สำหรับนักเรียนที่ซ่อมวิชาประวัติศาสตร์ ส32102

รูปภาพของ nsspramote

ให้นักเรียนปฏิบัติดังนี้ จำนวน 18 คน ภายในวันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม 2553 เวลา 09.09น.

 1. ส่งสมุดและต้องให้ครบทั้ง 5 เรื่อง

2. ให้ตอบงานที่มอบหมายให้ครบทั้ง 5 ครั้ง

3. ให้ตอบในหน้านี้เท่านั้น ตามกติกาที่ตกลงกันไว้คือ - มีรูปตัวเอง -มีชื่อnssตามด้วยเลขประจำตัวเช่น nss12345 หรือ nss.12345 หรือ nss 12345 เท่านั้น

งานครั้ังที่ 1 การปฏิวัติวิทยาศาสตร์

งานครั้งที่2 การปฏิวัติอุตสาหกรรม

งานครั้งที่3 สงครามเย็น

งานครั้งที่4 ปัญหาตะวันออกกลาง

งานครั้งที่5 เหตุการณ์สำคัญที่มีผลกระทบต่อโลกและมนุษยชาติ

รูปภาพของ nss.37395

นาย อภิวัฒน์ อัคะษร ม.5/5 เลขที่ 3

เหตุการณ์สำคัญที่มีผลกระทบต่อโลกและมนุษยชาติ  

1. การสะสมการพัฒนาและการลดอาวุธนิวเคลียร์  

ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จในการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ ในวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 สหรัฐอเมริกาได้ทดลองระเบิดปรมาณูลูกแรกในรัฐนิวเม็กซิโกประสบความสำเร็จ  ผลจากการที่สหรัฐอเมริกาทดลองระเบิดปรมาณูนิวเคลียร์สำเร็จก็คือโลกต้องเข้าสู่ยุคแห่งความน่าสะพรึงกลัวของระเบิดนิวเคลียร์ ประเทศแรกที่ประสบความหายนะจากอาวุธนิวเคลียร์คือ ญี่ปุ่น ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดปรมาณูนิวเคลียร์เหนือเมืองฮิโรชิมา ในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ผลของระเบิดมีความร้ายแรงมาก กล่าวคือ ความร้อนจากการระเบิดได้เผาผลาญประชาชนที่อยู่ในรัศมี 1.2 กิโลเมตรจนเสียชีวิต และประชาชนที่อยู่ในรัศมี 4 กิโลเมตรได้รับความร้อนจนบาดเจ็บสาหัส ส่วนพื้นที่ของเมืองฮิโรชิมาก็ถูกเพลิงไหม้เป็นบริเวณกว้าง ประชาชนของเมืองฮิโรชิมามากกว่า 8 หมื่นคนเสียชีวิต และระเบิดลูกดังกล่าวยังได้แผ่กัมมันตรังภาพรังสีซึ่งมีอันตรายออกมาในปริมาณมหาศาล ส่งผลข้างเคียงแก่ประชาชนที่ยังรอดชีวิตจากเปลวเพลิงนิวเคลียร์ให้ได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคมะเร็งและโรคร้ายอื่นๆ รวมถึงอาการผิดปกติทางร่างกานที่ถ่ายทอดทางพันุกรรมด้ว    2.การปฏิรูปประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีน(นโยบายสี่ทันสมัยของเติ้ง เสี่ยวผิง  

ใน ค.ศ.1976 เหมาเจ๋อตง (Mao Zedong) ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนถึงแก่อสัญกรรม กลุ่มการเมืองที่ได้รับการสนับสนุนจากเหมา เจ๋อตง ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติวัฒนะธรรม (ค.ศ.1966-1976)  หมดอำนาจลง  และบางคนถูกจับกุมดำเนินคดีข้อหาอาชญากรรม อั่ว กว๋อเฟิง (Hua Guafeng)   ประธานพรรคคอมมิวนิสต์ ทายาททางการเมืองของเหมา เจ๋อตงได้ดำเนินนโยบายตามเหมา เจ๋อตง  คือ ดำเนินนโยบายแบบสังคมนิยมต่อไป แต่อย่างไรก็ตามหลังจากที่เติ้ง เสี่ยวผิง (Deng Xiaoping) กลับเข้ามามีบทบาทในพรรค  ฮั่ว กว๋อเฟิง ก็ถูกลดอำนาจลงเนื่องจากการกลับเข้ารับตำแหน่งในคณะกรรมการกลางของสมาชิกพรรคอาวุโส ซึ่งเคยได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ณ์การปฏิวัติวัฒนธรรม  คณะกรรมการพรรคชุดใหม่จึงหันไปสนับสนุน เติ้ง เสี่ยวผิง  ซึ่งเท่ากับว่าเติ้ง เสี่ยวผิง  สามารถกุมอำนาจในคณะกรรมการลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีนไว้ได้ ในที่สุด  ช่วง ค.ศ. 1980  ฮั่ว กว๋อเฟิงได้ลาออกจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์เนื่องจากมีข้อขัดแจ้งกับสมาชิกของพรรคในเรื่องการปฏิวัติวัฒนธรรม ส่วนตำแหน่งนายยกรัฐมนตรี ฮั่ว กว๋อเฟิงได้พ้นจากตำแหน่งไปก่อนหน้านี้แล้ว  โดยมีจ้าว จื่อหยาง (Zhao Ziyang)  ที่เติ้ง เสี่ยวผิงสนับสนุน  ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน  ดังนั้น  อำนาจของกลุ่มนิยมลัทธิเหมาจึงถูกลิดรอนลงโดยเติ้ง เสี่ยวผิงด้วยวิธีการละมุนละม่อม  เติ้ง เสี่ยวผิงได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรค   นอกจากการถูกลิดรอนอำนาจของกลุ่มนิยมลัทธิเหมาแล้ว รัฐบาลจีนภายใต้การปกครองของเติ้ง เสี่ยวผิงได้พยายามลดอิทธิพลของลัทธิเหมาในหมู่ประชาชน  โดยโจมตีประเด็นเรื่องแนวความคิดการปฏิวัติทางชนชั้น การพัฒนาเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมว่าไม่สามารถทำให้ประชาชนมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้นและยังทำให้ประเทศจีนล้าหลัง 

รูปภาพของ nss.37395

 นาย อภิวัฒน์ อัคะษร ม.5/5 เลขที่ 3

ปัญหาตะวันออกกลาง

 1. สาเหตุความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง -ความแตกต่างด้านเชื้อชาติ ภูมิภาค ตะวันออกกลางเป็นดินแดนที่มีหลากหลายเชื้อชาติมาตั้งแต่อดีตเชื้อชาติสำคัญๆ ในดินแดนแถบนี้ คือ อาหรับ เปอร์เซีย เติร์ก ที่เหลือเป็น เคิร์ด ยิว และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ -ความขัดแย้งทางศาสนา ดินแดนภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นแหล่งกำเนิดศาสนาสำคัญของโลกถึง3 ศาสนา คือ ศาสนายิว คริสต์ศาสนา และศาสนาอิสลาม ในสมัยจักรวรรดิอาหรับศาสนาต่างๆสามารถอยู่ด้วยกันได้อย่างสันติแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 เกิดสงครามระหง่างศาสนาคริสต์กับศาสนราอิสลามในดินแดนปาเลสไตน์ หลังจากพวกออตโตมันเติร์กเข้ายึดครองดินแดนตะวันออกกลาง ความขัดแย้งทางศาสนาก็ลดลงจนเมื่อลัทธิชาตินิยมแพร่หลายเข้ามาในดินแดนตะวันออกกลางในช่วงปลายคริสต์ ศตวรรษที่ 19 ชาวอาหรับได้เอาศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ขณะที่ชาวยิวที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศอิสราเอลที่นับถือศาสนายิว ส่วนชาวเลบานอนนับถือศาสนาคริสต์ทำให้เกิดเป็นปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาขึ้นอีก นอกจากนี้ชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีก็มีข้อขัดแย้งกับชาว เปอร์เซียทีนับถือนิกายชีอะฮ์ด้วย -ความแตกต่างในระบอบการเมืองการปกครองประเทศ ต่างๆในภูมิภาคตะวันออกกลางมีระบอบปกครองที่แตกต่างกัน บางประเทศปกครองในระบอบกษัตริย์ เช่น ซาอุดิอาระเบีย จอร์แดน คูเวต บางประเทศปกครองในระบบเผด็จการ เช่น อิรักลิเบีย บางประเทศปกครองในระบอบประชาธิปไตย เช่น อิสราเอล ตุรกี เป็นต้นหรือโดยบางประเทศปกครองโดยในระบอบศาสนาอิสลาม สาธารณรัฐอิสลามเช่นสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน เป็นต้น ความแตกต่างทางด้านระบอบการปกครองทำให้รัฐบาลประเทศต่างๆมีความไม่ไว้ว่างใจซึ่งกันและกัน ตัวอย่างเช่นรัฐบาลประเทศต่างๆมีความหวาดระแวงในรัฐบาลของอิหร่านซึ่งปกครองโดนการปฏิวัติอิสลามว่าจะเผยพี่อุดมการณ์ปฏิวัติอิสลามเข้ามาในประเทศ -ความแตกต่างทางด้านเศรษฐกิจ ประ เทศต่างๆในภูมิภาคตะวันออกกลางมีฐานะไม่เท่าเทียมกันทางด้านเศรษฐกิจเนื่องจากแต่ละประเทศมีปริมาณน้ำมันสำรองงบเท่ากันบางประเทศมีปริมาณน้ำมันสำรองมาก เช่น ซาอุดิอาระเบีย คูเวต อิหร่าน เป็นต้นบางประเทศไม่มีน้ำมัน เช่น อิสราเอล จอร์แดน เลบานอน ทรัพยากรน้ำมันจึงกลายเป็นสาเหตุของความขัดแย้งเช่น กรณีสงครามระหว่างอิรักกับอิกร่านซึ่งอิรักเข้ารุกรานอิหร่านก็เนื่องจากต้องการยึดครองบ่อน้ำมันของอิหร่าน -การแทรกแซงของชาติมหาอำนาจ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 20ชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวีตต่างเข้าแทรกแซงดินแดนภูมิภาคตะวันออกกลางโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ทางด้านการฑุต ทางการเมือ เศรษฐกิจ และการทหาร

 

รูปภาพของ nss.37395

 นาย อภิวัฒน์  อัคะษร ม.5/5 เลขที่ 3

 สงครามเย็น

ความหมายของส่งครามเย็น  

สงครามเย็นคือลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ช่วง ค.ศ.1945-1991 ที่กลุ่มประเทศโลกเสรีและกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ ต่างพยายามต่อสู้โดยวิธีการต่างๆ ยกเว้นการทำสงครามกันโดยเปิดเผย เพื่อขัดขวางการขยายอำนาจของกันและกัน

2.สาเหตุของสงครามเย็น

สาเหตุของสงครามเย็นเกิดจากการแข่งขันกันของประเทศอภิมหาอำนาจจากประเสบการณ์ที่ผ่านมาในสงครามโลกทั้งสองครั้ง ทำให้สหรัฐอเมริกาเสียหายน้อยกว่าประเทศคู่สงครามในยุโรป ทั้งยังเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสูง และเป็นประเทศแรกที่สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีความรู้สึกว่าตนเป็นตำรวจโลกเพื่อพิทักษ์ไว้ซึ่งวิถีทางประชาธิปไตยและเสรีภาพ ส่วนสหภาพโซเวียตฟื้นตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างรวดเร็ว เพราะพื้นที่กว้างใหญ่ มีทรัพยากรธรรมชาติมาก สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้สำเร็จ สหภาพโซเวียตต้องการเป็นผู้นำในการปฏิวัติโลกเพื่อสถาปนาระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ตามแนวคิดของมาร์กซ์ขึ้น ดังนั้น ทั้งสองอภิมหาอำนาจจึงใช้ความช่วยเหลือที่ให้แก่ประเทศต่างๆ เป็นเครื่องมือในการขยายอิทธิพล อำนาจ และอุดมการณ์ของตน เพื่อหาประเทศที่มีอุดมการณ์คล้ายคลึงกันมาเป็นเครื่องถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายตรงข้าม

3.ความขัดแย้งของชาติมหาอำนาจในยุคสงครามเย็น

อำนาจในการต่อรองการให้ความคุ้มครองเหนือดินแดน รวมทั้งการป้องกันประเทศให้คงความเป็นปึกแผ่นนั้น หลายประเทศทั่วโลกยังคงให้ความสำคัญต่อแสนยานุภาพทางการทหาร ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้หลายประเทศยอมรับว่า ยุคสงครามเย็นได้สิ้นสุดไปแล้วก็ตาม แต่กองทัพก็ยังคงใช้เป็นหลักประกัน ในการรักษาเอกราชอธิปไตยของชาติ ทั้งยังสามารถสร้างความน่าเกรงขามให้กับศัตรูผู้รุกรานได้ เหตุการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเกือบทั่วทุกภูมิภาคของโลกที่ผ่านมา และถึงขณะนี้ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ความไม่สงบในแคว้นเชสเนียของรัสเซีย เหตุการณ์ในตะวันออกกลาง รวมทั้งเหตุการณ์ในติมอร์ตะวันออก ที่หลายฝ่ายกำลังหวั่นวิตกและได้ให้ความสนใจ เพราะเกรงว่าเหตุการณ์จะบานปลายไปกันใหญ่จนอาจเป็นสงครามระหว่างประเทศ เนื่องจากเหตุการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นดูเหมือนว่า จะไม่สามารถยุติลงได้ง่าย ๆ ทั้งนี้มีสาเหตุเนื่องมาจากความต้องการมีอำนาจ และผลประโยชน์เหนือดินแดนของประเทศที่มีอำนาจมากกว่าดินแดนเหล่านั้นนั่นเอง    

4.ความขัดแย้งและสงครามตัวแทนในภูมิภาคเอเชีย

ส่วนสงครามร้อนหรือสงครามตัวแทนนั้น  ปรากฏอย่างเด่นชัดโดยเฉพาะในเขตเอเชีย อันได้แก่จีนเกาหลี  และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ เวียดนามสงครามตัวแทนในจีน  เริ่มต้นขึ้นหลังจาก ดร. ซุน ยัด เซน ทำการปฏิวัติล้มล้างการปกครองของราชวงศ์แมนจู   ในช่วงเวลาดังกล่าวจีนต้องเผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนัก    ดร. ซุน ยัด เซน จึงรับความช่วยเหลือทางการเงินจากสหภาพโซเวียตและยินยอมให้มีการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนขึ้นโดยมี เหมา เจ๋อ ตุง เป็นผู้นำพรรค    ต่อมา เจียง ไค เช็ค ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำประชาธิปไตยจีนแทน ดร. ซุน ยัด เซน  และเกิดความขัดแย้งกับเหมา เจ๋อ ตุง ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองของจีนเข้าสู่สังคมนิยม  สงครามตัวแทนจึงปะทุขึ้น  โดยสหภาพโซเวียตสนับสนุนเหมา เจ๋อ ตุง   ส่วนสหรัฐอเมริกาสนับสนุนเจียง ไค เช็ค   ปรากฏว่าเหมา เจ๋อ ตุง ชนะ  ประเทศจีนจึงเปลี่ยนระบบการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ภายใต้ชื่อสาธารณรัฐประชาชนจีน (People Republic of Chaina) ในปี ค.ศ. 1949   ส่วนฝ่ายเจียง ไค เช็คต้องอพยพไปตั้งถิ่นฐานยังเกาะไต้หวันและจัดตั้งรัฐบาลจีนคณะชาติปกครองไต้หวันในระบอบประชาธิปไตย    

 5.การสิ้นสุดสงครามเย็น

แม้ว่าสงครามเย็นและสงครามตัวแทนจะกินอาณาบริเวณกว้างขวาง  อย่างไรก็ตามในราวทศวรรษ 1955 เป็นต้นมาสถานการณ์ความรุนแรงก็ค่อย ๆ คลี่คลายลง   เนื่องจากครุสซอฟได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำสหภาพโซเวียตแทนสตาลินและใช้นโยบายอยู่ร่วมกันอย่างสันติกับกลุ่มเสรีประชาธิปไตย   และเมื่อมิคาอิล  กอร์บาชอฟ (Michail  Gorbashev) ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจากครุสซอฟ  ได้ประการใช้นโยบาย   กราสนอสต์ และ เปเรสทรอยกา (Glasnost & Perestroika) โดยเปิดประเทศเข้าสู่ระบบเสรี  ปรับเศรษฐกิจให้เอกชนเข้าไปดำเนินการ  ปฏิรูปโครงสร้างการเมืองเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพทางการเมืองมากขึ้น  ถอนทหารออกจากอัฟกานิสถานและยุโรปตะวันออก   ซึ่งนโยบายดังกล่าวสร้างความไม่พอใจแก่กลุ่มผู้นำคอมมิวนิสต์ฝ่ายอนุรักษ์นิยมและพวกหัวรุนแรง กระทั่งเกิดการทำรัฐประหารขับนายกอร์บาชอฟออกจากตำแหน่ง   แต่ต่อมาประชาชนและทหารฝ่ายรักประชาธิปไตยภายใต้การนำของนายบอริส  เยลต์ซิน (Boris  Yelsin) ได้ก่อกระแสเรียกร้องประชาธิปไตยต่อต้านการทำรัฐประหาร  ทำให้การทำรัฐประหารล้มเหลวและฝ่ายผู้ก่อการถูกจับกุม  แม้นายกอร์บาชอฟจะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแต่อิทธิพลก็ลดลงอย่างรวดเร็ว   แลตเวีย  เอสโตเนีย  ลิทัวเนีย ซึ่งเป็นรัฐทางทะเลบอลติกประกาศเอกราชไม่อยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต   และในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1991 เยลต์ซินร่วมกับผู้นำรัฐยูเครนและรัฐเบลารุสได้ร่วมกันประกาศยุบสหภาพโซเวียต  ส่งผลทำให้สหภาพโซเวียตล่มสลายลง   ส่วนในยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะเยอรมนีก็ได้ประกาศรวมประเทศและทำลายกำแพงเบอร์ลินซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็น ในปี 1990   หลังจากสงครามเย็นยุติลงด้วยการล่มสลายของสหภาพโซเวียต  ก็เกิดผลกระทบหรือความเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ตามมาอีกหลายประการ  ได้แก่
         1) สหรัฐอเมริกากลายเป็นอภิมหาอำนาจเดียวของโลก
         2) เกิดการจัดระเบียบโลกใหม่ นำโดยสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ  เน้นการปกครองแบบประชาธิปไตย  การค้าเสรี  การเคารพสิทธิมนุษยชน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  

         3) เกิดกระแสชาตินิยมใหม่ ซึ่งเป็นการเรียกร้องการปกครองตนเองของชนกลุ่มน้อยในดินแดนต่าง ๆ และการประกาศเอกราชของประเทศต่าง ๆ  เช่น ความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติรัสเซียกับชนกลุ่มน้อยชาวเชชเนียในประเทศรัสเซีย  หรือการประกาศเอกราชของติมอร์ตะวันออก  เป็นต้น                ความปลอดภัยจากสงครามขนาดใหญ่  ทำให้โลกเริ่มพัฒนาเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว  ระบบทุนนิยมได้แทรกซึมเข้าสู่วิถีชีวิตแทบทุกส่วนของโลก  เกิดการเชื่อมโยงโลกถึงกันอย่างรวดเร็วและไร้ขีดจำกัด  สภาวะดังกล่าวนี้อาจเรียกได้อีกนัยหนึ่งว่า เกิดการเปลี่ยนยุคจากยุคของสงครามเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์

รูปภาพของ nss.37395

 นาย อภิวัฒน์ อัคะษร ม.5/5 เลขที่ 3

 การปฎิวัติอุตสาหกรรม

 ารเปลี่ยนสภาพจากการเป็นเกษตรกรและทำงานอยู่ในโรงงานขนาดเล็กๆ มาเป็นระบบโรงงานใหญ่โต จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าหากไม่มีการประดิษฐ์ผลงานหลายอย่างของชาวสก๊อต และชาวอังกฤษหลายคนในช่วงนั้น  ในปี ค.ศ. 1733 จอห์น เดย์  จดทะเบียนสิทธิบัตรเรื่องการประดิษฐ์กระสวยบินซึ่งทำให้สามารถทอผ้าได้เพิ่มเป็นสองเท่า แต่เดิมสิ่งประดิษฐ์ของเดย์มีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้าขนสัตว์ ต่อมาได้รับการดัดแปลงไปใช้กับเครื่องทอผ้าฝ้ายใน   แลงคาเชียร์ และในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของสก๊อตแลนด์
      James Watt (ค.ศ. 1736-1819)  นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษเป็นผู้แก้ไขข้อ  บกพร่องต่างๆ โดยนำเอาเครื่องคอนเดนเซอร์มาประกอบในปี ค.ศ. 1769  พอถึงปี ค.ศ. 1781 เจมส์ วัตต์ ก็ได้ดัดแปลงเครื่องยนต์ไอน้ำดีขึ้นจนขับรถได้  หลังจากนั้นเครื่องยนต์ไอน้ำก็ถูกนำมาใช้ในโรงงานเพื่อขับดันเครื่องทอผ้าและเครื่องจักรกลทุกชนิด นอกจากนี้เครื่องจักรไอน้ำยังสามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ  ใช้ถ่ายเทน้ำออกจากเหมือง  ใช้ในโรงงานน้ำตาล แป้ง และใช้ในโรงงานทำเบียร์ และปั้นภาชนะ  เครื่องจักรไอน้ำต้องการการลงทุนจึงต้องมีการผลิตขนาดใหญ่จึงจะประหยัด ดังนั้นจึงทำให้เกิดโรงงานและการกระจุกตัวของกรรมกรหลายร้อยคนอยู่ในโรงงานเดียวกัน

 

อุตสาหกรรมสิ่งทอฝ้าย
      การนำเอาเครื่องจักรไอน้ำไปใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอฝ้ายถือว่าเป็นการปฏิวัติ     การผลิตสิ่งทอ และเป็นการเริ่มการปฏิวัติอุตสาหกรรมของอังกฤษและของโลก สิ่งทอฝ้ายเป็น      อุตสาหกรรมที่เจริญก้าวหน้ารวดเร็วที่สุดในอังกฤษ และเป็นสินค้าออกที่เพิ่มเร็วที่สุด โรงงานสิ่งทอในช่วงแรกๆ  สร้างขึ้นในบริเวณใกล้ๆ น้ำตก และลำธารที่มีกระแสน้ำเชี่ยว    แต่เมื่อมีการผลิตเครื่องจักรไอน้ำขึ้นมา ในไม่ช้าการสร้างโรงงานก็ย้ายมาตั้งภายในบริเวณตัวเมืองที่มีแหล่งถ่านหินอยู่
ใกล้ๆ อุตสาหกรรมสิ่งทอฝ้ายกระจายอยู่ในชนบทแถบรอบๆ เมืองแมนเชสเตอร์และกลาสโกว์ ต่อมา
ในทศวรรษ 1790 เกิดการเจริญเติบโตของเมืองที่มีโรงงานปั่นด้ายฝ้าย (Cotton Spinning Industry)
86 เปอร์เซ็นต์ของอุตสาหกรรมสิ่งทอฝ้ายของอังกฤษกระจุกตัวอยู่ในเขตเชสเชอร์ (Cheshire) และ         แลงคาเชียร์ (Lancashire) การปั่นด้ายทำได้เร็วมากสามารถผลิตในโรงงาน เพราะมีเครื่องจักร    ปั่นด้ายจากการประดิษฐ์ของ James  Hargreves (ค.ศ. 1702-1778)  ซึ่งเครื่องทอผ้าของท่านผู้นี้คือ Spinning Jenny ทำงานได้เท่ากับคนทอผ้า 8 คน  หลังจากนั้นก็มีเครื่องทอผ้า Water  Frame  ของ Richard Arkwright (ค.ศ. 1732-1792) ซึ่งใช้พลังน้ำสามารถปั่นด้ายที่เหนียวใช้เป็นเส้นยืนทอผ้าได้
      ฝ้ายดิบเป็นวัตถุดิบที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอ  ฝ้ายดิบที่เอามาปั่นด้วยระยะแรกนำเข้ามาจากหมู่เกาะอินเดียตะวันตก (The West Indies) แต่หลังจากนั้นนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา  ในปี ค.ศ. 1810  ฝ้ายดิบนำเข้าจากสหรัฐอเมริกาประมาณครึ่งหนึ่งและในช่วง ค.ศ. 1846-1850 นำเข้าฝ้ายดิบจากสหรัฐอเมริกาถึง 80 เปอร์เซ็นต์
      ก่อน ค.ศ. 1790  สิ่งทอฝ้ายของอังกฤษผลิตเพื่อสนองความต้องการภายในประเทศ  ต่อมาในช่วงสงครามนโปเลียนก่อน ค.ศ. 1815 ตลาดสหรัฐอเมริกาเข้ามาแทนที่ตลาดภาคพื้นทวีปและหลังจากนั้นปี ค.ศ. 1840 อินเดียกลายเป็นตลาดสำคัญที่สุดแทนที่ตลาดสหรัฐอเมริกา  แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มตลาดสิ่งทอฝ้ายของอังกฤษที่เคลื่อนย้ายจากประเทศพัฒนาแล้วไปยังประเทศด้อยพัฒนา เพราะประเทศยุโรปและสหรัฐอเมริกา ค่อยๆ พัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอของตนขึ้นมาก็ลดการสั่งสิ่งทอเข้าจากอังกฤษ

รูปภาพของ nss.37395

 นาย อภิวัฒน์ อัคะษร ม.5/5 เลขที่ 3

การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์

 การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์จากการสำรวจทางทะเลและการปฏิวัติทางการค้า ในระหว่างศตวรรษที่ 12-16 ทำให้เกิดการเรียนรู้ รู้จักตนเองและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติมากขึ้น การค้นคว้าทดลองและผลการประยุกต์สิ่งต่างๆถูกนำมาใช้ จนทำให้สังคมมีความก้าวหน้า โดยเฉพาะด้านวัตถุและเทคนิคต่างๆ ความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ดังกล่าวเรียกว่า "การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์" ซึ่งเกิดจากการค้นคว้าทดลองของชาวตะวันตกภายหลังจากที่ได้มีการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์แล้ว ทำให้วิทยาศาสตร์มีความสำคัญขึ้นมาความสำคัญของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์1. ทำให้ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆได้มากขึ้น
2. ทำให้มนุษย์มีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง
3. ทำให้มนุษย์มีความเชื่อมั่นในการใช้ปัญญาและความสามารถ
4. ทำให้มนุษย์มีความเชื่อมั่นในความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
5. ทำให้มนุษย์มีความเชื่ออย่างมีเหตุผล ไม่งมงาย และชอบค้นคว้า
การที่มนุษย์ชอบสังเกตุค้นคว้าทดลอง ไม่งมงายอีกต่อไปทำให้ประสบความสำเร็จ ในการคิดเครื่องพิมพ์ดีด ค.ศ.1447 ของโยฮันน์ กูเตเบอร์ก ชาวเยอรมัน นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงมากมาย เช่น ข่าวสารต่างๆถูกนำมาเผยแพร่มากขึ้น แม้กระทั่งพระคำภีร์ไบเบิล ทำให้ประชาชนรู้หลักคำสอนที่แท้จริงของศาสนาคริสต์ข่าวสารความสำเร็จในการเดินเรือรอบโลก และการค้นพบดินแดนโพ้นทะเลทำให้คนเชื่อมั่นในสติปัญญาโคลัมบัส เป็นนักเดินเรือคนแรกที่กล้าเดินทางรอบโลก วิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์จึงเป็นรากฐานสำคัญ ที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในคริสตศตวรรษที่ 7การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลายศตวรรษติดต่อกันการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์เป็นที่สนใจของชาวตะวันตกมาตั้งแต่สมัยกลาง การติดต่อกับอาณาจักรไบแซนไทน์และอาหรับ ทำให้วิทยาศาสตร์ของกรีกและอาหรับเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป วิชาการหลายแขนง เช่น ดาราศาสตร์ กลศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญาได้เปิดสอนในมหาวิทยาลัยตะวันตกการศึกษาวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่องสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ คือการย้อนกลับ ไปศึกษาศิลปของกรีกและโรมันใหม่ภายหลังยุคมืดศิลปินชาวตะวันตกได้แก่ ลีโอนาร์โด ดาวินซี และไมเคิล แอนเจโล ได้ฟื้นฟูศิลปของกรีกและโรมันใหม่ โดยนำหลักการของวิทยาศาสตร์กายภาพ มาศึกษากล้ามเนื้อและโครงสร้างของมนุษย์ นำไปสร้างงานศิลปกรรมทางจิตรกรรม และปฏิมากรรม ที่แสดงถึงสัดส่วนอย่างแท้จริง นอกจากมีการพัฒนาด้านศิลปกรรมแล้ว ความสนใจทางวิทยาศาสตร์ทำให้มีการค้นพบคุณสมบัติของ "เลนส์" จนนำมาประยุกต์ใช้กับกล้องส่องทางไกลและกล้องดูดาวในเวลาต่อมาการศึกษาคณิตศาสตร์อย่างลึกซึ้ง จนสามารถพัฒนาเครื่องมือในการวัดการคำนวณอย่างแม่นยำ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาเดินเรือในเวลาต่อมานอกจากนี้วิทยาศาสตร์ยังทำให้เกิด "กบฎทางความคิด" การปฏิปักษ์ต่อกรอบความคิดของคริสต์ศาสนาได้ขยายมากขึ้นเมื่อ มาร์ติน ลูเธอร์ บาทหลวงชาวเยอรมันทำการปฏิรูปศาสนา ค.ศ.1517 โดยทำการประท้วงการปฏิบัติบางประการของฝ่ายคาทอลิก จัดตั้งนิกายลูเธอร์แรนขึ้นมา (ส่วนหนึ่งของโปรเตสแตนท์) ทำให้การศึกษาวิชาเทววิทยาลดบทบาทลง เปิดโอกาสให้ทำการศึกษาวิทยาศาสตร์มากขึ้น โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกลงโทษอีกต่อไป พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ยุคโบราณอียิปต์

เหตุการณ์สำคัญที่มีผลกระทบต่อโลกและมนุษยชาติ  

1. การสะสมการพัฒนาและการลดอาวุธนิวเคลียร์  

ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จในการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ ในวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 สหรัฐอเมริกาได้ทดลองระเบิดปรมาณูลูกแรกในรัฐนิวเม็กซิโกประสบความสำเร็จ  ผลจากการที่สหรัฐอเมริกาทดลองระเบิดปรมาณูนิวเคลียร์สำเร็จก็คือโลกต้องเข้าสู่ยุคแห่งความน่าสะพรึงกลัวของระเบิดนิวเคลียร์ ประเทศแรกที่ประสบความหายนะจากอาวุธนิวเคลียร์คือ ญี่ปุ่น ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดปรมาณูนิวเคลียร์เหนือเมืองฮิโรชิมา ในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ผลของระเบิดมีความร้ายแรงมาก กล่าวคือ ความร้อนจากการระเบิดได้เผาผลาญประชาชนที่อยู่ในรัศมี 1.2 กิโลเมตรจนเสียชีวิต และประชาชนที่อยู่ในรัศมี 4 กิโลเมตรได้รับความร้อนจนบาดเจ็บสาหัส ส่วนพื้นที่ของเมืองฮิโรชิมาก็ถูกเพลิงไหม้เป็นบริเวณกว้าง ประชาชนของเมืองฮิโรชิมามากกว่า 8 หมื่นคนเสียชีวิต และระเบิดลูกดังกล่าวยังได้แผ่กัมมันตรังภาพรังสีซึ่งมีอันตรายออกมาในปริมาณมหาศาล ส่งผลข้างเคียงแก่ประชาชนที่ยังรอดชีวิตจากเปลวเพลิงนิวเคลียร์ให้ได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคมะเร็งและโรคร้ายอื่นๆ รวมถึงอาการผิดปกติทางร่างกานที่ถ่ายทอดทางพันุกรรมด้ว    2.การปฏิรูปประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีน(นโยบายสี่ทันสมัยของเติ้ง เสี่ยวผิง  

ใน ค.ศ.1976 เหมาเจ๋อตง (Mao Zedong) ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนถึงแก่อสัญกรรม กลุ่มการเมืองที่ได้รับการสนับสนุนจากเหมา เจ๋อตง ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติวัฒนะธรรม (ค.ศ.1966-1976)  หมดอำนาจลง  และบางคนถูกจับกุมดำเนินคดีข้อหาอาชญากรรม อั่ว กว๋อเฟิง (Hua Guafeng)   ประธานพรรคคอมมิวนิสต์ ทายาททางการเมืองของเหมา เจ๋อตงได้ดำเนินนโยบายตามเหมา เจ๋อตง  คือ ดำเนินนโยบายแบบสังคมนิยมต่อไป แต่อย่างไรก็ตามหลังจากที่เติ้ง เสี่ยวผิง (Deng Xiaoping) กลับเข้ามามีบทบาทในพรรค  ฮั่ว กว๋อเฟิง ก็ถูกลดอำนาจลงเนื่องจากการกลับเข้ารับตำแหน่งในคณะกรรมการกลางของสมาชิกพรรคอาวุโส ซึ่งเคยได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ณ์การปฏิวัติวัฒนธรรม  คณะกรรมการพรรคชุดใหม่จึงหันไปสนับสนุน เติ้ง เสี่ยวผิง  ซึ่งเท่ากับว่าเติ้ง เสี่ยวผิง  สามารถกุมอำนาจในคณะกรรมการลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีนไว้ได้ ในที่สุด  ช่วง ค.ศ. 1980  ฮั่ว กว๋อเฟิงได้ลาออกจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์เนื่องจากมีข้อขัดแจ้งกับสมาชิกของพรรคในเรื่องการปฏิวัติวัฒนธรรม ส่วนตำแหน่งนายยกรัฐมนตรี ฮั่ว กว๋อเฟิงได้พ้นจากตำแหน่งไปก่อนหน้านี้แล้ว  โดยมีจ้าว จื่อหยาง (Zhao Ziyang)  ที่เติ้ง เสี่ยวผิงสนับสนุน  ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน  ดังนั้น  อำนาจของกลุ่มนิยมลัทธิเหมาจึงถูกลิดรอนลงโดยเติ้ง เสี่ยวผิงด้วยวิธีการละมุนละม่อม  เติ้ง เสี่ยวผิงได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรค   นอกจากการถูกลิดรอนอำนาจของกลุ่มนิยมลัทธิเหมาแล้ว รัฐบาลจีนภายใต้การปกครองของเติ้ง เสี่ยวผิงได้พยายามลดอิทธิพลของลัทธิเหมาในหมู่ประชาชน  โดยโจมตีประเด็นเรื่องแนวความคิดการปฏิวัติทางชนชั้น การพัฒนาเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมว่าไม่สามารถทำให้ประชาชนมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้นและยังทำให้ประเทศจีนล้าหลัง               3.กล่มสลายของสหภาพโซเวียด ในปี ค.ศ.1991    สหภาพโซเวียตถูกก่อตั้งมาจากการยึดอำนาจของพรรคบอลเชวิก โดยยึดอำนาจจากพระเจ้าซาร์นิโคลัส ที่ 2 นำโดย วลาดิมีร์ เลนิน เรียกการปฏิวัติครั้งนั้นว่าการปฏิวัติรัส เซีย ค.ศ. 1917 เกิดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2460 ซึ่งอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การปฏิวัติครั้งนั้นส่งผลให้ รัฐบาลของกษัตริย์ถูกยกเลิก ระบอบการปกครองโดยกษัตริย์ถูกยกเลิก ก่อเกิดรัฐสังคมนิยมขึ้นมาแทน และเกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ราชวงศ์โรมานอฟในเวลาต่อมา ผลอื่นๆคือ กิจการธนาคารและโรงงานทั้งหมดถูกโอนเป็นของรัฐ และบัญชีส่วนบุคคลทั้งหมดถูกโอนให้แก่รัฐ และสหภาพโซเวียตถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1ส่วนสาเหตุที่ล่มสลายนั้นก็ประมาณว่าช่วงคศ.1960  ระบบทุนนิยมโดยรัฐดังกล่าวไม่สามารถผลิตส่วนเกินได้มากเพียงพอที่จะ รักษาโครงสร้างความสัมพันธ์ทางชนชั้นแบบทุนนิยมโดยรัฐได้  ส่วนเกินที่ผลิตได้ไม่เพียงพอที่ จะธำรงความสำเร็จทางการเมืองและเศรษฐกิจ  ผสมกับปัญหาผลิตภาพในกระบวนการผลิตที่ต่ำมาก  ส่วน เกินไม่เพียงพอสำหรับการกระจายให้ แก่ชนชั้นนายทุนรัฐและชนชั้นรองเพื่อรักษาสถานะทางการเมืองที่เปี่ยมอำนาจ และไม่สามารถรักษาความเข้มแข็งของพรรคคอมมิวนิสต์ไว้ได้  นอก จากนั้น ส่วนเกินจากการผลิตยังน้อยเกินไปสำหรับการสะสมทุนในการผลิต ไม่สามารถรักษาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและผลิตภาพ  ไม่สามารถผลิตสินค้าได้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ไม่สามารถสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจได้ดีพอ หรือสรุปง่ายๆก็คือ ช่วงนั้นเศรษฐกิจบัตซบมาก แล้วตาลุงกอร์บาชอพ ก็เสนอโยบายให้เสรีภาพแก่ประชาชน แล้วต่อมา ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1990 ที่ประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ได้มีมติเห็นชอบยกเลิกการรวมอำนาจไว้ที่พรรคคอมมิวนิสต์ นั่นหมายถึงพรรคคอมมิวนิสต์ได้กระจายอำนาจสู่ประชาชนและทำให้เกิดการเลือก ตั้ง ส่งผลให้อีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา รัฐจำนวน 15 รัฐของสหภาพโซเวียตได้รับรองกฎหมายเลือกตั้งทั่วไป ท้ายสุดในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ.1991 กอร์บาชอฟได้เห็นชอบโอนอำนาจการบริหารทั้งหมดจากประธานาธิบดีแห่งสหภาพ โซเวียต ให้กับ ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย สหภาพโซเวียต ล่มสลายเมื่อปี 1991 ทำให้สาธารณรัฐต่าง ๆ แบ่งแยกตั้งเป็นประเทศทั้งหมด 15 ประเทศ หลังจากการแยกตัวออกมาปกครองอย่างเอกเทศแล้ว ประเทศเหล่านี้ยังมีการรวมกลุ่มกันเป็น Commonwealth of Independent States (CIS) ยกเว้น เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย   

4.วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในเอเชียในปี ค.ศ.1997(พ.ศ.2540)  :-เหตุการณ์วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในเอเชียได้ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อทั้งประเทศที่
ต้องเผชิญปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในเอเชียและประเทศนอกภูมิภาคซึ่งสามารถสรุปผลกระทบของวิกฤตการณ์ในครั้งนั้ได้ดังนี้ 4.3.1ผลกระทบต่อประเทศผู้ประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ 1.การเมือง วิกฤตการณ์เศรษฐกิจได้ส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเมืองอย่างรุนแรงโดยเฉพาะประเทศไทยกับอินโดนีเซีย ในประเทศไทยผลจากการบริหารเศรษฐกิจก่อให้เกิดการชุมนุมประท้องรัฐบาลพลเอก เชาวลิต ยงใจยุทธจนรัฐบาลต้องลาออก แล้วเปลี่ยนรัฐบาลใหม่เป็นรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ส่วนอินโดนีเซียเกิดจลาจลขับไล่ประธานาธิบดีซูฮาร์โตจนประธานาธิบดีซูฮาร์โตต้องลาออกจากตำแหน่งนอกจากนี้ยังเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติจนถึงขั้นใช้กำลังปะทะกัน 2.เศรษฐกิจประเทศที่ประสบวิกฤตทางเศรษฐกิจต่างประสบปัญหาอัตรเงินเฟ้อ ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นภาคราชการและภาคเอกชนต่างตัดเงินเดือนและลดคนงาน อัตราการว่างานเพิ่มสูงขึ้นเกิดความยากจนในหมู่ประชากร นอกจากนี้มาตราการต่างๆของกองทุนการเงินระหว่างประเทศที่เป็นกรอบปฏิบัติให้ประเทศที่กู้เงิน
ปฏิบัติตามยังส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจต้องถดถอยลงไปอีก ทั้งนี้ทำให้ธุรกิจต่างชาติโดยเฉพาะชาติตะวันตกเข้าไปควบคุมกิจการธุรกิจภายในประเทศโดนเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อสถาบันการเงินได้ในราคาถูก 3.สังคมวิกฤตการ์เศรษฐกิจได้ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างรุนแรงโดยเฉพาะช่องว่างทางรายได้ระหว่างคนรวยกับคนจน การว่างงานที่เพิ่มมากขึ้น เช่นคนว่างงานในประเทศไทยมีประมาณ 2 ล้านคน อินโดนีเซียประมาณ 10 ล้านคนเกาหลีใต้ประมาณ 2 ล้าคน เป็นต้น
 อัตราการว่างงานที่สูงขึ้นและรายได้ที่ต่ำลงทำให้เกิดความเคลื่อนไหวของประชาชนขึ้นในสังคมของตาละประเทศที่ประสบปัญหา นอกจากนี้สภาวะเงินเฟ้อและราคาสินค้าที่ทางสูงขึ้น ยิ่งทำให้ประชาชนมีสภาพความเป็นอย฿ที่ยากจนลงไปอีกและการที่รัฐบาลของประเทศที่ประสบวิฤตการณ์จะต้องปฏิบัติตามมาตรการต่างๆของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ทำให้ประเทศต่างๆเหล่านี้ต้องเปิดเสรีด้านต่างๆ
เช่น แปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นภาคเอกชน เปิดเสรีให้ธุรกิจต่างประเทศเข้ามาลงทุนเป็นต้น ซึ่งมาตราการเหล่านี้ได้สร้างความแตกแยกในสังคมเนื่องจากประชาชนและนักวิชาการบางกลุ่มมีความคิดเห็นขัดแย้งกับรัฐบาลจนถึง
มีการชุมนุมคัดค้าน
   

