UN ตั้งเป้าวันสตรีโลกแก้ปัญหาความรุนแรง [7 มี.ค. 52 - 04:40]

รูปภาพของ ssspoonsak

UN ตั้งเป้าวันสตรีโลกแก้ปัญหาความรุนแรง [7 มี.ค. 52 - 04:40]

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อ 5 มี.ค.ว่า นายบัน กี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ประกาศสานต่อโครงการรณรงค์ยุติความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงทั่วโลก เมื่อ 5 มี.ค. โดยมีเป้าหมายลดอัตราการเกิดอาชญากรรมและการทำร้ายผู้หญิงในทุกรูปแบบอย่างน้อย 30% ให้ได้ภายในปี 2558 ขณะที่รายงานสำรวจคุณภาพชีวิตของผู้หญิงทั่วโลกซึ่งเปิดเผยอย่างเป็นทางการในวันที่ 8 มี.ค. ซึ่งตรงกับวันสตรีสากล ระบุ 1 ใน 5 ของผู้หญิงทั่วโลกยังคงเผชิญกับภัยคุกคามในรูปแบบต่างๆ เช่น การข่มขืนและทำร้ายร่างกาย

นอกจากนี้ บันเผยว่า สตรีเพศออกมาเรียกร้องต่อต้านการกดขี่รังแกจากผู้ชายมายาวนาน ส่วนผู้ชายก็เริ่มเห็นความสำคัญในคุณค่าของสตรีและช่วยส่งเสริมสนับสนุนแนวคิด ไม่ทำร้ายผู้หญิงกันมากขึ้นด้วยประโยคกระตุ้นจิตสำนึกว่า สุภาพบุรุษตัวจริงต้องไม่รังแกและต้องเคารพสิทธิของผู้หญิงด้วย

ขณะเดียวกัน เนื้อหาในรายงานประจำปี 2551 ของสหประชาชาติระบุเพิ่มเติมอีกว่า สถิติผู้หญิงทั่วโลกจาก 54 ประเทศที่มีบทบาทสำคัญทางการเมืองมีจำนวนเพิ่มขึ้น 7% จากปี 2538 หรือ 18.3% ของนักการเมืองทั่วโลก รวมทั้งสิ้น 2,656 คน แยกเป็นสตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง 1,707 คน จากการเลือกตั้งทางอ้อม 878 คน และมาจากการแต่งตั้ง 71 คน

ข่าวระบุ สหรัฐฯเป็นประเทศที่มีนักการเมืองหญิงมากที่สุด อันดับรองลงมาคือประเทศในแถบยุโรป ได้แก่ สวีเดน ฟินแลนด์ และเนเธอร์แลนด์ ขณะที่ทวีปเอเชียเป็นภูมิภาคที่มีนักการเมืองหญิงเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดตลอด 15 ปีที่ผ่านมาคิดโดยเฉลี่ย 17.8% แต่ภูมิภาคที่ผู้หญิงมีบทบาททางการเมืองน้อยที่สุดคือกลุ่มประเทศในอาหรับที่ผู้หญิงครองที่นั่งในสภากว่า 9% และหมู่เกาะแปซิฟิกที่มีนักการเมืองหญิงเพิ่มไม่ถึง 4% เพราะจากข้อมูลหลักฐานการเมืองในเนปาลแสดงให้เห็นชัดว่าสตรีมีบทบาททางการเมืองเข้าไปทำหน้าที่ตัวแทนราษฎร 32.8% ตรงข้ามกับสตรีชาวอิหร่านซึ่งได้ที่นั่งเพียง 2.8%

ด้านนายธีโอเบน กูริรับ ประธานสหภาพรัฐสภา (ไอพียู) เผยถึงตัวเลขดังกล่าวเท่ากับว่าความพยายามผลักดันผู้หญิงเข้าไปนั่งทำงานในรัฐสภาให้มากขึ้นครอบคลุม ทั่วโลกนั้นแทบไม่กระเตื้องขึ้นเลย แม้รู้สึกพอใจบ้างโดยเฉพาะประเทศรวันดา ในแอฟริกา ซึ่ง ส.ส.ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง เนื่องจากการจัดสรรโควตา 30% สำหรับที่นั่ง ส.ส.ผู้หญิง อีกทั้งประชากรหญิงม่ายมีจำนวนมากเพราะสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เมื่อปี 2537 ซึ่งส่วนใหญ่ผู้เสียชีวิตเป็นผู้ชาย จึงอยากเห็นสตรีชาวแอฟริกันที่ยังถูกกดขี่สิทธิด้านการเมืองมีโอกาสเข้าไปนั่งทำงานในรัฐสภาให้มากขึ้น อย่างไรก็ดี การเลือกตั้งครั้งแรกในประเทศแองโกลานับแต่ปี 2535 มีผู้หญิงได้เป็น ส.ส.กว่า 30% รวมถึงประเทศโมซัมบิก นามิเบีย แอฟริกาใต้ และแทนซาเนียที่มีนักการเมืองหญิงเพิ่มขึ้นกว่า 25%. 
 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 528 คน กำลังออนไลน์