ผลการเรียนรู้รายวิชาทัศนศิลป์ เรื่องคุณค่างานประติมากรรมและสถาปัตยกรรมในท้องถิ่นโดยวิธีการเรียนรู้แบบโครงงาน ของนักเรียนชั้นม.3

ชื่อเรื่อง :  ผลการเรียนรู้รายวิชาทัศนศิลป์ เรื่องคุณค่างานประติมากรรมและสถาปัตยกรรมในท้องถิ่น    โดยวิธีการเรียนรู้แบบโครงงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดแหลมทราย) อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

ผู้วิจัย  : นายพินิจ บุญช่วย

สถานที่ทำงาน  : โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดแหลมทราย) อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

ปีการศึกษา :  2557

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ( Quasi experimental design ) ชนิด One group pretest-posttest design  เพื่อพัฒนาและศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาทัศนศิลป์ เรื่องคุณค่างานประติมากรรมและสถาปัตยกรรมในท้องถิ่นโดยวิธีการเรียนรู้แบบโครงงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๔ ([บ้านแหลมทราย) อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ก่อนและหลังการสอนโดยวิธีการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล ๔  (บ้านแหลมทราย) อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2557 จำนวน 35 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  1) ชุดการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์ เรื่องคุณค่างานประติมากรรมและสถาปัตยกรรมในท้องถิ่นโดยวิธีการเรียนรู้แบบโครงงาน ที่พัฒนาขึ้นผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80                       2)แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาทัศนศิลป์ เรื่องคุณค่างานประติมากรรมและสถาปัตยกรรมในท้องถิ่น 3)แบบประเมินทักษะการแสดงคุณค่างานทัศนศิลป์ และ 4)แบบประเมินความพึงพอใจในการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์ เรื่องคุณค่างานประติมากรรมและสถาปัตยกรรมในท้องถิ่นโดยวิธีการเรียนรู้แบบโครงงาน ดำเนินการวิจัยโดยใช้ชุดการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์ เรื่องคุณค่างานประติมากรรมและสถาปัตยกรรมในท้องถิ่นโดยวิธีการเรียนรู้แบบโครงงาน 14 ครั้ง ๆ ละ 50 นาที โดยทำการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาทัศนศิลป์ เรื่องคุณค่างานประติมากรรมและสถาปัตยกรรมในท้องถิ่น ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบทดสอบชุดเดียวกัน รวมทั้งประเมินทักษะการแสดงคุณค่างานทัศนศิลป์และความพึงพอใจในการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์ เรื่องคุณค่างานประติมากรรมและสถาปัตยกรรมในท้องถิ่นโดยวิธีการเรียนรู้แบบโครงงาน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติทดสอบค่าที (Dependent t-test) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ โดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

ผลการวิจัยพบว่า

   1. ชุดการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์ เรื่องคุณค่างานประติมากรรมและสถาปัตยกรรมในท้องถิ่นโดยวิธีการเรียนรู้แบบโครงงานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 80/80 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

   2. การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่วางไว้ โดยคะแนนเฉลี่ยภายหลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้

   3. ทักษะการแสดงคุณค่างานทัศนศิลป์ภายหลังการจัดการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์ เรื่อง คุณค่างานประติมากรรมและสถาปัตยกรรมในท้องถิ่นโดยวิธีการเรียนรู้แบบโครงงาน อยู่ในระดับ ดี 4. ความพึงพอใจในการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์ เรื่องคุณค่างานประติมากรรมและสถาปัตยกรรมในท้องถิ่นโดยวิธีการเรียนรู้แบบโครงงานภายหลังการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับ มากที่สุด

ข้อเสนอแนะ : ควรศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ในการจัดการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์ และศิลปศึกษาอื่น ๆ

คำสำคัญ : การเรียนรู้แบบโครงงาน คุณค่างานประติมากรรมและสถาปัตยกรรมในท้องถิ่น​

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 438 คน กำลังออนไลน์