ฉบับที่6

  

  

 

ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495

     หลังจากที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 ถูกใช้ได้เพียง 2 ปีเศษ ก็มีการทำรัฐประหาร เพื่อนำเอารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 กลับมาใช้อีกครั้ง โดยอ้างว่า รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 นั้น ให้สิทธิเสรีภาพมากจนเกินไป ทำให้ไม่สามารถป้องกันภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ ส่วนเหตุผลที่แท้จริง ก็คือ ปรากฏว่ามีข้อห้ามข้าราชการประจำเป็นสมาชิกรัฐสภา และรัฐมนตรี การห้ามสมาชิกรัฐสภาและรัฐมนตรีหาประโยชน์จากรัฐ ทำให้ผู้บัญชาการทหาร ซึ่งประสงค์จะเป็นรัฐมนตรีไม่สามารถเป็นรัฐมนตรีได้ นั่นเอง จึงได้เกิดการรัฐประหารนำรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2475 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (พ.ศ. 2482 กับ พ.ศ. 2483) มาใช้แทนเป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน และให้สภาผู้แทนราษฎรประชุมปรึกษาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อใช้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรต่อไป ซึ่งก็ได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 24 คน เมื่อได้ดำเนินการเสร็จแล้ว จึงได้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร และสภามีมติเห็นชอบ จึงได้ประกาศมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2495 ประกอบด้วยบทบัญญัติทั้งหมด 123 มาตรา โดยมีบทบัญญัติเดิมของรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2475 อยู่เพียง 41 มาตราเท่านั้น นอกนั้นอีก 82 มาตรา เป็นบทบัญญัติที่เขียนเพิ่มเติมขึ้นใหม่ ซึ่งบทบัญญัติใหม่ดังกล่าวนั้น ส่วนใหญ่ก็นำมาจากรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2492

     ฉะนั้น รัฐธรรมนูญฉบับที่ 6 นี้ จึงมีลักษณะผสมผสานกันระหว่างรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับข้างต้น นั่นเองอนึ่ง ตามคำปรารภของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้ระบุถึงบุคคลที่นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้แก่ คณะบริหารประเทศชั่วคราว พร้อมด้วยข้าราชการทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และพลเรือน คณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 คณะรัฐประหาร พ.ศ. 2490 และผู้รักชาติ

     ในระหว่างที่มีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปได้ประมาณ 5 ปี ก็ได้เกิด การเลือกตั้งสกปรก ขึ้นเป็นประวัติการณ์ เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลือกตั้งไม่สุจริต มีการโกงการเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครพรรคเสรีมนังคศิลาของจอมพล ป. โดยเฉพาะตามหน่วยเลือกตั้งหลายหน่วยในจังหวัดพระนคร กรณีนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คณะรัฐประหารภายใต้การนำของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500 และประกาศยุบเลิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 2 ประเภท แต่ก็มิได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ทว่ายังคงให้ใช้รัฐธรรมนูญต่อไป ในขณะเดียวกัน ก็กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกประเภทที่ 1 ภายใน 90 วัน เมื่อเลือกตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว กลับปรากฏว่าการบริหารราชการแผ่นดินก็ไม่เป็นไปโดยราบรื่นนัก

     ในที่สุด รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็จึงได้ถูก "ฉีกทิ้ง" เสีย เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501 โดยการทำรัฐประหารอีกครั้งหนึ่งของคณะรัฐประหารชุดเดิม ซึ่งมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบกเป็นหัวหน้า รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ทั้งสิ้น 6 ปี 7 เดือน 12 วัน


        หลักการสำคัญ

   รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2495 มีหลักการผสมระหว่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 กับ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 ดังมีสาระสำคัญ ดังนี้

 1) ให้มีคณะองคมนตรีตามเดิม

 2) คงแนวนโยบายแห่งรัฐไว้เหมือนเดิม

 3) ใช้ระบบสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร (มีคำว่า ราษฎร มาต่อท้าย) แต่ในระหว่างใช้บทเฉพาะกาลมีสมาชิก 2 ประเภท คือ สมาชิกประเภทที่ 1 ราษฎรเลือกตั้งโดยตรง อยู่ในวาระ 5 ปี และสมาชิกประเภทที่ 2 พระมหากษัตริย์แต่งตั้ง

 4) เลิกข้อห้ามสมาชิกรัฐสภาและรัฐมนตรีหาประโยชน์จากรัฐ และเลิกข้อห้ามไม่ให้รัฐมนตรีเป็นข้าราชการประจำ

 5) การแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นรัฐมนตรี จะไม่ทำให้ผู้นั้นจำต้องออกจากสมาชิกภาพ

 6) รับรองสิทธิและเสรีภาพของปวงชนน้อยกว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 และได้เพิ่มข้อจำกัดการใช้สิทธิเสรีภาพ มิให้ ใช้เป็นปรปักษ์ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 410 คน กำลังออนไลน์