5. เหตุการณ์ก่อการร้ายวันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001 5.1เหตุการณ์สำคัญให้มีภาพหรือวิดีโอด้วย 

 เหตุการณ์การก่อการร้ายในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่  11 กันยายน  ค.ศ.  2001 เป็นเหตุการณ์ก่อการร้ายที่มุ่งสร้างความเสียหายแก่ชาวอเมริกัน  การกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นโดยกลุ่มบุคคลที่มีเหตุผลทางการเมืองเพื่อหวังผลในการทำลายขวัญและกำลังใจของชาวอเมริกัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความปลอดภัยในชีวิต และสัญลักษณ์ของประเทศอเมริกาต้องถูกทำลายไปด้วยเครื่องบินของสหรัฐอเมริกาเองเหตุการณ์วันที่  11  กันยายน  ค.ศ.  2001 เริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลา 8.45 น. ตามเวลาท้องถิ่น เครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 767 ของสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 นำผู้โดยสาร เจ้าหน้าที่ และน้ำมันเต็มลำที่จะเดินทางจากเมืองบอสตันสู่นครลอสแอนเจลิส   พุ่งเข้าชนยอดตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 1 (World  Trade  Center  I) ในมหานครนิวยอร์ก ทำให้อาคารเกิดการระเบิดเสียหายอย่างรุนแรงในตอนแรกประชาชนและผู้เห็นเหตุการณ์คาดคะเนว่าเป็นอุบัติเหตุจากการผิดพลาดในการบังคับควบคุมเครื่องบิน แต่ต่อมาในเวลา 9.06 น. เครื่องบินโบอิ้ง 767 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 177  ซึ่งบินจากบอสตันสู่นครลอสแอนเจลิสเช่นกัน  ได้พุ่งเข้าชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 2 (World  Trade  Center  II) ที่เป็นอาคารที่สร้างคู่กับตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 1 เกิดระเบิดสนั่นหวั่นไห            5.2สาเหตุของเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001  :-หลังจากเกิดเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ได้มีการวิเคราะห์ถึงสาเหตุของเหตการณ์การก่อวินาศกรรมไว้หลายแนวทางด้วยกันนักวิชาการส่วนใหญ่วิเคราะห์ว่าสาเหตุของเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001 มาจากระบบสังคมโลกโดยรวมที่สหรัฐอเมริกาเป็นชาติอภิมหาอำนาจทุนนิยมอันดับหนึ่งตลอดระยะเวลาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา สหรัฐอเมริกาได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศในลักษณะแผ่ขยายอำนาจไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินแดนตะวันออกกลางซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญมาก คือ ทรัพยากรน้ำมัน หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง อังกฤษซึ่งเป็นชาติมหาอำนาจในภูมิภาคนี้ต้องถอนตัวออกไปเนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศที่ตกต่ำ สหรัฐอเมริกาในนฐานะชาติอภิมหาอำนาจใหม่ได้เข้าไปแผ่อิทธิพลแทนที่ด้วยการแทรกแซงสนับสนุนการก่อตั้งรัฐอิสราเอลขึ้นในดินแดนปาเลสไตน์ ในค.ศ. 1948 หลังจากนั้นสหรัฐอเมริกาก็ดำเนินนโยบายสนับสนุนอิสราเอลมาโดยตลอด ทั้งในการทำสงครามกับกลุ่มประเทศอาหรับ การยึดครองดินแดนปาเลสไตน์ และขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกาก็ให้การสนับสนุนรัฐบาลของกลุ่มประเทศอาหรับที่เป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกา  ผลของการดำเนินนโยบายของสกรัฐอเมริกาได้สร้างความรู้สึกไม่พอใจให้เกิดขึ้นในหมู่ชาวอาหรับ  ซึ่งเห็นว่า  สหรัฐอเมริกามีนโยบายคุกคามกลุ่มประเทศอาหรับและต้องการเข้ามามีอำนาจในประเทศต่าง ๆ ในแถบนี้           การแทรกแซงในภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มทุนของสหรัฐอเมริกาซึ่งเข้าไปลงทุนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้เป็นสำคัญ เช่น กลุ่มทุนอุตสาหกรรมน้ำมันเป็นต้น การแทรกแซงของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อภูมิภาคนี้นำมาซึ่งความขัดแย้งนับครั้งไม่ถ้วนของชาติต่าง ๆ หลายครั้ง ก่อให้เกิดผลประโยชน์การค้าอาวุธของบริษัทผลิตอาวุธของสหรัฐอเมริกาเอง           ส่วนสถานที่ซึ่งถูกโจมตีในวันที่ 11 กันยายน อันได้แก่ ตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งของสถาบันการเงินระหว่างประเทศเป็นจำนวนมาก จนอาจถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของระบบทุนนิยมโลก ส่วนตึกเพนตากอนซึ่งเป็นที่ตั้งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ก็ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางอำนาจทางทหารของชาติอภิมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก การที่ขบวนก่อการร้ายสามารถทำลายตึกเหล่านี้ได้ จึงเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของสหรัฐอเมริกาในฐานะชาติอภิมหาอำนาจและเป็นศูนย์กลางระบบทุนนิยม        5.3ผลกระทบของเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001 ต่อสหรัฐอเมริกา ผลกระทบต่อสังคมโลก   เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ได้ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งตอสหรัฐอเมริกาและสังคมโลกโดยรวม ดังนี้เหตุการณ์ก่อการร้ายในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่  11  กันยายน  ค.ศ.  2001  เป็นเหตุการณ์การทำลายล้างที่มีผลกระทบต่อสหรัฐอเมริกาอย่างรุนแรง  เหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบทั้งต่อสหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆในโลก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เหตุการณ์การก่อการร้ายในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่  11 กันยายน  ค.ศ.  2001 เป็นเหตุการณ์ก่อการร้ายที่มุ่งสร้างความเสียหายแก่ชาวอเมริกัน  การกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นโดยกลุ่มบุคคลที่มีเหตุผลทางการเมืองเพื่อหวังผลในการทำลายขวัญและกำลังใจของชาวอเมริกัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความปลอดภัยในชีวิต และสัญลักษณ์ของประเทศอเมริกาต้องถูกทำลายไปด้วยเครื่องบินของสหรัฐอเมริกาเองเหตุการณ์วันที่  11  กันยายน  ค.ศ.  2001 เริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลา 8.45 น. ตามเวลาท้องถิ่น เครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 767 ของสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 นำผู้โดยสาร เจ้าหน้าที่ และน้ำมันเต็มลำที่จะเดินทางจากเมืองบอสตันสู่นครลอสแอนเจลิส   พุ่งเข้าชนยอดตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 1 (World  Trade  Center  I) ในมหานครนิวยอร์ก ทำให้อาคารเกิดการระเบิดเสียหายอย่างรุนแรงในตอนแรกประชาชนและผู้เห็น เหตุการณ์คาดคะเนว่าเป็นอุบัติเหตุจากการผิดพลาดในการบังคับควบคุมเครื่อง บิน แต่ต่อมาในเวลา 9.06 น. เครื่องบินโบอิ้ง 767 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 177  ซึ่งบินจากบอสตันสู่นครลอสแอนเจลิสเช่นกัน  ได้พุ่งเข้าชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 2 (World  Trade  Center  II) ที่เป็นอาคารที่สร้างคู่กับตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 1 เกิดระเบิดสนั่นหวั่นไหว เวลา 9.30 น. ประธานาธิบดีจอร์จ   ดับเบิลยู   บุช (George  W.  Bush) แห่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศแถลงการ์ณว่าการระเบิดอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์   เป็นปฏิบัติการของผู้ก่อการร้ายและยืนยันที่จะสืบหากลุ่มบุคคลที่กระทำการมาลงโทษให้จงได้ เวลา 9.40 น.  ที่กรุงวอชิงตัน ดี. ซี. เมืองหลวงของสหรัฐอเมริกา  เครื่องบินโบอิ้ง 757 สายการบินอเมริกันแอร์ไลน์   เที่ยวบินที่ 77 ได้พุ่งเข้าชนอาคารเพนตากอน (Pentagon) กระทรวง กลาโหม อาคารเกิดระเบิดและเพลิงไหม้อย่ารุนแรง ในเวลาไล่เลี่ยกันได้เกิดเหตุการณ์เครื่องบินตกในมลรัฐเพนซิลเวเนีย เครื่องบินที่ตกคือเครื่องบินสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 73ที่เดินทางจากเมืองเนวาร์กไปเมืองซานฟรานซิสโกซึ่งมีข้อมูลว่าเครื่องบินลำดังกล่าวถูกสกัดอากาศจี้ ในเวลา 10.00 น. อาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 2 ซึ่งถูกไฟไหม้ได้ถล่มลงมา หลังจากนั้นอีกราวครึ่งชั่วโมงอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์1ก็ ถล่มตามลงมา ทำให้พนักงานดับเพลิงและเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยที่เข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบ เคราะห์ร้ายต้องได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศมาตรการฉุกเฉิน มีการอพยพผู้คนออกจากสถานที่สำคัญ ยกเลิกเที่ยวบินทั่วประเทศ กองทัพสหรัฐอเมริกาประกาศเตรียมพร้อมรบ  หลังจากเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ทำการระดมกำลังเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลาง(FBI)ออกสืบหาผู้ก่อการวินาศกรรมในครั้งนี้ ในวันต่อมาสหรัฐอเมริกาได้มุ่งเป้าไปที่โอซามา บินลาเดน (Osama bin Laden) หัวหน้าขบวนการอัลเคดา (Al Qaida) และสรุปว่าเป็นผู้บงการให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว จากการตรวจสอบรายชื่อผู้โดยสารของเครื่องบินที่ถูกบังคับก่อวินาศกรรม เจ้าหน้าที่สืบสวนได้พบว่ารายชื่อบุคคลทั้ง 19 คน ที่มีบทบาทในการจี้เครื่องบิน ส่วนใหญ่มีความเกี่ยวพันกับขบวนการของโอซามา บินลาเดน โดยบุคคลเหล่านี้ต่างเสียชีวิตในการก่อวินาศกรรมครั้งนี้ทั้งหมดเหตุการณ์ วันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องสูญเสียชีวิตประชาชนและทรัพย์สินเป็นจำนวนมหาศาล พร้อมกับส่งผลกระทบต่อขวัญกำลังใจของประชาชนชาวอเมริกันเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ชาวอเมริกันตระหนักว่าประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้ปลอดภัยอย่างที่เคยคิด อีกต่อไป ดินแดนและจุดต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกาสามารถเป็นเป้าโจมตีของศัตรูได้ทั้งสิ้น สาเหตุของเหตุการณ์ หลังจากเกิดเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ได้มีการวิเคราะห์ถึงสาเหตุของเหตการณ์การก่อวินาศกรรมไว้หลายแนวทางด้วยกัน นักวิชาการส่วนใหญ่วิเคราะห์ว่าสาเหตุของเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001 มาจากระบบสังคมโลกโดยรวมที่สหรัฐอเมริกาเป็นชาติอภิมหาอำนาจทุนนิยมอันดับหนึ่งตลอดระยะเวลาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็น ต้นมา สหรัฐอเมริกาได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศในลักษณะแผ่ขยายอำนาจไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินแดนตะวันออกกลางซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญมาก คือ ทรัพยากรน้ำมัน หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้น สุดลง อังกฤษซึ่งเป็นชาติมหาอำนาจในภูมิภาคนี้ต้องถอนตัวออกไปเนื่องจากสภาวะทาง เศรษฐกิจของประเทศที่ตกต่ำ สหรัฐอเมริกาในนฐานะชาติอภิมหาอำนาจใหม่ได้เข้าไปแผ่อิทธิพลแทนที่ด้วยการ แทรกแซงสนับสนุนการก่อตั้งรัฐอิสราเอลขึ้นในดินแดนปาเลสไตน์ ในค.ศ. 1948 หลัง จากนั้นสหรัฐอเมริกาก็ดำเนินนโยบายสนับสนุนอิสราเอลมาโดยตลอด ทั้งในการทำสงครามกับกลุ่มประเทศอาหรับ การยึดครองดินแดนปาเลสไตน์ และขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกาก็ให้การสนับสนุนรัฐบาลของกลุ่มประเทศอาหรับที่ เป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกา  ผลของการดำเนินนโยบายของสกรัฐอเมริกาได้สร้างความรู้สึกไม่พอใจให้เกิดขึ้นในหมู่ชาวอาหรับ  ซึ่งเห็นว่า  สหรัฐอเมริกามีนโยบายคุกคามกลุ่มประเทศอาหรับและต้องการเข้ามามีอำนาจในประเทศต่าง ๆ ในแถบนี้  การ แทรกแซงในภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มทุนของ สหรัฐอเมริกาซึ่งเข้าไปลงทุนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้เป็นสำคัญ เช่น กลุ่มทุนอุตสาหกรรมน้ำมันเป็นต้น การแทรกแซงของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อภูมิภาคนี้นำมาซึ่งความขัดแย้งนับครั้ง ไม่ถ้วนของชาติต่าง ๆ หลายครั้ง ก่อให้เกิดผลประโยชน์การค้าอาวุธของบริษัทผลิตอาวุธของสหรัฐอเมริกาเอง      ส่วนสถานที่ซึ่งถูกโจมตีในวันที่ 11 กันยายน อันได้แก่ ตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เป็นจำนวนมาก จนอาจถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของระบบทุนนิยมโลก ส่วนตึกเพนตากอนซึ่งเป็นที่ตั้งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ก็ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางอำนาจทางทหารของชาติอภิมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก การที่ขบวนก่อการร้ายสามารถทำลายตึกเหล่านี้ได้ จึงเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของสหรัฐอเมริกาในฐานะชาติอภิมหาอำนาจและ เป็นศูนย์กลางระบบทุนนิยมโลก   เหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 เห็นได้ว่ามีศาสนาและความเชื่อ ซึ่งกลายเป็นเหตุปัจจัยหลักประการหนึ่งของความขัดแย้งและการต่อสู้ ถ้าพิจารณาในมุมนี้ก็อาจกล่าวได้ว่าการก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน เป็นปฏิกิริยาที่มีต่อบทบาทของสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลาที่ผ่านมานั่นเอง กระทบให้สังคมโลกต้องประสบบรรยากาศความตึงเครียดจากสงครามและความหวาดกลัวที่มีต่อการก่อการร้ายที่เพิ่มมากขึ้น ผลกระทบของเหตุการณ์ เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ได้ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งตอสหรัฐอเมริกาและสังคมโลกโดยรวม ดังนี้ 1.  ผลกระทบต่อสหรัฐอเมริกา  เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน  ค.ศ. 2001ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสหรัฐอเมริกาหลายประการด้วยกัน ได้แก่ 1) เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องสูญเสียชีวิตมนุษย์และทรัพย์สินจำนวนมาก  จากการประเมินของสภากาชาดสหรัฐอเมริกามียอดผู้เสียชีวิต 2,563 คน ความเสียหายมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 2)เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เศรษฐกิจที่เริ่มชะลอมาตั้งแต่ก่อนหน้าเกิดวิกฤตการณ์ก็ประสบปัญหามากขึ้น 3) ขวัญกำลังใจของประชาชนชาวอเมริกันตกต่ำลงและเกิดแนวความคิดแบบชาตินิยมมขึ้นมาแทนที่  ดัง จะเห็นได้จากประชาชนชาวอเมริกันต่างแสดงถึงความรักชาติของตนเองในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจุดเทียนรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ ธงชาติสหรัฐอเมริกาถูกประชาชนซื้อจนหมด  หรือร้องเพลงแสดงความรักชาติ เป็นต้น 4) เหตุการณ์ ดังกล่าวทำให้นโยบายการปกครองในประเทศของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเปลี่ยนแปลงไป จากเดิม โดยหันมาเน้นด้านความมั่นคงเป็นหลัก แทนที่สิทธิเสรีภาพในระบบประชาธิปไตย เช่น การให้อำนาจประธานาธิบดีมีอำนาจกระทำการใด ๆ ก็ได้ต่อบุคคลที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย การจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การลดสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนหรือคุกคามสิทธิส่วนบุคคล เป็นต้น ซึ่งประชาชนเองก็มีแนวโน้มคล้อยตามในการให้อำนาจแก่รัฐมากขึ้นเพื่อแลกกับ ความมั่นคงของชาติ 5)เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ได้ถูกรัฐบาลสหรัฐอเมริกานำไปใช้ในการสร้างความชอบธรรมในการโต้กลุ่มก่อการ ร้ายด้วยความรุนแรง เช่น การทำสงครามยึดครองอัฟกานิสถานในปลาย ค.ศ. 2001 หรือการรุกรานและยึดครองอิรักในปัจจุบันเป็นต้น 2.ผลกระทบที่มีต่อสังคมโลก  เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสังคมโลก ทั้งก่อให้เกิดสงครามและการก่อการร้ายมากขึ้นหลังจากเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 สหรัฐอเมริกาได้ประกาศสงครามกับกลุ่มก่อการร้ายและพร้อมจะทำลายกลุ่มองค์กร เหล่านี้ รวมทั้งรัฐบาลที่ให้แหล่งพักพิงและสนับสนุนการก่อการร้าย โดยประธานาธิบดีบุช ได้ประกาศให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต้องตัดสินใจว่าประเทศเหล่านั้นจะอยู่ข้างสหรัฐอเมริกาหรืออยู่ข้าง ฝ่ายก่อการร้าย การประกาศดังกล่าวทำให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างระมัดระวัง ในการหลีกเลี่ยงปัญหาความขัดแย้งทั้งจากสหรัฐอเมริกาและกลุ่มก่อการร้าย รวมถึงประชาชนภายในประเทศที่มีแนวโน้มขัดแย้งกับนโยบายของรัฐบาลที่ดำเนิน นโยบายเข้าข้างสหรัฐอเมริกา สงครามในคริสต์ศตวรรษที่ 21 จึง เกิดขึ้น โดยสหรัฐอเมริกาเข้าไปโค่นล้มรัฐบาลของประเทศอัฟกานิสถานและอิรักโดยอ้างถึง ความกดขี่ในด้านการปกครองและการสนับสนุนการก่อการร้ายของรัฐบาลชุดเก่า ทั้งรัฐบาลกลุ่มตาลีบันและรัฐบาลประธานาธิบดีซัดดัม  ฮุสเซน แล้วจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่เป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเท่ากับเป็นการขยายอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาไปด้วย   ขณะเดียวกัน กลุ่มก่อการร้ายก็ต่อต้านสหรัฐอเมริกาและชาติพันธมิตร เช่น อังกฤษ และออสเตรเลีย ด้วยการก่อวินาศกรรมทำลายชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้น เช่น เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมระเบิดสถานบันเทิงในเกาะบาหลีเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 2002 มีผู้เสียชีวิต 202 คน บาดเจ็บกว่า 300 คน   การก่อวินาศกรรมจึงส่งผล

1.สาเหตุความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง

-ความแตกต่างด้านเชื้อชาติ ภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นดินแดนที่มีหลากหลายเชื้อชาติมาตั้งแต่อดีต
เชื้อชาติสำคัญๆ ในดินแดนแถบนี้ คือ อาหรับ เปอร์เซีย เติร์กที่เหลือเป็น เคิร์ดยิว และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ

-ความขัดแย้งทางศาสนา ดินแดนภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นแหล่งกำเนิดศาสนาสำคัญของโลกถึง3 ศาสนา คือ ศาสนายิว คริสต์ศาสนา และศาสนาอิสลามในสมัยจักรวรรดิอาหรับศาสนาต่างๆสามารถอยู่ด้วยกันได้อย่างสันติแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่11 เกิดสงครามระหง่างศาสนาคริสต์กับศาสนราอิสลามในดินแดนปาเลสไตน์หลังจากพวกออตโตมันเติร์กเข้ายึดครองดินแดนตะวันออกกลางความขัดแย้งทางศาสนาก็ลดลงจนเมื่อลัทธิชาตินิยมแพร่หลายเข้ามาในดินแดนตะวันออกกลางในช่วงปลายคริสต์
ศตวรรษที่ 19 ชาวอาหรับได้เอาศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติขณะที่ชาวยิวที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศอิสราเอลที่นับถือศาสนายิวส่วนชาวเลบานอนนับถือศาสนาคริสต์ทำให้เกิดเป็นปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาขึ้นอีกนอกจากนี้ชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีก็มีข้อขัดแย้งกับชาว
เปอร์เซียทีนับถือนิกายชีอะฮ์ด้วย

-ความแตกต่างในระบอบการเมืองการปกครอง ประเทศต่างๆในภูมิภาคตะวันออกกลางมีระบอบปกครองที่แตกต่างกันบางประเทศปกครองในระบอบกษัตริย์เช่น ซาอุดิอาระเบีย จอร์แดน คูเวตบางประเทศปกครองในระบบเผด็จการ เช่น อิรัก ลิเบียบางประเทศปกครองในระบอบประชาธิปไตย เช่น อิสราเอล ตุรกี เป็นต้นหรือโดยบางประเทศปกครองโดยในระบอบศาสนาอิสลามสาธารณรัฐอิสลาม เช่นสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน เป็นต้นความแตกต่างทางด้านระบอบการปกครองทำให้รัฐบาลประเทศต่างๆมีความไม่ไว้ว่างใจซึ่งกันและกันตัวอย่างเช่นรัฐบาลประเทศต่างๆมีความหวาดระแวงในรัฐบาลของอิหร่านซึ่งปกครองโดนการปฏิวัติอิสลามว่าจะเผยพี่อุดมการณ์ปฏิวัติอิสลามเข้ามาในประเทศ

-ความแตกต่างทางด้านเศรษฐกิจ ประเทศต่างๆในภูมิภาคตะวันออกกลางมีฐานะไม่เท่าเทียมกันทางด้านเศรษฐกิจเนื่องจากแต่ละประเทศมีปริมาณน้ำมันสำรองงบเท่ากันบางประเทศมีปริมาณน้ำมันสำรองมากเช่น ซาอุดิอาระเบีย คูเวต อิหร่าน เป็นต้นบางประเทศไม่มีน้ำมัน เช่น อิสราเอลจอร์แดน เลบานอน ทรัพยากรน้ำมันจึงกลายเป็นสาเหตุของควาขัดแย้ง เช่นกรณีสงครามระหว่างอิรักกับอิกร่าน
ซึ่งอิรักเข้ารุกรานอิหร่านก็เนื่องจากต้องการยึดครองบ่อน้ำมันของอิหร่าน

-การแทรกแซงของชาติมหาอำนาจ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 20ชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวีตต่างเข้าแทรกแซงดินแดนภูมิภาคตะวันออกกลางโดยวิธีต่างๆ เช่น ทางด้านการฑุต ทางการเมือ เศรษฐกิจ และการทหาร

 

2.กรณีความขัดแย้งของภูมิภาคตะวันออกกลางที่มีผลกระทบต่อโลก

-สงครามอาหรับกับอิสราเอล ค.ศ.1948-1975 สงครามระหว่างอาหรับ-อิสราเอลเป็นสงครามขัดแย้งทางศาสนาและเชื้อชาติที่ชาวอาหรับผู้นับถือศาสนาอิสลามต้องการขับไล่ชาวยิวหรือชาวอิสราเอลผู้นับถือศาสนายิวให้หมดสิ้นจากดินแดนปาเลสไตน์ซึ่งเป็นประเทศอิสราเอลในปัจจุบันเป็นปัญหาที่กลายเป็นสงครามรบพุ่งกันหลายครั้ง

-สงครามระหว่างอิหร่านกับอิรัก ค.ศ.1980-1988 ในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1980 อิรักเข้าโจมตีจังหวัดคูเซสถานของอิหร่านร่านจึงส่งกำลังเข้าโต้ตอบจากนั้นสงครามได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และรบติดต่อกันเป็นระยะเวลานานสงครามนี้มีผลกระทบไปถึงประเทศสหรัฐอเมริกาโดยอิหร่านกล่าวหาว่าสหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือแก่อิรัก สงครามได้ยืดเยื้อมาจนกระทั่งสหประชาชาติและประเทศที่เป็นกลางได้พยายามที่จะให้ 2ประเทศนี้ได้เจรจายุติสงครามกันเพราะทั้งสองต่างก็เป็นประเทศที่มีบทบาทต่อการส่งน้ำมันออกสู่ตลาดโลกมาประธานาธิบดีซัดดัมฮุสเซนของอิรักประกาศว่าจะพยายามยุติสงครามลงด้วยสันติวิธีแต่การกระทำของอิรักกลับตรงกันข้ามกล่าวคือชาวเคิร์ดในอิหร่านถูกอิรักโจมตีด้วยอาวุธเคมีทำให้ประชาชนล้มตายไม่ต่ำกว่า 5,000คนและขณะเดียวกันทหารอิรักยังโจมตีและรุกคืบเข้าไปในดินแดนอิหร่านในค.ศ. 1987องค์การสหประชาชาติมีมติให้อิหร่านและอิรักยุติสงครามอิรักยอมรับมติแต่อิหร่านยังคงโจมตีอิรักต่อเพราะคาดว่าจะได้รับชัยชนะปรากฏว่าอิหร่านไม่สามารถเอาชนะอิรักได้ และในค.ศ. 1988 อิรักซึ่งได้รับการสนับสนุนกำลังอาวุธจากสหภาพโซเวียตกลับมาสามารถต้านทานและผลักดันกองทัพอิหร่านพ้นชายแดนอิรัก ในที่สุดอายาตุลเลาะห์ โคไมนีผู้นำอิหร่านต้องยอมรับมติสหประชาชาติ ทั้งสองฝ่ายต่างหยุดยิงในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1988

-สงครามอ่าวเปอร์เซีย (อิรักบุกยึดครองคูเวต) ค.ศ.1990-1991 อิรักได้ทำสงครามกับอิหร่านมานานถึง 9 ปี ทำให้มีหนี้สินต่างประเทศโดยเฉพาะที่กู้ยืมมาจากซาอุดิอาระเบียและคูเวตรวมกันเป็นจำนวนมากแต่อิรักเป็นประเทศที่มีทรัพยากรน้ำมันอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์และนอกตากนี้อิรักภายใต้การนำของปรานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซนยังได้สร้างกองทัพอิรักให้มีแสนยานุภาพที่เกรียงไกรกว่าทุกประเทศในตะวันออก กลางกล่าวคือมีทหารที่ฝึกปรืออย่างดีและผ่านประสบการณ์สงครามกับอิหร่านมาแล้วจำนวนมากกว่า 1 ล้านคน มีอาวุธที่ทันสมัยทั้งเครื่องบิน จรวดอาวุธ และกำลังเริ่มต้นพัฒนาอาวุธปรมาณูขึ้นอีก

 

3.ผลกระทบของปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง

3.1สาเหตุความขัดแย้ง

ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางในสมัยปัจจุบันมีสาเหตุหลายประการด้วยกันได้แก่

1.สาเหตุด้านเชื้อชาติ ภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นดินแดนที่มีหลากหลายเชื้อชาติมาตั้งแต่อดีตเชื้อชาติสำคัญๆ ในดินแดนแถบนี้ คือ อาหรับ เปอร์เซีย เติร์ก ที่เหลือเป็น เคิร์ดยิว และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ

2.ความขัดแย้งทางด้านศาสนาดินแดนภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นแหล่งกำเนิดศาสนาสำคัญของโลกถึง 3 ศาสนา คือ ศาสนายิว คริสต์ศาสนา และศาสนาอิสลามในสมันจักรวรรดิอาหรับศาสนาต่างๆสามารถอยู่ด้วยกันได้อย่างสันติแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 เกิดสงครามระหง่างศาสนาคริสต์กับศาสนราอิสลามในดินแดนปาเลสไตน์หลังจากพวกออตโตมันเติร์กเข้ายึดครองดินแดนตะวันออกกลาง ความขัดแย้งทางศาสนาก็ลดลงจนเมื่อลัทธิชาตินิยมแพร่หลายเข้ามาในดินแดนตะวันออกกลางในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่19 ชาวอาหรับได้เอาศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติขณะที่ชาวยิวที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศอิสราเอลที่นับถือศาสนายิวส่วนชาวเลบานอนนับถือศาสนาคริสต์ ทำให้เกิดเป็นปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาขึ้นอีกนอกจากนี้ชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีก็มีข้อขัดแย้งกับชาวเปอร์เซียทีนับถือนิกายชีอะฮ์ด้วย

3.ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจประเทสต่างๆในภูมิภาคตะวันออกกลางมีฐานะไม่เท่าเทียมกันทางด้านเศรษฐกิจเนื่องจากแต่ละประเทศมีปริมาณน้ำมันสำรองำม่เมท่ากันบางประเทศมีปริมาณน้ำมันสำรองมาก เช่น ซาอุดิอาระเบีย คูเวต อิหร่อน เป็นต้นบางประเทศไม่มีน้ำมัน เช่น อิสราเอล จอร์แดน เลบานอนทรัพยากรน้ำมันจึงกลายเป็นสาเหตุของความขัดแย้ง เช่นกรณีสงครามระหว่างอิรักกับอิกร่านซึ่งอิรักเข้ารุกรานอิหร่านก็เนื่องจากต้องการยึดครองบ่อน้ำมันของอิหร่าน

4.ปัญหาทางด้านการเมืองประเทศต่างๆในภูมิภาคตะวันออกกลางมีระบอบปกครองที่แตกต่างกัน บางประเทศปกครองในระบอบกษัตริย์เช่น ซาอุดิอาระเบีย จอร์แดน คูเวต บางประเทสปกครองในระบบเผด็จการ เช่น อิรักลิเบีย บางประเทศปกครองในระบอบประชาธิปไตย เช่น อิสราเอล ตุรกี เป็นต้นหรือโดยบางประเทศปกครองโดยในระบอบศาสนาอิสลาม สาธารณรัฐอิสลาม เช่นสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน เป็นต้นความแตกต่างทางด้านระบอบการปกครองทำให้รัฐบาลประเทศต่างๆมีความไม่ไว้ว่างใจซึ่งกันและกัน ตัวอย่างเช่นรัฐบาลประเทศต่างๆมีความหวาดระแวงในรัฐบาลของอิหร่านซึ่งปกครองโดนการปฏิวัติอิสลามว่าจะเผยพี่อุดมการณ์ปฏิวัติอิสลามเข้ามาในประเทศ

5.การแทรกแซงของชาติมหาอำนาจการแทรกแซงของมหาชาติอำนาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวีตต่างเข้าแทรกแซงดินแดนภูมิภาคตะวันออกกลางโดยวิธีต่างๆ เช่น ทางด้านการฑุต ทางการเมือ เศรษฐกิจ และการทหาร

3.2กรณีขัดแย่งในภูมิภาคตะวันออกกลาง

3.2.1สงครามระหว่างอาหรับ-อิสราเอล (ค.ศ.1948-1973)

สงครามระหว่างอาหรับ-อิสราเอลเป็นสงครามขัดแย้งทางศาสนาและเชื้อชาติที่ชาวอาหรับผู้นับถือศาสนาอิสลามต้องการขับไล่ชาวยิวหรือชาวอิสราเอลผู้นับถือศาสนายิวให้หมดสิ้นจากดินแดนปาเลสไตน์ซึ่งเป็นประเทศอิสราเอลในปัจจุบันเป็นปัญหาที่กลายเป็นสงครามรบพุ่งกันหลายครั้ง คือ

1.สงครามอาหรับ-อิสราเอล (Arab-Israeli War1948-1949)

2.สงครามไซนาย-สุเอซ (Sinai-Suez War ค.ศ. 956)

องค์การสหประชาชาติและมหาอำนาจตะวันตกได้เข้ามาเจรจาเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับคลองสุเอซโดยให้อิสราเอลและอียิปต์ถอนทหารออกไป กระทั่งเดือนมีนาคม ค.ศ. 1957 ทหารทั้ง 2 ฝ่ายก็ได้ถอนกำลังำปจากคลองสุเอซ

3.2.2 สงครามระหว่างอิหร่าน-อิรัก (Iras-IraqWar ค.ศ. 1980-1988)

ในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1980 อิรักเข้าโจมตีจังหวัดคูเซสถานของอิหร่านร่านจึงส่งกำลังเข้าโต้ตอบ จากนั้นสงครามได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆและรบติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน สงครามนี้มีผลกระทบไปถึงประเทศสหรัฐอเมริกาโดยอิหร่านกล่าวหาว่าสหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือแก่อิรัก

สงครามได้ยืดเยื้อมาจนกระทั่งสหประชาชาติและประเทศที่เป็นกลางได้พยายามที่จะให้2ประเทศนี้ได้เจรจรยุติสงครามกันเพราะทั้งสองต่างก็เป็นประเทศที่มีบทบาทต่อการส่งน้ำมันออกสู่ตลาดโลกมา

ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซนของอิรักประกาศว่าจะพยายามยุติสงครามลงด้วสันติวิธีแต่การกระทำของอิรักกลับตรงกันข้าม กล่าวคือ ชาวเคิร์ดในอิหร่านถูกอิรักโจมตีด้วยอาวุธเคมีทำให้ประชาชนล้มตายไม่ต่ำกว่า5,000คน และขณะเดียวกันทหารอิรักยังโจมตีและรุกคืบเข้าไปในดินแดนอิหร่าน

ในค.ศ. 1987 องค์การสหประชาชาติมีมติให้อิหร่านและอิรักยุติสงครามอิรักยอมรับมติแต่อิหร่านยังคงโจมตีอิรักต่อเพราะคาดว่าจะได้รับชัยชนะปรากฏว่าอิหร่านไม่สามารถเอาชนะอิรักได้ และในค.ศ. 1988 อิรักซึ่งได้รับการสนับสนุนกำลังอาวุธจากสหภาพโซเวียตกลับมาสามารถต้านทานและผลักดันกองทัพอิหร่านพ้นชายแดนอิรักในที่สุดอายาตุลเลาะห์ โคไมนี ผู้นำอิหร่านต้องยอมรับมติสหประชาชาติ ทั้งสองฝ่ายต่างหยุดยิงในวันที่20 สิงหาคม ค.ศ. 1988

3.2.3สงครามอ่าวเปอร์เซีย

อิรักได้ทำสงครามกับอิหร่านมานานถึง 9 ปี ทำให้มีหนี้สินต่างประเทศโดยพาะที่กู้ยืมมาจากซาอุดิอาระเบียและคูเวตรวมกันเป็นจำนวนมากแต่อิรักเป็นประเทศที่มีทรัพยากรน้ำมันอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ และนอกตากนี้อิรักภายใต้การนำของปรานาธิบดีซัดดัมฮุสเซนยังได้สร้างกองทัพอิรักให้มีแสนยานุภาพที่เกรียงไกรกว่าทุกประเทศในตะวันออกกลางกล่าวคือมีทหารที่ฝึกปรืออย่างดีและผ่านประสบการณ์สงครามกับอิหร่านมาแล้วจำนวนมากกว่า1 ล้านคน มีอาวุธที่ทันสมัยทั้งเครื่องบิน จรวด อาวุธและกำลังเริ่มต้นพัฒนาอาวุธปรมาณูขึ้นอีก

สงครามอ่าวเปอร์เซีย

ส่วนคูเวตเป็นประเทศเล็กๆ ด้าวในสุดของอ่าวเปอร์เซียตั้งอยู่ระหว่างอิรักและซาอุดิอาระเบียในอดีตคูเวตเคยเป็นจังหวัดหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมันเติร์กแต่ด้วยเหตุที่เป็นแหล่งน้ำมันอย่างมหาศาล จึงถูกสหราชอาณาจักรครอบครองตั้งแต่ ค.ศ.1914และได้รับเอกราชในค.ศ. 1961 ในระยะที่อิรักยุติสงครามกับอิหร่านนั้นเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกตกต่ำอิรักจึงกล่าวหาว่าประเทศสมาชิกของโอเปกทั้งหลายผลิตน้ำมันออกสู่ตลาดโลกมากเกินไปจึงทำให้ราคาตกต่ำ ส่วนคูเวตนั้นนอกจากมีส่วนทำให้ราคาน้ำมันตกต่ำอิรักยังกล่าวหาว่า คูเวตสูบน้ำมันมาจากแหล่งของตนอิรักจึงเจรจาเรื่องพรมแดนกับคูเวตซึ่งเคยมีกรณีพิพาทขัดแย้งกันมาก่อนซึ่งอิรักหวังว่าจะได้ดินแดนที่เป็นแหล่งน้ำมันเพิ่มขึ้นและอาจจะได้ดินแดนที่เป็นทางออกสู่อ่าวเปอร์เซียกว้างขึ้นด้วยแต่คูเวตกลับปฏิเสธคำขอนี้ ดังรั้รวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990อิรักจึงได้เคลื่อนกองกำลังเข้ายึดคลองคูเวตไว้

ประเทศต่างๆทั่วโลกต่างประณามการกระทำของอิรักส่วนคณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้จัดประชุมฉุกเฉินและมีมติให้อิรักถอนกำลังออกไปแต่อิรักกลับเพิกเฉยโดยอ้างว่าคูเวตเป็นจังหวัดหนึ่งของตน ดังนั้นสหประชาชาติภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกาสหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส พร้อมประเทศอื่นๆจึงได้เคลื่อนกำลังเข้าสู่ตะวันออกกลางและทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์ สนามบินและเส้นทางคมนาคมในประเทศอิรัก โดยเฉพาะกรุงแบกแดดและเมื่อใหญ่อื่นๆพร้อมกันนั้นฝ่ายสหประชาชาติก็ได้ยื่นคำขาดให้อิรักถอนทหารออกไปจากคูเวตแต่ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน ไม่ยอมปฏิบัติตามดังรั้รกองกำลังของสหประชาชาติจึงเคลื่อนกำลังเข้ายึดคูเวตกลับคืนได้ ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 โดยใช้เวลาขับไล่อิรักออกไปจากคูเวตเพียว100 ชั่วโมงเท่านั้น

สงครามครั้งนี้ ฝ่ายสหประชาชาติได้นำอาวุธที่ทันสมัยออกมาใช้มากทำให้ทหารฝ่านสหประชาชาติเสียชีวิตไปเพียงไม่กี่คนส่วนทางฝ่ายอิรักไม่ยอมเปิดเผยความสูญเสียของชีวิตทหารแต่ทรพย์สินและสิ่งก่อสร้างในประเทศอิรักได้รับความสูญเสียมากเช่น สนามบิน สะพาน บ้านเรือน สถานที่ราชการ ค่ายทหารและแหล่งยุทธศาสตร์ เป็นต้นทางด้านคูเวต นอกจากจะถูกอิรักกอบโกยทรัพย์สินจากภาคเอกชนและราชการไปแล้วอน้ำมันในคูเวตหลายร้อยบ่อยังถูกอิรักจุดไฟเผ่าทิ้งก่อนล่าถอยทำให้ต้องใช้เวลาเกือบปีจึงจะดับไฟหมด และอิรักยังปล่อยน้ำมันดิบลงสู่อ่าวเปอร์เซียจำนวนมหาศาลอีกซึ่งเป็นการจงใจทำลายทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ

3.3ผลกระทบของความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง

1.ความขัดแย้งในตะวันออกกลางทำให้กลางเมืองของโลกตึงเครียดขึ้นเนื่องจากความขัดแย้งไม่ได้จำกัดแต่เพียงคู่กรณีพิพาทเท่านั้นแต่ยังเกี่ยวพันกับมหาชาติอำนาจให้เข้ามามีส่วนร่วมกับความขัดแย้งจนถึงขั้นเผชิญหน้ากัน เช่นสหรัฐอเมริการกับอดีตสหภาพโซเวียตในกรณีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับกับอิสราเอลเป็นต้น

2.ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางเปิดโอกาสให้ชาติมหาอำนาจเข้ามาแทรกแซงมีอิทธิพลในประเทศต่างๆดังเช่นสงครามอิรักบุกยึดคลองคูเวตใน ค.ศ. 1990-1991 เปิดโอกาสให้ชาติมหาอำนาจโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกาซึ่งมีบทบาทในการขับไล่อิรักออกจากคูเวตได้ขยายอิทธิพลเข้าไปในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางจนถึงขั้รจัดตั้งฐานทัพในประเทสอิสลามหลายประเทศเช่น ซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ เป็นต้นนอกจากสหรัฐอเมริกายังสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในอุตสาหกรรมน้ำมันในประเทศแถบนี้ด้วย

