การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร)

ชื่อเรื่อง      :  การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้
                    ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร)

ผู้วิจัย        :  อินทิรา  ปงลังกา

ปีการศึกษา :  2564 

บทคัดย่อ 

การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อศึกษาแนวทาง การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร) 4) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร) และ 5) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ตามลักษณะการเก็บข้อมูล ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (R1) โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการบริหารสถานศึกษา (ฉบับที่ 1) และใช้แบบวิเคราะห์ข้อมูลการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion : FGD) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (ฉบับที่ 2 และฉบับที่ 3) เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา/รองผู้อำนวยการสถานศึกษา/รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นเชียงรายโซนเหนือ จังหวัดเชียงราย ปีการศึกษา 2563 จำนวน 12 คน และครูวิชาการในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นเชียงรายโซนเหนือ จังหวัดเชียงราย ปีการศึกษา 2563 จำนวน 12 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร) (D1) โดยใช้แบบประเมินความถูกต้องตามหลักการ ความเหมาะสมกับการบริหารและความเป็นไปได้ต่อการปฏิบัติจริง เพื่อสอบถามเกี่ยวกับความถูกต้องตามหลักการ สามารถปฏิบัติได้จริงและมีประโยชน์ (ฉบับที่ 4) เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน ผู้อำนวยการสถานศึกษา/รองผู้อำนวยการสถานศึกษา/รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นเชียงรายโซนเหนือ จังหวัดเชียงราย จำนวน 8 คนและครูวิชาการในโรงเรียนกลุ่มเครือข่าย พัฒนาการศึกษาท้องถิ่นเชียงรายโซนเหนือ จังหวัดเชียงราย จำนวน 8 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 23 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร) (R2) โดยใช้แบบประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (ฉบับที่ 5) แบบประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ฉบับที่ 6) และแบบประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ฉบับที่ 7 สำหรับผู้ปกครองนักเรียน) เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร) จำนวน 92 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร) จำนวน 76 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร) จำนวน 168 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และระยะที่ 4 การประเมินและปรับปรุงรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร) (D2) โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจและการปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการบริหารสถานศึกษา (ฉบับที่ 8) เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร) จำนวน 1 คน และครูผู้สอน โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร) จำนวน 52 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 53 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่า โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก จึงส่งผลให้มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การบริหารงานบุคคล มีระดับคะแนนการปฏิบัติเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานทั่วไปและการบริหารงานวิชาการ ตามลำดับ และมีแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion : FGD) ของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ในการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การบริหารสถานศึกษา การจัดการศึกษา โดยศึกษาหนังสือ ตำรา บทความและงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษา เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร) ที่พัฒนาขึ้น ซึ่งมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการบริหารสถานศึกษา มีชื่อว่า แบบ “POADIEP Stage Model” (พีโอเอดีไออีพี สเตท โมเดล) มี 7 ขั้นตอนหลัก และ 49 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ 1. ขั้นตอนการวางแผนบริหารจัดการสถานศึกษา (Planning Administration Stage : P) 2. ขั้นตอนการออกแบบโครงสร้างการจัด การศึกษา (Organize Design Stage : O) 3. ขั้นตอนการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ (Active Learning Construction Stage : A) 4. ขั้นตอนการปฏิบัติการเรียนรู้ (Doing by Learning Stage : D) 5. ขั้นตอนการให้คำปรึกษาระดับบุคคล (Individual Counseling Stage : I) 6. ขั้นตอนการประเมินผลและการรายงาน (Evaluation and Reporting Stage : E) และ 7. ขั้นตอนการตรวจสอบความสำเร็จของการบริหารสถานศึกษา (Performance Administration Stage : P) และ 4) เงื่อนไขการนำรูปแบบการบริหารสถานศึกษาใช้ มีความถูกต้องตามหลักการ สามารถปฏิบัติได้จริงและมีประโยชน์

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร) พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความ สามารถในการอ่านได้ อยู่ในระดับดีมาก การเขียนได้ อยู่ในระดับดี มีทักษะคิดเลขเป็น อยู่ในระดับดี และมีความสามารถในการคิดที่หลากหลาย อยู่ในระดับมาก และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความสามารถในการอ่านได้ อยู่ในระดับดีมาก การเขียนได้ อยู่ในระดับดี มีทักษะคิดเลขเป็น อยู่ในระดับดี และมีความสามารถในการคิดที่หลากหลาย อยู่ในระดับมาก

4. ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร) ที่มีชื่อว่า แบบ “POADIEP Stage Model” (พีโอเอดีไออีพี สเตท โมเดล) มี 7 ขั้นตอนหลัก และ 49 ขั้นตอนย่อย ควรมีการปรับปรุงในแต่ละขั้นตอนเพียงเล็กน้อย และจากการประเมินความพึงพอใจรูปแบบการบริหารสถานศึกษา แบบ “POADIEP Stage Model” มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

 

 

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 498 คน กำลังออนไลน์