การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย จากเรื่องราวในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถม

ชื่อเรื่อง          การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย จากเรื่องราวในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านปาตาตีมอ เทศบาลเมืองตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี 

ชื่อผู้วิจัย          นางปราณี  ยูโซะ  ตำแหน่งครู  วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านปาตาตีมอ เทศบาลเมืองตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

ปีที่วิจัย           2560

 

บทคัดย่อ

 

           การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย จากเรื่องราวในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่  2   โดยการวิจัยและพัฒนามี 4 ขั้นตอน  คือ ขั้นตอนที่  1  การวิจัย  (Research:  R) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน(Analysis : A) เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากแหล่งข้อมูลเอกสารและบุคคล  มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดนิยาม  ความสามารถ  พฤติกรรมบ่งชี้ และแนวทางการพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2  ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา  (Development  :  D)  เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย จากเรื่องราวในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่  2   (Design  and Develop : D1 , D2) ขั้นตอนที่  3  การวิจัย  (Research  :  R)  เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย จากเรื่องราวในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (Implement : I) ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา  (Development:  D) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย จากเรื่องราวในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่  2    (Evaluation : E)กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านปาตาตีมอ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองตะลุบัน จังหวัดปัตตานี  จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน ได้แก่  รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน  26 แผน  ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องของหลังสูตร (IOC) ระหว่าง 0.67 – 1.00 แสดงว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย จากเรื่องราวในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีคุณภาพ  มีความเหมาะสมในการนำไปทดลองใช้ 3)  เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน  ได้แก่  แบบทดสอบ การอ่านจับใจความ  แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องของรูปแบบการเรียนการสอน (IOC) ระหว่าง 0.67 – 1.00 ดำเนินการเก็บข้อมูลทุกขั้นตอนด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ (%)  ค่าเฉลี่ย ()  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

          

ผลการวิจัย  พบว่า

               1.  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย จากเรื่องราวในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่  2   ประกอบ 5 ขั้นตอน  ดังนี้ 

              ขั้นที่  1  ขั้นเตรียม

              ขั้นที่  2  ขั้นสอนเป็นกลุ่ม

              ขั้นที่  3  ขั้นตรวจสอบความรู้เป็นคู่ทีม

              ขั้นที่  4  ฝึกเสริมเป็นรายบุคคล

              ขั้นที่  5  การวัดผล  และประเมินผล

               2.  รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย จากเรื่องราวในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่  2  ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด (มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00 - 4.80) และความคิดเห็นของครูต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย จากเรื่องราวในท้องถิ่น  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีผลประเมินโดยรวม  มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  (= 2.70,  S.D.  =  0.47) 

               3.  ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย จากเรื่องราวในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 การทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า คะแนนเต็ม  30 คะแนน นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 12.52 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 41.73 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 24.36 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 81.20 แสดงว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย จากเรื่องราวในท้องถิ่น  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทย จากเรื่องราวในท้องถิ่นเพิ่มขึ้น

              4.  ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้

                1)  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทย จากเรื่องราวในท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า คะแนนเต็ม 30 คะแนน  นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 12.56 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 41.85 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน  24.52 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 81.73  ซึ่งไม่น้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75  ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัย

                2)  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการอ่านจับใจความภาษาไทย จากเรื่องราวในท้องถิ่นที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย จากเรื่องราวในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่  2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 525 คน กำลังออนไลน์