เผยแพร่ผลงานวิชาการ การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึ

ชื่อเรื่อง               การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิด

                          อย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชื่อผู้วิจัย               นางสาวอังคณา  เปียผ่อง

สถานศึกษา           โรงเรียนเทศบาล 3 ชุมชนวัดจันทราวาส   เทศบาลเมืองเพชรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

ปีที่ทำการวิจัย          พ.ศ. 2560

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research  and  Development) โดยมีวัตถุประสงค์  1)  เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและประเมินความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  และ 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 34 คน ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล 3 ชุมชนวัดจันทราวาส  อำเภอเมือง  จังหวัดเพชรบุรี  ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive  Sampling) โดยจัดห้องเรียนของโรงเรียนคละความสามารถของผู้เรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  แบบสอบถามเพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้และความสอดคล้องของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  แบบวิเคราะห์เอกสารข้อมูลพื้นฐาน แบบสัมภาษณ์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความพึงพอใจ  แบบวัดความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบประเมินคุณลักษณะของผู้ที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอนที่เกี่ยวข้องและนักเรียนกลุ่มตัวอย่างต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  แบบประเมินคุณภาพรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content  Analysis) วิเคราะห์เปรียบเทียบ โดยการทดสอบค่า ที (t-test dependent) สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 

สรุปผลการวิจัย

ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สามารถสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ ได้ดังนี้

                1. ผู้บริหาร  ครู และนักเรียนมีความเห็นว่าจำเป็นและต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

2. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก คือ  1) ทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดพื้นฐานของการเรียนการสอน  2)วัตถุประสงค์                           3) กิจกรรมการเรียนรู้  4) แหล่งการเรียนรู้  5) การประเมินการเรียนการสอน  โดยในองค์ประกอบที่ 3 กิจกรรมการเรียนรู้มีขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นกระตุ้นการคิด            ขั้นสำรวจ  ขั้นระดมสมองและไตร่ตรอง  ขั้นอธิบายด้วยเหตุผล  และขั้นสรุปและสะท้อนความคิด  

3. หลังการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้ผลการวิจัยดังนี้

1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยรวมอยู่ในระดับมาก

3) ความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ก่อนและหลังการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน จำแนกเป็นรายด้าน พบว่า หลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกด้าน

4) การประเมินคุณลักษณะของผู้ที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยภาพรวม พบว่าหลังการทดลองนักเรียนมีคุณลักษณะของผู้ที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับสูง

4. ระดับความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอนที่เกี่ยวข้องและนักเรียนต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยภาพรวมทั้งด้านรูปแบบของกิจกรรมการเรียนการสอน  ด้านเนื้อหา และด้านความพึงพอใจ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับความเหมาะสมมาก

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 208 คน กำลังออนไลน์