พระราชประวัติรัชกาลที่ ๖

                                                   

         พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ (สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี) ทรงพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ.2423 ได้รับพระราชทานพระนามว่า สมเด็จเจ้าฟ้าวชิราวุธ เมื่อทรงพระเยาว์ได้ศึกษาวิชาหนังสือไทยกับพระยาศรีสุนทรโวหาร เพิ่งได้พระชนมายุได้ 13 พรรษา เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ในสาขาประวัติศาสตร์, รัฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, กฎหมาย และวรรณคดี ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด และวิชาทหารบกที่โรงเรียนแซนด์เฮิสต์รวม 9 ปี

                                                        

                                ที่มารูปภาพ  :  http://www.thaigoodview.com/files/u19301/6.jpg

         พระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2453 ขณะนั้นมีพระชนมายุได้ 31 พรรษา ตลอดรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจทำนุบำรุงประเทศชาติในด้านการปกครอง, การทหาร, การศึกษา, การสาธารณสุข, การคมนาคม และการศาสนา โดยเฉพาะทางวรรณคดีทรงพระราชนิพนธ์ทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรอง ประมาณ 200 เรื่อง ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ ประชาชนจึงถวายพระสมญาแด่พระองค์ว่า “มหาธีรราชเจ้า” ทรงอยู่ในราชสมบัติเพียง 16 ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2468 พระชนมายุ 46 พรรษา แต่เนื่องด้วยพระราชกรณียกิจของพระองค์ ทำให้เกิดคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองอย่างใหญ่หลวง รัฐบาลกับประชาชนจึงร่วมใจกันสร้างพระบรมรูปของพระองค์ประดิษฐานไว้ที่สวนลุมพินี และคณะลูกเสือแห่งชาติ ร่วมด้วยคณะลูกเสือทั่วราชอาณาจักร ได้สร้างพระบรมรูปของพระองค์ประดิษฐานไว้หน้าค่ายลูกเสือวชิราวุธ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี


         ในระยะที่มีการก่อตั้งลูกเสือขึ้นในโลกนั้น ประเทศไทยตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 สถานการณ์ของโลกในขณะนั้นกำลังทวีความคับขัน อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกเริ่มไหลเข้าสู่เมืองไทย พร้อมกับการแพร่ระบาดของระบอบมหาชนรัฐ และภัยของชาติไทยก็คือ การถูกรุกเงียบ แต่ด้วยพระปรีชาญาณของสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า พระองค์ทรงเล็งเห็นการณ์ไกล จึงทรงมีพระราชดำริว่า "การลูกเสืออันสืบเนื่องมาแต่งานปลุกชาติทางตรงนั้น หากได้นำมาปรับปรุงใช้ให้เหมาะสมกับเด็กไทยก็จะเป็นคุณประโยชน์อันใหญ่หลวงแก่ชาติบ้านเมือง" ทรงมั่นพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง พร้อมทั้งทรงประกอบด้วยความกล้าหาญฝ่าอุปสรรคทั้งปวง เป็นต้นว่าคำตำหนิติเตียนอันเกิดจากประชาชนที่ยังไม่เข้าใจวัตถุประสงค์และกิจการลูกเสือดีพอ ทำให้มีอุปสรรคเกิดขึ้นมาก ที่เห็นได้ชัดดังเช่นผู้ปกครองเด็กโดยมากไม่ใคร่เต็มใจยินยอมให้เด็กของตนสมัครเข้าเป็นลูกเสือ โดยเข้าใจไปว่าการลูกเสือ คือ การเป็นทหารนั่นเอง ประกอบทั้งการลูกเสือต้องเป็นการเสียสละด้วยความเต็มใจ จึงเป็นการลำบากอยู่มากในชั้นแรก พระองค์ได้ดำเนินกุศโลบาย โดยได้ทรงพระอุตสาหะจัดตั้ง “กองเสือป่า” ขึ้นก่อน เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2454 ทรงฝึกพวกผู้ใหญ่(ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ) เรียกว่า พวกพ่อเสือ ด้วยพระองค์เอง โปรดเกล้าฯให้มีการซ้อมรบและฝึกซ้อมกลยุทธต่างๆตามหลักวิชาการทหาร ด้วยทรงเล็งเห็นว่า ประเทศจะดำรงคงอิสรภาพอยู่ได้ก็ด้วยประชาชนทั้งหลายรักประเทศ ต่อมาได้ทรงพระราชดำริว่า กองเสือป่าได้ตั้งขึ้นเป็นหลักฐานแล้ว พอที่จะหวังได้ว่าจะเป็นผลดี แต่ผู้ที่จะเป็นเสือป่านั้น ต้องนับว่าเป็นผู้ใหญ่แล้ว