3.ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรงเนื่องจากภูมิภาคนี้เป็นกลุ่มประเทสผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลกเมื่อปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคนี้เกิดขึ้นราคาน้ำมันจะต้องเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจยส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจโลกโดยรวม ดังเช่นกรณีสงครามอ่าวเปอร์เซียระหว่างอิรักกับคูเวตใน ค.ศ. 1990 น้ำมันกลายเป็นอาวุธสำคัญที่กลุ่มอาหรับใช้ในการต่อรองทางการเมืองกับชาติมหาอำนาจโดยการเพิ่มราคาน้ำมันจนก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจไปทั่วโลกซึ่งเรียกว่า วิกฤตการณ์น้ำมัน เป็นต้น

4.ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางส่งผลให้เกิดการก่อการร้ายไปทั่วโลกซึ่งการก่อการร้าย คือ วิถีทางการต่อสู้ของผู้อ่อนแอกว่าที่มีต่อผู้เข้มแข็งที่เห็นได้ชัดเช่นกรณีสงครามที่อสราเอลมีชัยชนะเหนือประเทสอาหรับและเข้ายึดครองดินแดนประเทศต่างๆทำให้ผู้ได้รับผลกระทบต่อการกระทำของอิสราเอลรวมตัวกันเป็นขบวนการก่อการร้ายเพื่อต่อสู้กับอิสราเอลในทุกวิถีทางในทุกพื้นที่ซึ่งรวมถึงการต่อสู้และการก่อการร้ายต่อชาติพันธมิตรขงอิสราเอลด้วยซึ่งส่งผลให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์ต้องสูญเสียเป็น

.ความหมายของส่งครามเย็น  

สงครามเย็นคือลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ช่วง ค.ศ.1945-1991 ที่กลุ่มประเทศโลกเสรีและกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ ต่างพยายามต่อสู้โดยวิธีการต่างๆ ยกเว้นการทำสงครามกันโดยเปิดเผย เพื่อขัดขวางการขยายอำนาจของกันและกัน

2.สาเหตุของสงครามเย็น

สาเหตุของสงครามเย็นเกิดจากการแข่งขันกันของประเทศอภิมหาอำนาจจากประเสบการณ์ที่ผ่านมาในสงครามโลกทั้งสองครั้ง ทำให้สหรัฐอเมริกาเสียหายน้อยกว่าประเทศคู่สงครามในยุโรป ทั้งยังเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสูง และเป็นประเทศแรกที่สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีความรู้สึกว่าตนเป็นตำรวจโลกเพื่อพิทักษ์ไว้ซึ่งวิถีทางประชาธิปไตยและเสรีภาพ ส่วนสหภาพโซเวียตฟื้นตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างรวดเร็ว เพราะพื้นที่กว้างใหญ่ มีทรัพยากรธรรมชาติมาก สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้สำเร็จ สหภาพโซเวียตต้องการเป็นผู้นำในการปฏิวัติโลกเพื่อสถาปนาระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ตามแนวคิดของมาร์กซ์ขึ้น ดังนั้น ทั้งสองอภิมหาอำนาจจึงใช้ความช่วยเหลือที่ให้แก่ประเทศต่างๆ เป็นเครื่องมือในการขยายอิทธิพล อำนาจ และอุดมการณ์ของตน เพื่อหาประเทศที่มีอุดมการณ์คล้ายคลึงกันมาเป็นเครื่องถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายตรงข้าม

3.ความขัดแย้งของชาติมหาอำนาจในยุคสงครามเย็น

อำนาจในการต่อรองการให้ความคุ้มครองเหนือดินแดน รวมทั้งการป้องกันประเทศให้คงความเป็นปึกแผ่นนั้น หลายประเทศทั่วโลกยังคงให้ความสำคัญต่อแสนยานุภาพทางการทหาร ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้หลายประเทศยอมรับว่า ยุคสงครามเย็นได้สิ้นสุดไปแล้วก็ตาม แต่กองทัพก็ยังคงใช้เป็นหลักประกัน ในการรักษาเอกราชอธิปไตยของชาติ ทั้งยังสามารถสร้างความน่าเกรงขามให้กับศัตรูผู้รุกรานได้ เหตุการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเกือบทั่วทุกภูมิภาคของโลกที่ผ่านมา และถึงขณะนี้ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ความไม่สงบในแคว้นเชสเนียของรัสเซีย เหตุการณ์ในตะวันออกกลาง รวมทั้งเหตุการณ์ในติมอร์ตะวันออก ที่หลายฝ่ายกำลังหวั่นวิตกและได้ให้ความสนใจ เพราะเกรงว่าเหตุการณ์จะบานปลายไปกันใหญ่จนอาจเป็นสงครามระหว่างประเทศ เนื่องจากเหตุการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นดูเหมือนว่า จะไม่สามารถยุติลงได้ง่าย ๆ ทั้งนี้มีสาเหตุเนื่องมาจากความต้องการมีอำนาจ และผลประโยชน์เหนือดินแดนของประเทศที่มีอำนาจมากกว่าดินแดนเหล่านั้นนั่นเอง    

 

 

4.ความขัดแย้งและสงครามตัวแทนในภูมิภาคเอเชีย

ส่วนสงครามร้อนหรือสงครามตัวแทนนั้น  ปรากฏอย่างเด่นชัดโดยเฉพาะในเขตเอเชีย อันได้แก่จีนเกาหลี  และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ เวียดนามสงครามตัวแทนในจีน  เริ่มต้นขึ้นหลังจาก ดร. ซุน ยัด เซน ทำการปฏิวัติล้มล้างการปกครองของราชวงศ์แมนจู   ในช่วงเวลาดังกล่าวจีนต้องเผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนัก    ดร. ซุน ยัด เซน จึงรับความช่วยเหลือทางการเงินจากสหภาพโซเวียตและยินยอมให้มีการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนขึ้นโดยมี เหมา เจ๋อ ตุง เป็นผู้นำพรรค    ต่อมา เจียง ไค เช็ค ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำประชาธิปไตยจีนแทน ดร. ซุน ยัด เซน  และเกิดความขัดแย้งกับเหมา เจ๋อ ตุง ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองของจีนเข้าสู่สังคมนิยม  สงครามตัวแทนจึงปะทุขึ้น  โดยสหภาพโซเวียตสนับสนุนเหมา เจ๋อ ตุง   ส่วนสหรัฐอเมริกาสนับสนุนเจียง ไค เช็ค   ปรากฏว่าเหมา เจ๋อ ตุง ชนะ  ประเทศจีนจึงเปลี่ยนระบบการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ภายใต้ชื่อสาธารณรัฐประชาชนจีน (People Republic of Chaina) ในปี ค.ศ. 1949   ส่วนฝ่ายเจียง ไค เช็คต้องอพยพไปตั้งถิ่นฐานยังเกาะไต้หวันและจัดตั้งรัฐบาลจีนคณะชาติปกครองไต้หวันในระบอบประชาธิปไตย    

 

 

 

 5.การสิ้นสุดสงครามเย็น

แม้ว่าสงครามเย็นและสงครามตัวแทนจะกินอาณาบริเวณกว้างขวาง  อย่างไรก็ตามในราวทศวรรษ 1955 เป็นต้นมาสถานการณ์ความรุนแรงก็ค่อย ๆ คลี่คลายลง   เนื่องจากครุสซอฟได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำสหภาพโซเวียตแทนสตาลินและใช้นโยบายอยู่ร่วมกันอย่างสันติกับกลุ่มเสรีประชาธิปไตย   และเมื่อมิคาอิล  กอร์บาชอฟ (Michail  Gorbashev) ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจากครุสซอฟ  ได้ประการใช้นโยบาย   กราสนอสต์ และ เปเรสทรอยกา (Glasnost & Perestroika) โดยเปิดประเทศเข้าสู่ระบบเสรี  ปรับเศรษฐกิจให้เอกชนเข้าไปดำเนินการ  ปฏิรูปโครงสร้างการเมืองเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพทางการเมืองมากขึ้น  ถอนทหารออกจากอัฟกานิสถานและยุโรปตะวันออก   ซึ่งนโยบายดังกล่าวสร้างความไม่พอใจแก่กลุ่มผู้นำคอมมิวนิสต์ฝ่ายอนุรักษ์นิยมและพวกหัวรุนแรง กระทั่งเกิดการทำรัฐประหารขับนายกอร์บาชอฟออกจากตำแหน่ง   แต่ต่อมาประชาชนและทหารฝ่ายรักประชาธิปไตยภายใต้การนำของนายบอริส  เยลต์ซิน (Boris  Yelsin) ได้ก่อกระแสเรียกร้องประชาธิปไตยต่อต้านการทำรัฐประหาร  ทำให้การทำรัฐประหารล้มเหลวและฝ่ายผู้ก่อการถูกจับกุม  แม้นายกอร์บาชอฟจะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแต่อิทธิพลก็ลดลงอย่างรวดเร็ว   แลตเวีย  เอสโตเนีย  ลิทัวเนีย ซึ่งเป็นรัฐทางทะเลบอลติกประกาศเอกราชไม่อยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต   และในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1991 เยลต์ซินร่วมกับผู้นำรัฐยูเครนและรัฐเบลารุสได้ร่วมกันประกาศยุบสหภาพโซเวียต  ส่งผลทำให้สหภาพโซเวียตล่มสลายลง   ส่วนในยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะเยอรมนีก็ได้ประกาศรวมประเทศและทำลายกำแพงเบอร์ลินซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็น ในปี 1990   หลังจากสงครามเย็นยุติลงด้วยการล่มสลายของสหภาพโซเวียต  ก็เกิดผลกระทบหรือความเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ตามมาอีกหลายประการ  ได้แก่
         1) สหรัฐอเมริกากลายเป็นอภิมหาอำนาจเดียวของโลก
         2) เกิดการจัดระเบียบโลกใหม่ นำโดยสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ  เน้นการปกครองแบบประชาธิปไตย  การค้าเสรี  การเคารพสิทธิมนุษยชน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  
         3) เกิดกระแสชาตินิยมใหม่ ซึ่งเป็นการเรียกร้องการปกครองตนเองของชนกลุ่มน้อยในดินแดนต่าง ๆ และการประกาศเอกราชของประเทศต่าง ๆ  เช่น ความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติรัสเซียกับชนกลุ่มน้อยชาวเชชเนียในประเทศรัสเซีย  หรือการประกาศเอกราชของติมอร์ตะวันออก  เป็นต้น                ความปลอดภัยจากสงครามขนาดใหญ่  ทำให้โลกเริ่มพัฒนาเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว  ระบบทุนนิยมได้แทรกซึมเข้าสู่วิถีชีวิตแทบทุกส่วนของโลก  เกิดการเชื่อมโยงโลกถึงกันอย่างรวดเร็วและไร้ขีดจำกัด  สภาวะดังกล่าวนี้อาจเรียกได้อีกนัยหนึ่งว่า เกิดการเปลี่ยนยุคจากยุคของสงครามเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์     
   

อ้างอิง http://www.bbcpoint.ob.tc/2551m4/ColdWar1.doc

1.ความหมายของการปฏิวัติอุตสาหกรรมและเกิดขึ้นที่ประเทศใด

 การปฏิวัติอุตสาหกรรม คือ การเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตจากเดิมที่เคยใช้แรงงานคนและสัตว์พลังงานธรรมชาติ หรือเครื่องมือง่าย  ในสังคมเกษตรกรรมมาเป็นใช้เครื่องจักรกลผลิตสินค้าในระบบโรงงานอุตสาหกรรม  ทำให้ได้ผลผลิตใน ทั้ปริมาณมาก  การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นที่ประเทศอังกฤษก่อน เมื่อประมาณ ค.ศ.1760 หรือในคริสต์ศตวรรษ  ที่ 18 และค่อย  แพร่ขยายไปยังประเทศยุโรปและชาติตะวันตกอื่น  เป็นเหตุการณ์สำคัญที่มีผลกระทบต่อประชากรโลกอย่างมากงในด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง สังคมและวัฒนธรรม

2.ทำไมการปฏิวัติอุตสาหกรรมในระยะแรกจึงเรียกว่า
"สมัยแห่งพลังไอน้ำ"

การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะแรก ประมาณ ..1760 เรียกว่า “สมัยแห่งพลังไอน้ำ” เนื่อง จากมีการค้นพบพลังไอน้ำและนำเครื่องจักรไอน้ำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง  โดยเฉพาะอุตสาหกรรมทอผ้า ทั้งนี้ เป็นเพราะอังกฤษมีแหล่งถ่านหินและเหล็ก ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงและวัตถุดิบที่อุดมสมบูรณ์รวมทั้งมีการประดิษฐ์เครื่องจักรกลใหม่  ซึ่งนำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง     

3.ทำไมการปฏิวัติอุตสาหกรรมในระยะที่2จึงเรียกว่า
"การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคเหล็กกล้า
    

1.การปฏิวัติอุตสาหกรรมในระยะที่สองประมาณปี
ค.ศ.1860-1914
 มีการนำความรู้ทางวิทยาศสตร์มาประยุกต์ใช้ในการผลิตภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริงเป็นยุคที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติ
น้ำมันปิโตรเลียม และไฟฟ้า (ส่วนถ่านหินและเครื่องจักรไอน้ำลดความสำคัญลง )

2.อุตสาหกรรมที่สำคัญ
คือ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลที่ทำด้วยเหล็กกล้า(
Steel) และอุตสาหกรรมเคมี จึงมีผู้เรียกการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงที่สองนี้ว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคเหล็กกล้า" (Age of Steel )

4.ให้อธิบายแสดงความก้าวหน้าและการขยายตัวของการปฏิวัติอุตสาหกรรม

1.การค้นพบวิธีการผลิตเหล็กกล้า ในปี ..1856 และการใช้พลังงานใหม่  แทนที่ ถ่านหิน ได้แก่  พลังงานจากก๊าซ น้ำมันปิโตรเลียม และไฟฟ้า เป็นผลให้อุตสาหกรรมของทวีปยุโรปขยายตัวอย่างรวดเร็วโด ยเฉพาะเมื่อเหล็กกล้ามีราคาถูกลงทำให้อุตสาหกรรมหนัก เช่น การต่อเรือ การคมนาคม และการผลิตเครื่องจักรกลต่าง  พัฒนาก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

2.การขยายตัวของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในทวีปยุโรป ในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีประเทศในภาคพื้นยุโรปหลายประเทศประสบผลสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเยอรมนีกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้าและเป็นคู่แข่งที่สำคัญของอังกฤษ3.การเกิดประเทศผู้นำด้านอุตสาหกรรมของโลก ก่อนสงครามโลก ครั้งที่ 1(..1914-1918) อังกฤษยังคงมีฐานะเป็นประเทศผู้นำทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก โดยเยอรมนีเป็นประเทศที่มีระดับการพัฒนาใกล้เคียงมากที่สุด จนกระทั้งในปี ..1920 จึงเกิดประเทศคู่แข่งสำคัญเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และญี่ปุ่น4.การเกิดระบบการบริหารและการจัดการทางอุตสาหกรรม การปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เกิดการบริหารงานในระบบโรงงานที่มีประสิทธิภาพ เช่น มีการแบ่งงานกันทำเป็นฝ่ายหรือแผนก 

5.ให้อธิบายผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม

การเพิ่มของจำนวนประชากร โดยเฉพาะประเทศอังกฤษและเยอรมนีมีอัตราการเพิ่มของประชากรสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม เกิดการขยายตัวของชุมชนเมือง 
การขยายตัวของสังคมเมือง เกิดเมืองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการอพยพของผู้คนในชนบทเข้ามาทำงานในเมือง ทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมาโดยเฉพาะปัญหาชุมชนแออัด และเกิดอาชีพใหม่ ๆ อย่างหลากหลายในขณะที่ชนชั้นกลางหรือพ่อค้านายทุนเข้ามามีบทบาทในสังคมมากขึ้น 
การแสวงหาอาณานิคมและลัทธิจักรวรรดินิยม ประเทศยุโรปที่มีการปฏิวัติการผลิตด้านอุตสาหกรรมมีความจำเป็นต้องแสวงหาแหล่งวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรม และขยายตลาดระบายสินค้าที่ผลิตจึงเกิดการแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมในทวีปแอฟริกาและเอเชีย 
ภาพของโลกเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 จึงเป็นภาพที่สะท้อนถึงความแตกต่างของชาติที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมแล้วกับชาติอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้ปฏิวัติอุตสาหกรรม รวมทั้งก่อให้ เกิดความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างเจ้าอาณานิคมกับประเทศที่ตกเป็นอาณานิคม ความแตกต่างกันนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแต่เพียงวิถีชีวิตระหว่างเมืองกับชนบท หรือภาคอุตสาหกรรมกับเกษตรกรรมเท่านั้นหากยังแตกต่างกันในวิธีคิดที่แสดงออกผ่านระบบและสถาบันทางเศรษฐกิจการเมือง สังคมอีกด้วย กล่าวคือ การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นระดับพัฒนาการในระบบทุนนิยมจากทุนนิยมการค้าสู่ทุนนิยมอุตสาหกรรม จึงต้องมีการปรับระบบความคิดและสถาบันองค์กรให้สอดคล้องและรองรับการเติบโตของระบบทุนนิยมอุตสาหกรรม 

การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์จากการสำรวจทางทะเลและการปฏิวัติทางการค้า ในระหว่างศตวรรษที่ 12-16 ทำให้เกิดการเรียนรู้ รู้จักตนเองและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติมากขึ้น การค้นคว้าทดลองและผลการประยุกต์สิ่งต่างๆถูกนำมาใช้ จนทำให้สังคมมีความก้าวหน้า โดยเฉพาะด้านวัตถุและเทคนิคต่างๆ ความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ดังกล่าวเรียกว่า "การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์" ซึ่งเกิดจากการค้นคว้าทดลองของชาวตะวันตกภายหลังจากที่ได้มีการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์แล้ว ทำให้วิทยาศาสตร์มีความสำคัญขึ้นมาความสำคัญของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์1. ทำให้ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆไ้ด้มากขึ้น
2. ทำให้มนุษย์มีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง
3. ทำให้มนุษย์มีความเชื่อมั่นในการใช้ปัญญาและความสามารถ
4. ทำให้มนุษย์มีความเชื่อมั่นในความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
5. ทำให้มนุษย์มีความเชื่ออย่างมีเหตุผล ไม่งมงาย และชอบค้นคว้า
การที่มนุษย์ชอบสังเกตุค้นคว้าทดลอง ไม่งมงายอีกต่อไปทำให้ประสบความสำเร็จ ในการคิดเครื่องพิมพ์ดีด ค.ศ.1447 ของโยฮันน์ กูเตเบอร์ก ชาวเยอรมัน นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงมากมาย เช่น ข่าวสารต่างๆถูกนำมาเผยแพร่มากขึ้น แม้กระทั่งพระำคำภีร์ไบเบิล ทำให้ประชาชนรู้หลักคำสอนที่แท้จริงของศาสนาคริสต์ข่าวสารความสำเร็จในการเดินเรือรอบโลก และการค้นพบดินแดนโพ้นทะเลทำให้คนเชื่อมั่นในสติปัญญาโคลัมบัส เป็นนักเดินเรือคนแรกที่กล้าเดินทางรอบโลก วิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์จึงเป็นรากฐานสำคัญ ที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในคริสตศตวรรษที่ 7การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เิกิดขึ้นหลายศตวรรษติดต่อกันการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์เป็นที่สนใจของชาวตะวันตกมาตั้งแต่สมัยกลาง การติดต่อกับอาณาจักรไบแซนไทน์และอาหรับ ทำให้วิทยาศาสตร์ของกรีกและอาหรับเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป วิชาการหลายแขนง เช่น ดาราศาสตร์ กลศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญาได้เปิดสอนในมหาวิทยาลัยตะวันตกการศึกษาวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่องสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ คือการย้อนกลับ ไปศึกษาศิลปของกรีกและโรมันใหม่ภายหลังยุคมืดศิลปินชาวตะวันตกได้แก่ ลีโอนาร์โด ดาวินซี และไมเคิล แอนเจโล ได้ฟื้นฟูศิลปของกรีกและโรมันใหม่ โดยนำหลักการของวิทยาศาสตร์กายภาพ มาศึกษากล้ามเนื้อและโครงสร้างของมนุษย์ นำไปสร้างงานศิลปกรรมทางจิตรกรรม และปฏิมากรรม ที่แสดงถึงสัดส่วนอย่างแท้จริง นอกจากมีการพัฒนาด้านศิลปกรรมแล้ว ความสนใจทางวิทยาศาสตร์ทำให้มีการค้นพบคุณสมบัติของ "เลนส์" จนนำมาประยุกต์ใช้กับกล้องส่องทางไกลและกล้องดูดาวในเวลาต่อมาการศึกษาคณิตศาสตร์อย่างลึกซึ้ง จนสามารถพัฒนาเครื่องมือในการวัดการคำนวณอย่างแม่นยำ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาเดินเรือในเวลาต่อมานอกจากนี้วิทยาศาสตร์ยังทำให้เกิด "กบฎทางความคิด" การปฏิปักษ์ต่อกรอบความคิดของคริสต์ศาสนาได้ขยายมากขึ้นเมื่อ มาร์ติน ลูเธอร์ บาทหลวงชาวเยอรมันทำการปฏิรูปศาสนา ค.ศ.1517 โดยทำการประท้วงการปฏิบัติบางประการของฝ่ายคาทอลิก จัดตั้งนิกายลูเธอร์แรนขึ้นมา (ส่วนหนึ่งของโปรเตสแตนท์) ทำให้การศึกษาวิชาเทววิทยาลดบทบาทลง เปิดโอกาสให้ทำการศึกษาวิืทยาศาสตร์มากขึ้น โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกลงโทษอีกต่อไป พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ยุคโบราณอียิปต์-ทำปฏิทินมาประกอบการเพาะปลูก
-ประดิษฐ์ตัวอักษรเฺฮียโรกลิฟิค เขียนบนแผ่นกระดาษ
-ปีระอิมิด
-การแพทย์ (การทำมัมมี่)
-นาฬิกาน้ำ นาฬิกาแดด
-ฯลฯ
ดินแดนเมโสโปเตเมีย เป็นที่อาศัยของชนเผ่าต่างๆ เช่น-สุเมเรียน
-บาบิโลเนีย
-อัสซิเรียน
-บาบิโลเนียนใหม่
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย-จุดเริ่มต้นของการประดิษฐ์ตัวอักษรลิ่ม (คุนิฟอร์ม)
-รู้จักใช้ล้อเลื่อน
-เพาะปลูก
-ทดน้ำ
-แบ่งกลุ่มดาวออกเป็น 12 กลุ่ม
-ทำนายการเกิดจันทรุปราคา และสุริยุปราคา
จีน-ภาชนะดินเผา
-นำสัมฤทธิ์มาพัฒนาเป็นเครื่องใช้ อาวุธ
-เลี้ยงไหม
-ทอผ้า
-ทำปฏิทินปีหนึ่งมี 365 กับ 1/4 วัน
-แบ่งฤดูออกเป็น 4 ฤดู
-เข็มทิศ
-มาตราชั่งวัด (ราชวงศ์จิ๋น)
-นำถ่านหินมาใช้ (ก่อนชาวตะวันตก)
-ฯลฯ
นอกจากอารยธรรมโบราณอย่างอียิปต์และเมโสโปเตเมีย และอารยธรรมจีนแล้ว ในเอเชียก็ัยังมีแหล่งอารยธรรมอีกแห่งคืออารยธรรมลุ่มน้ำสินธุของอินเดีย ซึ่งได้สร้างสมไว้แก่โลกมากมาย เช่น การรู้จักสำรวจภูมิประเทศ การสร้างเมืองที่มีการวางผังเมืองอย่างดี มีถนน ท่อระบายน้ำสร้างด้วยอิฐกรีก เป็นอารยธรรมโบราณอีกแห่งหนึ่งที่สร้างสมไว้ให้แก่โลกมากมาย มีความเจริญหลายแขนง เนื่องจากมีนักปราชญ์หลายท่าน เช่นเทลีส-พบอำนาจไฟฟ้า
-พบการเกิดสุริยุปราคาที่ถูกต้อง
-นำทฤษฎีเรขาคณิตมาใช้
พิธากอรัส-โลกประกอบด้วยธาตุ 4
-โน๊ตเพลงจากเชือก
เพลโต-ตั้งโรงเรียนขึ้นเป็นครั้งแรก
-สร้างการศึกษาให้เป็นระบบ
อริสโตเติล เ็ป็นนักปรัชญาที่ได้สร้างสมวิทยาการแก่โลกมากมายและเขียนตำราหลายแขนง -คณิตศาสตร์
-ฟิสิกส์
-ชีววิทยา
-ดาราศาสตร์
-ชีวิตพืชและสัตว์
อาร์คีมีดีส นำวิชาเรขาคณิตมาปรับปรุงใช้กับเครื่องทุ่นแรง-คานดีด
-คานงัด
-รอก
-การหาพื้นที่วงกลม
-การหาพื้นที่กรวย
-สว่าน
-การลอยการจมของวัตถุ
-ฯลฯ
นอกจากนักวิทยาศาสตร์แล้ว ยังมีนักภูมิศาสตร์ด้วยคือ พโตเลมี ผลงานคือ-นำเส้นรุ้ง เส้นแวง มาใช้ในการเขียนแผนที่
-โลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล
-เริ่มเขียนแผนที่อินเดีย จีน ยุโรปตอนเหนือ
-การโคจรของดาวเคราะห์รอบโลกเป็นวงรี
นอกจากชาวกรีกแล้ว ชาวโรมันก็เป็นอีกชาติหนึ่งที่มีการพัฒนาต่อ จนมีการกล่าวว่า "โรมัน" คือ "ทายาททางวัฒนธรรมของกรีก" ได้แก่-พลินี พิสูจน์ว่าโลกกลม
-ผลิตคอนกรีต
-สร้างถนนที่แข็งแรง
-ด้านการแพทย์ รู้จักการผ่าตัด (นำทารกออกทางหน้าท้องได้)
-ตั้งโรงพยาบาล
-ตั้งโรงเีรียนแพทย์
เซอร์ ฮัมฟรีย์ เดวีย์

ประวัติเซอร์ ฮัมฟรีย์ เดวีย์ เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ.1778 ที่เมืองคอร์นวอล ประเทศอังกฤษ หลังจากจบการศึกษาแล้วเขาได้ทำงานเป็นผู้ช่วยของอยุรแพทย์คนหนึ่ง ในสมัยนั้นการแพทย์ยังไม่เจริญก้าวหน้านัก โดยเฉพาะการผ่าตัด ในโรงพยาบาลยังไม่มียาใดที่จะระงับความเจ็บปวดของคนใข้ในขณะผ่าตัด ฮัมฟรีย์ เดวีย์จึ่งพยายามคิดค้นหาวิธีระงับความเจ็บปวดและเขาก็ได้ ค้นพบก๊าซชนิดหนึ่ง (คือไนตรัสออกไซด์) โดยการสูดเข้าไปโดยบังเอิญ และค้นพบว่าก๊าซนี้ทำให้เขาหมดสติไปชั่วขณะและพอตื่นขึ้นมาก็ไม่ได้ รับอันตรายแต่อย่างใดและยังรู้สึกสดชื่นอีกด้วย เขาจึงเรียกมันว่า "ก๊าซหัวเราะ" ซึ่งในเวลาต่อมาได้นำมาใช้เป็นยาสลบ นอกจากนั้นเขา ก็ทดลองสูดก๊าซชนิดต่างๆ เข้าไปจนเกิดอาการป่วยจึ่งต้องระงับ การทดลอง ชั่วคราว นอกจากการค้นพบก๊าซหัวเราะแล้ว เขายังเป็นคนแรกที่แยก องค์ประกอบของน้ำได้เป็นผลสำเร็จโดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าให้ผ่าน เข้าไป ในน้ำ และแยกน้ำออกเป็นก๊าซได้ 2 อย่างคืออ๊อกซิเจนกับไฮโดรเจน เขาจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกกรรมวิธีสมัยใหม่ในการใช้ไฟฟ้า ในการทดลองทางเคมีเป็น คนแรก และในปี พ.ศ 2358 ฮัมฟรีย์ เดวีย์ก็ได้ประดิษฐ์ตะเกียงนิรภัย เพื่อใช้ในกิจการเหมืองเป็นครั้งแรก ซึ่งสิ่งประษฐ์ชิ้นสำคัญนี้เองที่ทำให้ ชื่อเสียงของเขาเป็นที่จด จำไปทั่วโลก โดยเฉพาะในหมู่ชาวหมืองถ่านหินเพราะในสมัยนั้นการ ขุดเหมืองถ่านหินนับเป็นการเสี่ยงอันตรายอย่างยิ่งเพราะลึกลงไป ในเหมืองนั้นจะมีก๊าซ ชนิดหนึ่งที่ชาวเหมืองเรียกว่า "ไฟอับ" แฝงอยู่ และมักจะเกิด ระเบิดอย่างรุนแรงเมื่อโดนกับเปลวไปจากตะเกียงน้ำมันที่คน งานใช้อยู่จากโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นหลาย ครั้งนี้เอง ทำให้เจ้าของบ่อถ่านหินพากันร้องทุกข์ต่อฮัมฟรีย์ เดวีย์นักวิทยาศาสตร์ ผู้ยิ่งยงในสมัยนั้น ฮัมย์ฟรีย์ เดวีย์จึงเดินทางไปที่เมืองนิวคาสเซิล และค้นคว้าสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถป้องกันไม่ให้เปลวไฟจากตะเกียงน้ำมัน แลบไปถึงไฟอับในเหมืองได้ ในที่สุดก็ออกแบบโคมไฟป้องกันอันตราย ขึ้นแบบหยึ่ง ซึ่งให้แสง สว่างและมีตะแกรงลวดเส้นบางๆ ซึ่งจะขัดขวางและป้องกันเปลวไฟมิให้ แลบไปถึงไฟอับในเหมือง แลแม้ว่าก๊าซจะถึงเปลวไฟทางตะแกรง แต่พื้นผิวที่เย็นของตะแกรงจะป้องกันความร้อนของเปลวไฟมิให้ แลบไปถึงก๊าซข้างนอกได้ ก่อให้เกิดประโยชน์ทางอุตสาหกรรมถ่านหิน เป็นอันมาก และจากงาน ทางด้านไฟฟ้าเคมีและการค้นพบธาตุต่างๆ เป็นจำนวนมาก ได้ทำให้เขา มีชื่อเสียงไปทั่วโลก และได้รับแต่งตั้งเป็นขุนนาง (เซอร์) ในปี 1892 เซอร์ ฮัมฟรีย์ เดวีย์ถึงแก่กรรมที่เมืองเจนีวา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ1829 เมื่อมีอายุได้ 51 ปี
ผลงาน
-เป็นผู้พบยาสลบที่ใช้ในทางการแพทย์
-เป็นผู้ประดิษฐ์ตะเกียงเจ้าพายุ ( ตะเกียงสำหรับให้แสงสว่าง สำหรับการขุดแร่ในอุโมงค์ )
 

รูปภาพของ nss37378

. การสะสมการพัฒนาและการลดอาวุธนิวเคลียร์

สหรัฐอเมริกาจะผลิตระเบิดนิวเคลียร์ได้เป็นประเทศแรกแต่ก็ไม่ยอมถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวให้แก่พันธมิตรของตนแม้แต่อังกฤษ  สหภาพโซเวียตมีความหวาดระแวงในศักยภาพด้านอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา จึงได้ขยายอิทธิพลเข้าไปในประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันออก พัฒนาด้านการทหาร รวมทั้งพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ จนสามารถทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใน ค.ศ. 1949 หลังจากนั้นทั้งสองประเทศได้แข่งขันกันพัฒนาและสะสมอาวุธนิวเคลียร์อย่างขนานใหญ่

การสะสมอาวุธนิวเคลียร์ของทั้งสองชาติได้ส่งผลให้ภาวะสงครามเย็นซึ่งเริ่มก่อตัวตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ประเทศมหาอำนาจอื่นๆต่างเร่งพัฒนาเทคโนโลยีด้านอาวุธนิวเคลียร์ เช่น ใน ค.ศ. 1952 อังกฤษได้ทดลองระเบิดนิวเคลียร์ ต่อมาใน ค.ศ. 1960 ฝรั่งเศสก็ประสบความสำเร็จในการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ และใน ค.ศ. 1964 สาธารณรัฐประชาชนจีนสามารถทดลองระเบิดนิวเคลียร์ของตนได้สำเร็จ ใน ค.ศ. 1974 อินเดียสามารถจุดระเบิดนิวเคลียร์ได้สำเร็จ โดยเรียกการระเบิดนี้ว่า การระเบิดนิวเคลียร์เพื่อสันติ

อ้างอิง http://social-pgmi.blog.mthai.com/2009/11/02/public-3

2.การปฏิรูปประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีน(นโยบายสี่ทันสมัยของเติ้ง เสี่ยวผิง

ความสำคัญของการปฏิรูปของสาธารณรัฐประชาชนจีน คือ การปฏิรูปประเทศนำพาประเทศจีนเข้าสู่ระบบทุนนิยมโลก  ก่อให้เกิดการขยายตัวของระบบทุนนิยมโลกอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน  เนื่องจากจีนเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก  มีอำนาจตลาดแรงงานและกำลังซื้อที่มีปริมาณมหาศาล เศรษฐกิจจีนจึงมีอิทธิพลต่อระบบเศรษฐกิจโลก  รวมถึงความสัมพันธ์ในด้านสังคมวัฒนธรรมกับสังคมโลก  ทำให้สังคมจีนสมัยใหม่ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลก 

อ้างอิง http://social-pgmi.blog.mthai.com/2009/11/02/public-15

3.การล่มสลายของสหภาพโซเวียด ในปี ค.ศ.1991

การล่มสลายของสหภาพโซเวียต เป็นชื่อเรียกช่วงเวลาระหว่าง ปี ค.ศ. 1985 ถึง ค.ศ. 1991 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นาย มิคาอิล กอร์บาชอฟ เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต เขาได้เดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองของสหภาพโซเวียต ภายใต้โครงการ เปเรสตรอยกา และกลาสต์น็อต ซึ่งเป็นการเพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเปิดโอกาสให้ประชาชนเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนบุคคล ซึ่งการปฏิรูปดังกล่าวทำให้ประชาชนในสหภาพโซเวียตตระหนักถึงเสรีภาพในการดำรงชีวิต ทำให้เกิดการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1991 ในที่สุด

อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%95

4.วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในเอเชียในปี ค.ศ.1997(พ.ศ.2540)

การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 5 ที่นครแวนคูเวอร์ แคนาดา ได้เห็นชอบให้มีการเปิดเสรีล่วงหน้ารายสาขาตามความสมัครใจ (Early Voluntary Sectoral Liberalisation- EVSL) ก่อนกําหนด

การเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเอเปคที่กำหนดไว้ในปี ค.ศ. 2010/2020 ใน 15 สาขา อาทิ  ปลาและผลิตภัณฑ์ปลา ผลิตภัณฑ์ป่าไม้ อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ พลังงาน ของเล่น อัญมณีและเครื่องประดับ เคมีภัณฑ์ เมล็ดพืชน้ำมันและผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องบินพลเรือน ปุ๋ย ยางธรรมชาติ และรถยนต์ เป็นต้น แต่ต่อมาที่ประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 6 ณ  กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซียมีมติให้นำ EVSL ใน 8 สาขา ไปใช้เป็นพื้นฐานในการขยายผลในกรอบขององค์การการค้าโลก (WTO) ภายใต้ชื่อ Accelerated Tariffs Liberalisation (ATL)

นอกจากนี้ยังได้รับรองกรอบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนในโครงการโครงสร้างพื้นฐาน (Vancouver Framework for Enhanced Public - Private Partnership for Infrastructure Development)

อ้างอิง http://www.mfa.go.th/web/showStatic.php?staticid=1749&Qsearch=progr

5. เหตุการณ์ก่อการร้ายวันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001

-เหตุการณ์สำคัญให้มีภาพหรือวิดีโอด้วย

เหตุการณ์การก่อการร้ายในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่  11 กันยายน  ค.ศ.  2001 เป็นเหตุการณ์ก่อการร้ายที่มุ่งสร้างความเสียหายแก่ชาวอเมริกัน  การกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นโดยกลุ่มบุคคลที่มีเหตุผลทางการเมืองเพื่อหวังผลในการทำลายขวัญและกำลังใจของชาวอเมริกัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความปลอดภัยในชีวิต และสัญลักษณ์ของประเทศอเมริกาต้องถูกทำลายไปด้วยเครื่องบินของสหรัฐอเมริกาเองเหตุการณ์วันที่  11  กันยายน  ค.ศ.  2001 เริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลา 8.45 น. ตามเวลาท้องถิ่น เครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 767 ของสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 นำผู้โดยสาร เจ้าหน้าที่ และน้ำมันเต็มลำที่จะเดินทางจากเมืองบอสตันสู่นครลอสแอนเจลิส   พุ่งเข้าชนยอดตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 1 (World  Trade  Center  I) ในมหานครนิวยอร์ก ทำให้อาคารเกิดการระเบิดเสียหายอย่างรุนแรงในตอนแรกประชาชนและผู้เห็นเหตุการณ์คาดคะเนว่าเป็นอุบัติเหตุจากการผิดพลาดในการบังคับควบคุมเครื่องบิน แต่ต่อมาในเวลา 9.06 น. เครื่องบินโบอิ้ง 767 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 177  ซึ่งบินจากบอสตันสู่นครลอสแอนเจลิสเช่นกัน  ได้พุ่งเข้าชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 2 (World  Trade  Center  II) ที่เป็นอาคารที่สร้างคู่กับตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 1 เกิดระเบิดสนั่นหวั่นไหว

เวลา 9.30 น. ประธานาธิบดีจอร์จ   ดับเบิลยู   บุช (George  W.  Bush) แห่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศแถลงการ์ณว่าการระเบิดอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์   เป็นปฏิบัติการของผู้ก่อการร้ายและยืนยันที่จะสืบหากลุ่มบุคคลที่กระทำการมาลงโทษให้จงได้

เวลา 9.40 น.  ที่กรุงวอชิงตัน ดี. ซี. เมืองหลวงของสหรัฐอเมริกา  เครื่องบินโบอิ้ง 757 สายการบินอเมริกันแอร์ไลน์   เที่ยวบินที่ 77 ได้พุ่งเข้าชนอาคารเพนตากอน (Pentagon) กระทรวงกลาโหม อาคารเกิดระเบิดและเพลิงไหม้อย่างรุนแรง ในเวลาไล่เลี่ยกันได้เกิดเหตุการณ์เครื่องบินตกในมลรัฐเพนซิลเวเนีย เครื่องบินที่ตกคือเครื่องบินสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 73ที่เดินทางจากเมืองเนวาร์กไปเมืองซานฟรานซิสโกซึ่งมีข้อมูลว่าเครื่องบินลำดังกล่าวถูกสกัดอากาศจี้

ในเวลา 10.00 น. อาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 2 ซึ่งถูกไฟไหม้ได้ถล่มลงมา หลังจากนั้นอีกราวครึ่งชั่วโมงอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์1ก็ถล่มตามลงมา ทำให้พนักงานดับเพลิงและเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยที่เข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์ร้ายต้องได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ประกาศมาตรการฉุกเฉิน มีการอพยพผู้คนออกจากสถานที่สำคัญ ยกเลิกเที่ยวบินทั่วประเทศ กองทัพสหรัฐอเมริกาประกาศเตรียมพร้อมรบ

ควันเพลิงจากตึกเวิลด์เทรด

                หลังจากเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ทำการระดมกำลังเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลาง(FBI)ออกสืบหาผู้ก่อการวินาศกรรมในครั้งนี้ ในวันต่อมาสหรัฐอเมริกาได้มุ่งเป้าไปที่โอซามา บินลาเดน (Osama bin Laden) หัวหน้าขบวนการอัลเคดา (Al Qaida) และสรุปว่าเป็นผู้บงการให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว

จากการตรวจสอบรายชื่อผู้โดยสารของเครื่องบินที่ถูกบังคับก่อวินาศกรรม เจ้าหน้าที่สืบสวนได้พบว่ารายชื่อบุคคลทั้ง 19 คนที่มีบทบาทในการจี้เครื่องบิน ส่วนใหญ่มีความเกี่ยวพันกับขบวนการของโอซามา บินลาเดน โดยบุคคลเหล่านี้ต่างเสียชีวิตในการก่อวินาศกรรมครั้งนี้ทั้งหมดเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องสูญเสียชีวิตประชาชนและทรัพย์สินเป็นจำนวนมหาศาล พร้อมกับส่งผลกระทบต่อขวัญกำลังใจของประชาชนชาวอเมริกันเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ชาวอเมริกันตระหนักว่าประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้ปลอดภัยอย่างที่เคยคิดอีกต่อไป ดินแดนและจุดต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกาสามารถเป็นเป้าโจมตีของศัตรูได้ทั้งสิ้น

-สาเหตุของเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001

หลังจากเกิดเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ได้มีการวิเคราะห์ถึงสาเหตุของเหตการณ์การก่อวินาศกรรมไว้หลายแนวทางด้วยกัน

