รายงานการพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ โดยนางสุนีรัตน์ สุดสงค์

ชื่อเรื่อง       รายงานการพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ยาศาสตร์ียนการสอนวิทยาศาสตร์                         
                     เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1                         โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ผู้ศึกษา         นางสุนีรัตน์  สุดสงค์หน่วยงาน    โรงเรียนบางชัน(ปลื้มวิทยานุสรณ์)             ปีที่พิมพ์       2554            บทคัดย่อ            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่อง  แรงและการเคลื่อนที่  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้   ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  75/75 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้  3)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 4)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้  5) เพื่อศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6โรงเรียนบางชัน(ปลื้มวิทยานุสรณ์) สำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2554  จำนวน 39  คน  ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive  Sampling)  รูปแบบการศึกษาเป็นการศึกษาที่ยังไม่เข้าขั้นการทดลอง(Pre Experimental Design)  ที่มีการทดสอบก่อนและทดสอบหลังการทดลอง (One group pretest-posttest design) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ จำนวน 15 แผน 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง      การเรียน  เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่  เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ  4  ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ         3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้          4)  แบบวัดวัดจิตวิทยาศาสตร์  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  ค่าดัชนี ประสิทธิผล    มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ  อนบบสืบเสาะหาความรู้  มีและการทดสอบที (t-test)ของนักเรียน              ผลการศึกษา พบว่า               1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้    มีประสิทธิภาพ  83.03/82.37  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้  คือ  75/75  2) แผนการจัดการเรียนรู้มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7502 คิดเป็นร้อยละ75.02 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน               ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้รูปและการเรียนการสอนแบบแบบสืบเสาะหาความรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 (ค่า t = 35.76) 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.07)  เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน ทุกด้านอยู่ในระดับมาก  เรียงลำดับ ดังนี้ ด้านคุณภาพของครูผู้สอน( =4.12) ด้านการปฏิบัติงาน ( =4.11) ด้านกระบวนการเรียนการสอน ( =4.08)  ด้านเนื้อหา  (  = 4.05)  และด้านการวัดและประเมินผล ( = 3.97)  5) คุณลักษณะด้านจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนอยู่ในระดับมาก  การประเมินโดยครูนั้น คุณลักษณะความสนใจใฝ่รู้  มีระดับพฤติกรรมการแสดงออกมากที่สุด การประเมินโดยเพื่อนความมีเหตุผล มีระดับพฤติกรรมการแสดงออกมากที่สุด และการประเมินโดยตนเอง ความสนใจใฝ่รู้  และการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์  มีระดับพฤติกรรมการแสดงออกมากที่สุด            

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 411 คน กำลังออนไลน์