เนื้อหาสอบ O-NET
ธรรมชาติของเสียง
การเคลื่อนที่ของเสียง (sound propagation)ในอากาศ มีกระบวนการดังนี้
เมื่อวัตถุกำเนิดเสียงมีการสั่น โมเลกุลของอากาศจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางถ่ายโอนพลังงาน ของการสั่นให้กับโมเลกุลของอากาศที่อยู่รอบ ๆ โดยการชนต่อ ๆ กันไปจนถึงหูจึงได้ยินเสียง
เสียงเป็นคลื่นตามยาว โดยพบว่า ทิศการเคลื่อนที่ของคลื่นเสียงกับทิศการสั่นของอนุภาค ของอากาศอยู่ในแนวเดียวกันดังรูป
จากรูป พบว่าระยะห่างระหว่างขดมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
ส่วนอัด (compression) คือ บริเวณที่ขดลวดสปริงอยู่ชิดกันมากกว่าปกติ
ส่วนขยาย (rarefaction) คือ บริเวณที่ขดลวดสปริงอยู่ห่างกันมากกว่าปกติ
ความยาวคลื่น (wavelength) เป็นระยะระหว่างตรงกลางส่วนอัดที่อยู่ติดกัน หรือระยะระหว่างตรงกลางส่วนขยายที่อยู่ติดกัน
ตารางอัตราเร็วเสียงในอากาศในตัวกลางต่าง ๆ ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส
นักฟิสิกส์ได้ศึกษาอัตราเร็วของเสียงในอากาศ พบว่า อัตราเร็วของเสียงในอากาศนิ่งที่มี ความหนาแน่นปกติที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส มีค่าประมาณ 331 เมตร/วินาที และจะมีค่าเพิ่มขึ้น 0.6 เมตร/วินาที เมื่ออุณหภูมิของอากาศเพิ่มขึ้นทุก ๆ 1 องศาเซลเซียส
เขียนความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเร็วของเสียงในอากาศกับอุณหภูมิดังนี้
v = 331 + 0.6t
เมื่อ t = อุณหภูมิของอากาศมีหน่วยเป็นองศาเซลเซียส
v = อัตราเร็วของเสียงในอากาศที่อุณหภูมิ t ใด ๆ มีหน่วย เมตร/วินาที
ในกรณีตัวกลางอื่น ๆ เมื่อเสียงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง สามารถหาอัตราเร็วของเสียงได้ เมื่อทราบความถี่ (f) และความยาวคลื่นเสียง (λ) ในตัวกลางนั้น นั่นคือ
v = fλ
เยี่ยม!!มากเลยคะ
ได้ความรู้มากๆเลยครับ
อยากได้เนื้อหาเยอะๆ
สวัสดีครับ อาจารย์เก่งจังนะครับ
อาจารย์เก่งจังเลยค่ะ
ขอบคุณมากนะค่ะ ได้ความรู้มากๆเลยค่ะ
ช้าจัง เรียบเรียงเร็วๆๆๆ อยากจะดู
เพิ่มเนื้อหาให้แล้วนะครับ รออีกนิดนะครับกำลังจัดทำเพิ่ม