รัฐธรรมนูญฉบับที่1-6

รูปภาพของ sss27621

 

 



 

 

ฉบับที่ 1 พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ความทั่วไป

คณะราษฏร์

แหล่งที่มาของภาพ  http://dekisugi.net/wp-content/uploads/2010/01/56843.jpg     

         เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นั้น ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์การเมือง
การปกครองไทย เมื่อ คณะราษฎร์ ซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการสายทหารบก ทหารเรือ และสายพลเรือน
จำนวน 99 คน โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันทำการยึดอำนาจการปกครอง
ประเทศจากพระมหากษัตริย์ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบสมบรูณาญาสิทธิราชย์
มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

 พระยาพหลพลพยุหเสนา

 แหล่งที่มาชองภาพ  http://e-learning.mfu.ac.th/mflu/1604101/imageTitle/Praya.jpg

       โดยที่คณะราษฎร์ได้นำพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวซึ่งได้ร่างเตรียมไว้แล้ว

ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และพระองค์จึงได้ทรง
ลงพระปรมาภิไธยแล้วพระราชทานแก่คณะราษฎร ซึ่งถือว่าประเทศไทยได้เริ่มมีรัฐธรรมนูญใช้ใน
การปกครองประเทศเป็นครั้งแรกนับแต่นั้นมา

      กฎหมายดังกล่าว ถือเป็นรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับแรก ซึ่งเป็นฉบับชั่วคราวและเป็นฉบับที่มีอายุ
การใช้งานเร็วที่สุด คือ รวมอายุการประกาศ และมีระยะเวลาบังคับใช้ทั้งหมดเพียง 5 เดือน 13 วัน
นับจากการประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 จำนวน 39 มาตรา และในที่สุดก็ได้รับ
การยกเลิกอย่าง "สันติ" เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 เนื่องจากการประกาศ และบังคับใช้รัฐธรรมนูญใหม่
ฉบับถาวร


หลักการสำคัญ

1) ประกาศว่าอำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของราษฎร (มาตรา 1) ซึ่งแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย

2) พระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ กิจการสำคัญของรัฐทำในนามของพระมหากษัตริย์

3) เป็นการปกครองแบบสมัชชา โดยกำหนดให้ คณะกรรมการราษฎร ซึ่งมีจำนวน 15 คน ทำหน้
 ที่บริหารราชการแผ่นดินดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาผู้แทนราษฎร

4) เริ่มมีรัฐสภาขึ้นเป็นครั้งแรก โดยกำหนดให้เป็นสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีอำนาจสูงสุด กล่าวคือ 
         (ก) ตรากฎหมาย
         (ข) ควบคุมดูแลราชการ กิจการของประเทศ
         (ค) มีอำนาจถอดถอน หรือ สามารถปลดกรรมการราษฎร และข้าราชการทุกระดับชั้นได้ โดยคณะกรรมการราษฎร
               ไม่มี อำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎร
         (ง) วินิจฉัยการกระทำของพระมหากษัตริย์

5) รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้กำหนดอายุของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้20 ปีบริบูรณ์เท่ากัน ส่วนวิธีการเลือกตั้งเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม คือ ให้ราษฎรเลือกผู้แทนตำบลแล้วผู้แทนตำบลก็เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกทอดหนึ่ง

6) ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามกฎหมาย แต่ไม่มีหลักประกันความอิสระของผู้พิพากษา 

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 501 คน กำลังออนไลน์