         ฝ่ายเด็กผู้ชายที่ยังอยู่ในวัยเด็ก ก็เป็นผู้ที่สมควรได้รับการฝึกฝนทั้งในส่วนร่างกายและจิตใจ ให้มีความรู้ทางเสือป่า เพื่อว่าโตขึ้นจะได้รู้จักหน้าที่ผู้ชายไทยทุกคนควรประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองอันเป็นบ้านเมืองเกิดเมืองนอนของตน และการฝึกฝนปลุกใจให้คิดถูกเช่นนี้ ต้องรีบฝึกฝนเสียตั้งแต่ยังเยาว์ เปรียบเหมือนไม้ที่ยังอ่อน จะดัดให้เป็นรูปอย่างไรก็เป็นไปได้โดยง่ายและงดงาม แต่ถ้ารอไว้จนแก่เสียแล้ว เมื่อจะดัดต้องเข้าไฟและมักจะหักจะมิได้ในขณะที่ดัด ดังนี้ฉันใดสันดานคนก็ฉันนั้น เมื่อมีพระราชดำริดังนี้แล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองลูกเสือขึ้นตามโรงเรียนและสถานที่อันสมควร และโปรดเกล้าฯให้มีกำหนดข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือขึ้นไว้ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2454 พระราชประสงค์ที่ได้คิดจัดให้มีลูกเสือขึ้นนั้น ก็โดยปรารถนาที่จะให้เด็กไทยได้ศึกษาและจดจำข้อสำคัญ 3 ประการคือ
   1.ความจงรักภักดีต่อผู้ทรงดำรงรัฐสีมาอาณาจักรโดยต้องตามนิติธรรมประเพณี
   2.ความรักชาติ บ้านเมืองและนับถือพระศาสนา
   3.ความสามัคคีในคณะ และไม่ทำลายซึ่งกันและกัน
ซึ่งทั้ง 3 ประการนี้เป็นรากฐานแห่งความมั่นคงที่จะนำให้ชาติดำรงอยู่เป็นไทยได้สมนา


         กองลูกเสือของประเทศไทยที่ตั้งขึ้น นับได้เป็นลำดับที่ 3 ของประเทศที่มีการลูกเสือในโลก และกองลูกเสือกองแรกตั้งขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน) ลูกเสือคนแรก คือ นายชัพน์ บุนนาค นักเรียนโรงเรียนมหาดเล็กหลวง

                                                             

ที่มารูปภาพ : http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSDCiLH_DJF7IIyCNtNuolH4o3lT3qtXHSLaLZW3INpQj3LXOaJ

         ซึ่งถือได้ว่าแต่งเครื่องแบบลูกเสือเป็นคนแรก และ เป็นผู้ที่ได้กล่าวคำปฏิญาณของลูกเสือเป็นคนแรก โดยพระองค์ท่านได้มีพระราชโองการว่า “อ้ายชัพน์ เอ็งเป็นลูกเสือแล้ว” ต่อมากิจการลูกเสือก็ได้แพร่หลายไปยังท้องถิ่นต่างๆในประเทศไทย

                                หน้าหลัก                          ประวัติและโครงสร้างของการลูกเสือไทย

สร้างโดย: 
นางสาวกัลยารัตน์ เมธีวีรวงศ์ และ นางสาวอัมพิรา รักสัตย์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 360 คน กำลังออนไลน์