การประเมินโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่านคล่อง คิดเป็นของผู้เรียน โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

ชื่อเรื่อง            :    การประเมินโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่านคล่อง คิดเป็นของผู้เรียน
                            โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professionals Learning Community : PLC) 

ผู้รายงาน           :  อินทิรา ปงลังกา

ปีการศึกษา         :  2564

บทคัดย่อ

การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ ดังนี้ 1. เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่านคล่อง คิดเป็นของผู้เรียน โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professionals Learning Community : PLC) 2. เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่านคล่อง คิดเป็นของผู้เรียน โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professionals Learning Community : PLC) 3. เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่านคล่อง คิดเป็นของผู้เรียน โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professionals Learning Community : PLC) และ 4. เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่านคล่อง คิดเป็นของผู้เรียน โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professionals Learning Community : PLC) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 6 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 45 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 123 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 96 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 219 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 123 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 96 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 219 ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวมจำนวนทั้งสิ้น 492 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม จำนวน 6 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อการวิจัย ชุดที่ 1 การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation : C) ชุดที่ 2 การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) ชุดที่ 3 การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) ชุดที่ 4/1 การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) ชุดที่ 4/2 การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) และชุดที่ 4/3 การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการประเมินโครงการพบว่า

1. ผลการประเมินโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่านคล่อง คิดเป็นของผู้เรียน โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professionals Learning Community : PLC) พบว่า ในภาพรวมมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก ( = 4.14, S.D.= 0.80) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation : C) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.29, S.D.= 0.76) รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) ( = 4.27, S.D.= 0.73) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) ( = 4.12, S.D.= 0.78)  และด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( = 3.89, S.D.= 0.91) ตามลำดับ ซึ่งผลการประเมินแต่ละด้านมีรายละเอียด ดังนี้

1.1 ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation : C) พบว่า ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.29, S.D.= 0.76)  

1.2 ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) พบว่า ผลการประเมินความ เป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเพียงพอ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.12, S.D.= 0.78)

1.3 ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) พบว่า ผลการประเมิน ความเหมาะสม เป็นประโยชน์ และพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.27, S.D.= 0.73)

1.4 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) พบว่า ผลการประเมินสำหรับครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.89, S.D.= 0.91) และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า

การประเมินผลลัพธ์ (Output Evaluation) พบว่า ครูผู้สอน มีผลการประเมินโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 4.13, S.D.= 0.72) และนักเรียน มีผลการประเมินโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 3.61, S.D.= 1.04)

การประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation) พบว่า ครูผู้สอน มีผลการประเมินโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 4.32, S.D.= 0.67) นักเรียน มีผลการประเมินโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 3.66, S.D.= 1.05) และผู้ปกครองนักเรียน มีผลการประเมินโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 3.87, S.D.= 0.98)

2. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ในการพัฒนาโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่านคล่อง คิดเป็นของผู้เรียน โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professionals Learning Community : PLC) ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้

21. ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation : C) โรงเรียนควรมีการวิเคราะห์ระดับการอ่าน และคิดของนักเรียนในแต่ละระดับ เพื่อการปรับปรุงการดำเนินการของโครงการ

2.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) ผู้บริหารควรมีการสนับสนุน ส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูในการใช้นวัตกรรม และการวิจัยในชั้นเรียนเป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนา

2.3 ด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) ผู้บริหารควรสนับสนุน ส่งเสริมให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา เพื่อการดำเนินการตามโครงการ

2.4 ด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) โรงเรียนควรมีการประเมินผลผลิตที่เกิดกับนักเรียน โรงเรียน ชุมชน และผู้ปกครองทุกครั้ง เมื่อสิ้นสุดโครงการ โดยการประชุมร่วมกับทุกฝ่าย รวมถึงตัวนักเรียนด้วย

 

 

 

 

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 462 คน กำลังออนไลน์