นักวิชาการส่วนใหญ่วิเคราะห์ว่าสาเหตุของเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001 มาจากระบบสังคมโลกโดยรวมที่สหรัฐอเมริกาเป็นชาติอภิมหาอำนาจทุนนิยมอันดับหนึ่งตลอดระยะเวลาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา สหรัฐอเมริกาได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศในลักษณะแผ่ขยายอำนาจไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินแดนตะวันออกกลางซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญมาก คือ ทรัพยากรน้ำมัน หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง อังกฤษซึ่งเป็นชาติมหาอำนาจในภูมิภาคนี้ต้องถอนตัวออกไปเนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศที่ตกต่ำ สหรัฐอเมริกาในนฐานะชาติอภิมหาอำนาจใหม่ได้เข้าไปแผ่อิทธิพลแทนที่ด้วยการแทรกแซงสนับสนุนการก่อตั้งรัฐอิสราเอลขึ้นในดินแดนปาเลสไตน์ ในค.ศ. 1948 หลังจากนั้นสหรัฐอเมริกาก็ดำเนินนโยบายสนับสนุนอิสราเอลมาโดยตลอด ทั้งในการทำสงครามกับกลุ่มประเทศอาหรับ การยึดครองดินแดนปาเลสไตน์ และขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกาก็ให้การสนับสนุนรัฐบาลของกลุ่มประเทศอาหรับที่เป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกา  ผลของการดำเนินนโยบายของสกรัฐอเมริกาได้สร้างความรู้สึกไม่พอใจให้เกิดขึ้นในหมู่ชาวอาหรับ  ซึ่งเห็นว่า  สหรัฐอเมริกามีนโยบายคุกคามกลุ่มประเทศอาหรับและต้องการเข้ามามีอำนาจในประเทศต่าง ๆ ในแถบนี้  การแทรกแซงในภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มทุนของสหรัฐอเมริกาซึ่งเข้าไปลงทุนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้เป็นสำคัญ เช่น กลุ่มทุนอุตสาหกรรมน้ำมันเป็นต้น การแทรกแซงของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อภูมิภาคนี้นำมาซึ่งความขัดแย้งนับครั้งไม่ถ้วนของชาติต่าง ๆ หลายครั้ง ก่อให้เกิดผลประโยชน์การค้าอาวุธของบริษัทผลิตอาวุธของสหรัฐอเมริกาเอง      ส่วนสถานที่ซึ่งถูกโจมตีในวันที่ 11 กันยายน อันได้แก่ ตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งของสถาบันการเงินระหว่างประเทศเป็นจำนวนมาก จนอาจถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของระบบทุนนิยมโลก ส่วนตึกเพนตากอนซึ่งเป็นที่ตั้งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ก็ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางอำนาจทางทหารของชาติอภิมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก การที่ขบวนก่อการร้ายสามารถทำลายตึกเหล่านี้ได้ จึงเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของสหรัฐอเมริกาในฐานะชาติอภิมหาอำนาจและเป็นศูนย์กลางระบบทุนนิยมโลก

            เหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 เห็นได้ว่ามีศาสนาและความเชื่อ ซึ่งกลายเป็นเหตุปัจจัยหลักประการหนึ่งของความขัดแย้งและการต่อสู้ ถ้าพิจารณาในมุมนี้ก็อาจกล่าวได้ว่าการก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน เป็นปฏิกิริยาที่มีต่อบทบาทของสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลาที่ผ่านมานั่นเอง

                                  

                                                  บินลาเดน

กระทบให้สังคมโลกต้องประสบบรรยากาศความตึงเครียดจากสงครามและความหวาดกลัวที่มีต่อการก่อการร้ายที่เพิ่มมากขึ้น

-ผลกระทบของเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001 ต่อสหรัฐอเมริกา ผลกระทบต่อสังคมโลก

เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ได้ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งตอสหรัฐอเมริกาและสังคมโลกโดยรวม ดังนี้

1.  ผลกระทบต่อสหรัฐอเมริกา  เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน  ค.ศ. 2001ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสหรัฐอเมริกาหลายประการด้วยกัน ได้แก่

1) เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องสูญเสียชีวิตมนุษย์และทรัพย์สินจำนวนมาก  จากการประเมินของสภากาชาดสหรัฐอเมริกามียอดผู้เสียชีวิต 2,563 คน ความเสียหายมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

2)เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เศรษฐกิจที่เริ่มชะลอมาตั้งแต่ก่อนหน้าเกิดวิกฤตการณ์ก็ประสบปัญหามากขึ้น

3) ขวัญกำลังใจของประชาชนชาวอเมริกันตกต่ำลงและเกิดแนวความคิดแบบชาตินิยมมขึ้นมาแทนที่  ดังจะเห็นได้จากประชาชนชาวอเมริกันต่างแสดงถึงความรักชาติของตนเองในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจุดเทียนรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ ธงชาติสหรัฐอเมริกาถูกประชาชนซื้อจนหมด  หรือร้องเพลงแสดงความรักชาติ เป็นต้น

4) เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้นโยบายการปกครองในประเทศของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยหันมาเน้นด้านความมั่นคงเป็นหลัก แทนที่สิทธิเสรีภาพในระบบประชาธิปไตย เช่น การให้อำนาจประธานาธิบดีมีอำนาจกระทำการใด ๆ ก็ได้ต่อบุคคลที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย การจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การลดสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนหรือคุกคามสิทธิส่วนบุคคล เป็นต้น ซึ่งประชาชนเองก็มีแนวโน้มคล้อยตามในการให้อำนาจแก่รัฐมากขึ้นเพื่อแลกกับความมั่นคงของชาติ

5)เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ได้ถูกรัฐบาลสหรัฐอเมริกานำไปใช้ในการสร้างความชอบธรรมในการโต้กลุ่มก่อการร้ายด้วยความรุนแรง เช่น การทำสงครามยึดครองอัฟกานิสถานในปลาย ค.ศ. 2001 หรือการรุกรานและยึดครองอิรักในปัจจุบันเป็นต้น

2.ผลกระทบที่มีต่อสังคมโลก  เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสังคมโลก ทั้งก่อให้เกิดสงครามและการก่อการร้ายมากขึ้นหลังจากเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 สหรัฐอเมริกาได้ประกาศสงครามกับกลุ่มก่อการร้ายและพร้อมจะทำลายกลุ่มองค์กรเหล่านี้ รวมทั้งรัฐบาลที่ให้แหล่งพักพิงและสนับสนุนการก่อการร้าย โดยประธานาธิบดีบุช ได้ประกาศให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต้องตัดสินใจว่าประเทศเหล่านั้นจะอยู่ข้างสหรัฐอเมริกาหรืออยู่ข้างฝ่ายก่อการร้าย การประกาศดังกล่าวทำให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างระมัดระวัง ในการหลีกเลี่ยงปัญหาความขัดแย้งทั้งจากสหรัฐอเมริกาและกลุ่มก่อการร้าย รวมถึงประชาชนภายในประเทศที่มีแนวโน้มขัดแย้งกับนโยบายของรัฐบาลที่ดำเนินนโยบายเข้าข้างสหรัฐอเมริกา

สงครามในคริสต์ศตวรรษที่ 21 จึงเกิดขึ้น โดยสหรัฐอเมริกาเข้าไปโค่นล้มรัฐบาลของประเทศอัฟกานิสถานและอิรักโดยอ้างถึงความกดขี่ในด้านการปกครองและการสนับสนุนการก่อการร้ายของรัฐบาลชุดเก่า ทั้งรัฐบาลกลุ่มตาลีบันและรัฐบาลประธานาธิบดีซัดดัม  ฮุสเซน แล้วจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่เป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเท่ากับเป็นการขยายอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาไปด้วย   ขณะเดียวกัน กลุ่มก่อการร้ายก็ต่อต้านสหรัฐอเมริกาและชาติพันธมิตร เช่น อังกฤษ และออสเตรเลีย ด้วยการก่อวินาศกรรมทำลายชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้น เช่น เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมระเบิดสถานบันเทิงในเกาะบาหลีเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 2002 มีผู้เสียชีวิต 202 คน บาดเจ็บกว่า 300 คน   การก่อวินาศกรรมจึงส่งผล

อ้างอิง http://social-pgmi.blog.mthai.com/2009/11/02/public-11

รูปภาพของ nss37378

1.สาเหตุความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง

-ความแตกต่างด้านเชื้อชาติ

ตอบ สาเหตุด้านเชื้อชาติ ภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นดินแดนที่มีหลากหลายเชื้อชาติมาตั้งแต่อดีต เชื้อชาติสำคัญๆ ในดินแดนแถบนี้ คือ อาหรับ เปอร์เซีย เติร์ก ที่เหลือเป็น เคิร์ด ยิว และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ

-ความขัดแย้งทางศาสนา

ตอบ ความขัดแย้งทางด้านศาสนา  ดินแดนภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นแหล่งกำเนิดศาสนาสำคัญของโลกถึง 3 ศาสนา คือ ศาสนายิว คริสต์ศาสนา และศาสนาอิสลาม ในสมันจักรวรรดิอาหรับศาสนาต่างๆสามารถอยู่ด้วยกันได้อย่างสันติ แต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 เกิดสงครามระหง่างศาสนาคริสต์กับศาสนราอิสลามในดินแดนปาเลสไตน์ หลังจากพวกออตโตมันเติร์กเข้ายึดครองดินแดนตะวันออกกลาง ความขัดแย้งทางศาสนาก็ลดลง จนเมื่อลัทธิชาตินิยมแพร่หลายเข้ามาในดินแดนตะวันออกกลางในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาวอาหรับได้เอาศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ขณะที่ชาวยิวที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศอิสราเอลที่นับถือศาสนายิว ส่วนชาวเลบานอนนับถือศาสนาคริสต์ ทำให้เกิดเป็นปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาขึ้นอีก นอกจากนี้ชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีก็มีข้อขัดแย้งกับชาวเปอร์เซียทีนับถือนิกายชีอะฮ์ด้วย

-ความแตกต่างในระบอบการเมืองการปกครอง

ตอบ ปัญหาทางด้านการเมือง ประเทศต่างๆในภูมิภาคตะวันออกกลางมีระบอบปกครองที่แตกต่างกัน บางประเทศปกครองในระบอบกษัตริย์ เช่น ซาอุดิอาระเบีย จอร์แดน คูเวต บางประเทสปกครองในระบบเผด็จการ เช่น อิรัก ลิเบีย บางประเทศปกครองในระบอบประชาธิปไตย เช่น อิสราเอล ตุรกี เป็นต้น หรือโดยบางประเทศปกครองโดยในระบอบศาสนาอิสลาม สาธารณรัฐอิสลาม เช่น สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน เป็นต้น ความแตกต่างทางด้านระบอบการปกครองทำให้รัฐบาลประเทศต่างๆ มีความไม่ไว้ว่างใจซึ่งกันและกัน ตัวอย่างเช่นรัฐบาลประเทศต่างๆ มีความหวาดระแวงในรัฐบาลของอิหร่านซึ่งปกครองโดนการปฏิวัติอิสลามว่าจะเผยพี่อุดมการณ์ปฏิวัติอิสลามเข้ามาในประเทศ

-ความแตกต่างทางด้านเศรษฐกิจ

ตอบ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ประเทสต่างๆในภูมิภาคตะวันออกกลางมีฐานะไม่เท่าเทียมกันทางด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากแต่ละประเทศมีปริมาณน้ำมันสำรองำม่เมท่ากัน บางประเทศมีปริมาณน้ำมันสำรองมาก เช่น ซาอุดิอาระเบีย คูเวต อิหร่อน เป็นต้น บางประเทศไม่มีน้ำมัน เช่น อิสราเอล จอร์แดน เลบานอน ทรัพยากรน้ำมันจึงกลายเป็นสาเหตุของความขัดแย้ง เช่น กรณีสงครามระหว่างอิรักกับอิกร่าน ซึ่งอิรักเข้ารุกรานอิหร่านก็เนื่องจากต้องการยึดครองบ่อน้ำมันของอิหร่าน

-การแทรกแซงของชาติมหาอำนาจ

ตอบ การแทรกแซงของชาติมหาอำนาจ การแทรกแซงของมหาชาติอำนาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้น ในครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวีตต่างเข้าแทรกแซงดินแดนภูมิภาคตะวันออกกลางโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ทางด้านการฑุต ทางการเมือ เศรษฐกิจ และการทหาร

2.กรณีความขัดแย้งของภูมิภาคตะวันออกกลางที่มีผลกระทบต่อโลก

-สงครามอาหรับกับอิสราเอล ค.ศ.1948-1975

ตอบ 1สงครามระหว่างอาหรับ-อิสราเอล (ค.ศ.1948-1973) สงครามระหว่างอาหรับ-อิสราเอล เป็นสงครามขัดแย้งทางศาสนาและเชื้อชาติที่ชาวอาหรับผู้นับถือศาสนาอิสลามต้องการขับไล่ชาวยิวหรือชาวอิสราเอลผู้นับถือศาสนายิวให้หมดสิ้นจากดินแดนปาเลสไตน์ซึ่งเป็นประเทศอิสราเอลในปัจจุบัน เป็นปัญหาที่กลายเป็นสงครามรบพุ่งกันหลายครั้ง คือ 1.สงครามอาหรับ-อิสราเอล   (Arab-Israeli War 1948-1949)  2.สงครามไซนาย-สุเอซ (Sinai-Suez War ค.ศ. 956) องค์การสหประชาชาติและมหาอำนาจตะวันตกได้เข้ามาเจรจาเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับคลองสุเอซ โดยให้อิสราเอลและอียิปต์ถอนทหารออกไป กระทั่งเดือนมีนาคม ค.ศ. 1957 ทหารทั้ง 2 ฝ่ายก็ได้ถอนกำลังำปจากคลองสุเอซ

-สงครามระหว่างอิหร่านกับอิรัก ค.ศ.1980-1988

ตอบ สงครามระหว่างอิหร่าน-อิรัก (Iras-Iraq War ค.ศ. 1980-1988) ในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1980 อิรักเข้าโจมตีจังหวัดคูเซสถานของอิหร่าน ร่านจึงส่งกำลังเข้าโต้ตอบ จากนั้นสงครามได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และรบติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน สงครามนี้มีผลกระทบไปถึงประเทศสหรัฐอเมริกา โดยอิหร่านกล่าวหาว่าสหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือแก่อิรัก สงครามได้ยืดเยื้อมาจนกระทั่งสหประชาชาติและประเทศที่เป็นกลางได้พยายามที่จะให้ 2 ประเทศนี้ได้เจรจรยุติสงครามกัน เพราะทั้งสองต่างก็เป็นประเทศที่มีบทบาทต่อการส่งน้ำมันออกสู่ตลาดโลกมา ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซนของอิรักประกาศว่า จะพยายามยุติสงครามลงด้วสันติวิธีแต่การกระทำของอิรักกลับตรงกันข้าม กล่าวคือ ชาวเคิร์ดในอิหร่านถูกอิรักโจมตีด้วยอาวุธเคมีทำให้ประชาชนล้มตายไม่ต่ำกว่า 5,000 คน และขณะเดียวกันทหารอิรักยังโจมตีและรุกคืบเข้าไปในดินแดนอิหร่าน ในค.ศ. 1987 องค์การสหประชาชาติมีมติให้อิหร่านและอิรักยุติสงคราม อิรักยอมรับมติแต่อิหร่านยังคงโจมตีอิรักต่อเพราะคาดว่าจะได้รับชัยชนะ ปรากฏว่าอิหร่านไม่สามารถเอาชนะอิรักได้ และในค.ศ. 1988 อิรักซึ่งได้รับการสนับสนุนกำลังอาวุธจากสหภาพโซเวียตกลับมาสามารถต้านทานและผลักดันกองทัพอิหร่านพ้นชายแดนอิรัก ในที่สุดอายาตุลเลาะห์ โคไมนี ผู้นำอิหร่านต้องยอมรับมติสหประชาชาติ ทั้งสองฝ่ายต่างหยุดยิงในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1988

-สงครามอ่าวเปอร์เซีย(อิรักบุกยึดครองคูเวต) ค.ศ.1990-1991  

ตอบ 3สงครามอ่าวเปอร์เซีย อิรักได้ทำสงครามกับอิหร่านมานานถึง 9 ปี ทำให้มีหนี้สินต่างประเทศ โดยพาะที่กู้ยืมมาจากซาอุดิอาระเบียและคูเวตรวมกันเป็นจำนวนมาก แต่อิรักเป็นประเทศที่มีทรัพยากรน้ำมันอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ และนอกตากนี้อิรักภายใต้การนำของปรานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน ยังได้สร้างกองทัพอิรักให้มีแสนยานุภาพที่เกรียงไกรกว่าทุกประเทศในตะวันออกกลาง กล่าวคือมีทหารที่ฝึกปรืออย่างดีและผ่านประสบการณ์สงครามกับอิหร่านมาแล้วจำนวนมากกว่า 1 ล้านคน มีอาวุธที่ทันสมัยทั้งเครื่องบิน จรวด อาวุธ และกำลังเริ่มต้นพัฒนาอาวุธปรมาณูขึ้นอีก สงครามอ่าวเปอร์เซีย ส่วนคูเวตเป็นประเทศเล็กๆ ด้าวในสุดของอ่าวเปอร์เซีย ตั้งอยู่ระหว่างอิรักและซาอุดิอาระเบีย ในอดีตคูเวตเคยเป็นจังหวัดหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมันเติร์ก แต่ด้วยเหตุที่เป็นแหล่งน้ำมันอย่างมหาศาล จึงถูกสหราชอาณาจักรครอบครองตั้งแต่ ค.ศ. 1914 และได้รับเอกราชในค.ศ. 1961 ในระยะที่อิรักยุติสงครามกับอิหร่านนั้น เป็นช่วงที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกตกต่ำ อิรักจึงกล่าวหาว่าประเทศสมาชิกของโอเปกทั้งหลายผลิตน้ำมันออกสู่ตลาดโลกมากเกินไป จึงทำให้ราคาตกต่ำ ส่วนคูเวตนั้นนอกจากมีส่วนทำให้ราคาน้ำมันตกต่ำ อิรักยังกล่าวหาว่า คูเวตสูบน้ำมันมาจากแหล่งของตน อิรักจึงเจรจาเรื่องพรมแดนกับคูเวตซึ่งเคยมีกรณีพิพาทขัดแย้งกันมาก่อน ซึ่งอิรักหวังว่าจะได้ดินแดนที่เป็นแหล่งน้ำมันเพิ่มขึ้นและอาจจะได้ดินแดนที่เป็นทางออกสู่อ่าวเปอร์เซียกว้างขึ้นด้วย แต่คูเวตกลับปฏิเสธคำขอนี้ ดังรั้รวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 อิรักจึงได้เคลื่อนกองกำลังเข้ายึดคลองคูเวตไว้ ประเทศต่างๆทั่วโลกต่างประณามการกระทำของอิรัก ส่วนคณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้จัดประชุมฉุกเฉินและมีมติให้อิรักถอนกำลังออกไป แต่อิรักกลับเพิกเฉยโดยอ้างว่าคูเวตเป็นจังหวัดหนึ่งของตน ดังนั้น สหประชาชาติภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกาสหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส พร้อมประเทศอื่นๆ จึงได้เคลื่อนกำลังเข้าสู่ตะวันออกกลางและทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์ สนามบิน และเส้นทางคมนาคมในประเทศอิรัก โดยเฉพาะกรุงแบกแดดและเมื่อใหญ่อื่นๆพร้อมกันนั้นฝ่ายสหประชาชาติก็ได้ยื่นคำขาดให้อิรักถอนทหารออกไปจากคูเวต แต่ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน ไม่ยอมปฏิบัติตาม ดังรั้รกองกำลังของสหประชาชาติจึงเคลื่อนกำลังเข้ายึดคูเวตกลับคืนได้ ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 โดยใช้เวลาขับไล่อิรักออกไปจากคูเวตเพียว 100 ชั่วโมงเท่านั้น สงครามครั้งนี้ ฝ่ายสหประชาชาติได้นำอาวุธที่ทันสมัยออกมาใช้มาก ทำให้ทหารฝ่านสหประชาชาติเสียชีวิตไปเพียงไม่กี่คน ส่วนทางฝ่ายอิรักไม่ยอมเปิดเผยความสูญเสียของชีวิตทหารแต่ทรพย์สินและสิ่งก่อสร้างในประเทศอิรักได้รับความสูญเสียมาก เช่น สนามบิน สะพาน บ้านเรือน สถานที่ราชการ ค่ายทหารและแหล่งยุทธศาสตร์ เป็นต้น ทางด้านคูเวต นอกจากจะถูกอิรักกอบโกยทรัพย์สินจากภาคเอกชนและราชการไปแล้ว อน้ำมันในคูเวตหลายร้อยบ่อยังถูกอิรักจุดไฟเผ่าทิ้งก่อนล่าถอย ทำให้ต้องใช้เวลาเกือบปีจึงจะดับไฟหมด และอิรักยังปล่อยน้ำมันดิบลงสู่อ่าวเปอร์เซียจำนวนมหาศาลอีก ซึ่งเป็นการจงใจทำลายทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ

3.ผลกระทบของปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง  

ตอบ  1.ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ทำให้กลางเมืองของโลกตึงเครียดขึ้น เนื่องจากความขัดแย้งไม่ได้จำกัดแต่เพียงคู่กรณีพิพาทเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวพันกับมหาชาติอำนาจให้เข้ามามีส่วนร่วมกับความขัดแย้ง จนถึงขั้นเผชิญหน้ากัน เช่น สหรัฐอเมริการกับอดีตสหภาพโซเวียตในกรณีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับกับอิสราเอล เป็นต้น 2.ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางเปิดโอกาสให้ชาติมหาอำนาจเข้ามาแทรกแซงมีอิทธิพลในประเทศต่างๆดังเช่น สงครามอิรักบุกยึดคลองคูเวตใน ค.ศ. 1990-1991 เปิดโอกาสให้ชาติมหาอำนาจโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีบทบาทในการขับไล่อิรักออกจากคูเวตได้ขยายอิทธิพลเข้าไปในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางจนถึงขั้รจัดตั้งฐานทัพในประเทสอิสลามหลายประเทศ เช่น ซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ เป็นต้น นอกจากสหรัฐอเมริกายังสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในอุตสาหกรรมน้ำมันในประเทศแถบนี้ด้วย 3.ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรง เนื่องจากภูมิภาคนี้เป็นกลุ่มประเทสผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก เมื่อปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคนี้เกิดขึ้น ราคาน้ำมันจะต้องเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จยส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจโลกโดยรวม ดังเช่น กรณีสงครามอ่าวเปอร์เซียระหว่างอิรักกับคูเวตใน ค.ศ. 1990 น้ำมันกลายเป็นอาวุธสำคัญที่กลุ่มอาหรับใช้ในการต่อรองทางการเมืองกับชาติมหาอำนาจโดยการเพิ่มราคาน้ำมันจนก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจไปทั่วโลก ซึ่งเรียกว่า วิกฤตการณ์น้ำมัน เป็นต้น 4.ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางส่งผลให้เกิดการก่อการร้ายไปทั่วโลก ซึ่งการก่อการร้าย คือ วิถีทางการต่อสู้ของผู้อ่อนแอกว่าที่มีต่อผู้เข้มแข็งที่เห็นได้ชัด เช่น กรณีสงครามที่อสราเอลมีชัยชนะเหนือประเทสอาหรับและเข้ายึดครองดินแดนประเทศต่างๆ ทำให้ผู้ได้รับผลกระทบต่อการกระทำของอิสราเอลรวมตัวกันเป็นขบวนการก่อการร้ายเพื่อต่อสู้กับอิสราเอลในทุกวิถีทางในทุกพื้นที่ ซึ่งรวมถึงการต่อสู้และการก่อการร้ายต่อชาติพันธมิตรขงอิสราเอลด้วย 

ที่มาhttp://www.bbc07ir.ob.tc/8.htm

รูปภาพของ nss37378

1.ความหมายของส่งครามเย็น

ตอบ  สงครามเย็นคือลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ช่วง ค.ศ.1945-1991        ที่กลุ่มประเทศโลกเสรีและกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ ต่างพยายามต่อสู้โดยวิธีการต่างๆ     ยกเว้นการทำสงครามกันโดยเปิดเผย เพื่อขัดขวางการขยายอำนาจของกันและกัน

2.สาเหตุของสงครามเย็น

 ตอบ   สาเหตุของสงครามเย็นเกิดจากการแข่งขันกันของประเทศอภิมหาอำนาจจากประเสบการณ์ที่       ผ่านมาในสงครามโลกทั้งสองครั้ง ทำให้สหรัฐอเมริกาเสียหายน้อยกว่าประเทศคู่สงครามในยุโรป ทั้งยังเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสูง และเป็นประเทศแรกที่สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีความรู้สึกว่าตนเป็นตำรวจโลกเพื่อพิทักษ์ไว้ซึ่งวิถีทางประชาธิปไตยและเสรีภาพ  

ส่วนสหภาพโซเวียตฟื้นตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างรวดเร็ว เพราะพื้นที่กว้างใหญ่ มีทรัพยากรธรรมชาติมาก สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้สำเร็จ สหภาพโซเวียตต้องการเป็นผู้นำในการปฏิวัติโลกเพื่อสถาปนาระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ตามแนวคิดของมาร์กซ์ขึ้น ดังนั้น ทั้งสองอภิมหาอำนาจจึงใช้ความช่วยเหลือที่ให้แก่ประเทศต่างๆ เป็นเครื่องมือในการขยายอิทธิพล อำนาจ และอุดมการณ์ของตน เพื่อหาประเทศที่มีอุดมการณ์คล้ายคลึงกันมาเป็นเครื่องถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายตรงข้าม

3.ความขัดแย้งของชาติมหาอำนาจในยุคสงครามเย็น

 ตอบ   1. ช่วงเวลาที่โลกเข้าสู่ยุคสงครามเย็น (ค.ศ.1945-1991)ประเทศส่วนใหญ่ในโลกถูกแบ่งเป็น 2 ค่ายคือ1.1 ค่ายเสรีประชาธิปไตยนำโดยสหรัฐอเมริกา1.2 ค่ายคอมมิวนิสต์นำโดยสหภาพโซเวียต

2. เมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งถึงขั้นต้องทำสงครามต่อกัน ประเทศเล็กๆเหล่านี้จะได้รับความช่วยเหลือ  สนับสนุนทางด้านเศรษฐกิจและกำลังอาวุธจากชาติมหาอำนาจ 

3. สงครามที่เกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ของโลกในยุคของสงครามเย็นจึงถูกเรียกว่าสงครามตัวแทน       (Proxy war)” เพราะชาติมหาอำนาจจะไม่ทำสงครามต่อกันโดยตรง แต่จะสนับสนุนให้ประเทศใน            เครือข่ายเขตอิทธิพลของตนเข้าทำสงครามแทน  

4.ความขัดแย้งและสงครามตัวแทนในภูมิภาคเอเชีย

 ตอบ  1. สงครามเกาหลี (ค.ศ.1950 - 1953) มีสาเหตุจากเกาหลีเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตได้เคลื่อนกำลังพลบุกข้ามแดน(เส้นขนานที่ 38) เข้ามายังเกาหลีใต้ทางฝ่ายสหรัฐอเมริกาและ        ชาติพันธมิตรได้ร่วมกันจัดส่งกองทหารเข้าต่อต้าน และสามารถขับไล่กองกำลังเกาหลีเหนือพ้นจากพรมแดนเกาหลีใต้ได้สำเร็จ สงครามครั้งนี้มีผู้คนเสียชีวิตมากถึง 3 ล้านคน      

 2. สงครามเวียดนาม (ค.ศ. 1965 -1975) สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้1. สาเหตุคือ เวียดนามเหนือต้องการผนวกรวมเวียดนามใต้เข้าเป็นประเทศเดียวกัน และเปลี่ยนแปลง       การปกครองเข้าสู่ระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ 2. สหรัฐอเมริกาได้ส่งกำลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆเข้าร่วมเพื่อต่อต้านการรุกรานของ  คอมมิวนิสต์ และโจมตีเวียดนามเหนืออย่างหนัก แต่ก็ไม่อาจเอาชนะได้

3. ความสูญเสียชีวิตทหารอเมริกันจำนวนมาก ทำให้ชาวอเมริกันต่อต้านการเข้าร่วมสงครามเวียดนาม     ของรัฐบาล สงครามสิ้นสุดลงเมื่อฝ่ายคอมมิวนิสต์ยึดกรุงไซ่ง่อนได้สำเร็จ

5.การสิ้นสุดสงครามเย็น

 ตอบ  สหภาพโซเวียตในยุคที่มิคกาฮิล กอร์บาซอฟ (Mikhail Gorbachev) เป็นผู้นำได้ดำเนินการปฎิรูป    บ้านเมืองหลายด้าน และเป็นจุดเริ่มต้นทำให้สภาวะสงครามเย็นเริ่มคลี่คลายตัวลง สรุปได้ดังนี้

 มิคกาฮิล กอร์บาซอฟ (Mikhail Gorbachev)

1. การใช้นโยบายปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตให้เป็นเสรีประชาธิปไตยมากขึ้นใน        ปี ค.ศ. 1985 เรียกว่า นโยบายเปิด-ปรับหรือกลาสนอสต์-เปเรสทรอยกา

2. การรวมเยอรมนีตะวันออกเข้ากับตะวันตกเป็นประเทศเดียวกันได้สำเร็จใน ค.ศ. 19903. การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ.1991 คือการยุติการรวมตัวเป็นสหภาพโซเวียตของ 15 สาธารณรัฐและทำให้เกิดรัฐเอกราช 15 ประเทศ สาเหตุของการล้มสลายของสหภาพโซเวียต คือ ปัญหาเงินเฟ้อและความตกต่ำทางเศรษฐกิจ และปัญหาการเมืองภายใน

3. การก่อรัฐประหารเพื่อโค่นล้มรัฐบาลของพวกคอมมิวนิสต์หัวเก่า

ที่มาhttp://www.kullawat.net/current3/index.htmlhttp://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:WwZUMkiaX7oJ:tc.mengrai.ac.th/ 

รูปภาพของ nss37378

1. ตอบ การปฏิวัติอุตสาหกรรม คือ การเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตจากเดิมที่เคยใช้แรงงานคนและสัตว์พลังงานธรรมชาติ หรือเครื่องมือง่าย  ในสังคมเกษตรกรรมมาเป็นใช้เครื่องจักรกลผลิตสินค้าในระบบโรงงานอุตสาหกรรม   ทำให้ได้ผลผลิตในปริมาณมาก การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นที่ประเทศอังกฤษก่อน     เมื่อประมาณ ค.ศ.1760 หรือในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และค่อย  แพร่ขยายไปยังประเทศยุโรปและชาติตะวันตกอื่น  เป็นเหตุการณ์สำคัญที่มีผลกระทบต่อประชากรโลกอย่างมาก ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง สังคมและวัฒนธรรม

 2. ตอบ สมัยแห่งพลังไอน้ำ    เพราะอังกฤษมีแหล่งถ่านหินและเหล็ก ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงและวัตถุดิบที่อุดมสมบูรณ์รวมทั้งมีการประดิษฐ์เครื่องจักรกลใหม่ ๆ ซึ่งนำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง

3. ตอบ  อุตสาหกรรมเหล็ก มีการนำเหล็กมาใช้ในอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะด้านการคมนาคม เช่น ทำรางรถไฟ ตู้รถสินค้าของรถไฟ ฯลฯ จึงมีผู้เรียกการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงแรกว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคเหล็ก (Age  of  Iron)

4. ตอบ     นับตั้งแต่ตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา การปฏิวัติอุตสาหกรรมมีการขยายตัวและความเจริญก้าวหน้าในประเทศภาคพื้นยุโรป ดังนี้
          
1. การค้นพบวิธีการผลิตเหล็กกล้า ในปี ค.ศ.1856 และการใช้พลังงานใหม่ ๆ แทนที่ ถ่านหิน ได้แก่ พลังงานจากก๊าซ น้ำมันปิโตรเลียม และไฟฟ้า เป็นผลให้อุตสาหกรรมของทวีปยุโรปขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะเมื่อเหล็กกล้ามีราคาถูกลงทำให้อุตสาหกรรมหนัก เช่น การต่อเรือ การคมนาคม และการผลิตเครื่องจักรกลต่าง ๆ พัฒนาก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
          
2. การขยายตัวของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในทวีปยุโรป ในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีประเทศในภาคพื้นยุโรปหลายประเทศประสบผลสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเยอรมนีกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้าและเป็นคู่แข่งที่สำคัญของอังกฤษ
          
3. การเกิดประเทศผู้นำด้านอุตสาหกรรมของโลก ก่อนสงครามโลก ครั้งที่ 1(ค.ศ.1914-1918) อังกฤษยังคงมีฐานะเป็นประเทศผู้นำทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก โดยเยอรมนีเป็นประเทศที่มีระดับการพัฒนาใกล้เคียงมากที่สุด จนกระทั้งในปี ค.ศ.1920 จึงเกิดประเทศคู่แข่งสำคัญเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และญี่ปุ่น
           4. การเกิดระบบการบริหารและการจัดการทางอุตสาหกรรม การปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เกิดการบริหารงานในระบบโรงงานที่มีประสิทธิภาพ เช่น มีการแบ่งงานกันทำเป็นฝ่ายหรือแผนก โดยรับผิดชอบงานเฉพาะส่วนของตน มีการระดมเงินลงทุนในรูปของการซื้อหุ้น และมีคณะผู้บริหารดำเนินการบริหารอย่างเป็นระบบ ฯลฯ ทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพ
5.ตอบ1. การเพิ่มของจำนวนประชากร โดยเฉพาะประเทศอังกฤษและเยอรมนีมีอัตราการเพิ่มของประชากรสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม เกิดการขยายตัวของชุมชนเมือง และความเจริญก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุข                 

2. การขยายตัวของสังคมเมือง เกิดเมืองใหม่  เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการอพยพของผู้คนในชนบทเข้ามาทำงานในเมือง ทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมา โดยเฉพาะปัญหาชุมชนแออัด และเกิดอาชีพใหม่  หลากหลาย                 

3. การแสวงหาอาณานิคมและลัทธิจักรวรรดินิยม ประเทศยุโรปที่มีการปฏิวัติการผลิตด้านอุตสาหกรรมมีความจำเป็นต้องแสวงหาแหล่งวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรม และขยายตลาดระบายสินค้าที่ผลิตจึงเกิดการแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมในทวีปแอฟริกาและเอเชีย                 

4. ความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 20 การปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้โลกมีการพัฒนาการผลิตภาคอุตสาหกรรมก้าวหน้าต่อไปไม่หยุดยั้ง เช่น มีการนำวัสดุอื่น  มาใช้ผลิตแทนวัสดุธรรมชาติ เช่น พลาสติก และโลหะที่มีน้ำหนักเบา ระบบใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน เป็นต้น

ที่มา : school.obec.go.th/saodrs/p007/p03

รูปภาพของ nss37378

การปฏิวัติวิทยาศาสตร์

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ศตวรรษที่ ๑๖และ ๑๗ ให้ความสำคัญกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์นักปราชญ์สำคัญต่างเชื่อว่า ความลับต่าง ๆ ของธรรมชาติซ่อนอยู่ในภาษาทางคณิตศาสตร์นักปราชญ์กลุ่มนั้นได้แก่ นิโคลัส คอเปอร์นิคัส (Nicholas Coprnicus ) โจฮันนส์ เคปเลอร์ ( Johannes Kepler )กา ลิเลโอ กาลิอี ( Galileo Galilei ) และไอแซคนิวตัน ( Isaac Newton ) ต่างเป็นนักคณิตศาสตร์และใช้เป็นเครื่องมือสร้างทฤษฎีความรู้ใหม่ที่แตกต่างจากความรู้โบราณ ซึ่งเรื่องแรก คือ ระบบสุริยะจักรวาล
สมัยกลางได้นำทฤษฎีของปโตเลมีซึ่งมีชีวิตตั้งแต่ศตวรรษที่ ๒ ความคิดของอริสโตเติลและหลักการของศาสนาคริสต์เรียกว่า
Geocentric – โลกคือศูนย์กลางของจักรวาลในค.ศ. ๑๕๔๓ นิโคลัส คอเปอร์นิคัส ชาวโปแลนด์เสนอทฤษฎีใหม่เรื่องจักรวาลแนวคิดคือ ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล โลหมุนรอบดวงอาทิตย์ มีเพียงดวงจันทร์เท่านั้นที่โคจรรอบโลกต่อมาโจฮันนส์ เคปเลอร์เสนอเพิ่มเติมว่า
วงโคจรของดวงดาวรอบดวงอาทิตย์นั้นเป็นวงรี และดวงอาทิตย์ไม่ได้อยู่ตรงกลางของวงโคจรอย่างที่เคยเข้าใจกันต่อมากาลิ เลโอใช้วิธีสังเกตุการโคจรของดวงดาวรอบดวงอาทิตย์อย่างสม่ำสมอเป็นคนแรกและได้ค้นพบภูเขาบนดวงจันทร์หลายแห่งและยังพบดาวบริวารรอบดาว
Jupiter รวมทั้งจุดดับบนดวงอาทิตย์ โดยใช้กล้องดูดาว – telescope เขาพิมพ์งานเผยแผ่ใน ค.ศ. ๑๖๑๐ และเป็นที่สนใจมากกว่านักวิทยาศาสตร์ก่อนนั้น
ทั้งทำให้ศาสนาจักรโรมันคาทอลิคถือว่าเขาลบหลู่ความคิดเรื่องสวรรค์และดิน แดนของพระเจ้าซึ่งเริ่มต้นจากทฤษฎีของคอเปอร์นิคัสไอแซค นิวตัน (
Isaac Newton ) เกิดค.ศ. ๑๖๔๒ ศึกษาในมหาวิทยาลัยแคมบริจและเป็นศาสตราจารย์ทางคณิตสตร์ และได้เผยแผ่งานของเขา คือ The Pricipia โดยได้สรุปทฤษฎีแรงโน้มถ่วง – gravity อธิบายเหตุที่โลกไม่หลุดจากวงโคจรและสิ่งของบนโลกไม่หลุดไปจากโลก
ความคิดของนิวตันเป็นหลักการที่สำคัญของโลกวิทยาศาสตร์ จนถึงสมัยที่อัลเบิร์ต
ไอสไตน์เสนอทฤษฎีสัมพันธภาพ
– concept of relativity Descartes and Reason – rationalism
ในศตวรรษที่ ๑๗ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่สำคัญ ชื่อ Rene Descartes เดสกาดส์
สนใจ ปัญหาความแน่นอนและความไม่แน่นอน จุดเริ่มต้นของความคิดคือ
ความสงสัย งานเขียนของเขาเน้นเรื่องการมีตัวตนของเขาเองเป็นประการแรก การเริ่มต้นเชื่อมั่นว่าตนมีอยู่จริงถือเป็นเรื่องสำคัญ เหตุผลต้องเริ่มจากการยอมรับจากตัวเขาเอง
“ ...his reason said was true ” ประโยคที่สะท้อนหลักการสำคัญประการแรกที่สุดคือ “ I think, therefore I am .” การเชื่อในเหตุผลของแต่ละคน
เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการแสวงหาความรู้
Francis Bacon - The Scientific Method
ในศตวรรษที่ ๑๗ นักปราชญ์มุ่งหาวิธีศึกษาเรื่องของธรรมชาติรอบตัว เบคอนถือว่าการสร้างองค์ความรู้มาจากการสังเกต ทดลองเรื่องต่าง ๆแล้วจึงสรุปเป็นกฏ เพื่อพิสูจน์สมมุติฐานหรือทฤษฎีให้ถูกต้อง แทนการใช้การอ้างเหตุและผลเชิงตรรกวิทยา
เบคอนต้องการให้วิทยาศาสตร์เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติมากขึ้น ทั้งด้านอุตสาหกรรมเกษตรกรรมและการค้า
นักวิทยาศาสตร์ที่ชื่นชอบอัลเบิรต์ ไอสไตน์

 

