ที่มาของสำนวนสุภาษิตจีน
ที่มา
สำนวน 成语ทั่วไปประกอบด้วยคำ 4 คำ ทุกคำเป็นหน่วยภาษาที่ใหญ่กว่าหน่วยคำ และมีความหมายในตัวที่นำมาใช้ได้อย่างอิสระ อีกทั้งยอมรับและใช้กันมายาวนาน
ที่มาของสำนวน
2.1 นิทาน 寓言故事 (Yùyán gùshì),典故 (Diǎngù)
เช่น 刻舟求剑 (Kèzhōuqiújiàn) มาจากนิทานเรื่อง(吕氏春秋 . 察今)(Lǚ shì chūnqiū. Chá jīn) ชายคนหนึ่งในแคว้นฉู่ทำกระบี่ตกลงในน้ำขณะข้ามเรือ จึงทำเครื่องหมายเอาไว้ที่เรือ พอถึงท่าก็ลงงมตรงที่ที่ทำเครื่องหมายไว้ ใช้หมายถึง การกระทำที่ไม่ปรับเปลี่ยนตามสภาพความเป็นจริง
2.2 ตำนานประวัติศาสตร์ เช่น 四面楚歌 (Sìmiànchǔgē) มาจากประวัติศาสตร์เรื่อง 史记 (Shǐjì.) . 项羽本纪 (Xiàngyǔ běnjì) ใช้หมายถึงการถูกล้อมจากทุกด้านหรือตกในวงล้อมศัตรู โดยที่คนฝ่ายตนก็แปรพักตร์ไปด้วย
2.3 จากถ้อยคำในหนังสือโบราณ เช่น 水落石出 (Shuǐluòshíchū) มาจากหนังสือ 赤壁赋 (Chìbì fù) ซึ่งมีใจความว่า 山高越小,水落石出 (Shāngāo yuè xiǎo, shuǐluòshíchū) สำนวนนี้แปลว่าการเปิดเผยความจริงให้ปรากฎ สำนวนไทยน้ำลดตอผุดก็ใกล้เคียวกับสำนวนนี้ แต่ว่าของไทยจะออกไปในแง่ลบ
2.4 ดัดแปลงจากภาษาพูด เช่น 粗心大意(Cūxīn dàyì) ประมาทเลินเล่อ、七零八落 (Qī líng bā luò) เศษเล็กเศษน้อย สับสนอลหม่าน
ประโยชน์ของสุภาษิต
สุภาษิตจีน เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติจีน แต่สามารถนำมาผสมผสานกับสังคมไทยได้ ช่วยให้สภาพจิตใจดี หนักแน่น มั่นคง สามารถนำมาเป็นกำลังใจให้ชีวิต นำมาสร้างสรรค์ในการสนทนาและอาจทำให้เราเป็นจุดสนใจในกลุ่มได้ คำคมคายประโยคเดียว สามารถทำให้คนที่ได้ยินได้ฟัง ประทับใจและทำให้เกิดแสงสว่างได้ โดยที่เราอาจคิดไม่ถึง