รายงานการประเมินโครงการพัฒนาการดำเนินงานกิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่ง โรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา

 

ผู้ประเมิน              นางสาวสิทธิวรรณ  บุญยะมาลิก

โรงเรียน                โรงเรียนประทาย   ปีที่พิมพ์  2558

 การประเมินโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ (1)  เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมก่อนการดำเนินงานตามโครงการ (2)  เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นที่มีผลต่อการดำเนินงานตามโครงการ (3)  เพื่อประเมินกระบวนการในการดำเนินงานตามโครงการ (4)  เพื่อประเมินผลผลิตในการดำเนินงานตามโครงการ CIPP MODEL  เป็นรูปแบบในการประเมินกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นครูและนักเรียน โรงเรียนประทาย  ปีการศึกษา  2557  แยกเป็นครูที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการพัฒนาการดำเนินงานกิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่ง  จำนวน  10  คน  ครูผู้สอนจำนวน  97  คน  และนักเรียนจำนวน  341  คน

                   เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า   จำนวน  13  ฉบับ และแบบตรวจสอบรายการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

และ  t – Dependent

 

 

   1. ด้านสภาวะแวดล้อม

                         สภาพการพัฒนาการดำเนินงานกิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนประทาย  ปีการศึกษา   2556  อยู่ในระดับปานกลาง  และมีสิ่งที่จะต้องปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นมี  3  ข้อ คือ มีระบบการกำกับดูแล  ติดตาม  ประเมินผลกิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่ง  มีการให้ขวัญกำลังใจให้แก่นักเรียนในวงดนตรีลูกทุ่งอย่างทั่วถึง  และเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่ง    

 

   2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น

                         โครงการพัฒนาการดำเนินงานกิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนประทาย

จังหวัดนครราชสีมา  เป็นโครงการที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์  สอดคล้องกับความต้องการของบุคลากรในโรงเรียน  และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด  โดยมีปัจจัยเบื้องต้นในการดำเนินงานตามโครงการและวิธีการดำเนินการมีความเหมาะสมมากที่สุด เช่นกัน

 

   3. ด้านกระบวนการ

                         กระบวนการในการดำเนินงานระหว่างดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากและเมื่อ

สิ้นสุดโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

   4. ด้านผลผลิต

                         ผลผลิตของโครงการทำให้อาศัยองค์ประกอบในการพัฒนาการดำเนินงาน

กิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่ง  คือ  ครูผู้สอนและนักเรียนมีความพึงพอใจ ในการดำเนินกิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่ง และกิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่งได้รับรางวัล และจำนวนครั้งในการแสดงในงานต่างๆ ของชุมชนบรรลุเป้าหมายของโครงการ

 

   5. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างการพัฒนาการดำเนินงาน  กิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่ง  โรงเรียนประทาย  ก่อนดำเนินโครงการและหลังดำเนินโครงการ  ก่อนดำเนินการ  อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ  .01

                   สรุปได้ว่า  การประเมินโครงการพัฒนาการดำเนินงานกิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่ง

โรงเรียนประทาย ทำให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านความสามัคคี  และด้านความเสียสละ รู้จักการทำงานเป็นทีม ครูที่รับผิดชอบกิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่ง ได้รับรางวัลหรือเกียรติบัตร และได้รับการพัฒนาตนเองเกี่ยวกับดนตรี  ตลอดจนครูผู้สอนเกิดความภาคภูมิใจ  กิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนประทายได้ให้ความอนุเคราะห์กับชุมชนและท้องถิ่น  มาโดยตลอด  อีกทั้งโรงเรียนได้สร้างชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับจากชุมชนและหน่วยงานต่างๆ  อย่างมากมาย    

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 406 คน กำลังออนไลน์