ประวัติไอน์สไตน์เกิดที่เมืองอูลม์ ประเทศ เยอรมันนี เมื่อ วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ปีต่อมาครอบครัวของเขาก็ได้ย้ายจากเมืองอูลม์ไปอยู่มิวนิค เขามีจิตใจรักทางดนตรีและสามารถสีไวโอลินได้ดีเมื่อมีอายุเพียง 6ปี พอมีอายุได้ 12ปี เขาก็สามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ด้วยตนเอง ด้วยความที่เขาเรียนเก่งทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์เขาจึงสอบเข้าเรียนที่ The Federal Institute of Technology ในซูริคประเทศสวิสเซอร์แลนด์ หลังจากจบการศึกษาในปี 1900ไอน์สไตน์ก็ทำงานเป็นครูสอนทาง ไปรษณีย์อยู่2ปีจึงได้ทำงานเป็นผู้ X งชาญทางเทคโนโลยีในสถาบัน แห่งหนึ่งในกรุงบอร์น ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลสาขาฟิสิกส์ในปี1921 ขณะที่เขาอยู่ในสหรัฐอเมริกาเป็นช่วงเวลาที่ฮิตเลอร์เรืองอำนาจและทำ การกวาดล้างชาวยิวไอน์สไตน์ซึ่งมีเชื้อสายยิวจึงถูกปลดออกจากการเป็น พลเมืองชาวเยอรมันเขาจึงตกลงใจจะอยู่ในสหรัฐโดยทำงานอยู่ที่สถาบัน การศึกษาในปรินซ์ตัน นิวเจอร์ซี และได้สัญชาติอเมริกันในปี1941 ไอน์สไตน์ ได้รับการยกย่องอย่างสูงก็โดยเหตุที่เขาให้ทฤษฎีแห่งความ สัมพันธ์ซึ่งเป็นทฤษฎีโดยเฉพาะสำหรับปฏิบัติกับวิชาเคลื่อนที่ของไฟฟ้า และทรรศนะศาสตร์ นอกจากนี้เขายังได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความสำคัญ อันเป็นประโยชน์ต่อทฤษฎี Quantum และทฤษฎีทั่วไปที่เกี่ยวกับ ความโน้มถ่วง ตลอดชีวิตของเขาได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่วงการ วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันไว้อย่างมากมาย ไอน์สไตน์ถึง แก่กรรมเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 1955 ผลงาน -เป็นผู้ให้กำเนิด "ระเบิดปรมาณู"
            -เป็นเจ้าของทฤษฎีแห่งความสัมพันธ์
            -ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1921
 ประวัติไอน์สไตน์เกิดที่เมืองอูลม์ ประเทศ เยอรมันนี เมื่อ วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ปีต่อมาครอบครัวของเขาก็ได้ย้ายจากเมืองอูลม์ไปอยู่มิวนิค เขามีจิตใจรักทางดนตรีและสามารถสีไวโอลินได้ดีเมื่อมีอายุเพียง 6ปี พอมีอายุได้ 12ปี เขาก็สามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ด้วยตนเอง ด้วยความที่เขาเรียนเก่งทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์เขาจึงสอบเข้าเรียนที่ The Federal Institute of Technology ในซูริคประเทศสวิสเซอร์แลนด์ หลังจากจบการศึกษาในปี 1900ไอน์สไตน์ก็ทำงานเป็นครูสอนทาง ไปรษณีย์อยู่2ปีจึงได้ทำงานเป็นผู้ X งชาญทางเทคโนโลยีในสถาบัน แห่งหนึ่งในกรุงบอร์น ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลสาขาฟิสิกส์ในปี1921 ขณะที่เขาอยู่ในสหรัฐอเมริกาเป็นช่วงเวลาที่ฮิตเลอร์เรืองอำนาจและทำ การกวาดล้างชาวยิวไอน์สไตน์ซึ่งมีเชื้อสายยิวจึงถูกปลดออกจากการเป็น พลเมืองชาวเยอรมันเขาจึงตกลงใจจะอยู่ในสหรัฐโดยทำงานอยู่ที่สถาบัน การศึกษาในปรินซ์ตัน นิวเจอร์ซี และได้สัญชาติอเมริกันในปี1941 ไอน์สไตน์ ได้รับการยกย่องอย่างสูงก็โดยเหตุที่เขาให้ทฤษฎีแห่งความ สัมพันธ์ซึ่งเป็นทฤษฎีโดยเฉพาะสำหรับปฏิบัติกับวิชาเคลื่อนที่ของไฟฟ้า และทรรศนะศาสตร์ นอกจากนี้เขายังได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความสำคัญ อันเป็นประโยชน์ต่อทฤษฎี Quantum และทฤษฎีทั่วไปที่เกี่ยวกับ ความโน้มถ่วง ตลอดชีวิตของเขาได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่วงการ วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันไว้อย่างมากมาย ไอน์สไตน์ถึง แก่กรรมเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 1955 ผลงาน -เป็นผู้ให้กำเนิด "ระเบิดปรมาณู"
-เป็นเจ้าของทฤษฎีแห่งความสัมพันธ์
-ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1921
 
ที่มา http://www2.srp.ac.th/~visit/lesson2/article/p1.htmlhttp://www.dek-d.com/board/view.php?id=735581

รูปภาพของ nss37537

 

นาย อำนาจ วงษ์ขวัญเมือง ม.5/5 เลขที่ 7 

เหตุการณ์สำคัญที่มีผลกระทบต่อโลกและมนุษยชาติ

 

การสะสมการพัฒนาและการลดอาวุธนิวเคลียร์

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่ผลิตอาวุธนิวเคลียร์ของอาวุธนิวเคลียร์เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลกครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1945 เมื่อสหรัฐอเมริกาตัดสินใจทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมา และเมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ทำให้สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง และทำให้มนุษยชาติได้เห็นถึงอานุภาพและกำลังการทำลายล้างที่ร้ายแรงของอาวุธนิวเคลียร์ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 บรรยากาศความตึงเครียดภายใต้สงครามเย็นทำให้เกิดการแข่งขันกันพัฒนาและสะสมอาวุธนิวเคลียร์ ขณะที่สหรัฐอเมริกาสามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์และทดลองใช้จริงในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางสหภาพโซเวียตได้เร่งพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ จนสามารถทดลองระเบิดนิวเคลียร์ได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1949 หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1957 สหภาพโซเวียตได้พัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านอวกาศ สามารถส่งดาวเทียมสปุตนิก 1 (Sputinik I) เป็นดาวเทียมดวงแรกของโลกขึ้นไปโคจรรอบโลกเป็นเวลา 92 วัน และได้ส่งดาวเทียมสปุตนิก 2 (Sputinik II) พร้อมสุนัขชื่อไลกา (Laika) ขึ้นสู่อวกาศและโคจรรอบโลกในปีเดียวกัน ความสำเร็จดังกล่าวของสหภาพโซเวียต ส่งผลทำให้เกิดการพัฒนาและยืนยันถึงความสามารถในการใช้ขีปนาวุธข้ามทวีป (Inter-conrinental Ballistic Missle – ICBM) ขณะเดียวกัน ทางสหรัฐอเมริกาก็เร่งในการพัฒนาขีปนาวุธมากขึ้น การสะสมอาวุธนิวเคลียร์ของทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ต่างมีอาวุธที่มีกำลังการทำลายล้างโลกได้ทั้งหมด แต่ความหวาดระแวงของชาติมหาอำนาจทั้งสองทำให้ต่างๆ ฝ่ายต่างสะสมเพื่อไว้ป้องกันฝ่ายตรงข้าม ขณะเดียวกันมหาอำนาจทั้งสองต่างก็ไม่กล้าใช้อาวุธนิวเคลียร์โจมตีกัน เพราะต่างก็ทราบถึงกำลังทำลายล้างของอาวุธเหล่านั้นว่าสุดท้ายแล้วก็ต้องสร้างความเสียงหายอย่างใหญ่หลวงต่อมวลมนุษยชาติและต่อโลก นอกจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตจะมีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองแล้ว ชาติอื่นๆ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน อินเดีย ก็ได้พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของตนได้สำเร็จ รวมทั้งมีประเทศที่กำลังพยายามพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ เช่น ปากีสถาน อิสราเอล และแอฟริกา ในบางประเทศมีการสะสมอาวุธเคมี อาวุธเชื้อโรค ซึ่งล้วนแต่เป็นอาวุธที่มีกำลังทำลายล้างสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมอย่างรุนแรง การแข่งขันกับสะสมอาวุธที่มีกำลังการทำลายสูงดังกล่าว ได้สร้างความตึงเครียดและหวาดกลัวต่อคนทั้งโลก ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่โลกทั้งเสี่ยงต่อการที่จะต้องผจญกับสงครามทำลายล้างโลก นานาชาติจึงเริ่มเรียกร้องให้มีการจำกัดจำนวนอาวุธร้ายแรง องค์การสหประชาชาติได้รณรงค์ให้ทศวรรษที่ 1970 เป็นทศวรรษแห่งการลดอาวุธ ซึ่งเป็นหนึ่งในแรงผลักดันให้ประเทศมหาอำนาจทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต พยายามเปิดการเจรจาลดกำลังอาวุธ โดยการเจรจาตกลงและร่างสนธิสัญญาและประสบผลสำเร็จใน ค.ศ. 1972 ด้วยการยอมรับข้อตกลงในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ ฉบับที่ 1 (The Strategic Arms Limitation Talks – SALT I) ข้อตกลงในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ ฉบับที่ 1 มีลักษณะเป็นข้อตกลงชั่วคราว กล่าวคือ สนธิสัญญาดังกล่าวเป็นการควบคุมระบบต่อต้านขีปนาวุธให้มีขอบเขตจำกัดลง และให้ยุติการทดลองและติดอาวุธทางยุทธศาสตร์ ได้แก่ ขีปนาวุธข้ามทวีปและขีปนาวุธที่ยิงจากเรือดำน้ำ เป็นเวลา 5 ปี พร้อมกันนี้ได้วางระเบียบสำหรับการเจรจาในครั้งที่ 2 อย่างไรก็ตาม ปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ ใน ค.ศ. 1979 การที่สหภาพโซเวียตเข้ายึดครองอัฟกานิสถาน และให้การสนับสนุนรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์ในโปแลนด์ ทำให้สหรัฐอเมริกาปฏิเสธการให้สัตยาบันในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ ฉบับที่ 2 (The Strategic Arms Limitation Talks – SALT II) ความพยายามในการลดอาวุธเริ่มใหม่อีกครั้งใน ค.ศ. 1983 เมื่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเสนอให้เปิดเจรจาในรูปแบบการเจรจาเพื่อการลดอาวุธทางยุทธศาสตร์ (Strategic Arms Reductions Talk – START) แต่ผู้นำ สหภาพโซเวียตในขณะนั้นปฏิเสธการเจรจาเรื่องอาวุธ แต่เมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงผู้นำของสหภาพโซเวียต นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) ซึ่งมีนโยบายในการประนีประนอมกับตะวันตก การเจรจาลดอาวุธระหว่างสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาจึงเกิดขึ้นอีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1987 มีการลงนามในสนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลาง (Intermediate-Range Nuclear Force Treaty) สำหรับการเจรจาเพื่อการลดอาวุธทางยุทธศาสตร์ (START) เป็นการเจรจาที่ยืดเยื้อมาจน ค.ศ. 1991 ถึงมีการลงนามสนธิสัญญาดังกล่าว การปฏิรูปประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีน(นโยบายสี่ทันสมัยของเติ้ง เสี่ยวผิง ใน ค.ศ.1976 เหมาเจ๋อตง (Mao Zedong) ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนถึงแก่อสัญกรรม กลุ่มการเมืองที่ได้รับการสนับสนุนจากเหมา เจ๋อตง ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติวัฒนะธรรม (ค.ศ.1966-1976) หมดอำนาจลง และบางคนถูกจับกุมดำเนินคดีข้อหาอาชญากรรม อั่ว กว๋อเฟิง (Hua Guafeng) ประธานพรรคคอมมิวนิสต์ ทายาททางการเมืองของเหมา เจ๋อตงได้ดำเนินนโยบายตามเหมา เจ๋อตง คือ ดำเนินนโยบายแบบสังคมนิยมต่อไป แต่อย่างไรก็ตามหลังจากที่เติ้ง เสี่ยวผิง (Deng Xiaoping) กลับเข้ามามีบทบาทในพรรค ฮั่ว กว๋อเฟิง ก็ถูกลดอำนาจลงเนื่องจากการกลับเข้ารับตำแหน่งในคณะกรรมการกลางของสมาชิกพรรคอาวุโส ซึ่งเคยได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ณ์การปฏิวัติวัฒนธรรม คณะกรรมการพรรคชุดใหม่จึงหันไปสนับสนุน เติ้ง เสี่ยวผิง ซึ่งเท่ากับว่าเติ้ง เสี่ยวผิง สามารถกุมอำนาจในคณะกรรมการลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีนไว้ได้ ในที่สุด ช่วง ค.ศ. 1980 ฮั่ว กว๋อเฟิงได้ลาออกจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์เนื่องจากมีข้อขัดแจ้งกับสมาชิกของพรรคในเรื่องการปฏิวัติวัฒนธรรม ส่วนตำแหน่งนายยกรัฐมนตรี ฮั่ว กว๋อเฟิงได้พ้นจากตำแหน่งไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยมีจ้าว จื่อหยาง (Zhao Ziyang) ที่เติ้ง เสี่ยวผิงสนับสนุน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน ดังนั้น อำนาจของกลุ่มนิยมลัทธิเหมาจึงถูกลิดรอนลงโดยเติ้ง เสี่ยวผิงด้วยวิธีการละมุนละม่อม เติ้ง เสี่ยวผิงได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรค นอกจากการถูกลิดรอนอำนาจของกลุ่มนิยมลัทธิเหมาแล้ว รัฐบาลจีนภายใต้การปกครองของเติ้ง เสี่ยวผิงได้พยายามลดอิทธิพลของลัทธิเหมาในหมู่ประชาชน โดยโจมตีประเด็นเรื่องแนวความคิดการปฏิวัติทางชนชั้น การพัฒนาเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมว่าไม่สามารถทำให้ประชาชนมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้นและยังทำให้ประเทศจีนล้าหลัง เติ้ง เสี่ยวผิงมีความเชื่อมั่นว่าการพัฒนาประเทศจีนได้เจริญก้าวหน้านั้น จะต้องพัฒนาทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการทหาร การดำเนินงานนี้ได้จะต้องดำเนินการปฏิรูปประเทศ และเปิดประเทศเพื่อนำเอาวิทยาการตะวันตกมาพัฒนาประเทศ ดังนั้น เติ้ง เสี่ยวผิงจึงเริ่มดำเนินนโยบายสี่ทันสมัย (Four Modenizationx) เพื่อพัฒนาประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนให้ทันสมัยแบบตะวันตก การล่มสลายของสหภาพโซเวียต การล่มสลายของสหภาพโซเวียต เป็นชื่อเรียกช่วงเวลาระหว่าง ปี ค.ศ. 1985 ถึง ค.ศ. 1991 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นาย มิคาอิล กอร์บาชอฟ เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต เขาได้เดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองของสหภาพโซเวียต ภายใต้โครงการ เปเรสตรอยกา และกลาสต์น็อต ซึ่งเป็นการเพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเปิดโอกาสให้ประชาชนเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนบุคคล ซึ่งการปฏิรูปดังกล่าวทำให้ประชาชนในสหภาพโซเวียตตระหนักถึงเสรีภาพในการดำรงชีวิต ทำให้เกิดการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1991 ในที่สุดการขึ้นสู่อำนาจของกอร์บาชอฟ มิคาอิล กอร์บาชอฟ แม้ว่าการปฏิรูปก่อนหน้านั้นได้ล่าช้าลงในช่วงปี 1964-1982 แต่ว่าการที่คนรุ่นใหม่ได้มีอำนาจแทนคนรุ่นเก่าก็ได้สร้างสภาวะที่เหมาะแก่การปฏิรูปขึ้นอีกครั้ง ความสัมพันธ์ของสหภาพโซเวียตกับสหรัฐอเมริกาที่เปลี่ยนแปลงไปก็ยังเป็นความจำเป็นหนึ่งของการปฏิรูป แม้ว่าประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ ได้ล้มเลิกนโยบายประนีประนอมหลังจากที่สหภาพโซเวียตโจมตีอัฟกานิสถาน แต่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก็ได้ขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เหตุการณ์วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ในสมัยแรก ของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนในเวลานั้นเอง มิคาอิล กอร์บาชอฟ ก็ได้สนับสนุนนโยบายที่จะนำไปสู่การล่มสลายทางการเมืองของสหภาพโซเวียต โดยการควบคุมเศรษฐกิจผ่านทางนโยบายกลาสนอสต์ (การเปิดกว้างทางการเมือง) เปเรสตรอยกา (การวางโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่) และอุสโคเรนิเย (การเร่งพัฒนาการทางเศรษฐกิจ) เศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตก่อนหน้านั้นได้รับผลเสียจากอัตราเงินเฟ้อแฝงและการขาดแคลนวัตถุดิบอันเนื่องมาจากการบริหารที่ไม่มีประสิทธิภาพ นโยบายเปเรสตรอยกาและกลาสนอสต์มิคาอิล กอร์บาชอฟ ได้เป็นผู้นำสหภาพโซเวียต นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 1985 ไม่นานหลังจากการเสียชีวิตของคอนสแตนติน เคอร์เชนโก กอร์บาชอฟได้ริเริ่มการปฏิรูปทางการเมืองหลายอย่างภายใต้นโยบายที่เรียกว่า กลานอสต์ ประกอบด้วย การลดความเข้มงวดในการเซนเซอร์ การลดอำนาจหน่วยเคจีบี และการเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตย การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นั้นมีจุดประสงค์เพื่อกำจัดการต่อต้านการปฏิรูปทางเศรษฐกิจจากกลุ่มอำนาจฝ่ายอนุรักษ์นิยมภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ภายใต้การปฏิรูปนี้ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในพรรคคอมมิวนิสต์จะต้องมาจากการเลือกตั้ง (โดยสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เอง)ซึ่งเป็นการใช้ระบบนี้ครั้งแรก ท่ามกลางการคัดค้านจากกลุ่มอนุรักษ์นิยม อย่างไรก็ตาม การลดความเข้มงวดในการเซนเซอร์และความพยายามที่จะสร้างการเมืองที่เปิดกว้างมากขึ้นโดยกอร์บาชอฟ ได้ปลุกความรู้สึกชาตินิยมและต่อต้านรัสเซียในสาธารณรัฐเล็กๆ ที่เป็นชนกลุ่มน้อยในสหภาพโซเวียต ในคริสต์ทศวรรษ 1980 เสียงที่เรียกร้องอิสรภาพจากการปกครองจากมอสโกได้ดังขั้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในสาธารณรัฐแถบทะเลบอลติก คือ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย ที่รวมกับสหภาพโซเวียตตั้งแต่ปี 1940 โดยโจเซฟ สตาลิน ความรู้สึกชาตินิยมนั้นก็ยังได้แพร่หลายในสาธารณรัฐอื่น ๆ เช่น ยูเครน จอร์เจีย และอาเซอร์ไบจาน ขบวนการชาตินิยมเหล่านี้ได้เข้มแข็งขึ้นอย่างมากเมื่อเศรษฐกิจของโซเวียตตกต่ำ รัฐบาลที่กรุงมอสโกนั้นกลายเป็นแพะรับบาปของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แสดงว่า กอร์บาชอฟนั้นได้ปลดปล่อยพลังที่จะทำลายสหภาพโซเวียตไปแล้วโดยไม่ได้ตั้งใจ เหตุการณ์ก่อการร้ายวันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001 เหตุการณ์การก่อการร้ายในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 เป็นเหตุการณ์ก่อการร้ายที่มุ่งสร้างความเสียหายแก่ชาวอเมริกัน การกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นโดยกลุ่มบุคคลที่มีเหตุผลทางการเมืองเพื่อหวังผลในการทำลายขวัญและกำลังใจของชาวอเมริกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความปลอดภัยในชีวิต และสัญลักษณ์ของประเทศอเมริกาต้องถูกทำลายไปด้วยเครื่องบินของสหรัฐอเมริกาเองเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 เริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลา 8.45 น. ตามเวลาท้องถิ่น เครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 767 ของสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 นำผู้โดยสาร เจ้าหน้าที่ และน้ำมันเต็มลำที่จะเดินทางจากเมืองบอสตันสู่นครลอสแอนเจลิส พุ่งเข้าชนยอดตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 1 (World Trade Center I) ในมหานครนิวยอร์ก ทำให้อาคารเกิดการระเบิดเสียหายอย่างรุนแรงในตอนแรกประชาชนและผู้เห็นเหตุการณ์คาดคะเนว่าเป็นอุบัติเหตุจากการผิดพลาดในการบังคับควบคุมเครื่องบิน แต่ต่อมาในเวลา 9.06 น. เครื่องบินโบอิ้ง 767 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 177 ซึ่งบินจากบอสตันสู่นครลอสแอนเจลิสเช่นกัน ได้พุ่งเข้าชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 2 (World Trade Center II) ที่เป็นอาคารที่สร้างคู่กับตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 1 เกิดระเบิดสนั่นหวั่นไหว เวลา 9.30 น. ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช (George W. Bush) แห่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศแถลงการ์ณว่าการระเบิดอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ เป็นปฏิบัติการของผู้ก่อการร้ายและยืนยันที่จะสืบหากลุ่มบุคคลที่กระทำการมาลงโทษให้จงได้ เวลา 9.40 น. ที่กรุงวอชิงตัน ดี. ซี. เมืองหลวงของสหรัฐอเมริกา เครื่องบินโบอิ้ง 757 สายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 77 ได้พุ่งเข้าชนอาคารเพนตากอน (Pentagon) กระทรวงกลาโหม อาคารเกิดระเบิดและเพลิงไหม้อย่างรุนแรง ในเวลาไล่เลี่ยกันได้เกิดเหตุการณ์เครื่องบินตกในมลรัฐเพนซิลเวเนีย เครื่องบินที่ตกคือเครื่องบินสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 73ที่เดินทางจากเมืองเนวาร์กไปเมืองซานฟรานซิสโกซึ่งมีข้อมูลว่าเครื่องบินลำดังกล่าวถูกสกัดอากาศจี้ ในเวลา 10.00 น. อาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 2 ซึ่งถูกไฟไหม้ได้ถล่มลงมา หลังจากนั้นอีกราวครึ่งชั่วโมงอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์1ก็ถล่มตามลงมา ทำให้พนักงานดับเพลิงและเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยที่เข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์ร้ายต้องได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ประกาศมาตรการฉุกเฉิน มีการอพยพผู้คนออกจากสถานที่สำคัญ ยกเลิกเที่ยวบินทั่วประเทศ กองทัพสหรัฐอเมริกาประกาศเตรียมพร้อมรบ ควันเพลิงจากตึกเวิลด์เทรด หลังจากเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ทำการระดมกำลังเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลาง(FBI)ออกสืบหาผู้ก่อการวินาศกรรมในครั้งนี้ ในวันต่อมาสหรัฐอเมริกาได้มุ่งเป้าไปที่โอซามา บินลาเดน (Osama bin Laden) หัวหน้าขบวนการอัลเคดา (Al Qaida) และสรุปว่าเป็นผู้บงการให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว จากการตรวจสอบรายชื่อผู้โดยสารของเครื่องบินที่ถูกบังคับก่อวินาศกรรม เจ้าหน้าที่สืบสวนได้พบว่ารายชื่อบุคคลทั้ง 19 คนที่มีบทบาทในการจี้เครื่องบิน ส่วนใหญ่มีความเกี่ยวพันกับขบวนการของโอซามา บินลาเดน โดยบุคคลเหล่านี้ต่างเสียชีวิตในการก่อวินาศกรรมครั้งนี้ทั้งหมดเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องสูญเสียชีวิตประชาชนและทรัพย์สินเป็นจำนวนมหาศาล พร้อมกับส่งผลกระทบต่อขวัญกำลังใจของประชาชนชาวอเมริกันเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ชาวอเมริกันตระหนักว่าประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้ปลอดภัยอย่างที่เคยคิดอีกต่อไป ดินแดนและจุดต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกาสามารถเป็นเป้าโจมตีของศัตรูได้ทั้งสิ้น สาเหตุของเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001 หลังจากเกิดเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ได้มีการวิเคราะห์ถึงสาเหตุของเหตการณ์การก่อวินาศกรรมไว้หลายแนวทางด้วยกัน นักวิชาการส่วนใหญ่วิเคราะห์ว่าสาเหตุของเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001 มาจากระบบสังคมโลกโดยรวมที่สหรัฐอเมริกาเป็นชาติอภิมหาอำนาจทุนนิยมอันดับหนึ่งตลอดระยะเวลาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา สหรัฐอเมริกาได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศในลักษณะแผ่ขยายอำนาจไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินแดนตะวันออกกลางซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญมาก คือ ทรัพยากรน้ำมัน หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง อังกฤษซึ่งเป็นชาติมหาอำนาจในภูมิภาคนี้ต้องถอนตัวออกไปเนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศที่ตกต่ำ สหรัฐอเมริกาในนฐานะชาติอภิมหาอำนาจใหม่ได้เข้าไปแผ่อิทธิพลแทนที่ด้วยการแทรกแซงสนับสนุนการก่อตั้งรัฐอิสราเอลขึ้นในดินแดนปาเลสไตน์ ในค.ศ. 1948 หลังจากนั้นสหรัฐอเมริกาก็ดำเนินนโยบายสนับสนุนอิสราเอลมาโดยตลอด ทั้งในการทำสงครามกับกลุ่มประเทศอาหรับ การยึดครองดินแดนปาเลสไตน์ และขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกาก็ให้การสนับสนุนรัฐบาลของกลุ่มประเทศอาหรับที่เป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกา ผลของการดำเนินนโยบายของสกรัฐอเมริกาได้สร้างความรู้สึกไม่พอใจให้เกิดขึ้นในหมู่ชาวอาหรับ ซึ่งเห็นว่า สหรัฐอเมริกามีนโยบายคุกคามกลุ่มประเทศอาหรับและต้องการเข้ามามีอำนาจในประเทศต่าง ๆ ในแถบนี้ การแทรกแซงในภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มทุนของสหรัฐอเมริกาซึ่งเข้าไปลงทุนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้เป็นสำคัญ เช่น กลุ่มทุนอุตสาหกรรมน้ำมันเป็นต้น การแทรกแซงของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อภูมิภาคนี้นำมาซึ่งความขัดแย้งนับครั้งไม่ถ้วนของชาติต่าง ๆ หลายครั้ง ก่อให้เกิดผลประโยชน์การค้าอาวุธของบริษัทผลิตอาวุธของสหรัฐอเมริกาเอง ส่วนสถานที่ซึ่งถูกโจมตีในวันที่ 11 กันยายน อันได้แก่ ตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งของสถาบันการเงินระหว่างประเทศเป็นจำนวนมาก จนอาจถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของระบบทุนนิยมโลก ส่วนตึกเพนตากอนซึ่งเป็นที่ตั้งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ก็ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางอำนาจทางทหารของชาติอภิมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก การที่ขบวนก่อการร้ายสามารถทำลายตึกเหล่านี้ได้ จึงเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของสหรัฐอเมริกาในฐานะชาติอภิมหาอำนาจและเป็นศูนย์กลางระบบทุนนิยมโลก เหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 เห็นได้ว่ามีศาสนาและความเชื่อ ซึ่งกลายเป็นเหตุปัจจัยหลักประการหนึ่งของความขัดแย้งและการต่อสู้ ถ้าพิจารณาในมุมนี้ก็อาจกล่าวได้ว่าการก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน เป็นปฏิกิริยาที่มีต่อบทบาทของสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลาที่ผ่านมานั่นเอง ผลกระทบของเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001 ต่อสหรัฐอเมริกา ผลกระทบต่อสังคมโลก เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ได้ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งตอสหรัฐอเมริกาและสังคมโลกโดยรวม ดังนี้ 1. ผลกระทบต่อสหรัฐอเมริกา เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสหรัฐอเมริกาหลายประการด้วยกัน ได้แก่ 1) เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องสูญเสียชีวิตมนุษย์และทรัพย์สินจำนวนมาก จากการประเมินของสภากาชาดสหรัฐอเมริกามียอดผู้เสียชีวิต 2,563 คน ความเสียหายมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 2)เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เศรษฐกิจที่เริ่มชะลอมาตั้งแต่ก่อนหน้าเกิดวิกฤตการณ์ก็ประสบปัญหามากขึ้น 3) ขวัญกำลังใจของประชาชนชาวอเมริกันตกต่ำลงและเกิดแนวความคิดแบบชาตินิยมมขึ้นมาแทนที่ ดังจะเห็นได้จากประชาชนชาวอเมริกันต่างแสดงถึงความรักชาติของตนเองในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจุดเทียนรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ ธงชาติสหรัฐอเมริกาถูกประชาชนซื้อจนหมด หรือร้องเพลงแสดงความรักชาติ เป็นต้น 4) เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้นโยบายการปกครองในประเทศของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยหันมาเน้นด้านความมั่นคงเป็นหลัก แทนที่สิทธิเสรีภาพในระบบประชาธิปไตย เช่น การให้อำนาจประธานาธิบดีมีอำนาจกระทำการใด ๆ ก็ได้ต่อบุคคลที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย การจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การลดสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนหรือคุกคามสิทธิส่วนบุคคล เป็นต้น ซึ่งประชาชนเองก็มีแนวโน้มคล้อยตามในการให้อำนาจแก่รัฐมากขึ้นเพื่อแลกกับความมั่นคงของชาติ 5)เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ได้ถูกรัฐบาลสหรัฐอเมริกานำไปใช้ในการสร้างความชอบธรรมในการโต้กลุ่มก่อการร้ายด้วยความรุนแรง เช่น การทำสงครามยึดครองอัฟกานิสถานในปลาย ค.ศ. 2001 หรือการรุกรานและยึดครองอิรักในปัจจุบันเป็นต้น 2.ผลกระทบที่มีต่อสังคมโลก เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสังคมโลก ทั้งก่อให้เกิดสงครามและการก่อการร้ายมากขึ้นหลังจากเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 สหรัฐอเมริกาได้ประกาศสงครามกับกลุ่มก่อการร้ายและพร้อมจะทำลายกลุ่มองค์กรเหล่านี้ รวมทั้งรัฐบาลที่ให้แหล่งพักพิงและสนับสนุนการก่อการร้าย โดยประธานาธิบดีบุช ได้ประกาศให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต้องตัดสินใจว่าประเทศเหล่านั้นจะอยู่ข้างสหรัฐอเมริกาหรืออยู่ข้างฝ่ายก่อการร้าย การประกาศดังกล่าวทำให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างระมัดระวัง ในการหลีกเลี่ยงปัญหาความขัดแย้งทั้งจากสหรัฐอเมริกาและกลุ่มก่อการร้าย รวมถึงประชาชนภายในประเทศที่มีแนวโน้มขัดแย้งกับนโยบายของรัฐบาลที่ดำเนินนโยบายเข้าข้างสหรัฐอเมริกา สงครามในคริสต์ศตวรรษที่ 21 จึงเกิดขึ้น โดยสหรัฐอเมริกาเข้าไปโค่นล้มรัฐบาลของประเทศอัฟกานิสถานและอิรักโดยอ้างถึงความกดขี่ในด้านการปกครองและการสนับสนุนการก่อการร้ายของรัฐบาลชุดเก่า ทั้งรัฐบาลกลุ่มตาลีบันและรัฐบาลประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน แล้วจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่เป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเท่ากับเป็นการขยายอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาไปด้วย ขณะเดียวกัน กลุ่มก่อการร้ายก็ต่อต้านสหรัฐอเมริกาและชาติพันธมิตร เช่น อังกฤษ และออสเตรเลีย ด้วยการก่อวินาศกรรมทำลายชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้น เช่น เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมระเบิดสถานบันเทิงในเกาะบาหลีเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 2002 มีผู้เสียชีวิต 202 คน บาดเจ็บกว่า 300 คน

รูปภาพของ nss37537

นายอำนาจ วงษ์ขวัญเมือง ม.5/5 เลขที่ 7  

 

ปัญหาตะวันออกกลาง

 1. สาเหตุความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง -ความแตกต่างด้านเชื้อชาติ ภูมิภาค ตะวันออกกลางเป็นดินแดนที่มีหลากหลายเชื้อชาติมาตั้งแต่อดีตเชื้อชาติสำคัญๆ ในดินแดนแถบนี้ คือ อาหรับ เปอร์เซีย เติร์ก ที่เหลือเป็น เคิร์ด ยิว และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ -ความขัดแย้งทางศาสนา ดินแดนภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นแหล่งกำเนิดศาสนาสำคัญของโลกถึง3 ศาสนา คือ ศาสนายิว คริสต์ศาสนา และศาสนาอิสลาม ในสมัยจักรวรรดิอาหรับศาสนาต่างๆสามารถอยู่ด้วยกันได้อย่างสันติแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 เกิดสงครามระหง่างศาสนาคริสต์กับศาสนราอิสลามในดินแดนปาเลสไตน์ หลังจากพวกออตโตมันเติร์กเข้ายึดครองดินแดนตะวันออกกลาง ความขัดแย้งทางศาสนาก็ลดลงจนเมื่อลัทธิชาตินิยมแพร่หลายเข้ามาในดินแดนตะวันออกกลางในช่วงปลายคริสต์ ศตวรรษที่ 19 ชาวอาหรับได้เอาศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ขณะที่ชาวยิวที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศอิสราเอลที่นับถือศาสนายิว ส่วนชาวเลบานอนนับถือศาสนาคริสต์ทำให้เกิดเป็นปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาขึ้นอีก นอกจากนี้ชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีก็มีข้อขัดแย้งกับชาว เปอร์เซียทีนับถือนิกายชีอะฮ์ด้วย -ความแตกต่างในระบอบการเมืองการปกครองประเทศ ต่างๆในภูมิภาคตะวันออกกลางมีระบอบปกครองที่แตกต่างกัน บางประเทศปกครองในระบอบกษัตริย์ เช่น ซาอุดิอาระเบีย จอร์แดน คูเวต บางประเทศปกครองในระบบเผด็จการ เช่น อิรักลิเบีย บางประเทศปกครองในระบอบประชาธิปไตย เช่น อิสราเอล ตุรกี เป็นต้นหรือโดยบางประเทศปกครองโดยในระบอบศาสนาอิสลาม สาธารณรัฐอิสลามเช่นสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน เป็นต้น ความแตกต่างทางด้านระบอบการปกครองทำให้รัฐบาลประเทศต่างๆมีความไม่ไว้ว่างใจซึ่งกันและกัน ตัวอย่างเช่นรัฐบาลประเทศต่างๆมีความหวาดระแวงในรัฐบาลของอิหร่านซึ่งปกครองโดนการปฏิวัติอิสลามว่าจะเผยพี่อุดมการณ์ปฏิวัติอิสลามเข้ามาในประเทศ -ความแตกต่างทางด้านเศรษฐกิจ ประ เทศต่างๆในภูมิภาคตะวันออกกลางมีฐานะไม่เท่าเทียมกันทางด้านเศรษฐกิจเนื่องจากแต่ละประเทศมีปริมาณน้ำมันสำรองงบเท่ากันบางประเทศมีปริมาณน้ำมันสำรองมาก เช่น ซาอุดิอาระเบีย คูเวต อิหร่าน เป็นต้นบางประเทศไม่มีน้ำมัน เช่น อิสราเอล จอร์แดน เลบานอน ทรัพยากรน้ำมันจึงกลายเป็นสาเหตุของความขัดแย้งเช่น กรณีสงครามระหว่างอิรักกับอิกร่านซึ่งอิรักเข้ารุกรานอิหร่านก็เนื่องจากต้องการยึดครองบ่อน้ำมันของอิหร่าน -การแทรกแซงของชาติมหาอำนาจ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 20ชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวีตต่างเข้าแทรกแซงดินแดนภูมิภาคตะวันออกกลางโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ทางด้านการฑุต ทางการเมือ เศรษฐกิจ และการทหาร

2.กรณีความขัดแย้งของภูมิภาคตะวันออกกลางที่มี ผลกระทบต่อโลก -สงครามอาหรับกับอิสราเอล ค.ศ.1948-1975 สงครามระหว่างอาหรับ-อิสราเอล เป็นสงครามขัดแย้งทางศาสนาและเชื้อชาติที่ชาวอาหรับผู้นับถือศาสนาอิสลามต้องการขับไล่ชาวยิวหรือชาวอิสราเอลผู้นับถือศาสนายิวให้หมดสิ้นจากดินแดนปาเลสไตน์ซึ่งเป็นประเทศอิสราเอลในปัจจุบันเป็นปัญหาที่กลายเป็นสงครามรบพุ่งกันหลายครั้ง -สงครามระหว่างอิหร่านกับอิรัก ค.ศ.1980-1988 ในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1980 อิรักเข้าโจมตีจังหวัดคูเซสถานของอิหร่าน ร่านจึงส่งกำลังเข้าโต้ตอบ จากนั้นสงครามได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และรบติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน สงครามนี้มีผลกระทบไปถึงประเทศสหรัฐอเมริกาโดยอิหร่านกล่าวหาว่าสหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือแก่อิรัก สงคราม ได้ยืดเยื้อมาจนกระทั่งสหประชาชาติและประเทศที่เป็นกลางได้พยายามที่จะให้2 ประเทศนี้ได้เจรจายุติสงครามกันเพราะทั้งสองต่างก็เป็นประเทศที่มีบทบาทต่อการส่งน้ำมันออกสู่ตลาดโลกมาประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซนของอิรักประกาศว่า จะพยายามยุติสงครามลงด้วยสันติวิธีแต่การกระทำของอิรักกลับตรงกันข้ามกล่าวคือ ชาวเคิร์ดในอิหร่านถูกอิรักโจมตีด้วยอาวุธเคมีทำให้ประชาชนล้มตายไม่ต่ำกว่า 5,000 คน และขณะเดียวกันทหารอิรักยังโจมตีและรุกคืบเข้าไปในดินแดนอิหร่านในค.ศ. 1987 องค์การสหประชาชาติมีมติให้อิหร่านและอิรักยุติสงครามอิรักยอมรับมติแต่อิหร่านยังคงโจมตีอิรักต่อเพราะคาดว่าจะได้รับชัยชนะปรากฏว่าอิหร่านไม่สามารถเอาชนะอิรักได้ และในค.ศ. 1988อิรักซึ่งได้รับการสนับสนุนกำลังอาวุธจากสหภาพโซเวียตกลับมาสามารถต้านทาน และผลักดันกองทัพอิหร่านพ้นชายแดนอิรักในที่สุดอายาตุลเลาะห์ โคไมนี ผู้นำอิหร่านต้องยอมรับมติสหประชาชาติทั้งสองฝ่ายต่างหยุดยิงในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1988 -สงครามอ่าวเปอร์เซีย (อิรักบุกยึดครองคูเวต)ค.ศ.1990-1991อิรักได้ทำสงครามกับอิหร่านมานานถึง 9 ปี ทำให้มีหนี้สินต่างประเทศ โดยเฉพาะที่กู้ยืมมาจากซาอุดิอาระเบียและคูเวตรวมกันเป็นจำนวนมากแต่อิรักเป็นประเทศที่มีทรัพยากรน้ำมันอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์และนอกตากนี้อิรักภายใต้การนำของปรานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซนยังได้สร้างกองทัพอิรักให้มีแสนยานุภาพที่เกรียงไกรกว่าทุกประเทศในตะวันออก กลางกล่าวคือมีทหารที่ฝึกปรืออย่างดีและผ่านประสบการณ์สงครามกับอิหร่านมาแล้วจำนวนมากกว่า 1 ล้านคน มีอาวุธที่ทันสมัยทั้งเครื่องบิน จรวด อาวุธและกำลังเริ่มต้นพัฒนาอาวุธปรมาณูขึ้นอีก 3.ผลกระทบของปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง ความขัดแย้งในตะวันออกกลางทำ ให้กลางเมืองของโลกตึงเครียดขึ้นเนื่องจากความขัดแย้งไม่ได้จำกัดแต่เพียงคู่กรณีพิพาทเท่านั้นแต่ยังเกี่ยวพันกับมหาชาติอำนาจให้เข้ามามีส่วนร่วมกับความขัดแย้งจนถึงขั้นเผชิญหน้ากัน ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางเปิดโอกาสให้ชาติมหาอำนาจเข้ามาแทรกแซง มีอิทธิพลในประเทศต่างๆดังเช่น สงครามอิรักบุกยึดคลองคูเวตใน ค.ศ. 1990-1991 เปิด โอกาสให้ชาติมหาอำนาจโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีบทบาทในการขับไล่อิรักออกจากคูเวตได้ขยายอิทธิพลเข้าไปในกลุ่มประเทศ ตะวันออกกลางจนถึงขั้นจัดตั้งฐานทัพในประเทศอิสลามหลายประเทศเช่น ซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ เป็นต้นนอกจากสหรัฐอเมริกายังสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในอุตสาหกรรมน้ำมันในประเทศแถบ นี้ด้วย ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรง เนื่องจากภูมิภาคนี้เป็นกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก เมื่อปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคนี้เกิดขึ้นราคาน้ำมันจะต้องเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจโลกโดยรวม เช่น วิกฤตการณ์น้ำมัน เป็นต้น ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางส่งผลให้เกิดการก่อการร้ายไปทั่วโลก ซึ่งการก่อการร้าย คือวิถีทางการต่อสู้ของผู้อ่อนแอกว่าที่มีต่อผู้เข้มแข็งที่เห็นได้ชัด เช่นกรณีสงครามที่อสราเอลมีชัยชนะเหนือประเทสอาหรับและเข้ายึดครองดินแดนประเทศ ต่างๆทำให้ผู้ได้รับผลกระทบต่อการกระทำของอิสราเอลรวมตัวกันเป็นขบวนการก่อการร้ายเพื่อต่อสู้กับอิสราเอลในทุกวิถีทางในทุกพื้นที่ซึ่งรวมถึงการต่อสู้และการก่อการร้ายต่อชาติพันธมิตรขงอิสราเอลด้วย

