โรคบูลิเมีย เนอร์โวชส (bulimia nervosa)

บูลิเมีย เนอร์โวชส  (bulimia nervosa)

 

   บูลิเมียมีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินโดยความหมายของคำนี้เปรียบเปรยถึง ความหิวกระหายของวัวกระทิง ซึ่งสะท้อนจากอาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ที่ไม่สามารถควบคุมการบริโภคอาหารของตนเองได้ในชั่ววูบหนึ่ง
ดังนั้นบูลิเมีย จึงหมายถึง ภาวะที่ร่างกายมีความรู้สึกผิดปกติ  คือ เห็นอาหารแล้วเกิดความอยากบริโภค และบริโภคได้ในปริมาณมากกว่าปกติ โดยไม่สามารถควบคุมตนเองได้ โดยเฉพาะอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาล  ในการบริโภคอาหารแต่ละครั้งจะบริโภคในปริมาณมาก ในเวลารวดเร็ว  เมื่อบริโภคเสร็จแล้วจะรู้สึกผิด ไม่สบายใจ และพยายามเอาอาหารที่บริโภคเข้าไปออก ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ล้วงคอให้อาเจียน  กินยาระบาย  หรือออกกำลังกายอย่างหนักติดต่อกันนานหลายชั่วโมง เพื่อใช้พลังงานจากอาหาร
ที่บริโภคให้หมด หรือบางคนอาจใช้วิธีการอดอาหาร 2 - 3 วันเพื่อชดเชย ปริมาณพลังงานที่ได้รับจากอาหารที่บริโภค

   บูลิเมีย  มักเกิดกับผู้หญิงอายุ ประมาณ 15-35 ปี ในผู้ชายพบน้อย ในต่างประเทศพบผู้ป่วยโรคนี้ ประมาณร้อยละ 1-3 ของประชากรทั่วไป  ในประเทศไทยขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่เป็นทางการ แต่จากการสืบค้นทางอินเทอร์เนตพบว่ามีการกระทู้ถามตอบเกี่ยวกับ โรคแอโนเร็กเซีย และบูลิเมียหลายรายโดยกล่าวถึงอาการ ความทุกข์ และแนวทางการบำบัดของผู้ที่เคยป่วย  
 

สาเหตุการเกิดโรค  อาจเกิดจากสาเหตุ ดังนี้

 1.   พันธุกรรม  ในต่างประเทศมีการศึกษาและพบว่าถ้าบุคคลในครอบครัว โดยเฉพาะมารดาเคยเป็นโรคนี้มาก่อน ลูกก็มีแนวโน้มที่จะเป็นด้วย

2.   ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ต่อมควบคุมการบริโภคอาหาร และฮอร์โมนทำงานผิดปกติ

3.   ค่านิยม ผู้หญิงบางคนมีค่านิยมในเรื่องรูปร่าง คือให้ความสำคัญเรื่องรูปร่างผอมว่าเป็นมาตรฐานที่ดี
หรือผู้ที่คิดว่าตนเองไร้ค่า และผู้เป็นโรคซึมเศร้าก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ง่าย

ข้อสังเกต  ผู้ที่เป็นโรคบูลิเมียนั้นจะเห็นได้ชัดที่พฤติกรรมการบริโภค คือ มักจะบริโภคอาหารในปริมาณมาก
แต่ละครั้ง แล้วมีพฤติกรรมในการกำจัดอาหารที่ตัวเองบริโภคออกมา ด้วยการล้วงคอให้อาเจียน  ใช้ยาถ่าย
อดอาหารติดต่อกัน 3-4 วัน หรือออกกำลังอย่างหนักติดต่อกันนาน มากกว่า 5 ชั่วโมงทุกวัน

 ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคบูลิเมีย จากการที่ผู้ป่วยพยายามกำจัดอาหารที่บริโภคด้วยวิธีการต่างๆ
ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ดังนี้

 1.   ภาวะอิเล็กโตรไลท์ผิดปกติ เช่น มีระดับโปตัสเซียมและคลอไรด์ในเลือดต่ำ ซึ่งถ้ารักษาไม่ทันก็อาจทำให้เสียชีวิตได้
2.   ทำให้เกิดความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร เช่น อาจมีการฉีกขาดของหลอดอาหาร หรือเยื่อบุลำคอ ในระหว่างที่มีการกระตุ้นตนเองให้อาเจียน หรืออาจทำให้ฟันผุ เนื่องจากกรดที่ย้อนขึ้นมาจากกระเพาะ
หรืออาจทำให้ต่อมน้ำลายบวม3.   อาจเป็นสาเหตุทำให้ไตวาย เพราะการล้วงคอให้อาเจียนหลายๆครั้งอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำและอิเล็กโตรไลท์ที่สำคัญ

การรักษา ผู้ป่วยโรคบูลิเมีย นอกจากอาการทางกายแล้วยังมีอาการทางจิต ในการรักษาต้องให้ผู้ป่วยสมัครใจการรักษาจึงจะได้ผล ดังนี้

1.  สังเกตอาการแล้วปรึกษาแพทย์ การรักษาต้องรักษา 2 ทาง คือ อาการทางด้านร่างกาย และการปรึกษาจิตแพทย์ควบคู่กัน          

2.  เปลี่ยนค่านิยมเรื่องรูปร่างที่ว่า ผู้ที่ร่างกาย ผอม บอบบางนั้นกำลังจะเป็นค่านิยมที่ล้าสมัย ในหลายประเทศกำลังรณณรงค์เรื่องการบริโภคอาหารถูกหลักโภชนาการ และการออกกำลังกายเพื่อมีรูปร่างที่เหมาะสม คือ ต้องมีลักษณะที่บ่งชี้ว่าเป็นผู้มีสุขภาพแข็งแรง

 

   
             

สร้างโดย: 
บัณฑิตา คณาธนานท์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 434 คน กำลังออนไลน์