การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2

ชื่อเรื่อง           การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถ

ในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2

ผู้วิจัย             นางสุปรีดา นาพี  ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองสุไหง-โกลก 

จังหวัดนราธิวาส

ปีที่วิจัย           พ.ศ. 2562

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 สรุปสาระที่ได้จากการวิจัย  โดยมีวัตถุประสงค์ 4 ประการ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย  2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 3)  เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 และ 4)  เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่  1 การวิจัย  (Research: R1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่  2 การพัฒนา  (Development  :  D1)  เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ขั้นตอนที่  3  การวิจัย  (Research  :  R2)  เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 (Implement  :  l) และขั้นตอนที่  4  การพัฒนา  (Development:  D2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 (Evaluation  :  E) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ  t – test  (Independent  Sample  t – test) 

ผลการวิจัยเรื่อง  การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

               1. ผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน  ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานเอกสารและข้อมูลพื้นฐานบุคคล สามารถกำหนดเป็นนิยาม  องค์ประกอบและพฤติกรรมบ่งชี้ในแต่ละองค์ประกอบของความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเอง  และแนวทางการพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเอง  พบว่า  ระดับพฤติกรรมที่แสดงถึงการรับรู้ การทำความเข้าใจกับปัญหา และการคิดหาเหตุผล เพื่อแสวงหาทางเลือกมาปฏิบัติในการแก้ปัญหาด้วยวิธีการใหม่ที่ต่างจากสิ่งที่มีอยู่เดิม หลากหลายมากกว่าหนึ่งวิธีหรือหนึ่งแนวคิด และทำการประเมินข้อค้นพบสำหรับการแก้ปัญหา สามารถค้นหาวิธีการแก้ปัญหาและสามารถแก้ปัญหาได้สำเร็จ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1  ขั้นกระตุ้นเร้า (Stimulus : S) 2.  ขั้นวางแผน (Plan : P)

3  ขั้นเรียนรู้ (Active Learning : A) 4  ขั้นซ้ำย้ำทวน (Repeat : R) 5  ขั้นสรุปและการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง  (Constructivism : C) และ 6  ขั้นประยุกต์ใช้  (Application : A)

               2.  รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด  (มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.40- 5.00)  และความคิดเห็นของครูปฐมวัยต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเอง ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2   มีผลประเมินโดยรวม  มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  ( = 2.68,  S.D.  =  0.47) 

               3.  ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ทำให้เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองเพิ่มขึ้น

              4. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้

4.1 เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังใช้รูปแบบ

การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ถือว่าผ่านเกณฑ์

4.2 เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความเชื่อมั่นในตนเองหลังใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ถือว่าผ่านเกณฑ์

4.3 เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ถือว่าผ่านเกณฑ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 528 คน กำลังออนไลน์