รูปภาพของ nss37537

 นายอำนาจ วงษ์ขวัญเมือง ม.5/5 เลขที่ 7

1.ความหมายของส่งครามเย็น สงคราม เย็นคือลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ช่วง ค.ศ.1945-1991 ที่กลุ่มประเทศโลกเสรีและกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์
ต่างพยายามต่อสู้โดยวิธีการต่างๆ ยกเว้นการทำสงครามกันโดยเปิดเผย เพื่อขัดขวางการขยายอำนาจของกันและกัน
สงคราม เย็นมีผลสืบเนื่องมาจากสภาพบอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ทั้งประเทศผู้ชนะและแพ้สงคราม
ได้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ทวีปยุโรปซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและเศรษฐกิจโลกอยู่ในสภาพทรุด
โทรมอย่างยิ่ง ต้องสูญเสียอำนาจและอิทธิพลในสังคมโลกให้กับสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต
ซึ่งเป็นสองประเทศที่มีฐานะเศรษฐกิจมั่นคงจนเป็นหลักในการบูรณะฟื้นฟูประเทศ อื่นๆ
สหรัฐอเมริกาก้าวสู่ความเป็นผู้นำของโลกเสรีประชาธิปไตย ในขณะที่สหภาพโซเวียตมีอำนาจและอิทธิพลเนื่องมาจากความสำเร็จในการขยายลัทธิ
คอมมิวนิสต์สู่กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก อยู่ในฐานะประเทศผู้นำของโลกคอมมิวนิสต์
คำว่า อภิมหาอำนาจ จึงหมายถึง ความเป็นผู้นำโลกของประเทศทั้งสอง
ซึ่งแข่งขันกันขยายอำนาจและอิทธิพล จนทำให้ความสัมพันธ์ที่มีต่อกันเกิดความตึงเครียดสูง

   

 2.สาเหตุของสงครามเย็น 1.  ความขัดแย้งในอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างสหรัฐอเมริกาที่ปกครอง ในรูปแบบประชาธิปไตยและสหภาพโซเวียตที่มีแนวทางการปกครอง

ในรูปแบบคอมมิวนิสต์  ทั้งสองฝ่ายต่างมุ่งมั่นที่จะขยายอุดมการณ์ทาง

การเมืองของตนเองไปทั่วโลก     

2.  การแข่งขันด้านผลประโยชน์  อำนาจและความมั่นคงของประเทศ

ทำให้เกิดการแข่งขันด้านสมรรถนะทางทหาร  และ การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์  ทำให้การเมืองโลกแบ่งออกเป็น

ระบบสองขั้วอำนาจ  (bi-polar system)   โดยมีสหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ   

3.ความขัดแย้งของชาติมหาอำนาจในยุคสงครามเย็น นอก จากทวีปยุโรปแล้วสองอภิมหาอำนาจยังแข่งขันกันในภูมิภาคต่างๆ
ส่งผลให้สงครามเย็นเพิ่มความตึงเครียด ทวีปเอเซียเป็นอีกเวทีหนึ่งของสงครามเย็นในแถบตะวันออกไกล
จีนเป็นดินแดนที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ที่ประสบความสำเร็จที่สุด
เมื่อจีนคอมมิวนิสต์นำโดยเหมาเจ๋อตุงเป็นฝ่ายมีชัยชนะในสงครามกลางเมือง
ยึดครองแผ่นดินใหญ่ของจีนได้
รัฐบาลจีนคณะชาติซึ่งเป็นฝ่ายโลกเสรีและได้รับความสนับสนุนอย่างเต็มที่จากสหรัฐอเมริกา
ต้องหนีไปตั้งรัฐบาลที่เกาะฟอร์โมซา
ชัยชนะของจีนคอมมิวนิสต์มีผลกระทบต่อดุลอำนาจทางการเมืองระหว่างประเทศถือเป็นการพ่ายแพ้ที่สำคัญของสหรัฐอเมริกาและเป็นการเสียดุลอำนาจครั้งสำคัญ
ของโลกเสรีสหภาพโซเวียตและจีนเป็นสองประเทศคอมมิวนิสต์ที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่
มีทรัพยากรมากและมีจำนวนประชากรมหาศาล
ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนจึงตึงเครียดมานับตั้งแต่นั้น
ความ ขัดแย้งของสงครามเย็นส่งผลให้ประเทศเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศ
ที่มีอุดมการณ์ต่างกันกองทัพของประเทศเกาหลีเหนือซึ่งปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ได้ยกข้ามเส้นขนาน
ที่ 38องศาเหนือเข้ารุกรานประเทศเกาหลีใต้อย่างฉับพลัน
สหประชาติจึงมีมติให้สหรัฐอเมริกาและกองกำลังทหารของสหประชาชาติจาก18 ประเทศสมาชิกเข้าช่วยเกาหลีใต้จากการรุกรานครั้งนี้
จีนส่งกองทัพช่วยเกาหลีเหนือก่อให้เกิดการเผชิญหน้ากันจนกระทั่ง ค.ศ.1953 จึงมีการทำสนธิสัญญาสงบศึกสงครามเกาหลีก่อให้เกิดความตื่นตัวต่อการขยายอิทธิพของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอ
เซีย สหรัฐอเมริกาเห็นความจำเป็นของการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเซียอย่างจริงจัง
สำหรับประเทศญี่ปุ่น ลัทธิคอมมิวนิสต์ประสบความสำเร็จในวงแคบ เสถียรภาพทางการเมืองความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและมาตรฐานสังคมในระดับสูงของประเทศญี่ปุ่น
อันเป็นผลงานส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกาส่งผลให้ประเทศญี่ปุ่นเป็นกำลังสำคัญของโลกเสรีในทวีปเอเชีย
 
  

4.ความขัดแย้งและสงครามตัวแทนในภูมิภาคเอเชีย การขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มจากอินโด
จีน คือ ประเทศเวียดนาม เขมร และลาว ซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเทศฝรั่งเศส
เวียดนามถูกแบ่งออกเป็น
2 ส่วน โดยใช้เส้นขนานที่ 17 องศาเหนือเป็นเขตแบ่งชั่วคราว
เวียดนามเหนืออยู่ใต้การปกครองของลัทธิคอมมิวนิสต์มีโฮจิมินห์เป็นผู้นำ
เวียดนามใต้ปกครองระบอบประชาธิปไตย มีโงดินห์เดียมเป็นผู้นำ
โดยให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในเวลา1 ปี
เพื่อรวมเวียดนามเป็นประเทศเดียวกัน แต่การเลือกตั้งก็ไม่ได้เกิดขึ้น
เพราะเกิดการสู้รบระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ การ
ขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาในอินโดจีนทำให้สหรัฐอเมริกานำนโยบายล้อมกรอบการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์มาใช้ในเอ
เซียด้วย
นายจอห์น ฟอสเตอร์ดัลเลส
รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาขณะนั้นประกาศอย่างแข็งขันว่าจะไม่ยอมให้ลัทธิคอมมิวนิสต์ขยายตัวต่อไป
โดยเชื่อมั่นในทฤษฏีโดมิโนว่า
ถ้าประเทศใดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคอมมิวนิสต์แล้วประเทศใกล้เคียงอื่นๆ
ก็จะพลอยเป็นคอมมิวนิสต์ไปด้วย ในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ.1954
จึงได้มีการสนธิสัญญาที่กรุงมะนิลาเพื่อจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
(Seato) ประกอบด้วย 8 ประเทศได้แก่
สหรัฐอเมริกา ไทย ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศสออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
ด้วยวัตถุประสงค์ทำนองเดียวกับนาโต
ใน ตะวันออกลางหรือเอเซียตะวันตกเฉียงใต้
เป็นภูมิภาคที่มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับด้วยกันเองและระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับกับประเทศอิสราเอล
สหภาพโซเวียตฉวยโอกาสขยายอิทธิพลของตนด้วยวิธีารต่างๆเช่น
เสนอให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการทหารแก่ประเทศอิยิปต์
ในการปฏิรูปประเทศในสมัยประธานาธิบดีนัสเซอร์ด้วยการให้เงินสร้างเขื่อนอัสวาน
อืยิปต์เป็นผู้นำของกลุ่มประเทศอาหรับที่สหภาพโซเวียตต้องการส่งเสริม
อิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ให้แพร่หลายในภูมิภาคตะวันออกลางฝ่ายโลกเสรีจึงหาทางสกัดกั้นด้วยการจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาเซ็นโต
หรือองค์การสนธิสัญญากลาง(Central
Treaty Organization:CENTO) ซึ่งมีสมาชิก 5 ประเทศ
คือ สหราชอาณาจักร ตุรกีอิรัก อิหร่าน และปากีสถาน
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการแทรกแซงและขยายอำนาจของลัทธิคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคนี้
 
   

5.การสิ้นสุดสงครามเย็น

สิ้นสุดของทศวรรษ1980 เป็นการสิ้นสุดของยุคสมัยแห่ง “สงครามเย็น” ซึ่งดำเนินมาเป็นเวลาเกือบครึ่งศตวรรษภายหลังสงครามโลกครั้งที่2
เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้การขัดแย้งทางอุดมการณ์และการแข่งขันกันเป็น
ผู้นำของโลก
ระหว่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียตสิ้นสุดลง สืบเนื่อง มาจากการล่มสลายของระบบ
การปกครองคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก และความเปลี่ยนแปลงในสหภาพโซเวียต
อันเป็นผลมาจากนโยบาย ปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งนายมิคาอิล กอร์บาชอฟ
เห็นว่าเป็นความ จำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การปรับเปลี่ยนนโยบายดังกล่าวทำให้เกิด
ความไม่พอใจในกลุ่มผู้นำคอมมิวนิสต์หัวเก่าและนำไปสู่การปฏิวัติที่ล้มเหลว
การหมดอำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์ ประเทศบริวารของสหภาพโซเวียต ในยุโรปตะวันออก
ต่างแยกตัวเป็นอิสระและท้ายที่สุดรัฐต่างๆ ในสหภาพ โซเวียต
ต่างแยกตัวเป็นประเทศอิสระปกครองตนเอง มีผลทำให้ สหภาพโซเวียต ล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1991
จากการล่มสลายของระบบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก ส่งผลให้มีการ
สลายตัวของ “กลุ่มโซเวียต” และ “องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ” รวมทั้ง
องค์การโคมีคอน ซึ่งเป็นองค์การร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สังคมนิยม
ปรากฏการณ์นี้จึงทำให้การเผชิญหน้าระหว่าง ประเทศมหา อำนาจตะวันออก–ตะวันตกได้สลายตัวลง เหตุการณ์ที่เป็นนับว่าเป็นสัญลักษณ์ของการสิ้นสุดของ
“สงครามเย็น” คือ
การทำลายกำแพงเบอร์ลิน ในปี ค.ศ. 1989 และการรวมประเทศเยอรมนีทั้งสองเข้าเป็นประเทศเดียวกัน
ในปี ค.ศ. 1990 การที่ทั้งสองฝ่าย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดหย่อนท่าที และเงื่อนไขของฝ่ายรัสเซีย ยอมให้ ประเทศเยอรมนี
ซึ่งเป็นจุดสำคัญของความขัดแย้งในยุโรป กลับมารวมกัน
ได้ย่อมแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจและมีไมตรีต่อกันที่กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อเยอรมนีตะวันออกเปลี่ยนตัวผู้นำได้มีการทุบทำลายกำแพงเบอร์ลิน
นับเป็นสัญลักษณ์ของการสิ้นสุดสงครามเย็น
มีผลทำให้ประชาชนของเยอรมนีทั้งสองประเทศเดินทางเข้าออกได้อย่างอิสระนำไปสู่การรวมประเทศเยอรมันนีภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยใน

รูปภาพของ nss37537

นาย อำนาจ วงษ์ขวัญเมือง ม.5/5 เลขที่ 7

ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม

นับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม  ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ การสาธารณสุขของโลกได้เจริญขึ้นทั้งในทางป้องกันและรักษาโดยเอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ (EdwardJenner, ค.ศ. ๑๗๔๙-๑๘๒๓) แพทย์ชาวอังกฤษ คิดวิธีปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษได้สำเร็จ โรเบิร์ต ค็อก (RobertKoch, ค.ศ. ๑๘๔๓-๑๙๑๐) ชาวเยอรมัน ค้นพบวิธีแยกเชื้อบัคเตรี ลุยส์  ปาสเตอร์ (Louis Pasteur, ค.ศ.๑๘๒๒-๑๘๙๕)    นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ศึกษาเกี่ยวกับเชื้อโรคและวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ ในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ได้มีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับยุงและแมลงที่เป็นพาหะนำโรค และหลังจากนั้นก็มีการศึกษาความเกี่ยวข้องระหว่างโรคภัยไข้เจ็บและชุมชนอย่างกว้างขวาง
          ความก้าวหน้าของการสาธารณสุขเป็นผลให้อัตราการตายของพลโลกอันเนื่องมาจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ลดน้อยลง มีการสร้างโรงพยาบาล ฝึกอบรมแพทย์พยาบาล และบุคลากรระดับผู้ช่วย และจัดตั้งองค์การต่างๆ เพื่อการรักษาพยาบาล ป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ โดยเริ่มจากประเทศที่เจริญแล้ว และเผยแพร่ต่อไปยังประเทศด้อยพัฒนา ซึ่งส่วนใหญ่ในระยะแรกๆ เผยแพร่โดยผู้สอนศาสนา
          จากความเจริญก้าวหน้าของการสาธารณสุขมาเป็นลำดับดังกล่าวแล้ว เป็นผลทำให้อัตราตายของประชากรลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว และเนื่องจากประเทศเหล่านี้มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมในระดับที่ดี  ประกอบกับมีอัตราการเกิดของประชากรต่ำ พลเมืองไม่เพิ่มขึ้นมากนัก การให้บริการสาธารณสุขจึงดำเนินการไปได้อย่างกว้างขวางทำให้พลเมืองในประเทศเหล่านี้มีสุขภาพอนามัยอยู่ในระดับที่ดี  และสามารถดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติสุขได้ส่วนในประเทศที่ด้อยพัฒนาและประเทศที่กำลังพัฒนาปรากฏว่าอัตราเกิดของประชากรยังคงสูงอยู่  จึงทำให้จำนวนพลเมืองเพิ่มขึ้นรวดเร็ว โดยเฉพาะหลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นต้นมา เป็นผลให้การขยายตัวด้านบริการสาธารณสุขไม่ทันต่อความต้องการของพลเมือง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อาศัยอยู่ในชนบท  แม้ว่าจะมีการก่อสร้างโรงพยาบาล และสถานีอนามัยขึ้นเป็นจำนวนมาก และมีการฝึกอบรมแพทย์ พยาบาล  ตลอดจนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพิ่มมากขึ้นแล้วก็ตาม สุขภาพอนามัยของประชาชนในชนบทก็ยังไม่อยู่ในระดับที่สมควร จึงทำให้เกิดมีแนวความคิดใหม่เกี่ยวกับการพัฒนาการสาธารณสุข  และการพัฒนาชนบทขึ้น  โดยเน้นหนักไปที่การส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทและช่วยเหลือตนเองและหมู่คณะ ตลอดจนมีการประสานงานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน  ฉะนั้นการสาธารณสุขในยุคใหม่นี้จึงเป็นยุคของการสาธารณสุขมูลฐาน

รูปภาพของ nss37537

นาย อำนาจ วงษ์ขวัญเมือง ม.5/5 เลขที่ 7

 

สมัยปฏิวัติวิทยาศาสตร์

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ศตวรรษที่ ๑๖และ ๑๗ ให้ความสำคัญกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์   

นักปราชญ์สำคัญต่างเชื่อว่า ความลับต่าง ๆ ของธรรมชาติซ่อนอยู่ในภาษาทางคณิตศาสตร์ นักปราชญ์กลุ่มนั้นได้แก่ นิโคลัส คอเปอร์นิคัส (Nicholas Coprnicus ) โจฮันนส์ เคปเลอร์ ( Johannes Kepler )

กาลิเลโอ กาลิอี ( Galileo Galilei ) และไอแซค นิวตัน ( Isaac Newton ) ต่างเป็นนักคณิตศาสตร์และใช้เป็นเครื่องมือสร้างทฤษฎีความรู้ใหม่ที่แตกต่างจากความรู้โบราณ ซึ่งเรื่องแรก คือ ระบบสุริยะจักรวาล

          สมัยกลางได้นำทฤษฎีของปโตเลมีซึ่งมีชีวิตตั้งแต่ศตวรรษที่ ๒ ความคิดของอริสโตเติลและหลักการของศาสนาคริสต์ เรียกว่า Geocentric – โลกคือศูนย์กลางของจักรวาล

          ในค.ศ. ๑๕๔๓ นิโคลัส คอเปอร์นิคัส ชาวโปแลนด์เสนอทฤษฎีใหม่เรื่องจักรวาล แนวคิดคือ ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล โลหมุนรอบดวงอาทิตย์ มีเพียงดวงจันทร์เท่านั้นที่โคจรรอบโลก

          ต่อมาโจฮันนส์ เคปเลอร์เสนอเพิ่มเติมว่า วงโคจรของดวงดาวรอบดวงอาทิตย์นั้นเป็นวงรี และดวงอาทิตย์ไม่ได้อยู่ตรงกลางของวงโคจรอย่างที่เคยเข้าใจกัน

ต่อมากาลิเลโอใช้วิธีสังเกตุการโคจรของดวงดาวรอบดวงอาทิตย์อย่างสม่ำสมอเป็นคนแรก และได้ค้นพบภูเขาบนดวงจันทร์หลายแห่งและยังพบดาวบริวารรอบดาวJupiter รวมทั้งจุดดับบนดวงอาทิตย์ โดยใช้กล้องดูดาว telescope เขาพิมพ์งานเผยแผ่ใน ค.ศ. ๑๖๑๐ และเป็นที่สนใจมากกว่านักวิทยาศาสตร์ก่อนนั้น ทั้งทำให้ศาสนาจักรโรมันคาทอลิคถือว่าเขาลบหลู่ความคิดเรื่องสวรรค์และดินแดนของพระเจ้า ซึ่งเริ่มต้นจากทฤษฎีของคอเปอร์นิคัส

ไอแซค นิวตัน ( Isaac Newton ) เกิดค.ศ. ๑๖๔๒ ศึกษาในมหาวิทยาลัยแคมบริจ และเป็นศาสตราจารย์ทางคณิตสตร์ และได้เผยแผ่งานของเขา คือ The Pricipia  โดยได้สรุปทฤษฎีแรงโน้มถ่วง gravity  อธิบายเหตุที่โลกไม่หลุดจากวงโคจรและสิ่งของบนโลกไม่หลุดไปจากโลก ความคิดของนิวตันเป็นหลักการที่สำคัญของโลกวิทยาศาสตร์ จนถึงสมัยที่อัลเบิร์ต ไอสไตน์เสนอทฤษฎีสัมพันธภาพ concept of relativity

Descartes and Reason  - rationalism

          ในศตวรรษที่ ๑๗ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่สำคัญ ชื่อ Rene Descartes  เดสกาดส์

สนใจปัญหาความแน่นอนและความไม่แน่นอน จุดเริ่มต้นของความคิดคือ ความสงสัย  งานเขียนของเขาเน้นเรื่องการมีตัวตนของเขาเองเป็นประการแรก การเริ่มต้นเชื่อมั่นว่าตนมีอยู่จริงถือเป็นเรื่องสำคัญ เหตุผลต้องเริ่มจากการยอมรับจากตัวเขาเอง  ...his reason  said  was true ”  ประโยคที่สะท้อนหลักการสำคัญประการแรกที่สุดคือ   I think, therefore I am .”

          การเชื่อในเหตุผลของแต่ละคน เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการแสวงหาความรู้

Francis Bacon - The Scientific Method

          ในศตวรรษที่ ๑๗  นักปราชญ์มุ่งหาวิธีศึกษาเรื่องของธรรมชาติรอบตัว เบคอนถือว่าการสร้างองค์ความรู้มาจากการสังเกต ทดลองเรื่องต่าง ๆแล้วจึงสรุปเป็นกฏ  เพื่อพิสูจน์สมมุติฐานหรือทฤษฎีให้ถูกต้อง แทนการใช้การอ้างเหตุและผลเชิงตรรกวิทยา

 

รูปภาพของ nss37537

นาย อำนาจ วงษ์ขวัญเมือง ม.5/5 เลขที่ 7

 

สมัยปฏิวัติวิทยาศาสตร์

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ศตวรรษที่ ๑๖และ ๑๗ ให้ความสำคัญกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์   

นักปราชญ์สำคัญต่างเชื่อว่า ความลับต่าง ๆ ของธรรมชาติซ่อนอยู่ในภาษาทางคณิตศาสตร์ นักปราชญ์กลุ่มนั้นได้แก่ นิโคลัส คอเปอร์นิคัส (Nicholas Coprnicus ) โจฮันนส์ เคปเลอร์ ( Johannes Kepler )

กาลิเลโอ กาลิอี ( Galileo Galilei ) และไอแซค นิวตัน ( Isaac Newton ) ต่างเป็นนักคณิตศาสตร์และใช้เป็นเครื่องมือสร้างทฤษฎีความรู้ใหม่ที่แตกต่างจากความรู้โบราณ ซึ่งเรื่องแรก คือ ระบบสุริยะจักรวาล

          สมัยกลางได้นำทฤษฎีของปโตเลมีซึ่งมีชีวิตตั้งแต่ศตวรรษที่ ๒ ความคิดของอริสโตเติลและหลักการของศาสนาคริสต์ เรียกว่า Geocentric – โลกคือศูนย์กลางของจักรวาล

          ในค.ศ. ๑๕๔๓ นิโคลัส คอเปอร์นิคัส ชาวโปแลนด์เสนอทฤษฎีใหม่เรื่องจักรวาล แนวคิดคือ ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล โลหมุนรอบดวงอาทิตย์ มีเพียงดวงจันทร์เท่านั้นที่โคจรรอบโลก

          ต่อมาโจฮันนส์ เคปเลอร์เสนอเพิ่มเติมว่า วงโคจรของดวงดาวรอบดวงอาทิตย์นั้นเป็นวงรี และดวงอาทิตย์ไม่ได้อยู่ตรงกลางของวงโคจรอย่างที่เคยเข้าใจกัน

ต่อมากาลิเลโอใช้วิธีสังเกตุการโคจรของดวงดาวรอบดวงอาทิตย์อย่างสม่ำสมอเป็นคนแรก และได้ค้นพบภูเขาบนดวงจันทร์หลายแห่งและยังพบดาวบริวารรอบดาวJupiter รวมทั้งจุดดับบนดวงอาทิตย์ โดยใช้กล้องดูดาว telescope เขาพิมพ์งานเผยแผ่ใน ค.ศ. ๑๖๑๐ และเป็นที่สนใจมากกว่านักวิทยาศาสตร์ก่อนนั้น ทั้งทำให้ศาสนาจักรโรมันคาทอลิคถือว่าเขาลบหลู่ความคิดเรื่องสวรรค์และดินแดนของพระเจ้า ซึ่งเริ่มต้นจากทฤษฎีของคอเปอร์นิคัส

ไอแซค นิวตัน ( Isaac Newton ) เกิดค.ศ. ๑๖๔๒ ศึกษาในมหาวิทยาลัยแคมบริจ และเป็นศาสตราจารย์ทางคณิตสตร์ และได้เผยแผ่งานของเขา คือ The Pricipia  โดยได้สรุปทฤษฎีแรงโน้มถ่วง gravity  อธิบายเหตุที่โลกไม่หลุดจากวงโคจรและสิ่งของบนโลกไม่หลุดไปจากโลก ความคิดของนิวตันเป็นหลักการที่สำคัญของโลกวิทยาศาสตร์ จนถึงสมัยที่อัลเบิร์ต ไอสไตน์เสนอทฤษฎีสัมพันธภาพ concept of relativity

Descartes and Reason  - rationalism

          ในศตวรรษที่ ๑๗ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่สำคัญ ชื่อ Rene Descartes  เดสกาดส์

สนใจปัญหาความแน่นอนและความไม่แน่นอน จุดเริ่มต้นของความคิดคือ ความสงสัย  งานเขียนของเขาเน้นเรื่องการมีตัวตนของเขาเองเป็นประการแรก การเริ่มต้นเชื่อมั่นว่าตนมีอยู่จริงถือเป็นเรื่องสำคัญ เหตุผลต้องเริ่มจากการยอมรับจากตัวเขาเอง  ...his reason  said  was true ”  ประโยคที่สะท้อนหลักการสำคัญประการแรกที่สุดคือ   I think, therefore I am .”

          การเชื่อในเหตุผลของแต่ละคน เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการแสวงหาความรู้

Francis Bacon - The Scientific Method

          ในศตวรรษที่ ๑๗  นักปราชญ์มุ่งหาวิธีศึกษาเรื่องของธรรมชาติรอบตัว เบคอนถือว่าการสร้างองค์ความรู้มาจากการสังเกต ทดลองเรื่องต่าง ๆแล้วจึงสรุปเป็นกฏ  เพื่อพิสูจน์สมมุติฐานหรือทฤษฎีให้ถูกต้อง แทนการใช้การอ้างเหตุและผลเชิงตรรกวิทยา

 

รูปภาพของ nns40087

นาย ชำนนท์  โหเจริญ ม.5/8 เลขที่ 14 

เหตุการณ์สำคัญที่มีผลกระทบต่อโลกและมนุษยชาติ

เหตุการณ์ก่อการร้าย 11 กันยายน 2001 เหตุการณ์ก่อการร้ายในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 เป็นเหตุการณ์การทำลายล้างที่มีผลกระทบต่อสหรัฐอเมริกาอย่างรุนแรง เหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบทั้งต่อสหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆในโลก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เหตุการณ์การก่อการร้ายในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 เป็นเหตุการณ์ก่อการร้ายที่มุ่งสร้างความเสียหายแก่ชาวอเมริกัน การกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นโดยกลุ่มบุคคลที่มีเหตุผลทางการเมืองเพื่อหวังผลในการทำลายขวัญและกำลังใจของชาวอเมริกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความปลอดภัยในชีวิต และสัญลักษณ์ของประเทศอเมริกาต้องถูกทำลายไปด้วยเครื่องบินของสหรัฐอเมริกาเองเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 เริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลา 8.45 น. ตามเวลาท้องถิ่น เครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 767 ของสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 นำผู้โดยสาร เจ้าหน้าที่ และน้ำมันเต็มลำที่จะเดินทางจากเมืองบอสตันสู่นครลอสแอนเจลิส พุ่งเข้าชนยอดตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 1 (World Trade Center I) ในมหานครนิวยอร์ก ทำให้อาคารเกิดการระเบิดเสียหายอย่างรุนแรงในตอนแรกประชาชนและผู้เห็นเหตุการณ์คาดคะเนว่าเป็นอุบัติเหตุจากการผิดพลาดในการบังคับควบคุมเครื่องบิน แต่ต่อมาในเวลา 9.06 น. เครื่องบินโบอิ้ง 767 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 177 ซึ่งบินจากบอสตันสู่นครลอสแอนเจลิสเช่นกัน ได้พุ่งเข้าชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 2 (World Trade Center II) ที่เป็นอาคารที่สร้างคู่กับตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 1 เกิดระเบิดสนั่นหวั่นไหว เวลา 9.30 น. ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช (George W. Bush) แห่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศแถลงการ์ณว่าการระเบิดอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ เป็นปฏิบัติการของผู้ก่อการร้ายและยืนยันที่จะสืบหากลุ่มบุคคลที่กระทำการมาลงโทษให้จงได้ เวลา 9.40 น. ที่กรุงวอชิงตัน ดี. ซี. เมืองหลวงของสหรัฐอเมริกา เครื่องบินโบอิ้ง 757 สายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 77 ได้พุ่งเข้าชนอาคารเพนตากอน (Pentagon) กระทรวงกลาโหม อาคารเกิดระเบิดและเพลิงไหม้อย่างรุนแรง ในเวลาไล่เลี่ยกันได้เกิดเหตุการณ์เครื่องบินตกในมลรัฐเพนซิลเวเนีย เครื่องบินที่ตกคือเครื่องบินสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 73ที่เดินทางจากเมืองเนวาร์กไปเมืองซานฟรานซิสโกซึ่งมีข้อมูลว่าเครื่องบินลำดังกล่าวถูกสกัดอากาศจี้ ในเวลา 10.00 น. อาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 2 ซึ่งถูกไฟไหม้ได้ถล่มลงมา หลังจากนั้นอีกราวครึ่งชั่วโมงอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์1ก็ถล่มตามลงมา ทำให้พนักงานดับเพลิงและเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยที่เข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์ร้ายต้องได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ประกาศมาตรการฉุกเฉิน มีการอพยพผู้คนออกจากสถานที่สำคัญ ยกเลิกเที่ยวบินทั่วประเทศ กองทัพสหรัฐอเมริกาประกาศเตรียมพร้อมรบ ควันเพลิงจากตึกเวิลด์เทรด หลังจากเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ทำการระดมกำลังเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลาง(FBI)ออกสืบหาผู้ก่อการวินาศกรรมในครั้งนี้ ในวันต่อมาสหรัฐอเมริกาได้มุ่งเป้าไปที่โอซามา บินลาเดน (Osama bin Laden) หัวหน้าขบวนการอัลเคดา (Al Qaida) และสรุปว่าเป็นผู้บงการให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว จากการตรวจสอบรายชื่อผู้โดยสารของเครื่องบินที่ถูกบังคับก่อวินาศกรรม เจ้าหน้าที่สืบสวนได้พบว่ารายชื่อบุคคลทั้ง 19 คนที่มีบทบาทในการจี้เครื่องบิน ส่วนใหญ่มีความเกี่ยวพันกับขบวนการของโอซามา บินลาเดน โดยบุคคลเหล่านี้ต่างเสียชีวิตในการก่อวินาศกรรมครั้งนี้ทั้งหมดเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องสูญเสียชีวิตประชาชนและทรัพย์สินเป็นจำนวนมหาศาล พร้อมกับส่งผลกระทบต่อขวัญกำลังใจของประชาชนชาวอเมริกันเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ชาวอเมริกันตระหนักว่าประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้ปลอดภัยอย่างที่เคยคิดอีกต่อไป ดินแดนและจุดต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกาสามารถเป็นเป้าโจมตีของศัตรูได้ทั้งสิ้น สาเหตุของเหตุการณ์ หลังจากเกิดเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ได้มีการวิเคราะห์ถึงสาเหตุของเหตการณ์การก่อวินาศกรรมไว้หลายแนวทางด้วยกัน นักวิชาการส่วนใหญ่วิเคราะห์ว่าสาเหตุของเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001 มาจากระบบสังคมโลกโดยรวมที่สหรัฐอเมริกาเป็นชาติอภิมหาอำนาจทุนนิยมอันดับหนึ่งตลอดระยะเวลาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา สหรัฐอเมริกาได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศในลักษณะแผ่ขยายอำนาจไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินแดนตะวันออกกลางซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญมาก คือ ทรัพยากรน้ำมัน หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง อังกฤษซึ่งเป็นชาติมหาอำนาจในภูมิภาคนี้ต้องถอนตัวออกไปเนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศที่ตกต่ำ สหรัฐอเมริกาในนฐานะชาติอภิมหาอำนาจใหม่ได้เข้าไปแผ่อิทธิพลแทนที่ด้วยการแทรกแซงสนับสนุนการก่อตั้งรัฐอิสราเอลขึ้นในดินแดนปาเลสไตน์ ในค.ศ. 1948 หลังจากนั้นสหรัฐอเมริกาก็ดำเนินนโยบายสนับสนุนอิสราเอลมาโดยตลอด ทั้งในการทำสงครามกับกลุ่มประเทศอาหรับ การยึดครองดินแดนปาเลสไตน์ และขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกาก็ให้การสนับสนุนรัฐบาลของกลุ่มประเทศอาหรับที่เป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกา ผลของการดำเนินนโยบายของสกรัฐอเมริกาได้สร้างความรู้สึกไม่พอใจให้เกิดขึ้นในหมู่ชาวอาหรับ ซึ่งเห็นว่า สหรัฐอเมริกามีนโยบายคุกคามกลุ่มประเทศอาหรับและต้องการเข้ามามีอำนาจในประเทศต่าง ๆ ในแถบนี้ การแทรกแซงในภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มทุนของสหรัฐอเมริกาซึ่งเข้าไปลงทุนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้เป็นสำคัญ เช่น กลุ่มทุนอุตสาหกรรมน้ำมันเป็นต้น การแทรกแซงของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อภูมิภาคนี้นำมาซึ่งความขัดแย้งนับครั้งไม่ถ้วนของชาติต่าง ๆ หลายครั้ง ก่อให้เกิดผลประโยชน์การค้าอาวุธของบริษัทผลิตอาวุธของสหรัฐอเมริกาเอง ส่วนสถานที่ซึ่งถูกโจมตีในวันที่ 11 กันยายน อันได้แก่ ตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งของสถาบันการเงินระหว่างประเทศเป็นจำนวนมาก จนอาจถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของระบบทุนนิยมโลก ส่วนตึกเพนตากอนซึ่งเป็นที่ตั้งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ก็ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางอำนาจทางทหารของชาติอภิมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก การที่ขบวนก่อการร้ายสามารถทำลายตึกเหล่านี้ได้ จึงเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของสหรัฐอเมริกาในฐานะชาติอภิมหาอำนาจและเป็นศูนย์กลางระบบทุนนิยมโลก เหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 เห็นได้ว่ามีศาสนาและความเชื่อ ซึ่งกลายเป็นเหตุปัจจัยหลักประการหนึ่งของความขัดแย้งและการต่อสู้ ถ้าพิจารณาในมุมนี้ก็อาจกล่าวได้ว่าการก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน เป็นปฏิกิริยาที่มีต่อบทบาทของสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลาที่ผ่านมานั่นเอง บินลาเดน กระทบให้สังคมโลกต้องประสบบรรยากาศความตึงเครียดจากสงครามและความหวาดกลัวที่มีต่อการก่อการร้ายที่เพิ่มมากขึ้น ผลกระทบของเหตุการณ์ เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ได้ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งตอสหรัฐอเมริกาและสังคมโลกโดยรวม ดังนี้ 1. ผลกระทบต่อสหรัฐอเมริกา เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสหรัฐอเมริกาหลายประการด้วยกัน ได้แก่ 1) เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องสูญเสียชีวิตมนุษย์และทรัพย์สินจำนวนมาก จากการประเมินของสภากาชาดสหรัฐอเมริกามียอดผู้เสียชีวิต 2,563 คน ความเสียหายมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 2)เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เศรษฐกิจที่เริ่มชะลอมาตั้งแต่ก่อนหน้าเกิดวิกฤตการณ์ก็ประสบปัญหามากขึ้น 3) ขวัญกำลังใจของประชาชนชาวอเมริกันตกต่ำลงและเกิดแนวความคิดแบบชาตินิยมมขึ้นมาแทนที่ ดังจะเห็นได้จากประชาชนชาวอเมริกันต่างแสดงถึงความรักชาติของตนเองในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจุดเทียนรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ ธงชาติสหรัฐอเมริกาถูกประชาชนซื้อจนหมด หรือร้องเพลงแสดงความรักชาติ เป็นต้น 4) เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้นโยบายการปกครองในประเทศของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยหันมาเน้นด้านความมั่นคงเป็นหลัก แทนที่สิทธิเสรีภาพในระบบประชาธิปไตย เช่น การให้อำนาจประธานาธิบดีมีอำนาจกระทำการใด ๆ ก็ได้ต่อบุคคลที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย การจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การลดสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนหรือคุกคามสิทธิส่วนบุคคล เป็นต้น ซึ่งประชาชนเองก็มีแนวโน้มคล้อยตามในการให้อำนาจแก่รัฐมากขึ้นเพื่อแลกกับความมั่นคงของชาติ 5)เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ได้ถูกรัฐบาลสหรัฐอเมริกานำไปใช้ในการสร้างความชอบธรรมในการโต้กลุ่มก่อการร้ายด้วยความรุนแรง เช่น การทำสงครามยึดครองอัฟกานิสถานในปลาย ค.ศ. 2001 หรือการรุกรานและยึดครองอิรักในปัจจุบันเป็นต้น 2.ผลกระทบที่มีต่อสังคมโลก เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสังคมโลก ทั้งก่อให้เกิดสงครามและการก่อการร้ายมากขึ้นหลังจากเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 สหรัฐอเมริกาได้ประกาศสงครามกับกลุ่มก่อการร้ายและพร้อมจะทำลายกลุ่มองค์กรเหล่านี้ รวมทั้งรัฐบาลที่ให้แหล่งพักพิงและสนับสนุนการก่อการร้าย โดยประธานาธิบดีบุช ได้ประกาศให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต้องตัดสินใจว่าประเทศเหล่านั้นจะอยู่ข้างสหรัฐอเมริกาหรืออยู่ข้างฝ่ายก่อการร้าย การประกาศดังกล่าวทำให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างระมัดระวัง ในการหลีกเลี่ยงปัญหาความขัดแย้งทั้งจากสหรัฐอเมริกาและกลุ่มก่อการร้าย รวมถึงประชาชนภายในประเทศที่มีแนวโน้มขัดแย้งกับนโยบายของรัฐบาลที่ดำเนินนโยบายเข้าข้างสหรัฐอเมริกา สงครามในคริสต์ศตวรรษที่ 21 จึงเกิดขึ้น โดยสหรัฐอเมริกาเข้าไปโค่นล้มรัฐบาลของประเทศอัฟกานิสถานและอิรักโดยอ้างถึงความกดขี่ในด้านการปกครองและการสนับสนุนการก่อการร้ายของรัฐบาลชุดเก่า ทั้งรัฐบาลกลุ่มตาลีบันและรัฐบาลประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน แล้วจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่เป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเท่ากับเป็นการขยายอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาไปด้วย ขณะเดียวกัน กลุ่มก่อการร้ายก็ต่อต้านสหรัฐอเมริกาและชาติพันธมิตร เช่น อังกฤษ และออสเตรเลีย ด้วยการก่อวินาศกรรมทำลายชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้น เช่น เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมระเบิดสถานบันเทิงในเกาะบาหลีเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 2002 มีผู้เสียชีวิต 202 คน บาดเจ็บกว่า 300 คน การก่อวินาศกรรมจึงส่งผล

รูปภาพของ nsspramote

Laughing ให้ตอบในหน้านี้เท่านั้น ตามกติกาที่ตกลงกันไว้คือ - มีรูปตัวเอง -มีชื่อnssตามด้วยเลขประจำตัวเช่น nss12345 หรือ nss.12345 หรือ nss 12345 เท่านั้น

 ถูกหรือไม่ลองกลับไปอ่าน

เขียนโดย nns40087 เมื่อ พฤ, 07/10/2010 - 11:26.

