ข้อแนะนำในการทำเว็บไซต์เพื่อการเรียนรู้ที่ดี
ข้อแนะนำในการทำเว็บไซต์เพื่อการเรียนรู้ที่ดี
ในการสร้างแหล่งความรู้ในรูปแบบเว็บเพจ เพื่อให้ผู้ต้องการศึกษา ค้นคว้า สามารถใช้งานได้ดี รวดเร็ว เกิดความพึงพอใจ และเกิดประโยชน์สูงสุด ผู้จัดทำควรคำนึงดังต่อไปนี้
I. การบริหารจัดการแฟ้ม(folder) และไฟล์(File) ข้อมูล
1. ชื่อแฟ้มและไฟล์ เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดของระบบปฎิบัติการในเครื่องแม่ข่าย
- ต้องเป็นภาษาอังกฤษ และ/หรือตัวเลข เท่านั้น ถ้าเป็นภาษาอังกฤษต้องเป็นตัวเล็กทั้งหมด
- ห้ามเว้นวรรค
- ไฟล์เว็บเพจต้องมีนามสกุลเป็น htm หรือ html
2. ไฟล์แรกของการเรียกใช้งาน(Home Page) ต้องชื่อ index.htm หรือ index.html เท่านั้น
3. การตั้งชื่อไฟล์ควรให้สอดคล้องกับข้อมูลนั้นๆ เพื่อสะดวกในการบริหารจัดการ
4. ควรเลือก Character set เป็น Unicode(UTF-8)
- <meta http-equiv="content-type" content="text/html; charset=utf-8">
II. การบริหารจัดการเนื้อหา
1. ในแต่ละหน้า ไม่ควรมีความยาวมากเกินไป การที่ต้องลาก Scroll Bar ลงมามากๆ ทำให้ผู้ใช้งานมีโอกาสที่จะเลิกใช้ได้
2. แต่ละชิ้นงาน เนื้อหาควรจะจบในตัวเอง และมีความยาวไม่น้อยกว่า 30 เพจ
3. ไฟล์ที่ควรจะมี ได้แก่
- ไฟล์ Home Page ชื่อ index.html หรือ index.htm เป็นหน้าแรกของเว็บเพจ ควรจะเป็นส่วนที่ดึงดูดใจมากที่สุด ผู้ที่เข้ามาแล้วประทับใจในรูปแบบ เข้าใจถึงข้อมูลภายในว่าตรงกับที่ผู้ใช้งานต้องการหรือไม่ และต้องการเข้าไปศึกษาทันที
- ไฟล์ผู้จัดทำ อาจใช้ชื่อ aboutus.html เป็นไฟล์ที่บรรจุรายละเอียดของผู้จัดทำ เช่น ภาพผู้จัดทำ ชื่อ นามสกุล โรงเรียน ที่อยู่โรงเรียน หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ อีเมล์แอดเดรส
- ไฟล์เนื้อหา ควรแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอนๆ เพื่อสะดวกในการค้นหา
4. องค์ประกอบของแต่ละหน้า จะต้องมี
- แบนเนอร์ เพื่อบอกว่าหน้านั้นๆคืออะไร
- เมนู เพื่อเชื่อมโยงไปแต่ละตอน แต่ละหน้า
- สามารถดูได้สวยงามในความละเอียด 1024x768 พิกเซล
- ข้อความที่ใช้งานต้องเป็นฟอนต์ Tahoma เท่านั้น
5. จากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง ควรไปได้อย่างรวดเร็ว ไม่ควรคลิกเกิน 3-4 ครั้ง
III. การบริหารจัดการสื่อประสม
1. ต้องเป็นสื่อประสมที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งความเหมาะสมและลิขสิทธิ์
2. ต้องมีแฟ้มย่อยสำหรับเก็บข้อมูลสื่อประสมโดยเฉพาะ ไม่ควรอยู่รวมกับไฟล์ html
3. ควรมีภาพประกอบในเนื้อหา เพื่อดึงดูดความสนใจ
- ภาพมีขนาดความกว้าง ความสูง ที่เหมาะสม
- ภาพต้องบีบอัด(Compress)แล้ว เพื่อความรวดเร็วในการเรียกใช้งาน
- ถ้ามีความจำเป็นต้องเสนอภาพขนาดใหญ่มาก ควรนำเสนอเป็นภาพเล็กก่อน แล้วเชื่อมโยง(Link) ไปที่ภาพใหญ่
4. ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียงที่ใช้ ควรคำนึงถึงขนาดของไฟล์ให้มาก เพราะถ้ามีขนาดใหญ่มากจะเรียกใช้งานได้ช้า ควรทำให้อยู่ในรูปแบบที่เล็กมากที่สุด ที่ไม่มีผลเสียต่อเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ
IV. การจัดทำแบบทดสอบออนไลน์
เนื้อหาที่จัดทำขึ้น ไม่จำเป็นต้องมีแบบทดสอบเสมอไป ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเนื้อหานั้นๆ
V. ตัวอย่างเว็บเพจ
- เว็บเพจรวมผลงานประเภททีม การประกวดสื่อดิจิตอลเพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 1
- เว็บเพจรวมผลงานประเภททีม การประกวดสื่อดิจิตอลเพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 2
- เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยสาขาคอมพิวเตอร์ สสวท.
- ชนิดของคำ โดยครูนีรนุช อินกองงาม
- เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยครูธัญลักษณ์ คงกะเรียน
- บทเรียนออนไลน์เรื่อง ไฟฟ้าและแม่เหล็ก โดย ครูสุทธิรัตน์ ศรีสงคราม ครูกลยุทธ ทะกอง ครูนิรมล เสือเขียว
- สสาร โดยครูอัจฉรา แสงนุ่มพงษ์
- ขุนช้างขุนแผน โดย ชมพูนุช เอี่ยมสำอาง
- นก โดย สุพัฒน์กุล ภัคโชค
- ไฟฟ้ากระแสตรง โดยนายปิยทัศน์ แสงสว่าง นายอุดมศักดิ์ คงศิลา และนางสาวพิมลพรรณ นาเสงี่ยม
VI. ตัวอย่างสื่อออนไลน์
- สื่อออนไลน์ การประกวดสื่อดิจิตอลเพื่อการเรียนรู้ครั้งที่ 1
- สื่อออนไลน์ การประกวดสื่อดิจิตอลเพื่อการเรียนรู้ครั้งที่ 2
- เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วงชั้นที่ 3 โดย สสวท. ปรับปรุงใหม่