การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการอ่านเชิงวิเคราะห์ ที่ส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

 

ชื่อเรื่อง           การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการอ่านเชิงวิเคราะห์  ที่ส่งเสริมความพร้อม

                    ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้วิจัย             ราตรี  พิชัยพงค์

ปีที่ศึกษาวิจัย    พ.ศ. 2557

 

                                                                   บทคัดย่อ 

                                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการอ่านเชิงวิเคราะห์           ที่ส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  2) เพื่อประเมินรูปแบบที่สร้างขึ้น  โดยประเมินจากผลการนำไปทดลองใช้ในสภาพการเรียนจริง  เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของผู้เรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบ  เปรียบเทียบความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบ  และศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบ  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา  (Research and Development)  โดยมีแบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research)  ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว  วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest-Posttest Design)  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3  โรงเรียนครบุรี  จังหวัดนครราชสีมา  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2557  จำนวน 40 คน  ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย  รูปแบบการจัดกิจกรรมการอ่านเชิงวิเคราะห์  ที่ส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  แผนการจัดการเรียนรู้  แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์  แบบวัดความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง  แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการอ่านเชิงวิเคราะห์  ที่ส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยค่าทีแบบไม่อิสระ  (t-test dependent)

ผลการวิจัยพบว่า 

1. รูปแบบการจัดกิจกรรมการอ่านเชิงวิเคราะห์  ที่ส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น  มีชื่อเรียกว่า “SPARE model” ประกอบด้วย  หลักการ  วัตถุประสงค์  กระบวนการเรียนการสอน  สาระความรู้และสิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้  ระบบสังคม  หลักการตอบสนอง  สิ่งสนับสนุน  และเงื่อนไขการนำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้  ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน ได้แก่  1) การสำรวจพฤติกรรมการอ่าน (Surveying: S)  2) การวางโครงการเรียน (Planning: P)  3) การเตรียมความพร้อมผู้เรียน (Arranging: A)  4) การปฏิบัติการอ่าน  (Reading: R)  5) การประเมินผลการอ่าน (Evaluating: E) 

2. ผลการประเมินรูปแบบจากผลการนำไปทดลองใช้ในสภาพการเรียนจริง  พบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของกลุ่มตัวอย่าง  หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการอ่านเชิงวิเคราะห์  ที่ส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง  สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ    ที่ระดับ .05  2) คะแนนเฉลี่ยความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของกลุ่มตัวอย่าง  หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการอ่านเชิงวิเคราะห์  ที่ส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง  สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และ 3) ผู้เรียนกลุ่มตัวอย่างมากกว่าร้อยละ 80  เห็นด้วยกับการเรียนตามรูปแบบ  ยกเว้นเรื่องความพอใจที่ไม่ต้องทำตามสิ่งที่ครูบังคับให้ทำ  มีผู้เรียนเห็นด้วยร้อยละ 62.50

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 422 คน กำลังออนไลน์