รูปภาพของ nns40087
นาย ชำนนท์  โหเจริญ ม.5/8 เลขที่ 14

ปัญหาตะวันออกกลาง 

 
    ดินแดนตะวันออกกลาง ได้แก่แถบประเทศ อิรัก ตุรกี อิหร่าน คูเวต ซาอุดิอาระเบีย ซีเรีย ไซปรัส จอร์แดน เลบานอน อิสราเอล สาธารณรัฐอาหรับ อียิปส์ ซูดาน เยเมนเหนือ เยเมนใต้ โอมาน รัฐต่าง ๆ รอบอ่าวเปอร์เซีย (อาณาจักรออตโตมันเติร์ก)   ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันของโลก เป็นเส้นทางเดินเรือผ่านคลองสุเอซ และเป็นแหล่งกำเนิด 3 ศาสนาสำคัญ (ยิวหรือยูดาย คริสต์ และอิสลาม) ทำให้เชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าของยิว มอบดินแดนปาเลสไตน์ให้ชาวยิว เรียกว่า ดินแดนแห่งสัญญา (Palestine or The Land)
    ในคัมภีร์ไบเบิล อับราฮัม ได้พาชาวยิวอพยพไปอยู่อียิปต์ เนื่องจากความแห้งแล้ง จนกระทั่งถึงถึงปี 2000 ก่อนคริสตกาล ได้อพยพกลับมา และตั้งเป็นอาณาจักรเมื่อ 1025 ปี ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่โรมันผู้ครอบครองดินแดน กวาดต้อนชาวยิวไปเป็นทาส ทั่วยุโรป
     ตอนต้นของคริสศตวรรษที่ 7 เกิดศาสนาอิสลามขึ้นและแพร่กระจายทั่วคาบสมุทรอาหรับ   มีการสร้างโบสถ์ Dome of the Roch ที่นครเยรูซาเลม พวกเติร์กเข้าครองดินแดนปาเลสไตน์และยอมรับศาสนาอิสลาม   ปี ค.ศ. 1095-1291 เกิดสงครามครูเสด ระหว่างชาวคริสต์และมุสลิม เพื่อแย่งกรรมสิทธิ์ในนครเยรูซาเล็ม หลังจากนั้น ก็ถูกชาวตาด และมองโกล ยึดครอง ตามด้วยอียิปต์ เติร์ก และอังกฤษ
     ปลายคริสตวรรษที่ 19 ชาวยิวเริ่มอพยพเข้าสู่ดินแดนปาเลสไตน์เพิ่มขึ้น นายธีโอดอร์ เฮิร์ซส์ เศรษฐีชาวยิวออสเตรีย ได้ก่อตั้งองค์การไซออนนิสต์ (Zionism) จุดประสงค์เพื่อก่อตั้งประเทศยิว
     ช่วงสงครามโลกที่ 1 อังกฤษได้ขอร้องให้ยิวช่วยรบด้วย โดยแลกเปลี่ยนกับสิทธิการดูแลดินแดนปาเลสไตน์   ทำให้ชาวยิวอพยพเข้าไปมากขึ้น จนเกิดข้อพิพาทบาดหมางกับชาวอาหรับ   เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 อเมริกาได้ขอร้องอังกฤษให้ยิวมีประเทศของตน ส่งผลให้ฝ่ายอาหรับก่อตั้งองค์การสันนิบาตอาหรับขึ้นในปี ค.ศ. 1945 เพื่อต่อต้านยิว และปี ค.ศ. 1947 องค์การสหประชาชาติเสนอให้แบ่งดินแดนกัน ต่อมา นายเดวิด แบนกูเรียน ประกาศตั้งประเทศอิสราเอล   กองทัพอาหรับจึงโจมตียิวทันที เกิดสงคราม 4 ครั้งดังนี้

1.1

ค.ศ. 1948 สาเหตุเนื่องจากยิวได้ก่อตั้งประเทศขึ้น อาหรับบุกก่อนแต่พ่ายแพ้ ไป

1.2

 

ค.ศ. 1956 สงครามวิกฤต์การณ์คลองสุเอซ ยิวเป็นฝ่ายโจมตีก่อน อังกฤษและฝรั่งเศสเข้าแทรกแซงเหตุการณ์นี้ก่อน แต่อเมริกาแสดงความไม่พอใจที่สองประเทศเข้าแทรกแซง ทำให้ทั้งสองต้องถอนตัวออกมา และทำให้ยิวยึดฉนวนกาซา และทะเลทรายไซนายได้ สงครามยุติลงเมื่อ สหประชาชาติเข้ารักษาความปลอดภัยในฉนวนกาซา   และยิวได้ใช้สิทธิในอ่าวอกาบา

1.3

ค.ศ. 1967 สงคราม 6 วัน อียิปต์ ปิดอ่าวอกาบา เพื่อไม่ให้ยิวใช้ และเรียกร้องให้ สหประชาชาติถอนกำลังออก แต่อิสราเอลก็เป็นฝ่ายชนะอีก

1.4

ค.ศ. 1973 อาหรับโจมตีก่อน และอเมริกาได้เข้ามาช่วยอิสราเอลรบ ส่วนรัสเซียเข้าช่วยฝ่ายอาหรับ แต่มีการเจรจา "การเจรจาที่แคมป์เดวิด" เพื่อยุติสงคราม

      ปี 1964 มีการก่อตั้งองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์(พี แอล โอ) เพื่อต่อต้านยิว และจัดตั้งรัฐอิสระสำหรับชาวอาหรับ โดยนายยัสเซอร์ อาราฟัด   ตอนแรกมีการใช้ความรุนแรง เช่น จี้เครื่องบิน ลักพาตัวนักการฑูต ต่อมา มีการแตกแยกเป็นกลุ่มย่อยมากมาย เช่นกลุ่มฟาตาร์ ที่มีการสังหารหมู่นักกีฬาโอลิมปิคชาวยิวที่ กรุงมิวนิค เยอรมัน ปัจจุบัน อิสราเอลและพี แอล โอได้เจรจายอมรับรัฐปาเลสไตน์อิสระของนาย อาราฟัด ในเขตยึดครองของอิสราเอล
      นอกจากนี้   ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ยังก่อให้เกิดวิกฤตการณ์หลายจุด เช่น 
    สงครามเลบานอน เลบานอนเป็นรัฐที่อยู่ระหว่าง ซีเรียและอิสราเอล ซึ่งเป็นศัตรูกัน ทำให้ได้รับผลกระทบกัน นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านเชื้อชาติและศาสนา   และการเข้าไปตั้งฐานปฏิบัติการขององค์การ พี แอล โอ และการแทรกแซงของต่างชาติ
    เลบานอนได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1943  มีประชากรประมาณ 3 ล้านคน ซึ่งเป็น คริสต์ 40% และ มุสลิม 12 นิกาย 60% แต่ได้รับสิทธิทางการเมืองน้อยกว่าคริสต์ มีประธานาธิบดีเป็นคริสตื แต่นายกรัฐมนตรีเป็นมุสลิม จึงเกิดความขัดแย้งกัน ปีค.ศ. 1975 เกิดสงครามกลางเมือง  องค์การ พี แอล โอ ได้เข้าแทรกแซงการเมืองของเลบานอน   ส่วนซีเรียได้กลียดชังอิสราเอลที่ยึดที่ราบสูงโกลานไป จึงสนับสนุนให้ พี แอล โอ ต่อสู้กับยิว
    ในเลบานอน กลุ่มมุสลิมซีอะห์ (มีประมาณ 1 ล้านคน) รวมตัวกันเรียกว่า ซีอะห์อามาล มีนายเบรี รัฐมนตรีกระทวงยุติธรรม เป็นผู้นำ   ขณะที่อิสราเอลบุกเลบานอน มุสลิมซีอะห์ได้ลักพาตัวชาวอเมริกาและยุโปร ระหว่างปี ค.ศ. 1982-1987 เมื่อพี แอล โอ ถูกขับออกไปแล้ว ชีอะห์ เข้าโจมตีค่ายผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ ปี ค.ศ. 1987 และต่อสู้มุสลิมดรุซ ซึ่งมีนายวิลิด จุมบลัดเป็นผู้นำ ซีเรียเข้าปราบปรามตามคำขอของฝ่ายบริหารเลบานอนซี่งมีนายกรัฐมนตรีเปนมุสลิมซุนนี
ยังมีมุสลิมฮิซบาลา (อิซบาเลาะห์ -- พวกของพระเจ้า) ทำการจับกุมอเมริกาชุดล่าสุด 4 นาย จุดประสงค์ของกลุ่มฮิซบาลาคือต้องการเปลี่ยนเลบานอนให้เป็นรัฐอิสลามเช่นเดียวกับอิหร่าน แต่กลุ่มอื่นไม่ต้องการ
     พี แอล โอ พยายามสนับสนุนให้กลุ่มมุสลิมดรุซ ให้ก่อตั้งรัฐอิสระบนที่ราบสูงโกลาน

      สงครามอิรัก-อิหร่าน ปีค.ศ. 1980 ชาวอิหร่านหรือ ชาห์ โดยผู้นำศาสนานิกายซีอะห์ อยาดุลเลาะห์ โคไมนีเป็นผู้นำ ส่งผลให้พระเจ้าชาห์และพระราชวงศ์ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ   ชาวอิหร่าน 90% เป็นมุสลิมชีอะห์ ซึ่งนับถืออัลเลาะห์และอาลี (สาวกองค์ที่ 4 และบุตรเขยของท่านนบีมูฮัมหมัด)
     พระเจ้าชาห์ซึ่งลี้ภัยไปเม็กซิโก ได้เดินทางไปรักษาโรคมะเร็งที่สหรัฐอเมริกา ขณะนั้น โคไมนี่ด้กวาดล้าง ต่อต้านอเมริกาและรัสเซีย กลุ่มคอมมิวนิสต์ ตัดความสัมพันธ์กับอียิปต์และอิสราเอล สนับสนุนกองโจรปาเลสไตน์
     การลี้ภัยนี้ ทำให้อิหร่านโกรธมาก และจับเจ้าหน้าที่สถานฑูตอเมริกาในกรุงเตหรานเป็นตัวประกันถึง 52 คน สหประชาชาติจึงลงโทษทางเศรษฐกิจ แต่ไร้ผล อเมริกาพยายามลดความตึงเครียดโดยส่งพระเจ้าชาห์ไปปานามา
     ขณะนั้นใกล้หมดวาระการเป็นประธานาธิบดีของนาย จิมมี่ คาร์เตอร์ เขาจึงต้องการเร่งรัดให้ปัญหาอิหร่านหมดไป เขาจึงตัดสินใจ   อพยพชาวอเมริกันออกจากอิหร่าน ส่งกองทัพเข้าสู่อ่าวเปอร์เซีย รัสเซียจึงส่งกองทัพเข้าสู่อ่าวเช่นกัน
     อิหร่านเผชิญปัญหาภายในจน ประธานาธิบดีบานีซาดร์ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ ปี 1980 พระเจ้าชาห์สิ้นพระชนม์ อิหร่านจึงเปลี่ยนเงื่อนไขเป็น เงินสด และทองคำ 24 พันล้านดอลลาร์ และมีการต่อรองเหลือ 5.5 พันล้านดอลลาร์   และชะลอการส่งคืนตัวประกัน จนถึงการสาบานตนของนายเรแกนประธานาธิบดีคนใหม่ของอเมริกา โดยมีการส่งคืนเมื่อ 20 มกราคม 1980 ระหว่างนี้ อิรักได้บุกยึดร่องน้ำซัทเอล อาหรับและแคว้นคูเชสถานของอิหร่าน   ทำให้เกิดสงครามอิรัก-อิหร่าน
      สงครามนี้ยุติลงในปี ค.ศ. 1988 และทำให้ราคาน้ำมันโลกลดลง เนื่องจากทั้งสองชาติต้องขายน้ำมันเพื่อนำเงินมาใช้ทำสงคราม
     ปัญหาสหรัฐอเมริกากับอิหร่านและกบฎคอนทรา มีข่าวลือว่า อเมริกาลักลอบขายอาวุธให้อิหร่าน เพื่อใช้ทำสงครามกับอิรัก และนำกำไรไปสู่กบฎคอนทรา ในประเทศนิการากัว จึงมีการสอบสวนขึ้น
     อเมริกากลาง พยายามต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ปีค.ศ. 1959 นาย ฟีเดล คาสโตแห่งคิวบาโค่นล้มรัฐบาล และประกาศเป็นคอมมิวนิสต์ และรัสเซีย(ซึ่งเป็นคอมมิวนิสตื) ตั้งฐานทัพจรวดในคิวบา รัฐบาล (ฝ่ายขวา) แพ้ฝ่ายกบฎ จึงมีการจัดตั้งรัฐบาลแซนดินิสต้า จึงมีกลุ่มกบฎคอนทรา ซึ่งต่อต้านรัฐบาลคอมมิวนิสต์
     มีการส่งเงินช่วยกบฎคอนทราหลายครั้ง นาวาโทโอลิเวอร์ นอร์ธ เจ้าหน้าที่ C.I.A ได้ส่งเงินโอนเข้าบัญชีกบฎคอนทราอย่างลับ ๆ และพยายามกันประธานาธิบดีเรแกนออกจากความผิดนี้ ทำให้ชาวอเมริกาไม่คิดเอาผิดต่อ นายเรแกน

     สถานการณ์อ่าวเปอร์เซีย   อ่าวเปอร์เซียเป็นที่ตั้งของประเทศอิรัก อิหร่าน คูเวต โอมาน บาร์เรน กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย สาธารณรัฐเอมิเรตส์ มีการส่งออกน้ำมันถึง 1 ใน 5 ของโลก เมื่อปี ค.ศ. 1980 เกิดสงครามอิรัก-อิหร่านขึ้น ทั้งอเมริกาและรัสเซียได้เข้าแทรกแซงสงครามนี้
     ปัญหายิว-อาหรับ เดือนธันวาคม 1987 ทหารอิสราเอล ลงโทษชาวปาเลสไตน์ ทำให้คณะมนตรีความมั่นคงได้ประณามการกระทำของอิสราเอล   โดยมีอเมริกาได้ลงนามด้วย
     8 ตุลาคม 1990 อิสราเอลสังหารชาวปาเลสไตน์ 21 คนที่เทมเปิลเมาท์ และไม่ยอมให้องค์การสหประชาชาติเข้ามาไต่สวน และ 21 ตุลาคม 1990 ปาเลสไตน์ใช้มีดสังหารยิว 13 คน
     4 พฤษภาคม 1994 มีการตกลงระหว่างนายยิคซัค ราบิน และนายยัสเซอร์ อาราฟัด ให้ปาเลสไตน์ได้สิทธิปกครองตนเอง ในฉนวนกาซาและเมืองเจริโค
ปัญหาอิรัก - คูเวต 2 สิงหาคม 1990 กองทัพอิรักโดยนายซัดดัม ฮุสเซ็น บุกยึดคูเวต โดยอ้างเหตุผลต่าง ๆ เช่น
1. อ้างว่าคูเวตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรออตโตมันในอดีต จึงควรกลับไปอยู่รวมกับอิรัก
2. อิรักกล่าวหาว่าคูเวตขายน้ำมันในราคาที่โอเปคไม่ยินยอม ทำให้อิรักต้องสูญเสียรายได้ของตน
3. อิรักหาว่าคูเวตขุดน้ำมันใต้ดินในแหล่งที่เป็นรอยต่อระหว่างอิรักและคูเวต
4. อิรักต้องการลบล้างหนี้ที่อิรักต้องชำระให้คูเวต 10 พันล้านเหรียญสหรัฐ
กองกำลังสหประชาชาติ จึงประณาม และคว่ำบาตรอิรัก เมื่อ 6 สิงหาคม 1990  ทำให้อิรักถอนทหารจากคูเวต

รูปภาพของ nns40087

นาย ชำนนท์  โหเจริญ ม.5/8 เลขที่ 14

 

สงครามเย็น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แผนที่แสดงฝ่ายของสงครามเย็น

สงครามเย็น (อังกฤษ: Cold War) (พ.ศ. 2490-2534 หรือ ค.ศ. 1947-1991) เป็นการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มประเทศ 2 กลุ่ม ที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองและระบบการเมืองต่างกัน เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายหนึ่งคือสหภาพโซเวียต เรียกว่า ค่ายตะวันออกซึ่งปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ อีกฝ่ายหนึ่ง คือ สหรัฐอเมริกาและกลุ่มพันธมิตร เรียกว่า ค่ายตะวันตก ซึ่งปกครองด้วยระบอบเสรีประชาธิปไตย ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวทั้งสองฝ่ายได้แข่งขันในด้านการสะสมอาวุธ เทคโนโลยีอวกาศ การจารกรรม เศรษฐกิจ และทำสงครามผ่านสงครามตัวแทน


เนื้อหา

การใช้คำ

สงครามเย็นเป็นภาวะอย่างหนึ่งที่ประเทศมหาอำนาจทั้ง 2 ฝ่ายต่างแข่งขันกัน โดยพยายามสร้างแสนยานุภาพทางการทหารของตนไว้ข่มขู่ฝ่ายตรงข้าม โดยประเทศมหาอำนาจจะไม่ทำสงครามกันโดยตรง แต่จะสนับสนุนให้ประเทศพันธมิตรของตนเข้าทำสงครามแทน หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสงครามตัวแทน (Proxy War) เหตุที่เรียก สงครามเย็น เนื่องจากเป็นการต่อสู้กันระหว่างมหาอำนาจ โดยใช้จิตวิทยา ไม่ได้นำพาไปสู่การต่อสู้ด้วยกำลังทหารโดยตรงอย่าง สงครามร้อน[ต้องการอ้างอิง]

การกำเนิดค่ายตะวันออก

ในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้ก่อตั้งค่ายตะวันออก (Eastern Bloc) โดยการรวมรัฐที่ได้ยึดมาจากฝ่ายนาซี เช่น โปแลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย ฟินแลนด์ เอสโตเนีย โรมาเนีย แล้วจึงเปลี่ยนสถานะให้เป็นรัฐสังคมนิยมซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต

ลำดับเหตุการณ์

นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตในช่วงเวลาดังกล่าว คำนึงถึงสงครามเย็นเป็นหลัก นับจากปี ค.ศ. 1947 (พ.ศ. 2490) จนกระทั่งการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ใน ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) สมัยเริ่มต้นสงครามเย็น น่าจะอยู่ในสมัยวิกฤตการณ์ทางการทูตในตอนกลางและปลาย ค.ศ. 1947 เมื่อสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตเกิดขัดแย้งเรื่องการจัดตั้งองค์การสันติภาพในตุรกี ยุโรปตะวันออกและเยอรมนี

ความตึงเครียดเนื่องจากการเผชิญหน้ากันระหว่างอภิมหาอำนาจ แต่ยังไม่มีการประกาศสงครามหรือใช้กำลัง เป็นสมัยลัทธิทรูแมน วันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1947 กับประกาศแผนการมาร์แชลล์ เพื่อฟื้นฟูบูรณะยุโรปตะวันตก ซึ่งได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่สอง การขยายอิทธิพลของโซเวียตในยุโรปตะวันออก และการแบ่งแยกเยอรมนี

การวิจัยและพัฒนาโครงการทางการทหารทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่จำนวนมาก เกิดขึ้นในในช่วงเวลานี้ รวมถึงการแข่งขันกันสำรวจอวกาศ และการสะสมอาวุธนิวเคลียร์ด้วย ทั้งหมดนี้เป็นไปเพื่อแสดงแสนยานุภาพของฝ่ายตน

สงครามตัวแทน

ที่มา

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B9%87%E0%B8%99

รูปภาพของ nns40087

การปฏิวัติอุตสาหกรรม

 

การประดิษฐ์คิดค้นเครื่องจักร


      การเปลี่ยนสภาพจากการเป็นเกษตรกรและทำงานอยู่ในโรงงานขนาดเล็กๆ มาเป็นระบบโรงงานใหญ่โต จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าหากไม่มีการประดิษฐ์ผลงานหลายอย่างของชาวสก๊อต และชาวอังกฤษหลายคนในช่วงนั้น  ในปี ค.ศ. 1733 จอห์น เดย์  จดทะเบียนสิทธิบัตรเรื่องการประดิษฐ์กระสวยบินซึ่งทำให้สามารถทอผ้าได้เพิ่มเป็นสองเท่า แต่เดิมสิ่งประดิษฐ์ของเดย์มีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้าขนสัตว์ ต่อมาได้รับการดัดแปลงไปใช้กับเครื่องทอผ้าฝ้ายใน   แลงคาเชียร์ และในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของสก๊อตแลนด์
      James Watt (ค.ศ. 1736-1819)  นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษเป็นผู้แก้ไขข้อ  บกพร่องต่างๆ โดยนำเอาเครื่องคอนเดนเซอร์มาประกอบในปี ค.ศ. 1769  พอถึงปี ค.ศ. 1781 เจมส์ วัตต์ ก็ได้ดัดแปลงเครื่องยนต์ไอน้ำดีขึ้นจนขับรถได้  หลังจากนั้นเครื่องยนต์ไอน้ำก็ถูกนำมาใช้ในโรงงานเพื่อขับดันเครื่องทอผ้าและเครื่องจักรกลทุกชนิด นอกจากนี้เครื่องจักรไอน้ำยังสามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ  ใช้ถ่ายเทน้ำออกจากเหมือง  ใช้ในโรงงานน้ำตาล แป้ง และใช้ในโรงงานทำเบียร์ และปั้นภาชนะ  เครื่องจักรไอน้ำต้องการการลงทุนจึงต้องมีการผลิตขนาดใหญ่จึงจะประหยัด ดังนั้นจึงทำให้เกิดโรงงานและการกระจุกตัวของกรรมกรหลายร้อยคนอยู่ในโรงงานเดียวกัน

อุตสาหกรรมสิ่งทอฝ้าย
      การนำเอาเครื่องจักรไอน้ำไปใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอฝ้ายถือว่าเป็นการปฏิวัติ     การผลิตสิ่งทอ และเป็นการเริ่มการปฏิวัติอุตสาหกรรมของอังกฤษและของโลก สิ่งทอฝ้ายเป็น      อุตสาหกรรมที่เจริญก้าวหน้ารวดเร็วที่สุดในอังกฤษ และเป็นสินค้าออกที่เพิ่มเร็วที่สุด โรงงานสิ่งทอในช่วงแรกๆ  สร้างขึ้นในบริเวณใกล้ๆ น้ำตก และลำธารที่มีกระแสน้ำเชี่ยว    แต่เมื่อมีการผลิตเครื่องจักรไอน้ำขึ้นมา ในไม่ช้าการสร้างโรงงานก็ย้ายมาตั้งภายในบริเวณตัวเมืองที่มีแหล่งถ่านหินอยู่
ใกล้ๆ อุตสาหกรรมสิ่งทอฝ้ายกระจายอยู่ในชนบทแถบรอบๆ เมืองแมนเชสเตอร์และกลาสโกว์ ต่อมา
ในทศวรรษ 1790 เกิดการเจริญเติบโตของเมืองที่มีโรงงานปั่นด้ายฝ้าย (Cotton Spinning Industry)
86 เปอร์เซ็นต์ของอุตสาหกรรมสิ่งทอฝ้ายของอังกฤษกระจุกตัวอยู่ในเขตเชสเชอร์ (Cheshire) และ         แลงคาเชียร์ (Lancashire) การปั่นด้ายทำได้เร็วมากสามารถผลิตในโรงงาน เพราะมีเครื่องจักร    ปั่นด้ายจากการประดิษฐ์ของ James  Hargreves (ค.ศ. 1702-1778)  ซึ่งเครื่องทอผ้าของท่านผู้นี้คือ Spinning Jenny ทำงานได้เท่ากับคนทอผ้า 8 คน  หลังจากนั้นก็มีเครื่องทอผ้า Water  Frame  ของ Richard Arkwright (ค.ศ. 1732-1792) ซึ่งใช้พลังน้ำสามารถปั่นด้ายที่เหนียวใช้เป็นเส้นยืนทอผ้าได้
      ฝ้ายดิบเป็นวัตถุดิบที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอ  ฝ้ายดิบที่เอามาปั่นด้วยระยะแรกนำเข้ามาจากหมู่เกาะอินเดียตะวันตก (The West Indies) แต่หลังจากนั้นนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา  ในปี ค.ศ. 1810  ฝ้ายดิบนำเข้าจากสหรัฐอเมริกาประมาณครึ่งหนึ่งและในช่วง ค.ศ. 1846-1850 นำเข้าฝ้ายดิบจากสหรัฐอเมริกาถึง 80 เปอร์เซ็นต์
      ก่อน ค.ศ. 1790  สิ่งทอฝ้ายของอังกฤษผลิตเพื่อสนองความต้องการภายในประเทศ  ต่อมาในช่วงสงครามนโปเลียนก่อน ค.ศ. 1815 ตลาดสหรัฐอเมริกาเข้ามาแทนที่ตลาดภาคพื้นทวีปและหลังจากนั้นปี ค.ศ. 1840 อินเดียกลายเป็นตลาดสำคัญที่สุดแทนที่ตลาดสหรัฐอเมริกา  แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มตลาดสิ่งทอฝ้ายของอังกฤษที่เคลื่อนย้ายจากประเทศพัฒนาแล้วไปยังประเทศด้อยพัฒนา เพราะประเทศยุโรปและสหรัฐอเมริกา ค่อยๆ พัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอของตนขึ้นมาก็ลดการสั่งสิ่งทอเข้าจากอังกฤษ 


 

อุตสาหกรรมผ้าขนสัตว์
      ขณะที่อุตสาหกรรมสิ่งทอฝ้ายมีความสำคัญสูงสุดในการพัฒนาอุตสาหกรรมของอังกฤษช่วงที่ 1 ค.ศ. 1780-1840 อุตสาหกรรมผ้าขนสัตว์ (Woolen textiles) ซึ่งเคยมี       ความสำคัญมาก่อนและทำให้เกิดการขยายตัวของระบบทุนนิยมกลับลดความสำคัญลงไป    หลังจาก
ทศวรรษ 1780 แล้วอุตสาหกรรมสิ่งทอฝ้ายขึ้นมาแทนที่อุตสาหกรรมผ้าขนสัตว์ สาเหตุที่อุตสาหกรรม
ผ้าขนสัตว์พัฒนาไม่รวดเร็วนักเมื่อเทียบกับสิ่งทอฝ้าย เพราะเป็นอุตสาหกรรมเก่าแก่ขยายตัวมาแต่เดิมแล้ว พึ่งตลาดภายในซึ่งไม่มีโอกาสขยายตัวเร็วเหมือนตลาดต่างประเทศ รวมทั้งการนำเทคโนโลยี 

ใหม่มาใช้ในอุตสาหกรรมนี้ก็ดำเนินไปอย่างล่าช้า  มีการต่อต้านการนำเข้าเครื่องจักรเข้ามาใช้จากช่างทอผ้าขนสัตว์  การทอผ้าขนสัตว์กว่าจะใช้เครื่องจักรอย่างจริงจังก็หลัง ค.ศ. 1850 แล้ว

 นาย ชำนนท์  โหเจริญ ม.5/8 เลขที่ 14 

รูปภาพของ nns40087

การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ความหมายของการ  “การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์

หลุยส์ ปาสเตอร์ : Louis Pasteur

 การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์   คือ   การพัฒนาความเจริญหน้าในวิทยาการของโลกตะวันตก  ในคริสต์ศตวรรษที่  17  มีการค้นคว้าแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ  โลก  และจักรวาล  ทำให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เจริญรุ่งเรือง   เป็นผลให้ชาติตะวันตกพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ   อย่างรวดเร็ว ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์1.การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ  ทำให้มนุษย์เชื่อมั่นในความสามารถของตน   มีอิสระทางความคิด   หลุดพ้นจากการครอบงำของคริสตจักร   และมุ่งมั่นที่จะเอาชนะธรรมชาติเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต  และความเป็นอยู่ของตนให้ดีขึ้น2.การพัฒนาเทคโนโลยีในดินแดนเยอรมันตอนใต้    โดยเฉพาะการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์แบบใช้วิธีเรียงตัวอักษร  กูเตนเบิร์ก   ในปี   ค.ศ.  1448   ทำให้สามารถพิมพ์หนังสือเผยแพร่ความรู้ต่างๆ   ได้อย่างกว้างขวาง3.การสำรวจทางทะเลและการติดต่อกับโลกตะวันออก   ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่  16  เป็นต้นมาทำให้อารยธรรมความรู้ต่างๆ   จากจีน   อินเดีย   อาหรับ   และเปอร์เซีย   เผยแพร่เข้ามาในสังคมตะวันตกมากขึ้นความสำคัญของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์1.ทำให้มนุษย์เชื่อมั่นในสติปัญญาและความสามารถของตน   เชื่อมั่นในความมีเหตุผล   และนำไปสู่การแสวงหาความรู้โดยไม่มีสิ้นสุด2.ก่อให้เกิดความรู้และความเจริญก้าวหน้าในด้านวิทยาการด้านต่างๆ    และทำให้วิทยาศาสตร์กลายเป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญ   โดยเน้นศึกษาเรื่องราวของธรรมชาติ3.ทำให้เกิดการค้นคว้าทดลองและแสวงหาความรู้ด้านต่างๆ    ซึ่งนำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ    อย่างต่อเนื่อง    และเป็นพื้นฐานของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในสมัยต่อมา4.ทำให้ชาวตะวันตกมีทัศนคติเป็นนักคิด  ชอบสังเกต   ชอบซักถาม   ชอบค้นคว้าทดลอง   เพื่อหาคำตอบ    และนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต     การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ในระยะแรกการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ในระยะแรก   เป็นการค้นพบความรู้ทางดาราศาสตร์    ทำให้เกิดคำอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ    ซึ่งเป็นการท้ายความเชื่อดั้งเดิมของคริสต์ศาสนา   สรุปได้ดังนี้1.การค้นพบทฤษฏีระบบสุริยจักรวาลของนิโคลัส  โคเปอร์นิคัส ( nicholaus  Copernicus )  ชาวโปแลนด์  ในต้นคริสต์ศตวรรษที่  17  สาระสำคัญ  คือ  ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล  โดยมรโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ  โคจรโดยรอบ                ทฤษฏีของโคเปอร์นิคัสขัดแย้งกับหลักความเชื่อของคริสตจักรอยากมาที่เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล  แม้จะถูกประณามอย่างรุนแรง  แต่ถือว่าเป็นความคิดของโคเปอร์นิคัสเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์  ทำให้ชาวตะวันตกให้ความสนใจเรื่องราวลี้ลับของธรรม  2. การประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ ( Telescope ) ของกาลิเลโอ  ชาวอิตาลีในปี ค.ศ.1609  ทำให้ความรู้เรื่องระบบสุริยจักรวาลชัดเจนยิ่งขึ้น  เช่น  ได้เห็นจุดดับในดวงอาทิตย์ได้สังเกตการณ์เคลื่อนไหวของดวงดาว  และได้เห็นพื้นขรุขระของดวงจันทร์  เป็นต้น  3. การค้นพบทฤษฏีการโคจรของดาวเคราะห์  ของโจฮันเนส  เคปเลอร์  ( johannees kepler )  ชาวเยอรมัน  ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่  17  สรุปได้ว่า  เส้นทางโคจรของดาวเคราะห์  รวบดวงอาทิตย์เป็นรูปไข่  หรือวงรี  มิใช่เป็นวงกลมตามทฤษฏีของโคเปอร์นิคัส   การเสนอวิธีสร้างควารู้แบบวิทยาศาสตร์                ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17  มีนักคณิตศาสตร์  2 คน  ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับวิธีสร้างความรู้เพื่อการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์  สรุปได้ดังนี้                1. เรอเนส์  เดส์การ์ตส์  ( Rene  Descartes )  ชาวฝรั่งเศส  และเซอร์  ฟรานซิส  เบคอน  ( Sir  Francis  Bacon )  ชาวอังกฤษ  ได้ร่วมกันเสนอหลักการการใช้เหตุผล  วิธีการทางคณิตศาสตร์  และการค้นคว้าวิจัยมาใช้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและการแสวงหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์                                                               2. ความคิดของเดส์การ์ตส์  เสนอว่าเรขาคณิตเป็นหลักความจริง  สามารถนำไปใช้สืบค้นข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ได้  ซึ่งได้รับความเชื่อถือจากนักวิทยาศาสตร์ในสมัยต่อมาเป็นอย่างมาก                3. ความคิดของเบคอน  เสนอแนวทางการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์  โดยใช้  “วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือศึกษา  ทำให้วิทยาศาสตร์ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง การจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ   1. การเสนอทฤษฏีการศึกษาค้นคว้าด้วย  “วิธีการทางวิทยาศาสตร์  ทำให้เกิดความตื่นตัวของปัญญาชนในยุโรป  มีการจัดตั้งสถาบันทางวิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นในประเทศต่างๆ  หลายแห่ง  ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่  17  เพื่อสนับสนุนงานวิจัย  การประดิษฐ์อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ และแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน  ทำให้วิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้าตามลำดับ    2. ความร่มมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์กับนักประดิษฐ์นำไปสู่การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มากมาย  ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จึงเป็นรากฐานของความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านต่าง   จึงมีผู้กล่าวว่า  การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่  17  เป็นยุคแห่งอัจฉริยะ  ( The  Age  of  Genius )  เพราะมีการค้นพบความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นมมากมาย การค้นพบ  “กฎแห่งการโน้มถ่วง”  ของนิวตัน                1. การค้นพบความรู้หรือทฤษฏีใหม่ของ  เซอร์  ไอแซค  นิวตัน  ( Sir  Isaac  Newton )  นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ  ในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่  17  มี  2 ทฤษฏี  คือ  กฎแรงดึงดูดของจักรวาลและกฎแห่งการโน้มถ่วง                2.  ผลการค้นพบทฤษฏีทั้งสองดังกล่าว  ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดโลกและดาวเคราะห์จึงหมุนรอบดวงอาทิตย์  และดวงจันทร์จึงหมุนรอบโลกได้โดยไม่หลุดจากวงโคจร  และสาเหตุที่ทำให้วัตถุต่าง ๆ ตกจากที่สูงลงสู่พื้นดินโดยไม่หลุดลอยออกไปยังอวกาศ                3.  ความรู้ที่พบกลายหลักของวิชากลศาสตร์  ทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจถึงเรื่องราวของเอกภพ  สสาร  พลังงาน  เวลา  และการเคลื่อนตัวของวัตถุบนท้องฟ้า  โดยใช้ความรู้และวิธีการทางคณิตศาสตร์ช่วยค้นพบคำตอบ  ผลจากการปฏิวัติวิทยาศาสตร์  ในคริสต์ศตวรรษที่  17                 1.  การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์เป็นสาเหตุผลักดันให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม  ในคริสต์ศตวรรษที่  18  ทำให้ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านการผลิตจนกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก               

 2.  การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดยุคภูมิธรรม หรือ  “ยุคแห่งการรู้แจ้ง”  ทำให้ชาวตะวันตกเชื่อมั่นในเหตุผล  ความสามารถ  และภูมิปัญญาของตน  เชื่อมั่นว่าโลกจะก้าวหน้าพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง  มีความมั่นใจว่าจะสามารถแสวงหาความรู้ต่อไปไม่มีวันที่สิ้นสุด  โดยอาศัยเหตุผลและสติปัญญาของตน 

นาย ชำนนท์  โหเจริญ ม.5/8 เลขที่ 14

รูปภาพของ nss37413

ธนพนธ์ จันทร์สุข 5/8 เลขที่ 2

 

 การสะสมการพัฒนาและการลดอาวุธนิวเคลียร์  

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่ผลิตอาวุธนิวเคลียร์ของอาวุธนิวเคลียร์เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลกครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1945 เมื่อสหรัฐอเมริกาตัดสินใจทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมา และเมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ทำให้สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง และทำให้มนุษยชาติได้เห็นถึงอานุภาพและกำลังการทำลายล้างที่ร้ายแรงของอาวุธนิวเคลียร์ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 บรรยากาศความตึงเครียดภายใต้สงครามเย็นทำให้เกิดการแข่งขันกันพัฒนาและสะสมอาวุธนิวเคลียร์ ขณะที่สหรัฐอเมริกาสามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์และทดลองใช้จริงในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางสหภาพโซเวียตได้เร่งพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ จนสามารถทดลองระเบิดนิวเคลียร์ได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1949 หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1957 สหภาพโซเวียตได้พัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านอวกาศ สามารถส่งดาวเทียมสปุตนิก 1 (Sputinik I) เป็นดาวเทียมดวงแรกของโลกขึ้นไปโคจรรอบโลกเป็นเวลา 92 วัน และได้ส่งดาวเทียมสปุตนิก 2 (Sputinik II) พร้อมสุนัขชื่อไลกา (Laika) ขึ้นสู่อวกาศและโคจรรอบโลกในปีเดียวกัน ความสำเร็จดังกล่าวของสหภาพโซเวียต ส่งผลทำให้เกิดการพัฒนาและยืนยันถึงความสามารถในการใช้ขีปนาวุธข้ามทวีป (Inter-conrinental Ballistic Missle – ICBM) ขณะเดียวกัน ทางสหรัฐอเมริกาก็เร่งในการพัฒนาขีปนาวุธมากขึ้น การสะสมอาวุธนิวเคลียร์ของทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ต่างมีอาวุธที่มีกำลังการทำลายล้างโลกได้ทั้งหมด แต่ความหวาดระแวงของชาติมหาอำนาจทั้งสองทำให้ต่างๆ ฝ่ายต่างสะสมเพื่อไว้ป้องกันฝ่ายตรงข้าม ขณะเดียวกันมหาอำนาจทั้งสองต่างก็ไม่กล้าใช้อาวุธนิวเคลียร์โจมตีกัน เพราะต่างก็ทราบถึงกำลังทำลายล้างของอาวุธเหล่านั้นว่าสุดท้ายแล้วก็ต้องสร้างความเสียงหายอย่างใหญ่หลวงต่อมวลมนุษยชาติและต่อโลก นอกจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตจะมีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองแล้ว ชาติอื่นๆ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน อินเดีย ก็ได้พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของตนได้สำเร็จ รวมทั้งมีประเทศที่กำลังพยายามพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ เช่น ปากีสถาน อิสราเอล และแอฟริกา ในบางประเทศมีการสะสมอาวุธเคมี อาวุธเชื้อโรค ซึ่งล้วนแต่เป็นอาวุธที่มีกำลังทำลายล้างสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมอย่างรุนแรง การแข่งขันกับสะสมอาวุธที่มีกำลังการทำลายสูงดังกล่าว ได้สร้างความตึงเครียดและหวาดกลัวต่อคนทั้งโลก ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่โลกทั้งเสี่ยงต่อการที่จะต้องผจญกับสงครามทำลายล้างโลก นานาชาติจึงเริ่มเรียกร้องให้มีการจำกัดจำนวนอาวุธร้ายแรง องค์การสหประชาชาติได้รณรงค์ให้ทศวรรษที่ 1970 เป็นทศวรรษแห่งการลดอาวุธ ซึ่งเป็นหนึ่งในแรงผลักดันให้ประเทศมหาอำนาจทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต พยายามเปิดการเจรจาลดกำลังอาวุธ โดยการเจรจาตกลงและร่างสนธิสัญญาและประสบผลสำเร็จใน ค.ศ. 1972 ด้วยการยอมรับข้อตกลงในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ ฉบับที่ 1 (The Strategic Arms Limitation Talks – SALT I) ข้อตกลงในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ ฉบับที่ 1 มีลักษณะเป็นข้อตกลงชั่วคราว กล่าวคือ สนธิสัญญาดังกล่าวเป็นการควบคุมระบบต่อต้านขีปนาวุธให้มีขอบเขตจำกัดลง และให้ยุติการทดลองและติดอาวุธทางยุทธศาสตร์ ได้แก่ ขีปนาวุธข้ามทวีปและขีปนาวุธที่ยิงจากเรือดำน้ำ เป็นเวลา 5 ปี พร้อมกันนี้ได้วางระเบียบสำหรับการเจรจาในครั้งที่ 2 อย่างไรก็ตาม ปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ ใน ค.ศ. 1979 การที่สหภาพโซเวียตเข้ายึดครองอัฟกานิสถาน และให้การสนับสนุนรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์ในโปแลนด์ ทำให้สหรัฐอเมริกาปฏิเสธการให้สัตยาบันในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ ฉบับที่ 2 (The Strategic Arms Limitation Talks – SALT II) ความพยายามในการลดอาวุธเริ่มใหม่อีกครั้งใน ค.ศ. 1983 เมื่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเสนอให้เปิดเจรจาในรูปแบบการเจรจาเพื่อการลดอาวุธทางยุทธศาสตร์ (Strategic Arms Reductions Talk – START) แต่ผู้นำ สหภาพโซเวียตในขณะนั้นปฏิเสธการเจรจาเรื่องอาวุธ แต่เมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงผู้นำของสหภาพโซเวียต นายมิคาอิล  กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) ซึ่งมีนโยบายในการประนีประนอมกับตะวันตก การเจรจาลดอาวุธระหว่างสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาจึงเกิดขึ้นอีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1987 มีการลงนามในสนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลาง (Intermediate-Range Nuclear Force Treaty) สำหรับการเจรจาเพื่อการลดอาวุธทางยุทธศาสตร์ (START) เป็นการเจรจาที่ยืดเยื้อมาจน ค.ศ. 1991 ถึงมีการลงนามสนธิสัญญาดังกล่าว

การปฏิรูปประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีน(นโยบายสี่ทันสมัยของเติ้ง เสี่ยวผิง    ใน ค.ศ.1976 เหมาเจ๋อตง (Mao Zedong) ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนถึงแก่อสัญกรรม กลุ่มการเมืองที่ได้รับการสนับสนุนจากเหมา เจ๋อตง ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติวัฒนะธรรม (ค.ศ.1966-1976)  หมดอำนาจลง  และบางคนถูกจับกุมดำเนินคดีข้อหาอาชญากรรม อั่ว กว๋อเฟิง (Hua Guafeng)   ประธานพรรคคอมมิวนิสต์ ทายาททางการเมืองของเหมา เจ๋อตงได้ดำเนินนโยบายตามเหมา เจ๋อตง  คือ ดำเนินนโยบายแบบสังคมนิยมต่อไป แต่อย่างไรก็ตามหลังจากที่เติ้ง เสี่ยวผิง (Deng Xiaoping) กลับเข้ามามีบทบาทในพรรค  ฮั่ว กว๋อเฟิง ก็ถูกลดอำนาจลงเนื่องจากการกลับเข้ารับตำแหน่งในคณะกรรมการกลางของสมาชิกพรรคอาวุโส ซึ่งเคยได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ณ์การปฏิวัติวัฒนธรรม  คณะกรรมการพรรคชุดใหม่จึงหันไปสนับสนุน เติ้ง เสี่ยวผิง  ซึ่งเท่ากับว่าเติ้ง เสี่ยวผิง  สามารถกุมอำนาจในคณะกรรมการลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีนไว้ได้      ในที่สุด  ช่วง ค.ศ. 1980  ฮั่ว กว๋อเฟิงได้ลาออกจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์เนื่องจากมีข้อขัดแจ้งกับสมาชิกของพรรคในเรื่องการปฏิวัติวัฒนธรรม ส่วนตำแหน่งนายยกรัฐมนตรี ฮั่ว กว๋อเฟิงได้พ้นจากตำแหน่งไปก่อนหน้านี้แล้ว  โดยมีจ้าว จื่อหยาง (Zhao Ziyang)  ที่เติ้ง เสี่ยวผิงสนับสนุน  ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน  ดังนั้น  อำนาจของกลุ่มนิยมลัทธิเหมาจึงถูกลิดรอนลงโดยเติ้ง เสี่ยวผิงด้วยวิธีการละมุนละม่อม  เติ้ง เสี่ยวผิงได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรค   นอกจากการถูกลิดรอนอำนาจของกลุ่มนิยมลัทธิเหมาแล้ว รัฐบาลจีนภายใต้การปกครองของเติ้ง เสี่ยวผิงได้พยายามลดอิทธิพลของลัทธิเหมาในหมู่ประชาชน  โดยโจมตีประเด็นเรื่องแนวความคิดการปฏิวัติทางชนชั้น การพัฒนาเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมว่าไม่สามารถทำให้ประชาชนมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้นและยังทำให้ประเทศจีนล้าหลัง เติ้ง เสี่ยวผิงมีความเชื่อมั่นว่าการพัฒนาประเทศจีนได้เจริญก้าวหน้านั้น จะต้องพัฒนาทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการทหาร การดำเนินงานนี้ได้จะต้องดำเนินการปฏิรูปประเทศ และเปิดประเทศเพื่อนำเอาวิทยาการตะวันตกมาพัฒนาประเทศ  ดังนั้น เติ้ง เสี่ยวผิงจึงเริ่มดำเนินนโยบายสี่ทันสมัย (Four Modenizationx)   เพื่อพัฒนาประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนให้ทันสมัยแบบตะวันตก

