วันศุกร์

Homeผู้จัดทำผลการเรียนรู้แบบทดสอบก่อนเรียนวันอาทิตย์วันจันทร์วันอังคารวันพุธกลางวันวันพุธกลางคืนวันพฤหัสบดีวันศุกร์วันเสาร์แบบทดสอบหลังเรียน

 

เทพยดาอารักษ์ 
พระคาถากำลังวัน 

 

anigreen11_next.gifพระพุทธรูปปางรำพึงanigreen11_back.gif

                ปางนี้อยู่ในอิริยาบถยืน  พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นประทับประมานกันที่พระอุระ (อก)  พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย  แสดงอาการรำพึง

                พระพุทธรูปปางนี้มีประวัติว่า  หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว  ก็เสด็จประทับพักผ่อนพระอิริยาบถอยู่ตามร่มไม้ต่าง ๆ อยู่นั้น  มีอยู่คราวหนึ่งขณะประทับอยู่ที่ร่มไม้อชปาลนิโครธ  ทรงรำพึงถึงธรรมะที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้วว่าเป็นธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งยากที่คนธรรมดาสามัญจะตามรู้ตามเห็นได้  ถึงกับท้อพระทัยที่จะแสดงธรรมสั่งสอนประกาศศาสนาให้ชาวโลกได้รับรสอันลึกซึ้งแห่งสัจธรรม

                แต่ในขณะที่ทรงรำพึงทบทวนไปมาอยู่นั่นเอง  ก็ทรงมีพระดำริผุดขึ้นมาในพระทัยว่า  บุคคลในโลกนี้ย่อยมีอุปนิสัยใจคอที่แตกต่างกัน  บางพวกมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดมาก  บางพวกมีสติปัญญาปานกลาง  บางพวกมีสติปัญญาอ่อน  บางพวกมีสติปัญญาอ่อนมาก ๆ จนไม่สามารถรับรู้อะไรได้  การแสดงธรรมโปรดบุคคลสามพวกแรกนั้นไม่ไร้ผลอย่างแน่นอน  ส่วนพวกสุดท้ายคงไม่สามารถรับธรรมได้

                พวกที่มีสติปัญญามาก  มีความเฉลียวฉลาดเพื่อได้รับฟังธรรมขัดเกลาจิตใจแล้วก็สามารถจะรู้ตามเห็นได้ฉับพลันทีเดียว  พวกที่มีสติปัญญาปานกลางเมื่อได้รับฟังธรรมครั้งแรกอาจจะไม่เข้าใจ  ต่อได้ฟังครั้งที่สองหรือครั้งที่สามแล้วก็อาจจะเข้าใจ  สามารถรูเห็นธรรมบรรลุมรรคผลได้

                พระองค์ทรงเปรียบเทียบบุคคลทั้งหมดนี้ประดุจดอกบัว  4  เหล่า  โดยเหล่าที่หนึ่งโผล่ขึ้นมาพ้นน้ำแล้ว  เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็จักบานในวันนั้น  เหมือนบุคคลกลุ่มที่หนึ่ง  เมื่อได้รับฟังธรรมอันลึกซึ้งแล้วก็สามารถบรรลุธรรมได้โดยฉับพลัน  เหล่าที่สองอยู่เสมอน้ำเมื่อโผล่ขึ้นมาพ้นจากน้ำแล้วก็จะบานในวันรุ่งขึ้น  เหมือนบุคคลกลุ่มที่สอง  เมื่อได้รับฟังธรรมขัดเกลาจิตใจถึงสองหรือสามครั้งก็จะสามารถบรรลุธรรมตามได้

                ดอกบัวเหล่าที่สามานั้นอยู่ใต้น้ำก็จะค่อย ๆ โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำแล้วก็จะบานในวันต่อ ๆ ไป  เมือนบุคคลกลุ่มที่สามที่ยังมีสติปัญญาอ่อน  อินทรีย์ยังไม่แก่กล้า  ต้องได้รับการอบรมหลาย ๆ ครั้งจนกว่าอินทรีย์จะแก่กล้า  ก็จะสามารถบรรลุธรรมได้ในคราวต่อ ๆ ไป

                ส่วนบุคคลกลุ่มที่สี่นั้นเหมือนกับดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำลึก ๆ ไม่มีโอกาสที่จะโผล่ขึ้นมาพ้นน้ำรับแสงอาทิตย์ได้  ก็จะเป็นภักษาหารของปลา-เต่า และสัตว์น้ำต่อไป  เมื่อเป็นเช่นนั้นการแสดงธรรมโปรดสัตว์ก็ไม่ไร้ผลเสียทีเดียว  เมื่อพระพุทธองค์ทรงพิจารณาด้วยพระญาณอันหยั่งทราบถึงอุปนิสัยของเหล่าสัตว์ผู้ควรจะได้รับรู้ธรรม  และมหาชนผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการแสดงธรรมเช่นนั้นแล้ว  จึงทรงตั้งปณิธานอันแน่วแน่อย่างพระมหาบุรุษว่า  จะดำรงพระชนม์ชีพอยู่จนกว่าจะได้ประกาศพระศาสนาให้แผ่ขจรขจายไปทั่วสารทิศ  จนกระทั่งสามารถประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบต่อไปในอนาคต

                พระพุทธจริยาตอนที่ทรงประทับยืนรำพึงถึงการแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์  และมหาชนนั้นเองกลายเป็นต้นเค้าแห่งความคิดในการสร้างพระพุทธรูปปางรำพึงขึ้นไว้สักการบูชา  อีกทั้งท่านโหราจารย์ได้กำหนดให้เป้นพระพุทธรูปประจำวันศุกร์อักด้วย

 

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2548
 

จัดทำโดยครูฟักทอง
โรงเรียนนาหนังพัฒนศึกษา  ตำบลนาหนัง  อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย  เขต 2
ติดต่อ fuk_thong1@thaimail.com โทรศัพท์ 0 6242 6083
Copyright(c) 2005 Mr.Thanagorn  nakkhot. All right reserved