การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้ แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 Es) เรื่อง ศึกษาชีวิตพืช กลุ่มสาระ

ชื่อเรื่อง     การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้

แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 Es) เรื่อง ศึกษาชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้รายงาน        นางซูฮานาฟียะห์  มูซอ 

หน่วยงาน        โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนราธิวาส

      อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

ปีที่ศึกษา         พ.ศ. 2562

บทคัดย่อ

 

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 Es) เรื่อง ศึกษาชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัด การเรียนรู้ตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 Es) เรื่อง ศึกษาชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องศึกษาชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 Es) ศึกษาชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนราธิวาส อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส  จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)  

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 Es) เรื่อง ศึกษาชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 8 แผน ใช้เวลาสอน 18 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ศึกษาชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายระหว่าง  0.40 – 0.67 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.27 – 0.73 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.899 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 Es) เรื่อง ศึกษาชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ (E1/ E2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ (E.I) และค่าการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Sample t-test)

 

ผลการศึกษาพบว่า

1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 Es) เรื่อง ศึกษาชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  มีประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 89.38/86.07 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/ 80 ที่ตั้งไว้

2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 Es) เรื่อง ศึกษาชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ 0.74620 โดยก่อนเรียนนักเรียนมีผลรวมคะแนนเท่ากับ 379 คะแนน มีค่าเฉลี่ย 13.54 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.77 ในขณะหลังเรียนนักเรียนมีผลรวมคะแนนสูงขึ้นเท่ากับ 723 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.82 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.89 แสดงว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และนักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนใกล้เคียงกันมากกว่าก่อนเรียน

3) นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 Es) เรื่อง ศึกษาชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001 เมื่อพิจารณารายคนพบว่า นักเรียนทั้ง 28 คน ต่างมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน

4) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 Es) เรื่อง ศึกษาชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ ขั้นที่ 7 ขั้นนำความรู้ไปใช้ ซึ่งเป็นความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (= 4.62,S.D. = 0.52) และมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ ขั้นที่ 6 ขั้นประเมินผล ต่ำที่สุด ซึ่งเป็นความพึงพอใจในระดับมาก  (= 4.38, S.D. = 0.57) และมีความพึงพอใจทั้งหมด โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.51, S.D. = 0.56)

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 664 คน กำลังออนไลน์