ระบบนิเวศ

 
ห่วงโซ่อาหาร  คือการกินต่อกันเป็นทอดๆของสิ่งมีชีวิต      พืชและสัตว์จำเป็นต้องได้รับพลังงานเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต  โดยพืชจะได้รับพลังงานจากแสงของดวงอาทิตย์โดยใช้รงควัตถุสีเขียวที่เรียกว่า คลอโรฟิลล์ (chlorophyll) เป็นตัวดูดกลืนพลังงานแสงเพื่อนำมาใช้ในการสร้างอาหาร  เช่น  กลูโคส  แป้ง   ไขมัน  โปรตีน     สำหรับสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้  จำเป็นต้องได้รับพลังงานจากการบริโภคสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร สัตว์จึงถือว่าเป็นผู้บริโภค (consumer) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น          Ø  ผู้บริโภคลำดับหนึ่ง (primary consumer) หมายถึง  สัตว์ที่กินผู้ผลิต          Ø  ผู้บริโภคลำดับสอง (secondary consumer) หมายถึง สัตว์ที่กินผู้บริโภคลำดับที่หนึ่ง          Ø  ผู้บริโภคลำดับสูงสุด (top consumer) หมายถึง  สัตว์ที่อยู่ปลายสุดของห่วงโซ่อาหาร  ซึ่งไม่มีสิ่งมีชีวิตชนิดใดมากินต่อ  อาจเรียกว่า  ผู้บริโภคลำดับสุดท้าย( ยุพา  วรยศและคณะ.  2548 : 70 )
 
สายใยอาหาร            ในกลุ่มสิ่งมีชีวิตหนึ่งๆ ห่วงโซ่อาหารไม่ได้ดำเนินไปอย่างอิสระแต่ละห่วงโซ่อาหาร  อาจมีความสัมพันธ์กับห่วงโซ่อื่นอีก โดยเป็นความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อน  เช่น สิ่งมีชีวิตหนึ่ง  ในห่วงโซ่อาหารหนึ่ง  อาจเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งในห่วงโซ่อาหารอื่นก็ได้   เราเรียกลักษณะห่วงโซ่อาหารหลายๆห่วงโซ่ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างสลับซับซ้อนว่า  สายใยอาหาร       สายใยอาหารของกลุ่มสิ่งมีชีวิตใดที่มีความสลับซับซ้อนมาก แสดงว่าผู้บริโภคลำดับที่  2   และลำดับที่  3  มีทางเลือกในการกินอาหารได้หลายทาง  มีผลทำให้กลุ่มสิ่งมีชีวิตนั้นมีความมั่นคงในการดำรงชีวิตมากตามไปด้วย (ยุพา  วรยศและคณะ.  2548 : 71)
จากห่วงโซ่อาหารสู่สายใยอาหาร         ดวงอาทิตย์เป็นจุดเริ่มต้น ของห่วงโซ่อาหารในแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อาหารนี้  เมื่อเชื่อมโยง ห่วงโซ่อาหารข้าด้วนกัน จะเกิดเป็นสายใยอาหาร สิ่งมีชีวิตในสายใยอาหารซึ้งเรียกว่าผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ (decomposer) จะเป็นผู้ก่อให้เกิดการหมุนเวียน ของแร่ธาตุที่สำคัญ โดยทำให้ซากสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นซากพืชหรือซากสัตว์ เน่าเปื่อย ผุพังสลายตัว กลายเป็นปุ๋ยของพืชต่อไป  (คมกริช  บุตรอุดมและคณะ.  2550 )

 

