การถ่ายภาพภูเขาและการถ่ายภาพดวงอาทิตย์

        

การถ่ายภาพภูเขาและการถ่ายภาพดวงอาทิตย์ 

             

          การถ่ายภาพภูเขา ถ้าต้องการให้มีความลึกเข้าไปในภาพต้องเลือกมุมที่เห็นทิวเขาสลับ ซับซ้อน มีฉากหลัง เพราะฉากหลังทำให้ภาพมีความลึกลับ ไม่แบนและมีความต้องการให้เห็นสีสันของต้นไม้ โดยเฉพาะช่วงป่าเปลี่ยนสีผลัดใบใบๆ จะมีสีเขียว สีเหลือง สีแดง สลับกันสวยงาม ถ้าองการให้เห็นสีสันของใบไม้พวกนี้ เราต้องถ่ายภาพตามแสงเป็นหลักยกเว้นว่าเป็นการถ่ายภาพช่วงดวงอาทิตย์กำลังขึ้น
 หรือกำลังตกก็นิยมถ่ายภาพทิวเขาสลับซับซ้อนเป็นฉากหน้า และมีดวงอาทิตย์ที่กำลังทดแสงเรืองๆ อยู่ตรงขอบฟ้า อันนี้จะจำเป็นต้องถ่ายย้อนแสง แม้จะไม่เห็นรายละเอียดสีสันของทิวเขาก็ตาม แต่เรากลับจะได้เห็นรูปร่างของตัวทิวเขาที่สลับทับซ้อนกันไปมา สลับฟันปลากันอย่างสวยงามไปอีกแบบหนึ่ง ประกอบภาพสีสันของท้องฟ้า ยามที่ดวงอาทิตย์กำลังลาลับขอบฟ้าก็เป็นภาพที่น่าสนใจมาก
แน่นอนว่าการถ่ายภาพวิว ทิวเขาเช่นนี้ก็ต้องระมัดระวังเรื่องของเส้นขอบฟ้าด้วยเช่นเดียวกันกับการถ่ายภาพวิวทั่วๆไป คือต้องระมัดระวังไม่ปล่อยให้เส้นขอบฟ้าอยู่ในรูปเอียง เพราะจะทำให้ภาพทั้งหมดดูเสียความสมจริงไปได้หากเส้นขอบฟ้าไม่อยู่ในแนวระดับส่วนการจัดวางเส้นขอบฟ้าก็ยังคงยึดหลัก 1 ใน 3 หรือกฎ 3 ส่วน Rules of Third
อยู่เช่นเดิมคือให้วางเส้นขอบฟ้าไว้ประมาณ 1ใน 3 ของภาพเสมออาจจะเป็น 1ใน 3 ทางด้านบน หรือทางด้านล่างก็ได้แล้วแต่จะเน้นทิวเขา หรือจะเน้นท้องฟ้าเป็นหลักการถ่ายรูปดวงอาทิตย์ขึ้น หรือตก มีเคล็ดลับที่น่าสนใจ กล่าวคือเราไม่ควรวัดแสงในขณะดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่ในภาพด้วย  ให้เราเบี่ยงกล้องและเลนส์ออกไปดวงอาทิตย์สักเล็กน้อย และวัดแสงตรงท้องฟ้าตำแหน่งข้างๆ
กับแทนจะทำให้ได้สีสันของท้องฟ้าที่ถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น เนื่องจากถ้าเราวัดแสงโดยอาทิตย์อยู่ในภาพด้วยจะทำให้ได้ค่าแสงที่มากเกินไป และเครื่องวัดแสงของกล้องก็จะบอกให้เราถ่ายภาพออกมา Under เกินไปกว่าที่ควรจะเป็นวิธีการก็คือให้เราเบี่ยงกล้องและเลนส์ออกไปจากดวงอาทิตย์สักเล็กน้อยและกดปุ่ม AE-L (Auto Exposure Lock)
      เพื่อให้กล้องจำค่าแสง ณ ตำแหน่งข้างๆ ดวงอาทิตย์นั้น จากนั้นจึงค่อยเบี่ยงกล้องกลับมาให้เห็นดวงอาทิตย์อยู่ในเฟรมภาพด้วย จัดองค์ประกอบให้เหมาะสมโดยที่ยังคงกดปุ่ม AE-L ค้างเอาไว้ด้วย จากนั้นก็กดปุ่มชัตเตอร์ลงไปเพื่อบันทึกภาพ กล้องก็จะใช้ค่าแสงด้านข้างๆดวงอาทิตย์ตามที่เรา Lock ค่าเอาไว้ด้วยการกดปุ่ม AE-L