 การล่มสลายของสหภาพโซเวียต
การล่มสลายของสหภาพโซเวียต เป็นชื่อเรียกช่วงเวลาระหว่าง ปี ค.ศ. 1985 ถึง ค.ศ. 1991 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นาย มิคาอิล กอร์บาชอฟ เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต เขาได้เดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองของสหภาพโซเวียต ภายใต้โครงการ เปเรสตรอยกา และกลาสต์น็อต ซึ่งเป็นการเพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเปิดโอกาสให้ประชาชนเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนบุคคล ซึ่งการปฏิรูปดังกล่าวทำให้ประชาชนในสหภาพโซเวียตตระหนักถึงเสรีภาพในการดำรงชีวิต ทำให้เกิดการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1991 ในที่สุดการขึ้นสู่อำนาจของกอร์บาชอฟ
มิคาอิล กอร์บาชอฟ แม้ว่าการปฏิรูปก่อนหน้านั้นได้ล่าช้าลงในช่วงปี 1964-1982 แต่ว่าการที่คนรุ่นใหม่ได้มีอำนาจแทนคนรุ่นเก่าก็ได้สร้างสภาวะที่เหมาะแก่การปฏิรูปขึ้นอีกครั้ง ความสัมพันธ์ของสหภาพโซเวียตกับสหรัฐอเมริกาที่เปลี่ยนแปลงไปก็ยังเป็นความจำเป็นหนึ่งของการปฏิรูป แม้ว่าประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ ได้ล้มเลิกนโยบายประนีประนอมหลังจากที่สหภาพโซเวียตโจมตีอัฟกานิสถาน แต่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก็ได้ขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เหตุการณ์วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ในสมัยแรก   ของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนในเวลานั้นเอง มิคาอิล กอร์บาชอฟ ก็ได้สนับสนุนนโยบายที่จะนำไปสู่การล่มสลายทางการเมืองของสหภาพโซเวียต โดยการควบคุมเศรษฐกิจผ่านทางนโยบายกลาสนอสต์ (การเปิดกว้างทางการเมือง) เปเรสตรอยกา (การวางโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่) และอุสโคเรนิเย (การเร่งพัฒนาการทางเศรษฐกิจ) เศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตก่อนหน้านั้นได้รับผลเสียจากอัตราเงินเฟ้อแฝงและการขาดแคลนวัตถุดิบอันเนื่องมาจากการบริหารที่ไม่มีประสิทธิภาพ
นโยบายเปเรสตรอยกาและกลาสนอสต์มิคาอิล กอร์บาชอฟ ได้เป็นผู้นำสหภาพโซเวียต นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 1985 ไม่นานหลังจากการเสียชีวิตของคอนสแตนติน เคอร์เชนโก กอร์บาชอฟได้ริเริ่มการปฏิรูปทางการเมืองหลายอย่างภายใต้นโยบายที่เรียกว่า กลานอสต์ ประกอบด้วย การลดความเข้มงวดในการเซนเซอร์ การลดอำนาจหน่วยเคจีบี และการเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตย การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นั้นมีจุดประสงค์เพื่อกำจัดการต่อต้านการปฏิรูปทางเศรษฐกิจจากกลุ่มอำนาจฝ่ายอนุรักษ์นิยมภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ภายใต้การปฏิรูปนี้ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในพรรคคอมมิวนิสต์จะต้องมาจากการเลือกตั้ง (โดยสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เอง)ซึ่งเป็นการใช้ระบบนี้ครั้งแรก ท่ามกลางการคัดค้านจากกลุ่มอนุรักษ์นิยม อย่างไรก็ตาม การลดความเข้มงวดในการเซนเซอร์และความพยายามที่จะสร้างการเมืองที่เปิดกว้างมากขึ้นโดยกอร์บาชอฟ ได้ปลุกความรู้สึกชาตินิยมและต่อต้านรัสเซียในสาธารณรัฐเล็กๆ ที่เป็นชนกลุ่มน้อยในสหภาพโซเวียต ในคริสต์ทศวรรษ 1980 เสียงที่เรียกร้องอิสรภาพจากการปกครองจาก
มอสโกได้ดังขั้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในสาธารณรัฐแถบทะเลบอลติก คือ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย ที่รวมกับสหภาพโซเวียตตั้งแต่ปี 1940 โดยโจเซฟ สตาลิน ความรู้สึกชาตินิยมนั้นก็ยังได้แพร่หลายในสาธารณรัฐอื่น ๆ เช่น ยูเครน จอร์เจีย และอาเซอร์ไบจาน ขบวนการชาตินิยมเหล่านี้ได้เข้มแข็งขึ้นอย่างมากเมื่อเศรษฐกิจของโซเวียตตกต่ำ รัฐบาลที่กรุงมอสโกนั้นกลายเป็นแพะรับบาปของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แสดงว่า กอร์บาชอฟนั้นได้ปลดปล่อยพลังที่จะทำลายสหภาพโซเวียตไปแล้วโดยไม่ได้ตั้งใจ

 เหตุการณ์ก่อการร้ายวันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001   เหตุการณ์การก่อการร้ายในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่  11 กันยายน  ค.ศ.  2001 เป็นเหตุการณ์ก่อการร้ายที่มุ่งสร้างความเสียหายแก่ชาวอเมริกัน  การกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นโดยกลุ่มบุคคลที่มีเหตุผลทางการเมืองเพื่อหวังผลในการทำลายขวัญและกำลังใจของชาวอเมริกัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความปลอดภัยในชีวิต และสัญลักษณ์ของประเทศอเมริกาต้องถูกทำลายไปด้วยเครื่องบินของสหรัฐอเมริกาเองเหตุการณ์วันที่  11  กันยายน  ค.ศ.  2001 เริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลา 8.45 น. ตามเวลาท้องถิ่น เครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 767 ของสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 นำผู้โดยสาร เจ้าหน้าที่ และน้ำมันเต็มลำที่จะเดินทางจากเมืองบอสตันสู่นครลอสแอนเจลิส   พุ่งเข้าชนยอดตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 1 (World  Trade  Center  I) ในมหานครนิวยอร์ก ทำให้อาคารเกิดการระเบิดเสียหายอย่างรุนแรงในตอนแรกประชาชนและผู้เห็นเหตุการณ์คาดคะเนว่าเป็นอุบัติเหตุจากการผิดพลาดในการบังคับควบคุมเครื่องบิน แต่ต่อมาในเวลา 9.06 น. เครื่องบินโบอิ้ง 767 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 177  ซึ่งบินจากบอสตันสู่นครลอสแอนเจลิสเช่นกัน  ได้พุ่งเข้าชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 2 (World  Trade  Center  II) ที่เป็นอาคารที่สร้างคู่กับตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 1 เกิดระเบิดสนั่นหวั่นไหว เวลา 9.30 น. ประธานาธิบดีจอร์จ   ดับเบิลยู   บุช (George  W.  Bush) แห่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศแถลงการ์ณว่าการระเบิดอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์   เป็นปฏิบัติการของผู้ก่อการร้ายและยืนยันที่จะสืบหากลุ่มบุคคลที่กระทำการมาลงโทษให้จงได้ เวลา 9.40 น.  ที่กรุงวอชิงตัน ดี. ซี. เมืองหลวงของสหรัฐอเมริกา  เครื่องบินโบอิ้ง 757 สายการบินอเมริกันแอร์ไลน์   เที่ยวบินที่ 77 ได้พุ่งเข้าชนอาคารเพนตากอน (Pentagon) กระทรวงกลาโหม อาคารเกิดระเบิดและเพลิงไหม้อย่างรุนแรง ในเวลาไล่เลี่ยกันได้เกิดเหตุการณ์เครื่องบินตกในมลรัฐเพนซิลเวเนีย เครื่องบินที่ตกคือเครื่องบินสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 73ที่เดินทางจากเมืองเนวาร์กไปเมืองซานฟรานซิสโกซึ่งมีข้อมูลว่าเครื่องบินลำดังกล่าวถูกสกัดอากาศจี้ ในเวลา 10.00 น. อาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 2 ซึ่งถูกไฟไหม้ได้ถล่มลงมา หลังจากนั้นอีกราวครึ่งชั่วโมงอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์1ก็ถล่มตามลงมา ทำให้พนักงานดับเพลิงและเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยที่เข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์ร้ายต้องได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ประกาศมาตรการฉุกเฉิน มีการอพยพผู้คนออกจากสถานที่สำคัญ ยกเลิกเที่ยวบินทั่วประเทศ กองทัพสหรัฐอเมริกาประกาศเตรียมพร้อมรบ ควันเพลิงจากตึกเวิลด์เทรด                 หลังจากเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ทำการระดมกำลังเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลาง(FBI)ออกสืบหาผู้ก่อการวินาศกรรมในครั้งนี้ ในวันต่อมาสหรัฐอเมริกาได้มุ่งเป้าไปที่โอซามา บินลาเดน (Osama bin Laden) หัวหน้าขบวนการอัลเคดา (Al Qaida) และสรุปว่าเป็นผู้บงการให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว จากการตรวจสอบรายชื่อผู้โดยสารของเครื่องบินที่ถูกบังคับก่อวินาศกรรม เจ้าหน้าที่สืบสวนได้พบว่ารายชื่อบุคคลทั้ง 19 คนที่มีบทบาทในการจี้เครื่องบิน ส่วนใหญ่มีความเกี่ยวพันกับขบวนการของโอซามา บินลาเดน โดยบุคคลเหล่านี้ต่างเสียชีวิตในการก่อวินาศกรรมครั้งนี้ทั้งหมดเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องสูญเสียชีวิตประชาชนและทรัพย์สินเป็นจำนวนมหาศาล พร้อมกับส่งผลกระทบต่อขวัญกำลังใจของประชาชนชาวอเมริกันเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ชาวอเมริกันตระหนักว่าประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้ปลอดภัยอย่างที่เคยคิดอีกต่อไป ดินแดนและจุดต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกาสามารถเป็นเป้าโจมตีของศัตรูได้ทั้งสิ้น

 สาเหตุของเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001 หลังจากเกิดเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ได้มีการวิเคราะห์ถึงสาเหตุของเหตการณ์การก่อวินาศกรรมไว้หลายแนวทางด้วยกัน นักวิชาการส่วนใหญ่วิเคราะห์ว่าสาเหตุของเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001 มาจากระบบสังคมโลกโดยรวมที่สหรัฐอเมริกาเป็นชาติอภิมหาอำนาจทุนนิยมอันดับหนึ่งตลอดระยะเวลาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา สหรัฐอเมริกาได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศในลักษณะแผ่ขยายอำนาจไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินแดนตะวันออกกลางซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญมาก คือ ทรัพยากรน้ำมัน หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง อังกฤษซึ่งเป็นชาติมหาอำนาจในภูมิภาคนี้ต้องถอนตัวออกไปเนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศที่ตกต่ำ สหรัฐอเมริกาในนฐานะชาติอภิมหาอำนาจใหม่ได้เข้าไปแผ่อิทธิพลแทนที่ด้วยการแทรกแซงสนับสนุนการก่อตั้งรัฐอิสราเอลขึ้นในดินแดนปาเลสไตน์ ในค.ศ. 1948 หลังจากนั้นสหรัฐอเมริกาก็ดำเนินนโยบายสนับสนุนอิสราเอลมาโดยตลอด ทั้งในการทำสงครามกับกลุ่มประเทศอาหรับ การยึดครองดินแดนปาเลสไตน์ และขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกาก็ให้การสนับสนุนรัฐบาลของกลุ่มประเทศอาหรับที่เป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกา  ผลของการดำเนินนโยบายของสกรัฐอเมริกาได้สร้างความรู้สึกไม่พอใจให้เกิดขึ้นในหมู่ชาวอาหรับ  ซึ่งเห็นว่า  สหรัฐอเมริกามีนโยบายคุกคามกลุ่มประเทศอาหรับและต้องการเข้ามามีอำนาจในประเทศต่าง ๆ ในแถบนี้  การแทรกแซงในภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มทุนของสหรัฐอเมริกาซึ่งเข้าไปลงทุนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้เป็นสำคัญ เช่น กลุ่มทุนอุตสาหกรรมน้ำมันเป็นต้น การแทรกแซงของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อภูมิภาคนี้นำมาซึ่งความขัดแย้งนับครั้งไม่ถ้วนของชาติต่าง ๆ หลายครั้ง ก่อให้เกิดผลประโยชน์การค้าอาวุธของบริษัทผลิตอาวุธของสหรัฐอเมริกาเอง      ส่วนสถานที่ซึ่งถูกโจมตีในวันที่ 11 กันยายน อันได้แก่ ตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งของสถาบันการเงินระหว่างประเทศเป็นจำนวนมาก จนอาจถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของระบบทุนนิยมโลก ส่วนตึกเพนตากอนซึ่งเป็นที่ตั้งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ก็ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางอำนาจทางทหารของชาติอภิมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก การที่ขบวนก่อการร้ายสามารถทำลายตึกเหล่านี้ได้ จึงเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของสหรัฐอเมริกาในฐานะชาติอภิมหาอำนาจและเป็นศูนย์กลางระบบทุนนิยมโลก             เหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 เห็นได้ว่ามีศาสนาและความเชื่อ ซึ่งกลายเป็นเหตุปัจจัยหลักประการหนึ่งของความขัดแย้งและการต่อสู้ ถ้าพิจารณาในมุมนี้ก็อาจกล่าวได้ว่าการก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน เป็นปฏิกิริยาที่มีต่อบทบาทของสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลาที่ผ่านมานั่นเอง

ผลกระทบของเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001 ต่อสหรัฐอเมริกา ผลกระทบต่อสังคมโลก เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ได้ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งตอสหรัฐอเมริกาและสังคมโลกโดยรวม ดังนี้ 1.  ผลกระทบต่อสหรัฐอเมริกา  เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน  ค.ศ. 2001ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสหรัฐอเมริกาหลายประการด้วยกัน ได้แก่ 1) เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องสูญเสียชีวิตมนุษย์และทรัพย์สินจำนวนมาก  จากการประเมินของสภากาชาดสหรัฐอเมริกามียอดผู้เสียชีวิต 2,563 คน ความเสียหายมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 2)เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เศรษฐกิจที่เริ่มชะลอมาตั้งแต่ก่อนหน้าเกิดวิกฤตการณ์ก็ประสบปัญหามากขึ้น 3) ขวัญกำลังใจของประชาชนชาวอเมริกันตกต่ำลงและเกิดแนวความคิดแบบชาตินิยมมขึ้นมาแทนที่  ดังจะเห็นได้จากประชาชนชาวอเมริกันต่างแสดงถึงความรักชาติของตนเองในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจุดเทียนรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ ธงชาติสหรัฐอเมริกาถูกประชาชนซื้อจนหมด  หรือร้องเพลงแสดงความรักชาติ เป็นต้น 4) เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้นโยบายการปกครองในประเทศของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยหันมาเน้นด้านความมั่นคงเป็นหลัก แทนที่สิทธิเสรีภาพในระบบประชาธิปไตย เช่น การให้อำนาจประธานาธิบดีมีอำนาจกระทำการใด ๆ ก็ได้ต่อบุคคลที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย การจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การลดสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนหรือคุกคามสิทธิส่วนบุคคล เป็นต้น ซึ่งประชาชนเองก็มีแนวโน้มคล้อยตามในการให้อำนาจแก่รัฐมากขึ้นเพื่อแลกกับความมั่นคงของชาติ 5)เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ได้ถูกรัฐบาลสหรัฐอเมริกานำไปใช้ในการสร้างความชอบธรรมในการโต้กลุ่มก่อการร้ายด้วยความรุนแรง เช่น การทำสงครามยึดครองอัฟกานิสถานในปลาย ค.ศ. 2001 หรือการรุกรานและยึดครองอิรักในปัจจุบันเป็นต้น 2.ผลกระทบที่มีต่อสังคมโลก  เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสังคมโลก ทั้งก่อให้เกิดสงครามและการก่อการร้ายมากขึ้นหลังจากเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 สหรัฐอเมริกาได้ประกาศสงครามกับกลุ่มก่อการร้ายและพร้อมจะทำลายกลุ่มองค์กรเหล่านี้ รวมทั้งรัฐบาลที่ให้แหล่งพักพิงและสนับสนุนการก่อการร้าย โดยประธานาธิบดีบุช ได้ประกาศให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต้องตัดสินใจว่าประเทศเหล่านั้นจะอยู่ข้างสหรัฐอเมริกาหรืออยู่ข้างฝ่ายก่อการร้าย การประกาศดังกล่าวทำให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างระมัดระวัง ในการหลีกเลี่ยงปัญหาความขัดแย้งทั้งจากสหรัฐอเมริกาและกลุ่มก่อการร้าย รวมถึงประชาชนภายในประเทศที่มีแนวโน้มขัดแย้งกับนโยบายของรัฐบาลที่ดำเนินนโยบายเข้าข้างสหรัฐอเมริกา สงครามในคริสต์ศตวรรษที่ 21 จึงเกิดขึ้น โดยสหรัฐอเมริกาเข้าไปโค่นล้มรัฐบาลของประเทศอัฟกานิสถานและอิรักโดยอ้างถึงความกดขี่ในด้านการปกครองและการสนับสนุนการก่อการร้ายของรัฐบาลชุดเก่า ทั้งรัฐบาลกลุ่มตาลีบันและรัฐบาลประธานาธิบดีซัดดัม  ฮุสเซน แล้วจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่เป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเท่ากับเป็นการขยายอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาไปด้วย   ขณะเดียวกัน กลุ่มก่อการร้ายก็ต่อต้านสหรัฐอเมริกาและชาติพันธมิตร เช่น อังกฤษ และออสเตรเลีย ด้วยการก่อวินาศกรรมทำลายชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้น เช่น เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมระเบิดสถานบันเทิงในเกาะบาหลีเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 2002 มีผู้เสียชีวิต 202 คน บาดเจ็บกว่า 300 คน   การก่อวินาศกรรมจึงส่งผล http://social-pgmi.blog.mthai.com/2009/11/02/public-11

รูปภาพของ nss37413

ธนพนธ์ จันทร์สุข 5/8 เลขที่ 2

       1. สาเหตุความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง
-ความแตกต่างด้านเชื้อชาติ ภูมิภาค ตะวันออกกลางเป็นดินแดนที่มีหลากหลายเชื้อชาติมาตั้งแต่อดีตเชื้อชาติสำคัญๆ ในดินแดนแถบนี้ คือ อาหรับ เปอร์เซีย เติร์ก ที่เหลือเป็น เคิร์ด
ยิว และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ
 

 -ความขัดแย้งทางศาสนา ดินแดนภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นแหล่งกำเนิดศาสนาสำคัญของโลกถึง3 ศาสนา คือ ศาสนายิว คริสต์ศาสนา และศาสนาอิสลาม
ในสมัยจักรวรรดิอาหรับศาสนาต่างๆสามารถอยู่ด้วยกันได้อย่างสันติแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11
เกิดสงครามระหง่างศาสนาคริสต์กับศาสนราอิสลามในดินแดนปาเลสไตน์
หลังจากพวกออตโตมันเติร์กเข้ายึดครองดินแดนตะวันออกกลาง ความขัดแย้งทางศาสนาก็ลดลงจนเมื่อลัทธิชาตินิยมแพร่หลายเข้ามาในดินแดนตะวันออกกลางในช่วงปลายคริสต์
ศตวรรษที่ 19 ชาวอาหรับได้เอาศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ
ขณะที่ชาวยิวที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศอิสราเอลที่นับถือศาสนายิว ส่วนชาวเลบานอนนับถือศาสนาคริสต์ทำให้เกิดเป็นปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาขึ้นอีก
นอกจากนี้ชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีก็มีข้อขัดแย้งกับชาว
เปอร์เซียทีนับถือนิกายชีอะฮ์ด้วย

-ความแตกต่างในระบอบการเมืองการปกครองประเทศ
ต่างๆในภูมิภาคตะวันออกกลางมีระบอบปกครองที่แตกต่างกัน บางประเทศปกครองในระบอบกษัตริย์ เช่น ซาอุดิอาระเบีย จอร์แดน คูเวต บางประเทศปกครองในระบบเผด็จการ เช่น อิรักลิเบีย บางประเทศปกครองในระบอบประชาธิปไตย เช่น อิสราเอล ตุรกี เป็นต้นหรือโดยบางประเทศปกครองโดยในระบอบศาสนาอิสลาม สาธารณรัฐอิสลามเช่นสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน เป็นต้น ความแตกต่างทางด้านระบอบการปกครองทำให้รัฐบาลประเทศต่างๆมีความไม่ไว้ว่างใจซึ่งกันและกัน ตัวอย่างเช่นรัฐบาลประเทศต่างๆมีความหวาดระแวงในรัฐบาลของอิหร่านซึ่งปกครองโดนการปฏิวัติอิสลามว่าจะเผยพี่อุดมการณ์ปฏิวัติอิสลามเข้ามาในประเทศ
   
-ความแตกต่างทางด้านเศรษฐกิจ  ประ เทศต่างๆในภูมิภาคตะวันออกกลางมีฐานะไม่เท่าเทียมกันทางด้านเศรษฐกิจเนื่องจากแต่ละประเทศมีปริมาณน้ำมันสำรองงบเท่ากันบางประเทศมีปริมาณน้ำมันสำรองมาก เช่น ซาอุดิอาระเบีย คูเวต อิหร่าน เป็นต้นบางประเทศไม่มีน้ำมัน เช่น อิสราเอล จอร์แดน เลบานอน ทรัพยากรน้ำมันจึงกลายเป็นสาเหตุของความขัดแย้งเช่น กรณีสงครามระหว่างอิรักกับอิกร่านซึ่งอิรักเข้ารุกรานอิหร่านก็เนื่องจากต้องการยึดครองบ่อน้ำมันของอิหร่าน  

-การแทรกแซงของชาติมหาอำนาจ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 20ชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวีตต่างเข้าแทรกแซงดินแดนภูมิภาคตะวันออกกลางโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ทางด้านการฑุต ทางการเมือ เศรษฐกิจ และการทหาร  

2.กรณีความขัดแย้งของภูมิภาคตะวันออกกลางที่มี  ผลกระทบต่อโลก  
-สงครามอาหรับกับอิสราเอล ค.ศ.1948-1975
สงครามระหว่างอาหรับ-อิสราเอล เป็นสงครามขัดแย้งทางศาสนาและเชื้อชาติที่ชาวอาหรับผู้นับถือศาสนาอิสลามต้องการขับไล่ชาวยิวหรือชาวอิสราเอลผู้นับถือศาสนายิวให้หมดสิ้นจากดินแดนปาเลสไตน์ซึ่งเป็นประเทศอิสราเอลในปัจจุบันเป็นปัญหาที่กลายเป็นสงครามรบพุ่งกันหลายครั้ง    -สงครามระหว่างอิหร่านกับอิรัก ค.ศ.1980-1988
ในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1980 อิรักเข้าโจมตีจังหวัดคูเซสถานของอิหร่าน
ร่านจึงส่งกำลังเข้าโต้ตอบ จากนั้นสงครามได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
และรบติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน สงครามนี้มีผลกระทบไปถึงประเทศสหรัฐอเมริกาโดยอิหร่านกล่าวหาว่าสหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือแก่อิรัก
  สงคราม ได้ยืดเยื้อมาจนกระทั่งสหประชาชาติและประเทศที่เป็นกลางได้พยายามที่จะให้2 ประเทศนี้ได้เจรจายุติสงครามกันเพราะทั้งสองต่างก็เป็นประเทศที่มีบทบาทต่อการส่งน้ำมันออกสู่ตลาดโลกมาประธานาธิบดี
ซัดดัม ฮุสเซนของอิรักประกาศว่า จะพยายามยุติสงครามลงด้วยสันติวิธีแต่การกระทำของอิรักกลับตรงกันข้ามกล่าวคือ ชาวเคิร์ดในอิหร่านถูกอิรักโจมตีด้วยอาวุธเคมีทำให้ประชาชนล้มตายไม่ต่ำกว่า 5
,000 คน และขณะเดียวกันทหารอิรักยังโจมตีและรุกคืบเข้าไปในดินแดนอิหร่านในค.ศ. 1987 องค์การสหประชาชาติมีมติให้อิหร่านและอิรักยุติสงครามอิรักยอมรับมติแต่อิหร่านยังคงโจมตีอิรักต่อเพราะคาดว่าจะได้รับชัยชนะปรากฏว่าอิหร่านไม่สามารถเอาชนะอิรักได้ และในค.ศ. 1988อิรักซึ่งได้รับการสนับสนุนกำลังอาวุธจากสหภาพโซเวียตกลับมาสามารถต้านทาน และผลักดันกองทัพอิหร่านพ้นชายแดนอิรักในที่สุดอายาตุลเลาะห์ โคไมนี ผู้นำอิหร่านต้องยอมรับมติสหประชาชาติทั้งสองฝ่ายต่างหยุดยิงในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1988
    

-สงครามอ่าวเปอร์เซีย (อิรักบุกยึดครองคูเวต)ค.ศ.1990-1991อิรักได้ทำสงครามกับอิหร่านมานานถึง 9 ปี ทำให้มีหนี้สินต่างประเทศ โดยเฉพาะที่กู้ยืมมาจากซาอุดิอาระเบียและคูเวตรวมกันเป็นจำนวนมากแต่อิรักเป็นประเทศที่มีทรัพยากรน้ำมันอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์และนอกตากนี้อิรักภายใต้การนำของปรานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซนยังได้สร้างกองทัพอิรักให้มีแสนยานุภาพที่เกรียงไกรกว่าทุกประเทศในตะวันออก กลางกล่าวคือมีทหารที่ฝึกปรืออย่างดีและผ่านประสบการณ์สงครามกับอิหร่านมาแล้วจำนวนมากกว่า 1 ล้านคน มีอาวุธที่ทันสมัยทั้งเครื่องบิน จรวด อาวุธและกำลังเริ่มต้นพัฒนาอาวุธปรมาณูขึ้นอีก    

3.ผลกระทบของปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง ความขัดแย้งในตะวันออกกลางทำ
ให้กลางเมืองของโลกตึงเครียดขึ้นเนื่องจากความขัดแย้งไม่ได้จำกัดแต่เพียงคู่กรณีพิพาทเท่านั้นแต่ยังเกี่ยวพันกับมหาชาติอำนาจให้เข้ามามีส่วนร่วมกับความขัดแย้งจนถึงขั้นเผชิญหน้ากัน    

 ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางเปิดโอกาสให้ชาติมหาอำนาจเข้ามาแทรกแซง   มีอิทธิพลในประเทศต่างๆดังเช่น สงครามอิรักบุกยึดคลองคูเวตใน ค.ศ.
1990-1991 เปิด โอกาสให้ชาติมหาอำนาจโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา
ซึ่งมีบทบาทในการขับไล่อิรักออกจากคูเวตได้ขยายอิทธิพลเข้าไปในกลุ่มประเทศ ตะวันออกกลางจนถึงขั้นจัดตั้งฐานทัพในประเทศอิสลามหลายประเทศเช่น ซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ เป็นต้นนอกจากสหรัฐอเมริกายังสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในอุตสาหกรรมน้ำมันในประเทศแถบ นี้ด้วย
 

วามขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรง เนื่องจากภูมิภาคนี้เป็นกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก
เมื่อปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคนี้เกิดขึ้นราคาน้ำมันจะต้องเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจโลกโดยรวม เช่น วิกฤตการณ์น้ำมัน เป็นต้น
  

ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางส่งผลให้เกิดการก่อการร้ายไปทั่วโลก ซึ่งการก่อการร้าย คือวิถีทางการต่อสู้ของผู้อ่อนแอกว่าที่มีต่อผู้เข้มแข็งที่เห็นได้ชัด เช่นกรณีสงครามที่อสราเอลมีชัยชนะเหนือประเทสอาหรับและเข้ายึดครองดินแดนประเทศ ต่างๆทำให้ผู้ได้รับผลกระทบต่อการกระทำของอิสราเอลรวมตัวกันเป็นขบวนการก่อการร้ายเพื่อต่อสู้กับอิสราเอลในทุกวิถีทางในทุกพื้นที่ซึ่งรวมถึงการต่อสู้และการก่อการร้ายต่อชาติพันธมิตรขงอิสราเอลด้วย  http://social-pgmi.blog.mthai.com/page3

รูปภาพของ nss37413

ธนพนธ์ จันทร์สุข 5/8 เลขที่ 2

 

1.ความหมายของส่งครามเย็น สงคราม เย็นคือลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ช่วง ค.ศ.1945-1991 ที่กลุ่มประเทศโลกเสรีและกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์
ต่างพยายามต่อสู้โดยวิธีการต่างๆ ยกเว้นการทำสงครามกันโดยเปิดเผย เพื่อขัดขวางการขยายอำนาจของกันและกัน

สงคราม เย็นมีผลสืบเนื่องมาจากสภาพบอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ทั้งประเทศผู้ชนะและแพ้สงคราม
ได้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ทวีปยุโรปซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและเศรษฐกิจโลกอยู่ในสภาพทรุด
โทรมอย่างยิ่ง ต้องสูญเสียอำนาจและอิทธิพลในสังคมโลกให้กับสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต
ซึ่งเป็นสองประเทศที่มีฐานะเศรษฐกิจมั่นคงจนเป็นหลักในการบูรณะฟื้นฟูประเทศ อื่นๆ
สหรัฐอเมริกาก้าวสู่ความเป็นผู้นำของโลกเสรีประชาธิปไตย ในขณะที่สหภาพโซเวียตมีอำนาจและอิทธิพลเนื่องมาจากความสำเร็จในการขยายลัทธิ
คอมมิวนิสต์สู่กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก อยู่ในฐานะประเทศผู้นำของโลกคอมมิวนิสต์
คำว่า อภิมหาอำนาจ จึงหมายถึง ความเป็นผู้นำโลกของประเทศทั้งสอง
ซึ่งแข่งขันกันขยายอำนาจและอิทธิพล จนทำให้ความสัมพันธ์ที่มีต่อกันเกิดความตึงเครียดสูง

   

 2.สาเหตุของสงครามเย็น 1.  ความขัดแย้งในอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างสหรัฐอเมริกาที่ปกครอง ในรูปแบบประชาธิปไตยและสหภาพโซเวียตที่มีแนวทางการปกครอง

ในรูปแบบคอมมิวนิสต์  ทั้งสองฝ่ายต่างมุ่งมั่นที่จะขยายอุดมการณ์ทาง

การเมืองของตนเองไปทั่วโลก     

2.  การแข่งขันด้านผลประโยชน์  อำนาจและความมั่นคงของประเทศ

ทำให้เกิดการแข่งขันด้านสมรรถนะทางทหาร  และ การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์  ทำให้การเมืองโลกแบ่งออกเป็น

ระบบสองขั้วอำนาจ  (bi-polar 
system)   โดยมีสหรัฐอเมริกา
และสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ     

 3.ความขัดแย้งของชาติมหาอำนาจในยุคสงครามเย็น นอก จากทวีปยุโรปแล้วสองอภิมหาอำนาจยังแข่งขันกันในภูมิภาคต่างๆ
ส่งผลให้สงครามเย็นเพิ่มความตึงเครียด ทวีปเอเซียเป็นอีกเวทีหนึ่งของสงครามเย็นในแถบตะวันออกไกล
จีนเป็นดินแดนที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ที่ประสบความสำเร็จที่สุด
เมื่อจีนคอมมิวนิสต์นำโดยเหมาเจ๋อตุงเป็นฝ่ายมีชัยชนะในสงครามกลางเมือง
ยึดครองแผ่นดินใหญ่ของจีนได้
รัฐบาลจีนคณะชาติซึ่งเป็นฝ่ายโลกเสรีและได้รับความสนับสนุนอย่างเต็มที่จากสหรัฐอเมริกา
ต้องหนีไปตั้งรัฐบาลที่เกาะฟอร์โมซา
ชัยชนะของจีนคอมมิวนิสต์มีผลกระทบต่อดุลอำนาจทางการเมืองระหว่างประเทศถือเป็นการพ่ายแพ้ที่สำคัญของสหรัฐอเมริกาและเป็นการเสียดุลอำนาจครั้งสำคัญ
ของโลกเสรีสหภาพโซเวียตและจีนเป็นสองประเทศคอมมิวนิสต์ที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่
มีทรัพยากรมากและมีจำนวนประชากรมหาศาล
ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนจึงตึงเครียดมานับตั้งแต่นั้น
ความ ขัดแย้งของสงครามเย็นส่งผลให้ประเทศเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศ
ที่มีอุดมการณ์ต่างกันกองทัพของประเทศเกาหลีเหนือซึ่งปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ได้ยกข้ามเส้นขนาน
ที่ 38องศาเหนือเข้ารุกรานประเทศเกาหลีใต้อย่างฉับพลัน
สหประชาติจึงมีมติให้สหรัฐอเมริกาและกองกำลังทหารของสหประชาชาติจาก18 ประเทศสมาชิกเข้าช่วยเกาหลีใต้จากการรุกรานครั้งนี้
จีนส่งกองทัพช่วยเกาหลีเหนือก่อให้เกิดการเผชิญหน้ากันจนกระทั่ง ค.ศ.1953 จึงมีการทำสนธิสัญญาสงบศึกสงครามเกาหลีก่อให้เกิดความตื่นตัวต่อการขยายอิทธิพของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอ
เซีย สหรัฐอเมริกาเห็นความจำเป็นของการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเซียอย่างจริงจัง
สำหรับประเทศญี่ปุ่น ลัทธิคอมมิวนิสต์ประสบความสำเร็จในวงแคบ เสถียรภาพทางการเมืองความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและมาตรฐานสังคมในระดับสูงของประเทศญี่ปุ่น
อันเป็นผลงานส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกาส่งผลให้ประเทศญี่ปุ่นเป็นกำลังสำคัญของโลกเสรีในทวีปเอเชีย
   

4.ความขัดแย้งและสงครามตัวแทนในภูมิภาคเอเชีย การขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มจากอินโด
จีน คือ ประเทศเวียดนาม เขมร และลาว ซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเทศฝรั่งเศส
เวียดนามถูกแบ่งออกเป็น
2 ส่วน โดยใช้เส้นขนานที่ 17 องศาเหนือเป็นเขตแบ่งชั่วคราว
เวียดนามเหนืออยู่ใต้การปกครองของลัทธิคอมมิวนิสต์มีโฮจิมินห์เป็นผู้นำ
เวียดนามใต้ปกครองระบอบประชาธิปไตย มีโงดินห์เดียมเป็นผู้นำ
โดยให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในเวลา1 ปี
เพื่อรวมเวียดนามเป็นประเทศเดียวกัน แต่การเลือกตั้งก็ไม่ได้เกิดขึ้น
เพราะเกิดการสู้รบระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ การ
ขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาในอินโดจีนทำให้สหรัฐอเมริกานำนโยบายล้อมกรอบการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์มาใช้ในเอ
เซียด้วย
นายจอห์น ฟอสเตอร์ดัลเลส
รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาขณะนั้นประกาศอย่างแข็งขันว่าจะไม่ยอมให้ลัทธิคอมมิวนิสต์ขยายตัวต่อไป
โดยเชื่อมั่นในทฤษฏีโดมิโนว่า
ถ้าประเทศใดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคอมมิวนิสต์แล้วประเทศใกล้เคียงอื่นๆ
ก็จะพลอยเป็นคอมมิวนิสต์ไปด้วย ในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ.1954
จึงได้มีการสนธิสัญญาที่กรุงมะนิลาเพื่อจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
(Seato) ประกอบด้วย 8 ประเทศได้แก่
สหรัฐอเมริกา ไทย ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศสออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
ด้วยวัตถุประสงค์ทำนองเดียวกับนาโต
ใน ตะวันออกลางหรือเอเซียตะวันตกเฉียงใต้
เป็นภูมิภาคที่มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับด้วยกันเองและระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับกับประเทศอิสราเอล
สหภาพโซเวียตฉวยโอกาสขยายอิทธิพลของตนด้วยวิธีารต่างๆเช่น
เสนอให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการทหารแก่ประเทศอิยิปต์
ในการปฏิรูปประเทศในสมัยประธานาธิบดีนัสเซอร์ด้วยการให้เงินสร้างเขื่อนอัสวาน
อืยิปต์เป็นผู้นำของกลุ่มประเทศอาหรับที่สหภาพโซเวียตต้องการส่งเสริม
อิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ให้แพร่หลายในภูมิภาคตะวันออกลางฝ่ายโลกเสรีจึงหาทางสกัดกั้นด้วยการจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาเซ็นโต
หรือองค์การสนธิสัญญากลาง(Central
Treaty Organization:CENTO) ซึ่งมีสมาชิก 5 ประเทศ
คือ สหราชอาณาจักร ตุรกีอิรัก อิหร่าน และปากีสถาน
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการแทรกแซงและขยายอำนาจของลัทธิคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคนี้
   

 5.การสิ้นสุดสงครามเย็น สิ้นสุดของทศวรรษ
1980 เป็นการสิ้นสุดของยุคสมัยแห่ง “สงครามเย็น” ซึ่งดำเนินมาเป็นเวลาเกือบครึ่งศตวรรษภายหลังสงครามโลกครั้งที่2
เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้การขัดแย้งทางอุดมการณ์และการแข่งขันกันเป็น
ผู้นำของโลก
ระหว่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียตสิ้นสุดลง สืบเนื่อง มาจากการล่มสลายของระบบ
การปกครองคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก และความเปลี่ยนแปลงในสหภาพโซเวียต
อันเป็นผลมาจากนโยบาย ปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งนายมิคาอิล กอร์บาชอฟ
เห็นว่าเป็นความ จำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การปรับเปลี่ยนนโยบายดังกล่าวทำให้เกิด
ความไม่พอใจในกลุ่มผู้นำคอมมิวนิสต์หัวเก่าและนำไปสู่การปฏิวัติที่ล้มเหลว
การหมดอำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์ ประเทศบริวารของสหภาพโซเวียต ในยุโรปตะวันออก
ต่างแยกตัวเป็นอิสระและท้ายที่สุดรัฐต่างๆ ในสหภาพ โซเวียต
ต่างแยกตัวเป็นประเทศอิสระปกครองตนเอง มีผลทำให้ สหภาพโซเวียต ล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1991
จากการล่มสลายของระบบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก ส่งผลให้มีการ
สลายตัวของ “กลุ่มโซเวียต” และ “องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ” รวมทั้ง
องค์การโคมีคอน ซึ่งเป็นองค์การร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สังคมนิยม
ปรากฏการณ์นี้จึงทำให้การเผชิญหน้าระหว่าง ประเทศมหา อำนาจตะวันออก–ตะวันตกได้สลายตัวลง เหตุการณ์ที่เป็นนับว่าเป็นสัญลักษณ์ของการสิ้นสุดของ
“สงครามเย็น” คือ
การทำลายกำแพงเบอร์ลิน ในปี ค.ศ. 1989 และการรวมประเทศเยอรมนีทั้งสองเข้าเป็นประเทศเดียวกัน
ในปี ค.ศ. 1990 การที่ทั้งสองฝ่าย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดหย่อนท่าที และเงื่อนไขของฝ่ายรัสเซีย ยอมให้ ประเทศเยอรมนี
ซึ่งเป็นจุดสำคัญของความขัดแย้งในยุโรป กลับมารวมกัน
ได้ย่อมแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจและมีไมตรีต่อกันที่กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อเยอรมนีตะวันออกเปลี่ยนตัวผู้นำได้มีการทุบทำลายกำแพงเบอร์ลิน
นับเป็นสัญลักษณ์ของการสิ้นสุดสงครามเย็น
มีผลทำให้ประชาชนของเยอรมนีทั้งสองประเทศเดินทางเข้าออกได้อย่างอิสระนำไปสู่การรวมประเทศเยอรมันนีภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยใน
ค.ศ. 1990
**อ้างอิง** http://human.tru.ac.th/elearning/local/global02/coldwar_04.html

http://home.kku.ac.th/myongy/text/f2.htm

http://www.kullawat.net/current3/index.html

http://www2.udru.ac.th/~global/global_lavel_1_09.htm (เนื้อหา)

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 334 คน กำลังออนไลน์