การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยอิงแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้

ชื่อเรื่อง          การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถ
                     ในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยอิงแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์                                   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้วิจัย             นางพุธิตา  หอมไกร

ปีการศึกษา      2562

บทคัดย่อ 

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยอิงแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยอิงแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยอิงแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดังนี้ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยอิงแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3.2) เพื่อศึกษาความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยอิงแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยอิงแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา สำนักการศึกษา เทศบาลนครยะลา จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์ข้อมูล จำนวน 1 ฉบับ แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ จำนวน 18 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า

          1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยอิงแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสาร ครูมีความ ต้องการในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์อย่างหลากหลาย

          2. รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยอิงแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีชื่อว่า “TEDSIE Model” (เท็ดซี โมเดล) ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 เร้าความสนใจ (Trigger : T) ขั้นที่ 2 การเข้าสู่ปัญหา นิยามปัญหาและการเรียนรู้ (Encountering Defining the Problem and Learning : E) ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (Data and Collection : D) ขั้นที่ 4 สังเคราะห์ข้อมูลและการฝึกปฏิบัติ (Synthesis and Performance : S) ขั้นที่ 5 ตีความและสรุปผลการเรียนรู้ (Interpreting : I) และขั้นที่ 6 การประเมินผล (Evaluation : E)       โดยมีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.94/83.10 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80                                                                                   

           3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยอิงแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า

              3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยอิงแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนการเรียนรู้เท่ากับ 24.64 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.46 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังการเรียนรู้เท่ากับ 33.24 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.63 มีผลต่างของคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.60

              3.2 ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยอิงแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนการเรียนรู้เท่ากับ 15.52 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.36 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังการเรียนรู้เท่ากับ 25.08 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.50 มีผลต่างของคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.56

           4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยอิงแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1          โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก 

 

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 526 คน กำลังออนไลน์