นั่นสำหรับการถ่ายภาพ ภาพดังกล่าวก็จะได้ค่าแสงของท้องฟ้าที่เหมาะสมมากกว่าการวัดแสงโดยให้มีภาพดวงอาทิตย์อยู่ในเฟรมตั้งแต่แรกซึ่งมักจะได้ค่าที่ Under เกินไปเพราะแสงจากดวงอาทิตย์มันรุนแรง และไปหลอกเครื่องวัดแสงภายในกล้องให้คิดว่ามีแสงมาก แต่จริงๆท้องฟ้าข้างๆแสงไม่ได้แรงขนาดนั้นเลยแต่ทั้งนี้ โดยปกติของการถ่ายภาพดวงอาทิตย์ขึ้นหรือตกก็ตาม เราไม่อาจจะพยากรณ์ได้แน่ชัด 100% เหมือนกับการถ่ายภาพปกติ เนื่องจากเป็นการยากที่จะบอกได้ว่าท้องฟ้าในวันนั้นควรจะถ่ายพอดีถ่ายติด Under หรือถ่าย Over สักเล็กน้อยถึงจะสวย เนื่องจากท้องฟ้าเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นหรือตกของแต่ละวันไม่เคยซ้ำรูปแบบกันเลย จึงแนะนำให้ถ่ายเผื่อเลือกไว้บ้าง
โดยการใช้เทคนิคที่เรียกว่า การถ่ายภาพคร่อม หรือ Bracketing ซึ่งมีตัวย่อยว่า BKT นั่นเอง โดยการถ่ายภาพคร่อมนี้กล่องจะถ่าย 3 ภาพติดต่อกันโดยที่เรากดปุ่มชัตเตอร์เพื่อบันทึกภาพแค่ครั้งเดียว แต่ภาพแรกจะถ่ายพอดี ภาพที่ 2 จะถ่ายให้ Under ไปนิดหน่อย ส่วนภาพที่ 3 ก็จะถ่ายให้ Over นิดหน่อย เพื่อให้เราได้เลือกว่าภาพไหนจากทั้ง 3 ภาพที่สวยที่สุดเราสามารถตั้งความแตกต่างระหว่างภาพต่างๆในโหมด BKT นี้ได้ แต่โดยปกติจะเป็นการถ่าย 3 ภาพที่แตกต่างกัน ภาพละ 1stop เช่น ถ่ายภาพแรก วัดแสงได้พอดีที่ F8 ความเร็วชัตเตอร์ 1/60 วินาที ภาพที่ 2 กล้องจะถ่ายที่ F8 ความเร็วชัตเตอร์ 1/125 วินาที และภาพที่ 3 กล้องจะถ่ายที่ F8 ความเร็วชัตเตอร์ 1/30 วินาทีก็จะได้ภาพ 3 ภาพที่ได้รับแสงแตกต่างกันคือ พอดี 1รูป Under ไป 1 stop อีก 1 รูป และ Over ไป 1 stop อีก 1 รูป หรือในบางครั้งอาจจะตั้งให้แตกต่างกันแค่เพียง…stop ก็ได้หากเป็นการถ่ายภาพด้วยฟิล์ม Slide ซึ่งจะเห็นผลแตกต่างได้ชัด แม้สภาพแสงต่างกันเพียง…stop
       อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายภาพดวงอาทิตย์ขึ้นหรือตกนั้นมีเวลาไม่มากเลยจะมีช่วงเวลาประมาณแค่ 15-20 นาทีเท่านั้น ที่สามารถถ่ายภาพดวงอาทิตย์ขึ้นหรือตกได้อย่างสวยงาม และถ้าอยากจะได้ดวงอาทิตย์ดวงโตๆ สีแดงๆ แบบที่นิยมถ่ายภาพกันนั้นก็ต้องรอจนกว่าดวงอาทิตย์ใกล้จะลับขอบฟ้าเต็มทีซึ่งแทบจะถ่ายกันไม่ทันเลย
 ปกติจะอยู่ในช่วงแค่ 5-10 นาที สุดท้ายก่อนดวงอาทิตย์จะลับขอบฟ้าเท่านั้นที่จะสวยงามเหมาะกับการถ่ายภาพ สำหรับการถ่ายภาพดวงอาทิตย์คือเราต้องไปเลือกทำเลที่คาดว่าจะเห็นดวงอาทิตย์ตกได้ดีที่สุด และต้องขึ้นไปกางขากล้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมเมื่อถึงเวลาก็ถ่ายภาพในช่วงเวลาดังกล่าวให้ได้มากที่สุดเพราะมันจะผ่านไปเร็วมาก
