาชีพเป็น ช่างทำเต๊นท์


Φ จดหมายของนักบุญเปาโล นับว่าเป็นหนึ่งส่วนสามของพันธสัญญาใหม่ทั้งหมด


Φ เปาโล เขียนจดหมายรวมทั้งสิ้น 13 ฉบับ ได้เขียนถึง ชาวโรม  ชาวโครินทร์  ฉบับที่ 1-2  ชาวกาลาเทีย 
      ชาวเอเฟซัส  ชาวฟิลิปี  ชาวโคโลสี  ชาวเทสโลนิกา ฉบับที่ 1-2  ถึงทิโมธี ฉบับที่ 1-2  ถึงทิตัสและ
      ถึงฟีเลโมน


Φ เปาโล ถูกตัดศีรษะ นอกกำแพงเมืองกรุงโรม  ในช่วงการครองราชย์ของ กษัตริย์เนโร ประมาณ ปี 65-67
     ก่อนคริสตกาล และถูกฝังไว้ในจุดที่สร้างมหาวิหารนักบุญเปาโล นอกกำแพงเมือง


 

สร้างโดย: 
เซอร์ดาเมียน ปิยวรรณ วงศ์วณิชย์เจริญ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 1223 คน กำลังออนไลน์