การพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF) ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด ประสบการณ์เรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปี

ชื่อเรื่อง           การพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF) ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด

ประสบการณ์เรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3

ผู้วิจัย             นางสุปรีดา  นาพี  ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล 3

(วิมุกตายนวิทยา)  สำนักการศึกษา  เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก  จังหวัดนราธิวาส

ปีที่วิจัย           พ.ศ.  2563

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเพื่อการพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF) ของเด็กปฐมวัย

ที่ได้รับการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมอง ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3  โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF) ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF) ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดที่สอดคล้องกับสมองของเด็กปฐมวัย  ชั้นอนุบาลปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3  โรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา)  สำนักการศึกษา  เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส จำนวน 33 คนซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม  (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มี 3 ชนิด คือ 1) แผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3  จำนวน 30 แผน 2) แบบประเมินทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF) ของเด็กปฐมวัย 3 ด้าน ได้แก่ ความจำขณะทำงาน การยับยั้งชั่งใจ และ ความยืดหยุ่นทางสติปัญญา และ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t – test (Independent  Sample  t – test) 

           ผลการวิจัยเรื่อง  การพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF) ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1.  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมองของเด็กปฐมวัยชั้น

อนุบาลปีที่ 3 เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ (EF) ของเด็กปฐมวัยก่อนการจัดประสบการณ์ มีคะแนนเฉลี่ยของทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จคิดเป็นร้อยละ 56.30  และหลังการจัดประสบการณ์   มีคะแนนเฉลี่ยของทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จคิดเป็นร้อยละ 85.78  เมื่อแยกเป็นรายด้าน  พบว่า

                    1.1  ความจำขณะทำงาน ก่อนการจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยของความจำขณะทำงานคิดเป็นร้อยละ 55.69  และหลังการจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยของความจำขณะทำงาน คิดเป็นร้อยละ 84.71 

                    1.2  การยับยั้งช่างใจ ก่อนการจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยของการยับยั้งช่างใจเท่ากับ คิดเป็นร้อยละ 56.86  และหลังการจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยของการยับยั้งช่างใจ  คิดเป็นร้อยละ 87.99 

                    1.3  ความยืดหยุ่นทางสติปัญญาก่อนการจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยของความยืดหยุ่นทางสติปัญญา คิดเป็นร้อยละ 56.47  และหลังการจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยของความยืดหยุ่นทางสติปัญญาคิดเป็นร้อยละ 85.10 

2.  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสรีโดยให้สมองเป็นฐาน ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังการจัดประสบการณ์ด้านความจำขณะทำงาน ด้านการยับยั้งช่างใจและด้านความยืดหยุ่นทางสติปัญญา สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 618 คน กำลังออนไลน์