 และเมื่อขอบของดวงอาทิตย์ด้านหนึ่งเริ่มแตะหายลับขอบฟ้าไปลองสังเกตจะใช้เวลาถัดมาอีกไม่เกิน 2 นาทีก็จะหายไปทั้งดวงช่วงเวลาดังกล่าวนี้จะรวดเร็วมากจนหลายๆคนพลาดเวลาสำคัญดังกล่าวไปอย่างน่าเสียดายเพราะมัวแต่เปลี่ยนเลนส์ และฟิล์มเพราะฉะนั้นจะต้องเตรียมพร้อมทุกเมื่อ เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ขึ้น แสงแรกที่ปรากฏขึ้นที่ขอบฟ้าคือขอบฟ้าเป็นสีฟ้าไล่มาสู่
สีแดงจะมีเวลาไม่เกิน 5 นาทีเท่านั้น พอดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้นที่ขอบฟ้าเท่านั้น ทุกอย่างที่สวยงามก็จะมลายลงไปในพริบตา  ส่วนในบางสถานการณ์บางวันที่ท้องฟ้ามีเมฆอยู่เยอะ เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นมาสูงได้สักระยะหนึ่ง หรือระหว่างที่กำลังจะตกอาจจะลับเข้าไปอยู่ด้านหลังของเมฆพวกนี้ทำให้มีลำแสงส่องออกมาจากก้อนเมฆอันนี้ถือว่าเป็น โบนัส สำหรับการถ่ายภาพดวงอาทิตย์จริงๆ
 จะต้องรีบฉวยโอกาสถ่ายภาพนั้นไว้ให้ได้ แต่มีเทคนิคที่จะแนะนำเล็กน้อย สำหรับการถ่ายดวงอาทิตย์ให้เห็นแสงเป็นลำแสงพุ่งออกมาจากเมฆว่าให้เราเน้นการถ่ายให้ Under สักเล็กน้อยเพื่อเน้นส่วนเงาให้เห็นชัดเจน และตรงส่วนลำแสงตัดผ่านเงาเหล่านี้ก็จะช่วยทำให้เน้นส่วนของลำแสงที่พุ่งผ่านไปได้อย่างชัดเจนมากกว่าการถ่ายภาพให้พอดีตามปกติ แต่ก็อย่าให้ Under
 มากจนเกินไปปกติจะถ่ายให้ภาพ Under ประมาณ 1 stop กำลังดีสำหรับการเน้นให้เห็นลำแสงพุ่งผ่านก้อนเมฆ นอกจานี้ข้อควรระวังเพิ่มเติมเวลาถ่ายบริเวณริมหน้าผา หรือจุดชมวิวตามยอดเขาต่างๆ หรือตามทางหลวง ก็คือทุกครั้งที่มีการเคลื่อนที่ควรละสายตาออกมาจากช่องมองภาพ และดูไปยังพื้นที่เรากำลังจะเดิน เพราะอาจจะสะดุดและหกล้มได้และอาจจะพลัดตกลงเหวได้
หรืออุปกรณ์อาจจะตกลงไปทำให้เสียหายได้

กล้องดิจิตอล

รู้จักกับกล้องดิจิตอล

ถ่ายภาพทั่วไป                

การถ่ายภาพทิวทัศน์                

ทิศทางของแสงในภาพวิวทิวทัศน์                 

การเลือกใช้ระบบวัดแสงกับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์             

องค์ประกอบของภาพ              

การถ่ายภาพดอกไม้           

การถ่ายภาพน้ำตก            

การถ่ายภาพทะเล              

การถ่ายภาพภูเขาและการถ่ายภาพดวงอาทิตย์             

วิธีการดูแลรักษากล้องเมื่อนำไปถ่ายภาพที่ทะเล                

การถ่ายภาพคนและฉากหลัง             

การถ่ายภาพกลางคืน   

สร้างโดย: 
น.ส.อรวรรณ ธัญญะวันและอาจารย์วีรศักดิ์ เตชมหนนท์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 542 คน กำลังออนไลน์