 
พีระมิดการถ่ายทอดพลังงาน          นอกจากการถ่ายทอดพลังงานจะนำเสนอในรูปของแผนภาพห่วงโซ่อาหารแล้ว   ยังสามารถนำเสนอในรูปของพีระมิดอาหาร (food pyramid) ได้อีกด้วยการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ  พลังงานจะลดลงตามลำดับ  และเมื่อพิจารณาจำนวนและมวล ผู้ผลิตและผู้บริโภค ลำดับต่าง ๆจะมีจำนวนลดลงตามลำดับเช่นกันพีระมิดแบ่งเป็น  3  แบบคือ
1.  พีระมิดจำนวนของสิ่งมีชีวิต (pyramid of number) แสดงจำนวนสิ่งมีชีวิตเป็นหน่วยตัวต่อพื้นที่โดยทั่วไปพีระมิดจะมีฐานกว้าง  ซึ่งหมายถึง มีจำนวนผู้ผลิตมากที่สุด และจำนวน ผู้บริโภคลำดับต่างๆ ลดลงมา แต่การวัดปริมาณพลังงานโดยวิธีนี้ อาจมีความคลาดเคลื่อนได้เนื่องจากสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นเซลล์เดียว หรือหลายเซลล์ ขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่  เช่น ไส้เดือน จะนับเป็นหนึ่งเหมือนกันหมด แต่ความเป็นจริงนั้นในแง่ปริมาณพลังงานที่ได้รับหรืออาหารที่ผู้บริโภคได้รับจะมากกว่าหลายเท่า  ดังนั้นจึงมีการพัฒนารูปแบบในรูปของพีระมิดมวลของสิ่งมีชีวิต ใช้จำนวนของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศนั้นๆ มาสร้างพีระมิด มีหน่วยเป็นจำนวนต่อตารางเมตร วัดได้ด้วยวิธีการนับ (ไวยุด๊ะ เหตุเหล๊าะ.  2550)
2. พีระมิดมวลของสิ่งมีชีวิต (pyramid of mass) โดยพีระมิดนี้แสดงปริมาณของสิ่งมีชีวิตในแต่ละลำดับขั้นของการกินโดยใช้มวลรวมของน้ำหนักแห้ง (dry weight) ของสิ่งมีชีวิตต่อพื้นที่แทนการนับจำนวนพีระมิดแบบนี้มีความแม่นยำมากกว่าแบบที่  1 แต่ในความเป็นจริงจำนวนหรือมวล ของสิ่งมีชีวิต มีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา เช่น ตามฤดูกาลหรือ ตามอัตราการเจริญเติบโต ปัจจัยเหล่านี้ จึงเป็นตัวแปรที่สำคัญ ถึงแม้มีมวลที่มากขึ้น  เช่น  ต้นไม้ใหญ่จะผลิตเป็นสารอาหารของผู้บริโภคได้มากแต่ก็ยังน้อยกว่าที่ผู้บริโภคได้จาก สิ่งมีชีวิตเล็กๆ  เช่น  สาหร่ายหรือแพลงก์ตอน ทั้งๆที่มวล หรือ ปริมาณของสาหร่ายหรือแพลงก์ตอนน้อยกว่ามาก ดังนั้น จึงมีการพัฒนาแนวความคิดในการแก้ปัญหานี้ โดยในการเสนอรูปของพีรามิดพลังงาน (pyramid of energy)  (ไวยุด๊ะ เหตุเหล๊าะ .  2550)
 3.   พีระมิดพลังงาน (Pyramid of Energy) เป็นพีระมิดที่เปรียบเทียบสัดส่วนโดยใช้พลังงานที่เก็บสะสมไว้ในสิ่งมีชีวิตแต่ละระดับ ซึ่งสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จะใช้พลังงานไม่ถึง  20%   ของพลังงานที่มันได้รับยิ่งระดับการบริโภคยิ่งมาก พลังงานที่ถูกถ่ายทอดจะยิ่งน้อยลง การเขียนพีระมิดชนิดนี้จะมีหน่วยเป็นแคลอรีต่อพื้นที่ โดยทั่วไปพีระมิดพลังงานจะมีฐานใหญ่  ปลายเรียว   (สถาพร วรรณธนวิจารณ์ และคณะ.  2550) 
สร้างโดย: 
นางดรุณี เสมอภาค และ เด็กชายจารุวัฒน์ อสิพงษ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 512 คน กำลังออนไลน์