user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('คิดอย่างไรกับการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-books)', 'node/41463', '', '18.190.207.144', 0, '4644aedb7a9cfbd5df4822dda713a641', 139, 1716136439) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

ไท่เก็ก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                 ไท่เก๊ก

 

                    

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/b/b6/Martial_arts_-_Fragrant_Hills.JPG/300px-Martial_arts_-_Fragrant_Hills.JPG

วิชามวยไท่เก๊ก หรือ ไท่เก็กคุ้ง (จีนตัวเต็ม: 太極拳; จีนตัวย่อ: 太极拳; พินอิน: Tàijíquán) เรียกกันตามภาษาจีนแต้จิ๋วซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่คนจีนบ้านเรา อ่านแบบจีนกลางว่า ไท่จี๋เฉวียน เขียนเป็นภาษาอังกฤษคือ Taijiquan หรือ Tai'chi Chuan แต่ในบ้านเราเรียกกันหลายสำเนียงทั้ง ไท่เก๊ก ไทเก็ก ไท้เก๊ก ไท่จี๋ ไท้จี๋ ไทชิ ไทกิ๊บ

วิชามวยไท่เก๊กเป็นศิลปยุทธ์ที่มีชื่อเสียงในประเทศจีน เชื่อกันว่าปรมาจารย์ผู้ให้กำเนิดมวยไท่เก๊กคือนักพรตชื่อ จางซานฟง (เตียซำฮงในภาษาแต้จิ๋ว) ซึ่งมีชีวิตอย่ในช่วงปี ค.ศ. 12xx-14xx แต่วิชานี้มามีชื่อเสียงเอาในสมัยราชวงศ์ชิง โดยท่านหยางลู่ฉานซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดมวยไท่เก๊กตระกูลหยาง และภายหลังได้แพร่ขยายขจรขจายไปทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยอาจารย์ต่งอิงเจี๋ย (ตั่งเองเกี๊ยก) นำมวยไทเก๊กมาเผยแพร่ในเมืองไทยเมื่อ พ.ศ. 2498 ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 อาจารย์ต่งส่งบุตรชายของท่านคืออาจารย์ต่งหูหลิ่ง (ตั่งโหวเนี่ย) มาเป็นครูมวยไทเก๊กคนแรกในประเทศไทย จึงกล่าวได้ว่ามวยไทเก๊กในไทยนั้น สืบสายมาจากมวยไท่เก๊กตระกูลหยาง

ในปัจจุบัน มวยไท่เก๊กที่แพร่หลายกันอยู่ทั่วไปมีอยู่มากมายหลายสาย หลายตระกูล ซึ่งสายมวยอันเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันมีอยู่ 5 สายหลักคือ ไท่เก๊กตระกูลเฉิน, ตระกูลหยาง, ตระกูลอู่, ตระกูลอู๋ และตระกูลซุน ซึ่งภายหลังรัฐบาลจีนได้นำท่ามวยของทั้งห้าตระกูลมาเรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้ในการแข่งขันลีลายุทธ์ด้วย นอกจากห้าตระกูลนี้แล้ว ภายหลังยังมีมวยไท่เก๊กตระกูลอื่นๆ ซึ่งแตกแยกย่อยไปจากห้าตระกูลนี้ รวมถึงยังปรากฏมวยไท่เก๊กประจำถิ่นอีกหลายๆ สายปรากฏออกมาอีกมากมาย หากไม่ว่าจะเป็นมวยไท่เก๊กสายใดตระกูลใด แม้ท่วงท่าจะแตกต่างกัน แต่ยังอิงเคล็ดความเดียวกัน และล้วนนับถือท่านจางซานฟงเป็นปรมาจารย์เช่นเดียวกัน

มวยไท่เก๊กมีลักษณะนุ่มนวล โอนอ่อน ผ่อนคลาย การเคลื่อนไหวลื่นไหลต่อเนื่อง การหายใจสอดประสานไปกับการเคลื่อนไหว พร้อมทั้งต้องตั้งจิตติดตามการเคลื่อนไหวของร่างกายไปตลอดทำให้เกิดสมาธิ เนื่องจากไม่มีการเกร็งกล้ามเนื้อ หรือการออกแรงกระแทก จึงมีโอกาสเกิดการบาดเจ็บร่างกายได้น้อยเมื่อเทียบกับกีฬาที่ใช้แรงชนิดอื่นๆ ทำให้เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย แม้แก่ชราอายุ 90-100 กว่าปีก็ยังฝึกฝนได้ ประโยชน์ที่ได้รับนอกจากจะช่วยให้สุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจแล้ว ยังสามารถใช้เป็นศิลปะป้องกันตัวได้หากได้รับการฝึกฝนเพื่อใช้ต่อสู้ ในปัจจุบันไท่เก๊กมีผู้นิยมฝึกฝนกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก

 

 

 

สร้างโดย: 
คุณครู สมาน ถวิลกิจ และ นางสาว ศศิธร เสมสมัย โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 316 คน กำลังออนไลน์